Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Hyperkalemia with Acute Kidney Injury (set-drugs-cartoon-vector…
Hyperkalemia with Acute Kidney Injury
ข้อมูลผู้ป่วย
ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต
:HypertentionและDLPเมื่อประมาณ10ปีที่แล้ว ได้รับการรักษาที่โรงพยาบาลบางพลี
GA
:ผู้ป่วยหญิงไทยอายุ85ปี ผู้ป่วยรู้สึกตัวดี ปลุกตื่นดี ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ ไม่สามารถพูดคุยสื่อสารได้ หายใจon ventilator PS mode PS5 PEEP3 Fio2 0.3 ไม่มีอาการหอบเหนื่อย on NG tube feedรับได้ดี on heparin lockที่เท้าข้างซ้าย และon IVที่เท้าข้างซ้าย
อาการสำคัญ
: ผู้ป่วยมีอาการซึมลง กลืนลำบาก2วันก่อนมาโรงพยาบาล
อาการปัจจุบัน
: 2วันก่อนมาโรงพยาบาลญาติรู้สึกว่าผู้ป่วยซึมลง รับประทานอาหารได้น้อยลง พูดโต้ตอบลดลง รู้สึกว่าตอนกลางวันผู้ป่วยจะตัวอุ่นๆ มีไอแห้งๆ ไม่มีเสมหะ ไม่อาเจียน มีถ่ายเหลว2-3ครั้ง มีสีดำและเขียว และ1วันก่อนมาโณงพยาบาลผู้ป่วยมีอาการปวกแขนและขา และเหนื่อย
พยาธิสภาพ
ภาวะโพแทสเซียมในเลือดสูง (Hyperkalemia)
เป็นภาวะที่โพแทสเซียมในเลือดสูงกว่าปกติมากกว่า5.5 mEq/ลิตร ตามปกติแล้วร่างกายต้องการโพแทสเซียมเพื่อให้เซลล์ประสาทและกล้ามเนื้อรวมถึงหัวใจทำงานได้อย่างปกติและเหมาะสม แต่หากมีระดับโพแทสเซียมที่มากกว่า 7.0 mmol/L จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และเป็นอันตรายถึงชีวิต
อาการของภาวะโพแทสเซียมในเลือดสูง
แพทย์มักจะตรวจไม่พบภาวะโพแทสเซียมในเลือดสูงจากการตรวจดูอาการภายนอกเพียงอย่างเดียว เว้นแต่จะมีการตรวจเลือด (Blood test) ที่ดำเนินการเพื่อตรวจโรคที่ผู้ป่วยเป็นอยู่แล้ว หรือเพื่อติดตามผลการใช้ยารักษาอาการนั้นๆ ซึ่งไม่ใช่การตรวจเพื่อหาภาวะนี้โดยตรง
คลื่นไส้ อาเจียน
ร่างกายอ่อนแอ
กล้ามเนื้ออ่อนล้า
รู้สึกเสียวซ่านหรือชา
หายใจลำบาก
การเต้นหัวใจผิดปกติ (arrhythmia)
สาเหตุของภาวะโพแทสเซียมในเลือดสูง
ภาวะโพแทสเซียมในเลือดสูงจะเกิดขึ้นเมื่อไตไม่สามารถขับถ่ายโพแทสเซียมได้ หรือไม่สามารถขับเคลื่อนโพแทสเซียมจากกระแสเลือดไปยังเซลล์ร่างกายได้อย่างเหมาะสม หรือเมื่อภาวะทั้งสองเกิดขึ้นพร้อมกัน ซึ่งมักเกิดจากความผิดปกติของไตดังนี้
ภาวะไตวายเฉียบพลัน (Acute kidney failure)
เกิดจากไตหยุดกรองของเสียออกจากเลือด นำไปสู่การสะสมของเสียในเลือดในระดับที่น่าเป็นห่วง
ภาวะไตวายเฉียบพลัน เกิดจากการสูญเสียความสามารถของไตอย่างเฉียบพลัน ผลเสียที่ตามมาจากภาวะไตวายเฉียบพลัน ได้แก่ ภาวะ volume overload, metabolic acidosis, hyperkalemia, hypo-hypernatremia และการสะสม nitrogen waste productsต่างๆ ในเลือด และในบางรายถึงขั้นเสียชีวิต
ภาวะไตวายเรื้อรัง (Chronic kidney disease)
เกิดจากไตสูญเสียการทำงานตลอดเวลา เมื่อโรคนี้กำเริบหนักขึ้น ของเหลวต่างๆ รวมทั้งสารอิเล็กโทรไลต์ (Electrolytes) และของเสียจะสะสมในร่างกาย
