Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Dengue Haemorrhagic fever (วินิจฉัยการพยาบาล (เกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคไข้เลื…
Dengue Haemorrhagic fever
พยาธิสภาพของโรคในผู้ป่วยรายนี้
ผู้ป่วยเกิดการติดเชื้อไวรัสแดงกี่ ซึ่งเชื้อไวรัสเดงกีแพร่จากคนหนึ่งไปอีกคนหนึ่งได้โดยมียุงลายเป็นตัวนำที่สำคัญถึงแม้จะมียุงลายหลายชนิดที่สามารถแพร่เชื่อได้แต่ที่มีความสำคัญทางด้านระบาดวิทยาของโรค DF / DHF คือ Aedes aegypti ซึ่งเป็นยุงที่อยู่ใกล้ชิดคนมาก (highly anthropophilic) โดยยุงลายตัวเมียจะดูดเลือดคนที่มีเชื้อไวรัสเดงกี่อยู่ในกระแสเลือด (ในช่วงที่มีไข้สูง) เข้าไปเชื้อไวรัสจะเพิ่มจำนวนในตัวยุง (external incubation period ประมาณ 8-10 วัน) โดยไวรัสเดงกีจะเข้าไปสู่กระเพาะและเข้าไปเพิ่มจำนวนในเซลผนังของกระเพาะหลังจากนั้นจะเข้าสู่ต่อมน้ำลายเตรียมพร้อมที่จะปล่อยเชื้อไวรัสเดงกีให้กับคนที่ถูกกัดครั้งต่อไปได้ตลอดอายุของยุงตัวเมียซึ่งอยู่ได้นาน 30-45 วันคนที่ไม่มีภูมิคุ้มกันนับว่าเป็น amplifying host ที่สำคัญของไวรัสเดงกีการแพร่เชื้อจะต่อเนื่องกันเป็นลูกโซ่ถ้ามียุงและคนที่มีเชื้อไวรัสเดงกีอยู่ในชุมชนที่มีหนาแน่น
การวินิจฉัยโรค
Dengue Haemorrhagic Fever Grade 3
ไข้เลือดออกเดงกีมีอาการทางคลินิกเป็นรูปแบบที่ค่อนข้างชัดเจนคือมีไข้สูงลอยร่วมกับอาการเลือดออกตับโตและมีภาวะช็อกในรายที่รุนแรงในระยะมีไข้จะมีอาการต่างๆคล้าย DF แต่จะมีลักษณะเฉพาะของโรคคือมีเกล็ดเลือดต่ำและมีการรั่วของพลาสมาซึ่งถ้าพลาสมารั่วออกไปมากผู้ป่วยจะมีภาวะช็อกเกิดขึ้นที่เรียกว่า dengue Shock syndrome (DSS) การรั่วของพลาสมาซึ่งถือเป็นลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ของโรคไข้เลือดออกเดงกีสามารถตรวจพบได้จากการที่มีระดับ Hct สูงขึ้นมีน้ำในช่องปอดและช่องท้อง
ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ตรวจภูมิคุ้มกันต่อไข้เลือดออก (IgM) หรือตรวจ NS1 Ag ต่อเชื้อโดยตรง = positive
พบค่า plt < 100,000 cu.mm
hct สูงกว่าปกติ
วินิจฉัยการพยาบาล
อาจเกิดภาวะน้ำเกิน เนื่องจากพยาธิสภาพของโรค คือมีการรั่วของน้ำออกนอกเส้นเลือด
การพยาบาล
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับสารน้ำ 5% NSS 1000 ml Vein rate 40 cc/hr. และดูแลปรับอัตราการไหลของสารน้ำตามการรักษาของแพทย์
บันทึกปริมาณน้ำเข้าและออกจากร่างกาย Keep > 80 cc in 4 hr. เพื่อดูการคั่งของน้ำในอวัยวะในร่างกาย
ประเมินสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมง โดยเฉพาะค่าชีพจร และอัตราการหายใจ
