Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด (Pleural effusion) (อาการและอาการแสดง…
ภาวะน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด (Pleural effusion)
สาเหตุ
เกิดจากการเสียสมดุลของความดัน hydrostatic และ oncotic ภายในหลอดเลือดที่มาเลี้ยงเยื่อหุ้มปอดและการไหลเวียนของระบบน้ำเหลือง ( lymphatic drainage)
อาการและอาการแสดง
หายใจหอบเหนื่อย หายใจลำบาก หรือหายใจเร็วกว่าปกติ
แน่นหน้าอกหรือเจ็บหน้าอกด้านที่มีน้ำหรือของเหลว
นอนราบไม่ได้ (orthopnea) ต้องนั่งหรือเอนตัว
สะอึกเพราะน้ำหรือของเหลว
บวมที่เท้า หัวใจเต้นเบา เร็วจากโรคหัวใจ
ไข้ ไอ มีเสมหะมากจากปอดอักเสบ
มีผื่นขึ้นจากโรคออโตอิมมูน
พยาธิสรีรวิทยา มี 4 ด้าน
แรงดันในหลอดเลือดสูงขึ้น (increase hydrostatic pressure)
แรงดึงในหลอดเลือดลดลง (decrease oncotic pressure) เช่น ภาวะขาดโปรตีนในเลือดจากการขาดสารอาหาร
หลอดเลือดมีการซึมผ่านของสารมากขึ้น (increase permeability) เช่น ภาวะที่มีการอักเสบของหลอดเลือดในบริเวณเยื่อหุ้มปอดจากการติดเชื้อปอดอักเสบ
การอุดตันของท่อหลอดน้ำเหลือง (lymphatic obstruction) เช่น มะเร็งในต่อมน้ำเหลืองที่ขั้วปอด ทำให้เกิดสารน้ำแบบเอกซูเดส (exudate)
ชนิดของสารน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด
น้ำหรือของเหลวชนิดใส (transudate)
เป็นน้ำหรือของเหลวที่เกิดจากการซึมรั่วของน้ำหรือของเหลวในหลอดเลือดของเยื่อหุ้มปอดจากหลอดเลือดฝอยซึมเข้าไปในโพรงเยื่อหุ้มปอดซึ่งเกิดจากความดันในหลอดเลือดสูงขึ้น โดยไม่ได้เกิดจากพยาธิสภาพของผนังหลอดเลือด
น้ำหรือของเหลวชนิดข้น (exudate)
เกิดจากมีพยาธิสภาพที่ผนังหลอดเลือดของเยื่อหุ้มปอดโดยเฉพาะของหลอดเลือดฝอยทำให้ผนังหลอดเลือดยอมให้น้ำหรือของเหลวในหลอดเลือดไหลซึมออกจากหลอดเลือดเข้าไปในโพรงเยื่อหุ้มปอด ซึ่งอาจเกิดขึ้นจากการอักเสบติดเชื้อ ไม่ติดเชื้อ หรือจากการอุดตันของระบบน้ำเหลืองในเยื่อหุ้มปอด
การวินิจฉัย
การซักประวัติ
อาการเหนื่อยและเจ็บหน้าอกมีโรคประจำตัวเกี่ยวกับปอดและหัวใจหรือไม่ อาการเจ็บแปล๊บๆเวลาหายใจเข้าลึกๆ ไอ หรือจาม
การตรวจร่างกาย
เคาะทึบ (dullness on percussion)
เสียงหายใจเบาในด้านที่มีน้ำ (decrease breath sound)
การขยายตัวของปอดลดลง
หลอดลมเบี้ยว ( trachea shift)ไปทางด้านที่มีพยาธิสภาพ
ขาบวม หลอดเลือดที่คอโป่ง และได้ยินเสียง S3 gallop ที่หัวใจในภาวะหัวใจล้มเหลว
อาการบวมทั่วตัวในโรคไตเนฟโฟติก (nephritic syndrome)
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การถ่ายภาพรังสีทรวงอก
การตรวจวิเคราะห์น้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด
การส่งเพาะเชื้อและตรวจหาเซลล์มะเร็งจากน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด
การตัดชิ้นเนื้อเยื่อหุ้มปอด