การรักษาภาวะโพแทสเซียมในเลือดสูง
ผู้ป่วยที่มีภาวะโพแทสเซียมในเลือดสูงที่เกิดจากโรคไตวาย การรักษาด้วยการฟอกไต (Hemodialysis) เป็นวิธีที่ให้ผลดีที่สุดในการขับโพแทสเซียมออกจากร่างกาย นอกจากนี้แพทย์อาจสั่งยาบางชนิดให้รับประทานเพื่อเอาโพแทสเซียมที่อยู่ในกระแสเลือดกลับเข้าสู่เซลล์ และช่วยให้ร่างกายขับโพแทสเซียมส่วนเกินออกจากร่างกาย เช่น
ยาและสารน้ำ
Ceftriaxone
2 gm. IV OD.+NSS 100 ml
อาการข้างเคียง
ผิวหนังบริเวณที่ฉีดยาเกิดความเจ็บปวดมาก กดแล้วเจ็บ เป็นก้อนแข็ง หรือรู้สึกร้อน
ผิวซีด อ่อนเพลีย หายใจถี่ หายใจไม่อิ่ม
มีไข้ เจ็บคอ หนาวสั่น หรือมีอาการที่เป็นสัญญาณของการติดเชื้อ
มีอาการแพ้ เช่น ผดผื่นขึ้นตามผิวหนัง หายใจลำบาก หน้าบวม ปากบวม ลิ้นบวม กลืนอาหารไม่ได้
ผิวลอก เป็นตุ่มพอง
รู้สึกแสบร้อนกลางอก เจ็บหน้าอก
คลื่นไส้ อาเจียน
ปวดท้อง ชาบริเวณท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ
เจ็บปวดขณะปัสสาวะ ปัสสาวะน้อยลง หรือปัสสาวะบ่อยมากกว่าปกติ
ปัสสาวะมีเลือดปน มีสีน้ำตาล แดง ขุ่น หรือมีกลิ่นเหม็น
ท้องร่วงมาก ถ่ายเหลวมาก หรือถ่ายเป็นเลือด
เจ็บปวดอย่างรุนแรงบริเวณข้าง ๆ หรือหลังบริเวณบั้นเอว
มีภาวะดีซ่าน (ตัวเหลืองตาเหลือง)
มีอาการชัก
สรรพคุณ
:ยาปฏิชีวนะในกลุ่มยาเซฟาโลสปอริน (Cephalosporin) ที่ออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียด้วยการทำลายผนังเซลล์ทำให้แบคทีเรียตาย ใช้ในผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อแบคทีเรียกระจายลุกลามไปทั่ว ติดเชื้อแบคทีเรียปอด
Berodual
1 ml. q 6 hr.
สรรพคุณ
:ยาขยายหลอดลม ป้องกันการเกิดอาการหอบหืด และการหดเกร็งของหลอดลม
อาการข้างเคียง
:ยานี้อาจก่อให้เกิดอาการอันไม่พึงประสงค์ ได้แก่ ปากแห้ง คอแห้ง ตาพร่า ปัสสาวะขัด หัวใจเต้นเร็ว ใจสั่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ คลื่นไส้ อาเจียน อาหารไม่ย่อย ปวดศีรษะ มึนงง อาการที่พบได้น้อย ได้แก่ ปัสสาวะคั่ง อาการแพ้ จมูกแห้ง ระคายเคือง อาการที่อาจอันตรายถึงชีวิต ได้แก่ อาการแพ้ยาแบบ anaphylaxis
น้ำตาเทียม (Artificial tears)
1 หยด BE BID
สรรพคุณ
:ช่วยให้ตาชุ่มชื้น หล่อลื่นลูกตา ในผู้ที่มีอาการตาแห้ง (Dry eye) มีน้ำตาน้อย (โดยทั่วไปมักพบในผู้สูงอายุที่ต่อมน้ำตาทำงานน้อยลงตามอายุ โดยเฉพาะในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน
อาการข้างเคียง
:อาจทำให้การมองเห็นภาพไม่ค่อยชัดเจน เกิดการระคายเคืองตาเล็กน้อย ทำให้เกิดการแพ้แสงสว่าง มีอาการคล้ายกับตาแฉะ ทำให้เปลือกตาบวม ซึ่งอาการข้างเคียงดังกล่าวอาจเกิดจากสารอื่น ๆ ที่เป็นองค์ประกอบร่วมในสูตรตำรับยา เช่น สารเพิ่มความหนืดของยา สารกันเสีย เป็นต้น
Azithromycin
500 mg. IV OD.x5day off24ก.ย.ุุ62 หลัง 10.00น.