แนะนำบิดามารดาให้มีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยเพื่อป้องกันภาวะน้ำเกิน เช่น ปฏิบัติตามคำแนะนำของพยาบาลในการตวงน้ำ ตวงปัสสาวะ
สังเกตและประเมินอาการและอาการแสดงของภาวะน้ำเกิน เช่น หายใจเร็ว เหนื่อยหอบ หายใจไม่ออก นอนราบไม่ได้ ชีพจรเร็ว มีอาการบวม
เสี่ยงต่อการเกิดภาวะเลือดออก เนื่องจากหลอดเลือดแดงเปาะแตกง่าย และมีค่าเกล็ดเลือดต่ำ
การพยาบาล
ดูแลใน Bed rest พักผ่อนบนเตียง เพื่อลดการเคลื่อนไหว การกระทบกระแทกของร่างกาย และยกไม้กั้นเตียงขึ้นทุกครั้ง เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ พลัดตกลงมาจากเตียง ซึ่งจะทำให้เกิดภาวะเลือดออกได้
ประเมินสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมง โดยเฉพาะค่าชีพจร และความดันโลหิต เพื่อประเมินการมีเลือดออกในร่างกาย
ติดตามเจาะ Hct. ทุก 6 ชั่วโมง ตามแผนการรักษาของแพทย์ เพื่อดูความเข็มข้นของเม็ดเลือดแดง
สังเกตและประเมินอาการและอาการแสดงของภาวะเลือดออกในระบบร่างกาย เช่น อาเจียนเป็นเลือด ถ่ายอุจจาระดำ ซึมลง เลือดกำเดาไหล หรือพบจุดเลือดออกตามตัว เพื่อประเมินภาวะเลือดออก
ดูแลให้งดอาหารประเภทสีดำแดง เพื่อสังเกตการมีเลือดออก เช่น ถ่ายอุจจาระปนเลือด หรือสีดำ
ดูแลให้ผู้ป่วยตัดเล็บให้สั้น เพื่อป้องกันการเกาจนเกิดบาดแผลและเลือดออก
ดูแลช่องปากและฟันให้สะอาด โดยการบ้วนปากด้วย special mouth wash งดการแปรงฟันเพื่อป้องกันภาวะเลือดออกในช่องปาก
ติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ผลการตรวจค่า Hct. และค่า Plt. เพื่อประเมินแนวโน้มของการมีเลือดออกง่าย และบอกถึงความรุนแรงของเลือดออกง่ายหยุดยาก
เกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคไข้เลือดออก คือ มีการสูญเสียน้ำและอิเล็กโตไลท์
การพยาบาล
ประเมินสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมง เพื่อประเมินการเปลี่ยนแปลงร่างกาย
ประเมินอาการและอาการแสดงของภาวะสูญเสียสมดุลของอิเล็กโตไลท์ เช่น ริมฝีปากแห้ง กระหายน้ำ อ่อนเพลีย หายใจเร็ว ความตึงตัวของผิวหนังลดลง
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับสารน้ำทดแทนทางหลอดเลือดดำ 5% NSS 1000 ml Vein rate 40 cc/hr ตามการรักษาของแพทย์ เพื่อทนแทนสารน้ำที่สูญเสียไป
ดูแลทำความสะอาดช่องปากและฟันสะอาด โดยการบ้วนปากด้วย special mouth wash เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีความอยากอาหารมากขึ้น
กระตุ้นให้ผู้ป่วยดื่มน้ำ และให้จิบ ORS บ่อยๆ เพื่อทดแทนน้ำที่สูญเสียไป
ดูแลให้รับประทานอาหารอ่อน ย่อยง่าย รสชาติดีและเป็นอาหารที่ผู้ป่วยชอบ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารได้มากขึ้น
