Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะการหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน (Acute Respiratory Distress Syndrome; ARDS)
ภาวะการหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน
(Acute Respiratory Distress Syndrome; ARDS)
ความหมาย
เป็นภาวะการหายใจล้มเหลวแบบเฉียบพลันและมีความรุนแรงเกิดจากเนื้อปอดถูกทำลายหรือได้รับบาดเจ็บจากสาเหตุใดก็ตาม
สาเหตุ
โดยตรง
การได้รับแรงกระทบกระแทก
การติดเชื้อที่ปอด
การเกิด Embolism ทั้งไขมัน อากาศ น้ำคร่ำและthrombotic
การสำลัก (aspiration)
การจมน้ำ (near drowning)
พิษจากออกซิเจน (oxygen toxicity)
โดยอ้อม
ภาวะช็อก ช็อกจากการติดเชื้อ (septic shock)
การติดเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัส
การใช้ยาเกินขนาด (drug overdose)
ไฟไหม้ (burn)
อาการและอาการแสดง แบ่งเป็น 4 ระยะ
1.latent phase เป็นระยะเริ่มแรก
ภายใน 24 ชั่วโมง อาการยังไม่รุนแรงมาก จะมีอาการหายใจลำบาก หายใจเร็วตื้น
2.Acute interstitial edema phase
มีการหลั่งสารสื่อออกมา (mediators) ส่งผลทำลายเนื้อเยื่อและหลอดเลือดปอด เกิดภายใน 12 – 24 ชั่วโมง ภายหลังปอดได้รับบาดเจ็บ
3.Acute intra – alveolar edema phase
ภายในถุงลมมีน้ำ เม็ดเลือดขาว เม็ดเลือดแดง และโปรตีนจำนวนมาก ทำให้เกิดการทำลาย alveolar cell type I
4.Subacute – chronic phase
ถ้าผ่านพ้นระยะที่ 3 ได้ จะเป็นระยะที่ผนังถุงลมหนาแข็ง ในถุงลมมีน้ำ นำเลือด เม้ดเลือดขาว ไฟโบรบลาส มีการเกิดพังผืดในปอดถุงลมที่เสียไป
พยาธิสรีรภาพ
เมื่อปอดได้รับอันตรายหรือบาดเจ็บจากสาเหตุโดยตรงหรือโดยอ้อมร่างกายจะเกิดปฏิกิริยาตอบสนองต่ออันตรายที่มากระทำกับปอดโดยเกิดการอักเสบของเนื้อเยื่อปอด
มีการหลั่งสารสื่อ (mediators) เข้าสู่กระแสเลือด
ทำให้มีการทำลายกลไกของเซลล์เยื่อบุ (endothelial cell) ของหลอดเลือดฝอยในปอด
ส่งผลให้ร่างกายกระตุ้นให้เพิ่มการหลั่ง platelet permeability factor, bradykinin, collagenase และ elastase
ทำให้มีการดึงน้ำจากหลอดเลือดเข้าสู่ interstitial เพิ่มขึ้น เกิด interstitial บวม ทำให้ถุงลมปอดบวมน้ำและเกิดการอักเสบ
ทำให้ความจุและความยืดหยุ่นของถุงลมลดลง ถุงลมที่บวมแฟบจะไม่มีการแลกเปลี่ยนก๊าซ
ผู้ป่วยจึงต้องเพิ่มความพยายามออกแรงในการหายใจเข้าในแต่ละครั้งเพื่อให้ถุงลมที่แฟบเปิดออกให้ได้ปริมาตรอากาศที่เพียงพอ
การวินิจฉัย
กลุ่มอาการ ARDS มีความแตกต่างจากภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลันทั้งในด้านพยาธิสรีรภาพ อาการและอาการแสดง การรักษา และระดับความรุนแรงโดยมีเกณฑ์ดังนี้
ปอดได้รับบาดเจ็บหรือถูกทำลายอย่างเฉียบพลันทั้งจากตัวปอดเองและสาเหตุนอกปอด
ภาวะพร่องออกซิเจนอย่างรุนแรง (severe hypoxemia)
ภาพถ่ายรังสีทรวงอกมีภาวะปอดเป็นฝ้าขาวทั้งสองข้างร่วมกับปอดบวมน้ำ
การรักษา
แก้ไขภาวะพร่องออกซิเจน
ผู้ป่วยที่ต้องการ FiO2 มากกว่า 0.6 เพื่อให้ความดันย่อยของออกซิเจนในหลอดเลือดแดง (PaO2) มากกว่า 60 ความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดแดง (oxygen saturation) มากกว่า 90%
รักษาความสมดุลของน้ำและอิเลกโทรไลต์
โดยนิยมให้ในรูป crystalloid เพราะการใช้ colliod มีรายงานว่าจะทำให้น้ำท่วมถุงลมมากขึ้น
รักษาสาเหตุของโรคที่เกี่ยวข้องกับการเกิด ARDS
การพยาบาลผู้ป่วย ARDS
เฝ้าระวังและป้องกันการเกิดภาวะ ARDS ในรายที่มีโอกาสเกิดสูง
สังเกตอาการเปลี่ยนแปลงอย่างใกล้ชิด เช่น กระสับกระส่าย สับสน เขียวตามปลายมือปลายเท้าขณะออกแรง
ฟังเสียงปอดทุกเวร
ป้องกันและลดการติดเชื้อจากการสำลักโดยการจัดท่านอนศีรษะสูง
แก้ไขและลดภาวะเลือดแดงพร่องออกซิเจน
สังเกตลักษณะการหายใจของผู้ป่วยว่ามีการต้านเครื่อง หายใจไม่สัมพันธ์กับเครื่องช่วยหายใจที่ตั้งไว้หรือไม่
จัดท่าที่เพิ่มการแลกเปลี่ยนก๊าซประเมินว่าปอดข้างใดของผู้ป่วยที่มีพยาธิสภาพ ให้จัดท่านอนโดยใช้หลักตะแคงปอดข้างที่ปปกติอยู่ด้านล่าง (Good Lung Down) และประเมินค่า oxygen saturation
ที่มากกว่า 85 mmHg
ส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนก๊าซและระบายอากาศ
ดูดเสมหะเมื่อฟังปอดแล้วมีเสียงเสมหะโดยต้องไม่มากกว่า 80 – 120 มิลลิเมตรปรอท ในผู้ใหญ่และ 80 -100 มิลลิเมตรปรอท ในเด็ก
ให้ผู้ป่วยคงไว้ซึ่งการไหลเวียนที่เพียงพอกับความต้องการของเนื้อเยื่อในร่างกาย
บันทึกการไหลเวียนทุกชั่วโมงหรือบ่อยครั้งขึ้นหากมีอาการผิดปกติ ประกอบด้วย ความดันโลหิต ชีพจร อุณหภูมิกาย การหายใจ คลื่นไฟฟ้าหัวใจ
คงความสมดุลของสารน้ำและอิเลกโทรไลต์
ประเมินและบันทึกสารน้ำเข้าและออกทุกชั่วโมง พร้อมกับฟังเสียงปอดเพื่อประเมินสิ่งผิดปกติ
ส่งเสริมให้ผู้ป่วยได้รับสารอาหารที่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย
การให้ในปริมาณที่น้อยๆก่อนหากรับได้ดีควรเพิ่มปริมาณตามความต้องการของร่างกาย