Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic Obstructive Pulmonary Disease :COPD)
โรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง
(Chronic Obstructive Pulmonary Disease :COPD)
ความหมาย
เกิดจากปอดได้รับความเสียหายอย่างเรื้อรังจนก่อให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการหายใจ
สาเหตุ
การสูบบุหรี่ เป็นสาเหตุหลักที่พบได้บ่อยของ COPD เนื่องจากสารเคมีอันตรายในบุหรี่สามารถทำลายผนังด้านในของปอดและระบบทางเดินหายใจได้
การสูดดมควัน ฝุ่น หรือสารเคมี
พันธุกรรม
มลพิษทางอากาศ
ปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ที่อาจทำให้เกิดโรคนี้ ได้แก่
โรคประจำตัว เช่น ผู้ที่เป็นโรคหอบหืดแล้วสูบบุหรี่
อายุ COPD จะค่อย ๆ เกิดอาการอย่างช้า ๆ ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่มักตรวจพบโรคเมื่ออายุมากขึ้น โดยเฉลี่ยอายุ 40 ปีขึ้นไป
เด็กที่คลอดก่อนกำหนด อาจส่งผลให้เกิดการเจริญเติบโตผิดปกติของหลอดลมและเนื้อปอด ซึ่งอาจกลายเป็น COPD ได้ในภายหลัง
การวินิจฉัย
การตรวจสมรรถภาพปอดโดยใช้สไปโรเมตรีย์ (Spirometry)
เป็นการตรวจดูการทำงานของปอดจากการวัดปริมาตรอากาศหายใจภายในปอดและความเร็วที่หายใจออกแต่ละครั้ง โดยก่อนตรวจแพทย์อาจให้ยาพ่นขยายหลอดลมก่อน แล้วจึงค่อยให้ผู้ป่วยเป่าลมหายใจผ่านเครื่องมือที่เรียกว่า สไปโรเมตรีย์ วิธีนี้ยังช่วยวินิจฉัยความรุนแรงของโรค ผลการรักษา และประสิทธิภาพของการใช้ยาได้ด้วย
การตรวจเอกซเรย์ทรวงอก
เป็นการเอกซเรย์ดูความผิดปกติของปอดและอวัยวะบริเวณช่วงอก ซึ่งบางรายอาจตรวจพบถุงลมโป่งพอง และวิธีนี้ช่วยให้แพทย์แยกอาการผิดปกติที่คล้ายคลึงกันออกจากโรคอื่น ๆ ด้วย เช่น การติดเชื้อที่ทรวงอก มะเร็งปอด เป็นต้น
การตรวจเลือด
แพทย์อาจตรวจเลือดเพื่อแยกโรคบางชนิด เช่น โรคโลหิตจาง ภาวะเม็ดเลือดแดงข้น หรือโรคถุงลมโป่งพองจากการขาดอัลฟ่า 1
การตรวจCT scan
เป็นการตรวจวินิจฉัยโรคด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ที่ทำให้แพทย์ทราบรายละเอียดของความผิดปกติที่ปอดมากขึ้น และวางแผนการรักษาขั้นต่อไปได้อย่างเหมาะสม แต่อาจจำเป็นในผู้ป่วยบางรายเท่านั้น เช่น ใช้ประเมินว่าผู้ป่วยได้รับประโยชน์จากการผ่าตัดมากน้อยแค่ไหน ตรวจหาถุงลมโป่งพอง และคัดกรองมะเร็งปอด เป็นต้น
การตรวจอื่น ๆ
เช่น การวัดความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือด การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง การตรวจเสมหะดูการติดเชื้อ
อาการและอาการแสดง
เหนื่อย
ไอ
มีเสมหะ
การรักษา
การเลิกสูบบุหรี่
การหลีกเลี่ยงมลพิษและสารเคมี
การใช้ยา
ยาขยายหลอดลม
เป็นยาช่วยคลายกล้ามเนื้อทางเดินหายใจ เพื่อช่วยให้หายใจง่ายขึ้น
ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์
มีทั้งชนิดรับประทานและสูดพ่น โดยยาพ่นสเตียรอยด์มักใช้รักษาร่วมกับยาขยายหลอดลมชนิดออกฤทธิ์ยาว
ยาปฏิชีวนะ
ใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยติดเชื้อบริเวณทรวงอก เช่น โรคหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน โรคปอดบวม โรคไข้หวัดใหญ่ เป็นต้น อีกทั้งยาชนิดนี้ยังป้องกันภาวะแทรกซ้อนและอาการของโรคไม่ให้รุนแรงมากกว่าเดิมด้วย
ยาชนิดอื่น ๆ
เช่น ยาทีโอฟิลลีน อาจช่วยให้หายใจได้สะดวกขึ้น และป้องกันการกำเริบของโรค
การรักษาอื่น ๆ เป็นการรักษาผู้ป่วยที่มีอาการระดับปานกลางถึงรุนแรง เช่น
การฟื้นฟูสมรรถภาพปอด
การบำบัดด้วยออกซิเจน
การผ่าตัด
ภาวะแทรกซ้อน
ภาวะความดันหลอดเลือดปอดสูง
การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ
โรคหัวใจ
โรคกระดูกพรุน
ภาวะโพรงเยื่อหุ้มปอดมีอากาศหรือโรคปอดแตก
มะเร็งปอด
โรคซึมเศร้า อาการของโรคอาจทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ตามปกติ จนทำให้เกิดความรู้สึกเศร้า หดหู่ และเกิดอารมณ์ด้านลบอื่น ๆ ที่ก่อให้เกิดโรคซึมเศร้าได้