แนะนำบิดามารดาให้มีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วย เช่น กระตุ้นผู้ป่วยให้รับประทานอาหาร เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับสารน้ำ และสารอาหารที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
ชั่งน้ำหนักตัวของผู้ป่วย เพื่อประเมินเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลง
บันทึกปริมาณน้ำเข้าและออกจากร่างกาย เพื่อดูปริมาณสารน้ำที่เข้าออกจากร่างกาย
มีภาวะอ้วน เนื่องจาก ได้รับอาหารมากเกินความต้องการของร่างกาย
การพยาบาล
รับฟังและช่วยแก้ปัญหาให้ผู้ป่วย แนะนำประโยชน์ที่ผู้ป่วยจะได้รับเมื่อน้ำหนักลดลง เช่น รู้สึกแข็งแรงขึ้น แจ่มใสขึ้น ผู้ป่วยจะมีความเชื่อมันในตัวเองมากขึ้น ไม่เหนื่อยง่ายสามารถออกกำลังกายได้ดีขึ้น
ติดตามน้ำหนักและผลทางห้องปฏิบัติการ เพื่อดูการเปลี่ยนแปลง
ให้กำลังใจกระตุ้นให้ผู้ป่วยปฏิบัติกิจกรรม เมื่อมีการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต
ติดตามให้ผู้ป่วยปฏิบัติกิจกรรมตามแผนการรักษา
ดูแลการรับประทานอาหาร ไม่ให้เกิน หรืองดอาหารมื้อใดมือหนึ่ง
ดูแลการออกกำลังกายเพิ่มกิจกรรมการใช้แรงเช่น การเดิน การขยับแขนขา
วางแผนจำหน่าย-ให้ข้อมูลผู้ป่วยและญาติ ในการปฏิบัติตนเมื่อกลับบ้านเรื่องอาหารที่เหมาะสมสำหรับการลดน้ำหนัก
ให้คุณค่าครบห้าหมู่ แต่ให้พลังงานน้อย มีประโยชน์บำรุงสุขภาพ.
รสชาติผู้ป่วยยอมรับได้ สามารถปรับแบบแผนการรับประทานได้ในระยะยาว
รับประทานแล้วอิ่มไม่หิวและเหนื่อยล้า
บิดาและมารดามีความวิตกกังวลเนื่องจากสภาพการเจ็บป่วยที่รุนแรง
การพยาบาล
บอกกล่าวหรืออธิบานเหตุผลทุกครั้ง ก่อนทำกิจกรรมการพยาบาลใด โดยเฉพาะการดูแลผู้ป่วยทุกๆเรื่อง เช่น การดูแลขณะรับประทานอาหาร เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยและญาติเลือกกิจกรรมการพยาบาลโดยไม่ขัดกับแผนการรักษา
ให้กำลังใจญาติของผู้ป่วยด้วยความจริงใจและแสดงถึงความเอาใจใส่ เพื่อให้ญาติของผู้ป่วยรู้สึกว่า มีคนคอยช่วยเหลืออยู่
ดูแลจัดสิ่งแวดล้อมให้เป็นระเบียบ เรียบร้อย ให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อให้ญาติของผู้ป่วยได้นอนหลับพักผ่อน เป็นบางช่วง
แนะนำให้ญาติของผู้ป่วยเบี่ยงเบนความสนใจ โดยการพูดคุยกับญาติเตียงข้างๆ เล่น และพูดคุยกับผู้ป่วยบ่อยๆ จัดกิจกรรมการเล่นที่เหมาะสมตามวัย
พูดคุยกับญาติ ซักถามให้ผู้ป่วยระบายความรู้สึก โดยไม่ใช้คำพูดที่กระทบกระเทือนจิตใจ เพื่อให้ญาติของผู้ป่วยเกิดความสบายใจมากขึ้น และรับฟังอย่างตั้งใจ
ให้ความรู้กับญาติเกี่ยวกับการรักษาของแพทย์ และเปิดโอกาสให้ญาติได้ซักถามเมื่อมีปัญหา โดยพยาบาลจะตอบคำถามด้วยความเต็มใจ เพื่อให้ญาติให้ความร่วมมือในการรักษา
