Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Pleural effusion (การรักษา (การฝึกการหายใจ จะเน้นการขยายตัวของปอดส่วนล่าง,…
Pleural effusion
การรักษา
- การฝึกการหายใจ จะเน้นการขยายตัวของปอดส่วนล่าง
- การบริหารหัวไหล่และทรวงอก เพื่อช่วยการเคลื่อนไหวของทรวงอกดีขึ้น และยังช่วยการขยายตัวของปอดโดยการเร่งการซึมกลับของสารเหลว
3.การระบายของเหลวออกจากช่องเยื่อหุ้มปอด แพทย์จะเปิดรอยแผลขนาดเล็กและสอดท่อเข้าไปในช่องเยื่อหุ้มปอด เพื่อระบายของเหลวออกภายนอกร่างกาย ทั้งนี้ ผู้ป่วยอาจต้องรับการรักษาซ้ำ หากพบว่ามีปริมาณของเหลวเพิ่มขึ้นอีก
4.Pleurodesis คือวิธีการรักษาโดยใช้สารบางชนิดเชื่อมเยื่อหุ้มปอดและเยื่อหุ้มช่องอกให้ติดกัน ซึ่งจะทำหลังจากระบายของเหลวออกนอกร่างกายเรียบร้อยแล้ว เพื่อลดช่องว่างและป้องกันการสะสมของของเหลวภายในปอด ส่วนใหญ่วิธีนี้มักนำมาใช้กับผู้ป่วยมะเร็งที่มีภาวะ Pleural Effusion ร่วมด้วย
5.การผ่าตัด วิธีนี้มักใช้กับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง โดยแพทย์จะสอดท่อเข้าไปในช่องอกเพื่อบังคับทิศทางให้ของเหลวไหลจากบริเวณปอดออกสู่ช่องท้อง ซึ่งเป็นจุดที่ร่างกายระบายของเหลวได้ง่ายกว่า หรือในกรณีที่มีอาการรุนแรง แพทย์อาจตัดเยื่อหุ้มปอดบางส่วนทิ้ง วิธีนี้เรียกว่า Pleurectomy
การพยาบาล
- ประเมินเสียงลมหายใจที่ผ่านเข้าไปในปอด เนื่องจากการลดลงของเสียงลมหายใจที่ผ่านปอด เป็นข้อบ่งขี้ว่าเกิดการแฟบของปอด (Lung collapse)
- ประเมินอาการและอาการแสดงที่บ่งบอกถึงภาวะเนื้อเยื่อขาดออกซิเจน เช่น ปลายมือปลายเท้าเย็น ซีด เหงื่อออก ตัวเย็น ระดับความรู้สึกตัวเปลี่ยนแปลง อาการกระสับกระส่าย การตอบสนองต่อสิ่งเร้าได้ง่าย
- บันทึกสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมง และประเมินค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือก (O2 saturation, O2 sat)
- วางแผนการทำกิจกรรมการพยาบาล เพื่อแบ่งช่วงให้ผู้ป่วยได้พัก พร้อมกับอธิบายถึงสาเหตุที่ต้องจำกัดกิจกรรมบางกิจกรรมของผู้ป่วย เพื่อช่วยลดการใช้ออกซิเจนของร่างกาย
- ดูแลให้อยู่ในท่า Fowler’s position เพื่อให้ปอดสามารถขยายตัวได้อย่างเต็มที่ซึ่งจะทำให้มีการแลกเปลี่ยนแก๊สได้สูงสุดถ้าผู้ป่วยไม่สามารถอยู่ในท่านี้ได้ ให้ผู้ป่วยนอนในท่าตะแคงและพลิกตัวบ่อยๆ
- กระตุ้นให้ผู้ป่วยออกกำลังกายบนเตียงตามสภาพของผู้ป่วย เพื่อเป็นการเพิ่มความสามารถในการขยายตัวของปอดและทรวงอก
