Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด (Pulmonary Embolism; PE) (อาการและอาการแสดง…
ภาวะลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด (Pulmonary Embolism; PE)
เป็นภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญของภาวะลิ่มเลือดอุดหลอดเลือดดำส่วนลึกที่ขา (Deep Vein Thrombosis; DVT)
ความหมาย
massive PE
ภาวะที่มีการเกิดการอุดกั้นของลิ่มเลือดในปอดอย่างเฉียบพลันที่มีความดันโลหิตต่ำ (systolic blood pressure < 90 mmHg) อย่างน้อย 15 นาที หรือความดันโลหิตต่ำที่ต้องได้รับยา inotropic
หัวใจหยุดแต้นหรือคลำชีพจรไม่ได้
หัวใจเต้นช้ากว่า 40 ครั้งต่อนาที
submassive PE
ผู้ป่วยมีภาวะลิ่มเลือดอุดกั้นในปอดเฉียบพลันที่ไม่พบความดันซีสโตลิกต่ำคือ systolic blood pressure ≥ 90 mmHg ร่วมกับภาวะหัวใจห้องล่างขวาทำงานผิดปกติ (right ventricular dysfunction) หรือภาวะที่มีการตายของกล้ามเนื้อหัวใจ (myocardial necrosis) ที่ผลการตรวจ troponin T เพิ่มมากกว่า 0.1 ng/ml
right ventricular dysfunction ซึ่งมีภาวะนี้อย่างน้อย 1 อย่าง
พบการขยายตัวของหัวใจห้องล่างขวาโดยการทำคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจหรือ CT scan
ความรุนแรงของ Acute PE
แบ่งความรุนแรงตามความสามารถในการทำงานของหัวใจห้องล่างขวาในการปรับตัวต่อ afterload ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วแบ่งเป็น 3 ระดับ
1.Low risk PE หมายถึง ผู้ป่วย PE ที่ไม่มีความดันโลหิตต่ำ ไม่มีการทำงานของหัวใจห้องล่างขวาเสียหน้าที่
2.Submassive PE หมายถึง ผู้ป่วย PE ที่ไม่มีความดันโลหิตต่ำแต่เริ่มพบการทำงานของหัวใจห้องล่างขวาเสียหน้าที่ จากการทำ CT scan หรือ echocardiogram
3.ผู้ป่วย PE ที่มีความดันโลหิตต่ำ ความดันซีสโตลิก ต่ำกว่า 90 mmHg นานกว่า 15 นาที หรือมีหัวใจเต้นช้าลง (bradycardia) น้อยกว่า 40 ครั้งต่อนาที
สาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยง
พันธุกรรมหรือยีน
โรคที่เกิดขึ้นภายหลัง เช่น การได้รับบาดเจ็บของเยื่อบุต่างๆ (endothelial injury), การไหลเวียนเลือดที่ไม่ดี (blood flow stasis) อายุ การสูบบุหรี่
ความอ้วน มะเร็ง การรับประทานยาคุมกำเนิด การตั้งครรภ์
อาการและอาการแสดง
หายใจไม่อิ่ม
เจ็บหน้าอก
โดยจะพบสองอาการร่วมกันในผู้ป่วย PE ร้อยละ 90
พยาธิสรีรวิทยา
ภาวะลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด (pulmonary embolism) เป็นภาวะแทรกซ้อนที่ทำให้มีลิ่มเลือดเกิดขึ้นในหลอดเลือดดำโดยสาเหตุที่ทำให้เกิดลิ่มเลือดมี 3 อย่าง ( virchow,s triad
ร่างกายไม่ได้เคลื่อนไหวเป็นเวลานาน
ความผิดปกติในการแข็งตัวของเลือดทำให้เกิดลิ่มเลือดได้ง่าย
ความอ่อนแอของผนังหลอดเลือดดดำที่เกิดจากการถูกแรงกระแทก
การตรวจร่างกาย
หายใจเร็ว ออกซิเจนในเลือดต่ำ (hypoxemia) หัวใจเต้นเร็ว หลอดเลือดดำที่คอโป่ง (elevated jugular venous pressure) ปอดอาจมีเสียง wheezing เสียงเสียดสีของเยื่อหุ้มปอด (pleural rub)
การรักษา
การให้ยาละลายลิ่มเลือด (thrombolytic agents) ให้ในกรณีผู้ป่วยมีภาวะช็อกหรือความดันโลหิตต่ำชัดเจน
การใช้ยาต้านลิ่มเลือด (anticoagulants) เป็นยามาตรฐานที่ใช้รักษา PE สามารถบริหารยาได้สะดวก ป้องกันการเกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำได้โดยการให้เฮพปาริน (heparin) หรือ คูมาดิน (coumadin) ที่นิยมคือให้ยาเฮพปารินทางหลอดเลือดดำในช่วงแรกและให้ยาคูมาดินต่ออีกประมาณ 3 เดือน