สรรพคุณ
:รักษาการติดเชื้อแบคทีเรีย เป็นยาปฏิชีวนะในกลุ่มแมคโครไลน์ (Macrolide) ที่ใช้รักษาอาการติดเชื้อจากแบคทีเรีย เช่น โรคปอดบวม โรคหลอดลมอักเสบ ทอนซิลอักเสบ ไซนัสอักเสบ การติดเชื้อที่หูชั้นกลาง การติดเชื้อที่ทางเดินหายใจในกรณีที่ผู้ป่วยแพ้ยาปฏิชีวนะในกลุ่มเพนิซิลิน (Penicillin)
อาการข้างเคียง
:
อาการปวดท้องรุนแรงหรือท้องเสีย เมื่อท้องเสียหรือถ่ายเป็นเลือด ควรหยุดใช้ยาหรือไปพบแพทย์ และไม่ควรใช้ยาแก้ท้องเสียทับซ้อนในช่วงเวลานี้
อาการวิงเวียนศีรษะ ปวดหัว จะเป็นลม มีอาการเจ็บหน้าอกร่วมด้วย และมีการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติ
อาการคลื่นไส้ รู้สึกเหนื่อย เบื่ออาหาร ปัสสาวะมีสีเข้ม
อาการผิวหนังอักเสบ มีไข้ เจ็บคอ บวมที่ใบหน้าหรือลิ้น รู้สึกร้อนที่ดวงตา มีผื่นแดงกระจาย หรือผิวลอก โดยเฉพาะบริเวณใบหน้าและช่วงบนของร่างกาย
Folic Acid (กรดโฟลิค)
1x1 oral pc.
สรรพคุณ
:เสริมสร้างกระบวนการเจริญเติบโตของร่างกาย ป้องกันและรักษาอาการเจ็บป่วยจากการขาดกรดโฟลิค เป็นวิตามินบีชนิดหนึ่งที่ร่างกายต้องการ จะช่วยเสริมสร้างกระบวนการผลิตเซลล์ใหม่ให้มีสุขภาพดี ใช้รักษาโรคโลหิตจางชนิดที่เกิดจากการขาดกรดโฟลิค ร่วมกับยารักษาตัวอื่น ๆ ด้วย
อาการข้างเคียง
เวียนศีรษะ
ไม่อยากอาหาร
เรอ ท้องอืด มีแก๊สในกระเพาะอาหาร
รู้สึกขมปาก
มีปัญหาเกี่ยวกับการนอนหลับ
มีภาวะซึมเศร้า
รู้สึกตื่นเต้น กระสับกระส่าย แปรปรวน อยู่ไม่สุข
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลข้อที่
1:ผู้ป่วยมีภาวะไม่สะสมดุลของน้ำและอิเล็กโทรไลต์ในร่างกายเนื่องจากไตเสียหน้าที่
ข้อมูลสนับสนุน
OD:ผลตรวจทางห้องปฎิบัติการ วันที่22กันยายน2562
-Sodium 132 mmol/L (136-145)
-CO2 15.4 mmol/L (22-29)
-BUN 38.3 mg/dL (7.0-18.7)
-Cretinine 1.97 mg/dL (0.55-1.02)
-eGFR 22.69 mL/min (>90)
-Albumin 2.5 g/dL (3.5-5.2)
วัตถุประสงค์
:เพื่อรักษาสะสมดุลของน้ำและอิเล็กโทรไลต์ในร่างกาย
เกณฑ์การประเมิน
-Sodium 136-145 mmol/L
-CO2 22-29 mmol/L
-BUN 7.0-18.7 mg/dL
-Cretinine 0.55-1.02 mg/dL
-eGFR >90 mL/min
-Albumin 3.5-5.2 g/dL
กิจกรรมการพยาบาล
:1.วัดvital signเพื่อประเมินการทำหน้าที่ของระบบประสาท เช่น ระดับความรู้สึกตัว อาการกระสับกระส่าย อาการปวดศีรษะ ชัก โดนประเมินทุกชั่วโมงในระยะแรก และเปลี่ยนเป็นทุก4ชั่วโมงเมื่ออาการดีขึ้น
2.สังเกตระดับความรู้ตัว เช่น ซึม จากภาวะNaต่ำ
3.บันทึกEKGตามแผนการรักษาของแพทย์เพื่อประเมินความผิดปกติของอิเล็กโทรไลต์ในร่างกาย เช่น ในกรณีผู้ป่วยHyperkalemia มี Tal peak R
4.ชั่งน้ำหนักทุกวันโดยชั่งตาชั่งเดิมเพื่อประเมินสมดุลน้ำในร่างกาย
5.ประเมินปริมาณน้ำเข้าออกจากร่างกายทุกเวรเพื่อประเมินสมดุลน้ำในร่างกาย และให้ดื่มน้ำอย่างจำกัดตามแผนการักษา
ุ6.สังเกตอาการบวมของแขนและขา หนังตาบน ก้นกบเพื่อประเมินภาวะน้ำเกินในร่างกาย
7.ติดตามประเมินผลตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อประเมินภาวะสมดุลของน้ำและอิเล็กโทรไลต์