แนะนำตัวและสร้างสัมพันธภาพกับผู้ป่วยและญาติ เพื่อให้เกิดความไว้วางใจ ให้ความร่วมมือในการรักษาพยาบาล
เกิดไข้สูงเนื่องจากติดเชื้อไวรัสแดงกี่
การพยาบาล
ประเมินสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมง โดยเฉพาะค่าอุณหภูมิ เพื่อประเมินอาการเปลี่ยนแปลง
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับสารน้ำทดแทนทางหลอดเลือดดำ 5% NSS 1000 ml Vein rate 40 cc/hr. ตามการรักษาของแพทย์ เพื่อทดแทนสารน้ำที่สูญเสียไป
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับยา Paracetamol (500mg) 1 tab oral prn ทุก 6 ชั่วโมง ตามแผนการรักษาของแพทย์ เพื่อลดไข้
ดูแลเช็ดตัวลดไข้ เมื่อมีไข้สูงกว่า 37.5 องศาช่วยระบายความร้อนออกจากร่างกาย และติดตามประเมินไข้ซ้ำหลังเช็ดตัวลดไข้ 30 นาที เพื่อประเมินอาการเปลี่ยนแปลง
กระตุ้นให้ผู้ป่วยดื่มน้ำเยอะๆ เพื่อขับความร้อนออกจากร่างกาย
สังเกตและประเมินอาการและอาการแสดงของไข้สูง เช่น หนาวสั่น ปวดศีรษะ ปวดกระบอกตา ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อ่อนเพลียเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลได้อย่างรวดเร็ว
ดูแลให้พักผ่อนให้เพียงพอ และให้อาหารอ่อนเพื่อลดการใช้พลังงานของร่างกาย
ดูแลจัดสิ่งแวดล้อมให้สะอาด ปลอดโปร่ง ถ่ายเทได้สะดวก และลดอุณหภูมิของผู้ป่วย
สาเหตุ/ปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรค
1.มีนักเรียนที่ดรงเรียนของผู้ป่วยเป็นไข้เลือดออก และมีคนในชุมชนเป็นไข้เลือดออก
2.ในช่วงระยะเวลาที่ผู้ป่วยเป็นโรคไข้เลือดเป็นช่วงฤดูฝน และมีแหล่งน้ำขังในบางส่วนของบ้าน
ภาวะแทรกซ้อน
ภาวะเลือดออกรุนแรง
ความไม่สมดุลกรดด่างและเกลือแร่ในร่างกาย (metabolic และ electrolyte disturbance) เช่น ท้องเสีย อาเจียน
ภาวะตับวาย ภาวะไตวาย
อาการทางสมอง (encephalopathy)
pneumonia
อาการและอาการแสดง
มีอาการคลื่นไส้ รับประทานอาหารได้ลดลง
มีไข้สูงลอย
ปวดท้องอย่างรุนแรง กดเจ็บชายโครงด้านขวา
มีผื่นแดงขึ้นคล้ายผื่นของโรคหัด
การรักษา
record urine output keeps ≥ 80 ml/4 hr
Hct q¯ 4 hr if ≥ 3% pls notify
ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำตามความเหมาะสม 5% DNSS 1000 ml vein 40 ml/hr (1ml/kg/hr)
record V/S q¯ 1 hr keepตาม order
BP≥ 90/60mmHg
PP 60-100 ครั้ง/นาที
PR ≥ 20 ครั้ง/นาที
เจาะแลปส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ
Medication
Norfloxacin (400) 1*2 PO PC
losec sig 1*1 oral PC
Alum milk 30 ml tid pc
CEF-3 (50ml/day) 2 gm vein
PCM (500) sig 1 tab po prn q¯ 4- 6 hr