Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
COPD (พยาธิสภาพ (เมื่อหลอดลมได้รับการระคายเคืองบ่อย ๆ จะทำให้เยื่อบุหลอดลม…
COPD
พยาธิสภาพ
เมื่อหลอดลมได้รับการระคายเคืองบ่อย ๆ จะทำให้เยื่อบุหลอดลมโดยเฉพาะต่อมเมือก (Mucous gland) หลังสารคัดหลั่งออกมา ต่อมาเซลล์จะมีขนาดใหญ่และเพิ่มจำนวนมากขึ้นทำให้ผนังหลอดลมหนาตัวขึ้นและความยืดหยุ่นเสียไป ท่อหลอดลมจะตีบแคบลง ผู้ป่วยที่สูบบุหรี่หรือได้รับควันบุหรี่จะทำให้ขนกวัดในเซลล์เยื่อบุหลอดลมเคลื่อนไหวได้น้อยลง ต่อมและเซลล์เมือกไม่สามารถขับมูกจำนวนมากที่เหนียวออกไปได้ ส่วนโรคถุงลมปอดโป่งพองเกิดจากมีการระคายเคืองของเยื่อบุหลอดลมเป็นเวลานาน เมือกที่ฉาบอยู่บนผิวของหลอดลมถูกทำลาย ทำให้ผนังหลอดลมหนาตัวขึ้นและกลายเป็นแผลเป็น ขนกวัดถูกทำลายจึงทำให้สารที่เป็นอันตรายต่าง ๆ รวมทั้งเชื้อแบคทีเรียและไวรัสสามารถแทรกเข้าสู่เซลล์ของหลอดลม มีการอักเสบและสร้างเสมหะออกมามาก และเมื่อกลไกการขับเสมหะตามปกติถูกทำลายไปจะทำให้เสมหะที่สร้างขึ้นนั้นจับตัวกันเป็นก้อนอุดหลอดลมไว้อากาศผ่านเข้าออกจากถุงลมไม่ได้จึงดันให้ถุงลมโป่งออก ถุงลมสูญเสียความยืดหยุ่น คือ ยืดได้หดไม่ได้ เมื่อมีการคั่งของอากาศนาน ๆ เข้าถุงลมจะยิ่งโป่งออกจนมีการฉีกขาดและหลอดเลือดบริเวณนั้นถูกทำลาย พื้นที่ผิวในการแลกเปลี่ยนก๊าซลดลง มีการคั่งของคาร์บอนไดออกไซด์ ส่วนออกซิเจนในเลือดจะต่ำลง หัวใจซีกขวาต้องทำงานหนักซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดหัวใจซีกขวาล้มเหลว เรียกภาวะนี้ว่าคอร์พูลโมเนล (Cor pulmonale)
สาเหตุ
การสูบบุหรี่ เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดเนื่องจากในควันบุหรี่มีสารเคมีมากกว่า 4,000 ชนิด สารและแก๊สเหล่านี้ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุหลอดลมและถุงลมจนนำไปสู่การอักเสบเรื้อรัง และทำให้ปอดเสื่อมสมรรถภาพในที่สุด ดังนั้น ผู้ที่สูบบุหรี่ติดต่อกันเป็นเวลานานจึงมีโอกาสเป็นโรคนี้ได้มากกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ ขณะเดียวกันผู้ที่ได้รับควันบุหรี่แม้จะไม่ได้สูบก็มีโอกาสเป็นโรคนี้ได้เช่นเดียวกัน
มลพิษทางอากาศ เช่น ฝุ่นละออง ควันพิษ รวมถึงการหายใจเอาสารเคมีบางอย่างเข้าไปในปอดติดต่อกันเป็นเวลานาน ซึ่งเป็นกรณีที่มักเกิดกับผู้ที่ต้องทำงานในสถานที่ที่มีละอองสารเคมี เช่น เหมืองถ่านหิน งานเชื่อมโลหะ รวมถึงการเผาไหม้เชื้อเพลิงในการประกอบอาหารและขับเคลื่อนเครื่องจักรต่างๆ
โรคทางพันธุกรรม เช่น โรคพร่องสาร alpha-1-antitrypsin (AAT) ซึ่งเป็นเอ็นไซม์ที่ผลิตในตับแล้วหลั่งเข้าสู่กระแสเลือดเพื่อป้องกันไม่ให้ปอดถูกทำลายจากสารต่างๆ โรคนี้จึงสามารถเกิดได้ทั้งกับคนวัยหนุ่มสาว สำหรับผู้ใหญ่ที่สูบบุหรี่ การขาด AAT จะเร่งให้เกิดภาวะถุงลมโป่งพองเร็วขึ้น อย่างไรก็ตาม โรคนี้เป็นโรคที่พบได้ไม่บ่อยนักและมักพบในชาวยุโรปหรือชนชาติผิวขาวอื่นๆ
สำหรับปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังได้แก่ การสูบบุหรี่ทั้งที่เป็นโรคหืด และอายุ โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไปเนื่องจากโรคนี้เป็นโรคที่พัฒนาอย่างช้าๆ ดังนั้นกว่าที่จะตรวจพบโรค ผู้ป่วยก็มักเข้าสู่วัยกลางคนแล้ว
-
การรักษา
รักษาเพื่อช่วยให้ระบบทางเดินหายใจทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยแนะนำให้เลิกสูบบุหรี่และหลีกเลี่ยงอากาศเสีย ดื่มน้ำมาก ๆ ประมาณวันละ 10-15 แก้ว เพื่อช่วยขับเสมหะ หากไอมากอาจให้ยาขับเสมหะ ให้ยาขยายหลอดลมหากมีเสียงหวีด หากเสมหะมีสีเหลืองหรือเขียวให้ยาปฏิชีวนะ เช่น Amoxycillin หรือ Erythromucin นาน 7-10 วัน หากมีภาวะแทรกซ้อนจะต้อง X-ray ตรวจเสมหะ ทำ Bronchoscope หากมีภาวะหายใจล้มเหลวอาจต้องเจาะคอ ใช้เครื่องช่วยหายใจ
การวินิจฉัย
เคาะปอด ได้เสียงโปร่งจากกอากาศค้างอยู่ในถุงลม ฟังปอดได้ยินเสียงหายใจค่อย พบเสียงกรอบแกรบ (Crepitation) เสียงรอนไค (Rhonchi) และเสียงหวีด (Wheezing) เสียงหายใจเบากว่าปกติ ชัดบริเวณใต้ลิ้นปี่ อาจพบนิ้วปุ้ม เล็บเขียว ปากเขียว หรือหัวใจล้มเหลว (มีอาการเท้าบวม นอนราบไม่ได้ หลอดเลือดที่คอโป่ง ตับโต)
-
-
-