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลข้อที่
2 :ผู้ป่วยมีภาวะของเสียคั่ง เนื่องจากไตเสียหน้าที่
ข้อมูลสนับสนุน
OD:ผลตรวจทางห้องปฎิบัติการ วันที่22กันยายน2562-BUN 38.3 mg/dL (7.0-18.7)-Cretinine 1.97 mg/dL (0.55-1.02)
วัตถุประสงค์
:ผู้ป่วยไม่มีภาวะของเสียคั่งในร่างกาย
เกณฑ์การประเมิน
-BUN 7.0-18.7 mg/dL
-Cretinine 0.55-1.02 mg/dL
กิจกรรมการพยาบาล
1.สังเกตระดับความรู้สึกตัวเพื่อประเมินภาวะของเสียคั่ง
2.ตรวจสอบสัญญาณชีพทุก 1 ชั่วโมง
3.ติดตามผลตรวจBUN,Cretinine
4.ดูแลให้ได้รับยาlasix 20 mg. IV stat (22/09/62)ตามแผนการรักษา
5.บันทึกจำนวนน้ำเข้าและขับออก 8 ชั่วโมง
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลข้อที่3
:ผู้ป่วยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการช่วยเหลือตนเองไม่ได้
ข้อมูลสนันสนุน
OD:เนื่องจากผู้ป่วยใส่ท่อหายใจแล้วนอนติดเตียง มีอาการอ่อนแรง และไม่มีกำลังทำให้ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองในการทำกิจวัตรประจำวันได้
วัตถุประสงค์
:ผู้ป่วยไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนจากการช่วยเหลือตนเองไม่ได้
เกณฑ์การประเมิน:
-ผู้ป่วยไม่เกิดแผลกดทับ
-ผู้ป่วยไม่เกิดข้อยึดติดแข็ง
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมงได้แก่ได้แก่อุณหภูมิอัตราการหายใจชีพจรความดันโลหิตเพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงของสัญญาณชีพ
2.ช่วยเหลือผู้ป่วยในการทำกิจกรรมประจำวันของผู้ป่วยเช่นทำความสะอาดร่างกายทั่วไปความสะอาดสิ่งแวดล้อมรอบเตียงเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยให้ทำกิจวัตรประจำวันในส่วนที่พร่องและเพื่อรักษาความสะอาดของร่างกาย
-ทำความสะอาดร่างกายโดยเฉพาะข้อพับต่างๆ ไม่ให้อับ ทาโลชั่นให้กับผู้ป่วย หากมีผิวหนังแห้ง
ดูแลผู้ป่วยในเรื่องขับถ่ายปัสสาวะและอุจจาระรเพราะผู้ป่วยไม่สามารถลุกไปเข้าห้องน้ำได้เองจึงต้องดูแลผู้ป่วยในเรื่องการขับถ่ายปัสสาวะและอุจจาระเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับความสุขสบาย
-ดูแลให้ได้รับยาLactulose 30 ml. po. 1 day stat(22/09/62)ตามแผนการรักษา
4.จัดสิ่งแวดล้อมรอบข้างให้เหมาะสมเพื่อให้เกิดความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อย
5.จัดท่านอนให้ผู้ป่วยนอนในท่าที่สบายดูแลให้ผู้ป่วยได้หลับพักผ่อนเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถนอนหลับพักผ่อนได้เพียงพอ
-พลิกตะแคงตัวทุก2 ชม.
-หลีกเลี่ยงการทำให้เกิดแรงเสียดทานกับผู้ป่วยเช่น ผ้าปูที่นอนไม่เรียบ ฯลฯ
เปลี่ยนผ้าปูที่นอนทุกครั้งที่มีการเปียกชื้น
-ใช้อุปกรณ์นิ่มหนุนปุ่มกระดูก ประเมินผิวหนังบริเวณปุ่มกระดูกที่อาจเกิดการกดทับ
6.สอนญาติ ทำPassive
Exercise พร้อมให้ปฏิบัติจริง
7.ยกไม้กั้นเตียงขึ้นทุกครั้งหลังให้การพยาบาลเพื่อป้องกันอุบัติเหตุจากการพัดตกหกล้ม