- ฝึกให้ผู้ป่วยหายใจลึกๆ และไออย่างมีประสิทธิภาพ อย่างน้อยทุกๆ 1 ชั่วโมง โดยให้ผู้ป่วยวางฝ่ามือใต้ชายดครงให้ชิดขอบชายโครงผู้ป่วยแล้วสูหายใจเข้าออกลึกๆ เนื่องจากถ้ามีเสมหะคั่งค้างในปอดเป็นปัจจัยส่งเสริมให้เกิดการติดเชื้อที่ปอด นอกจานี้ยังยับยั้งการขยายของปอด เนื่องจากการหายใจเข้าออกอย่างเต็มที่จะช่วยให้ปริมาตรของปอดมากขึ้น พื้นที่ในการแลกเปลี่ยนออกซิจนก็จะมากขึ้นด้วย และแนะนำให้ผู้ป่วยทำในท่านั่ง
- ดูแลให้ยา Antibiotic เพราะการติดเชื้อที่ปอดมีผลทำให้ประสิทธิภาพในการแลกเปลี่ยนออกซิเจนที่เนื้อเยื่อปอดลดลง นอกจากนี้การติดเชื้อยังทำให้ร่างกายมีความต้องการพลังงานมากขึ้น
- ติดตามผลการเอ็กซเรย์ปอดเพื่อประเมินการขยายตัวของปอด (Lung expansion) ภาวะน้ำคั่งในช่องเยื่อหุ้มปอด (Pleural effusion) หรือ การมีของเหลวแทรกซึมเข้าไปในเนื้อเยื่อปอด (Infiltration) ซึ่งอาจทำให้การแลกเปลี่ยนออกซิเจนที่ปอดลดลงได้
- ประเมินอัตราการหายใจ ความลึก การใช้กล้ามเนื้ออื่นๆ ช่วยในการหายใจ และภาวะ Cyanosis เพื่อเป้นการประเมินความรุนแรงของภาวะพร่องออกซิเจน
-
สาเหตุ
โรคปอด เช่น วัณโรคเยื่อหุ้มปอด ภาวะน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอดร่วมกับปอดอักเสบ มะเร็งปอดหรือมะเร็งอวัยวะอื่นที่แพร่กระจายมายังเยื่อหุ้มปอด
-
-
-
-
โรคอื่นๆ ที่พบได้ไม่บ่อย เช่น น้ำในช่องเยื่อหุ้มปอดที่เกิดร่วมกับฝีบิดในตับ ตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน เป็นต้น
การวินิจฉัย
การสอบถามประวัติทางการแพทย์และการตรวจร่างกาย ผู้ที่เคยมีภาวะหัวใจล้มเหลว หรือเคยเป็นโรคตับแข็ง ร่วมกับมีอาการบ่งชี้ เช่น เจ็บหน้าอก หายใจลำบาก ไอแห้ง หรือตรวจร่างกายแล้วพบความผิดปกติที่ระบบหายใจ อาจคาดการณ์ได้ว่ามีภาวะ Pleural Effusion
การเอกซเรย์ เป็นวิธีวินิจฉัยที่ให้ผลการตรวจชัดเจน เนื่องจากจะช่วยให้เห็นลักษณะปอด รวมถึงของเหลวภายในช่องเยื่อหุ้มปอดได้
เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (Computerized Tomography: CT Scan) อาจนำมาใช้ตรวจเพื่อหาสาเหตุของภาวะน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอดที่เป็นไปได้เพิ่มเติม
อัลตราซาวด์ (Ultrasound) เป็นการใช้คลื่นเสียงความถี่สูงแสดงภาพอวัยวะภายในร่างกาย ซึ่งจะแสดงภาพส่วนของเนื้อเยื่ออ่อน (Soft Tissue) ทารกที่อยู่ในครรภ์ ภาวะเส้นเลือดอุดตัน การอัลตราซาวด์อกจึงเป็นอีกหนึ่งวิธีวินิจฉัยภาวะน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด
การวิเคราะห์ของเหลวภายในช่องเยื่อหุ้มปอด (Pleural Fluid Analysis) สามารถทำได้หลายวิธี แต่ส่วนใหญ่แพทย์มักใช้การเจาะโพรงเยื่อหุ้มปอดหรือสอดท่อขนาดเล็กเข้าไปในปอดเพื่อระบายของเหลวออกมา แล้วนำของเหลวดังกล่าวไปตรวจสอบ
-
-
-