Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การวินิจฉัยปัญหาสุขภาพอนามัยชุมชน (การจัดลําดับความสําคัญของปัญหา …
การวินิจฉัยปัญหาสุขภาพอนามัยชุมชน
การวินิจฉัยปัญหาสุขภาพอนามัย
ความหมาย
การบอกภาวะสุขภาพอนามัยของชุมชน โดยกำหนดข้อความที่บ่งบอกถึงสุขภาพอนามัยของชุมชน ซึ่งต้องได้รวบรวมและวิเคราะห์ไว้ มีการนําผลการเจ็บป่วย การเสียชีวิตจากโรคหรือปัญหาสุขภาพนั้นๆ ไป เทียบกับข้อมูลเดิมที่มีอยู่ ตลอดจนอาจจะต้องนําไปเปรียบเทียบกับชุมชนหรือพื้นที่อื่นๆ ที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน แล้วจึงนําข้อมูลทั้งหมดที่ได้มา
กําหนดเพื่อวินิจฉัยปัญหาสุขภาพชุมชนต่อไป
ประโยชน์
ใช้เป็นข้อความสื่อสารในทีมสุขภาพให้มีความเข้าใจตรงกัน
ทําให้มองสภาพการณ์ของชุมชนได้ชัดเจนขึ้นว่าต้องการบริการหรือความช่วยเหลือด้านสุขภาพอะไรบ้าง
3.ใช้เป็นข้อความสื่อสารให้ชุมชนทราบและเข้าใจถึงสภาวะสุขภาพของชุมชน เพื่อร่วมกันหาแนวทางแก้ไข
ปัญหาสุขภาพอนามัยของชุมชน
ความหมาย
ความแตกต่างระหว่างภาวะสุขภาพ อนามัยของชุมชนที่เป็นอยู่ในปัจจุบันกับภาวะสุขภาพอนามัยของชุมชนที่ควรจะเป็น นั่นคือ สถานะของการเกิดโรคหรือสภาวะสุขภาพที่ส่งผลให้บุคคล ครอบครัว กลุ่มบุคคลและ ชุมชน เกิดความเจ็บป่วย เสียชีวิต เกิดภาวะพิการหรือทุพลภาพ รวมไปถึงการเกิดปัญหา อื่นๆทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ
การระบุปัญหาอนามัยชุมชน
1) การเลือกสิ่งที่เป็นปัญหา โดยการกําหนดหลักเกณฑ์เพื่อนําไปใช้ในการพิจารณาที่จะเลือก ปัญหา
2) การกําหนดดัชนีชี้วัด หมายถึง สิ่งที่สามารถนํามาอ้างอิงหรือชี้วัดว่าสิ่งนั้นเป็นปัญหาเกิดขึ้น แล้ว
3) การเปรียบเทียบกับหลักเกณฑ์ เมื่อได้ข้อมูลจากการค้นหาปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่อสุขภาพ หรือ ปัจจัยสาเหตุ
4) การกําหนดสภาพและขอบเขตของปัญหา หมายถึง การอธิบายให้เห็นว่าสิ่งที่กําหนดนั้นคือ ปัญหาที่แท้จริง เป็นปัญหาประเภทใด เป็นปัญหาโรคภัยไข้เจ็บ (Disease) หรือปัญหาสภาพการณ์ (Condition)
5) การค้นหาสาเหตุของปัญหา
การวิเคราะห์ปัญหาสาธารณสุข
ลักษณะของปัญหา แบ่งตามกลุ่มบุคคล
พิจารณาตามสาเหตุของการเกิดปัญหาสาธารณสุข โดยใช้หลักวิทยาการระบาด
พิจารณาผลของปัญหาสาธารณสุข ว่ามีผลต่อ บุคคล สิ่งก่อโรค และสิ่งแวดล้อม
นําผลการวิเคราะห์ปัญหาสาธารณสุข มาเรียงลําดับแล้วกําหนดปัญหา สุขภาพอนามัยของชุมชนขึ้น
วิเคราะห์ข้อมูลที่เก็บได้ โดยรวบรวมข้อมูลต่างๆ เพื่อให้ได้ข้อสรุปเป็นการ รวมของชุมชนว่าสาเหตุที่สําคัญ
เก็บรวบรวมข้อมูลเพิ่มเติม
วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆกับการเกิดโรค โดยใช้ข้อมูลที่ได้มา พิจารณาโดยใช้วิธีการทางสถิติ
การจัดลําดับความสําคัญของปัญหา (Priority Setting)
วิธีที่ 1 ของ John J. Halon
เหมาะสําหรับการจัดลําดับความสําคัญของปัญหาระดับนโยบาย วิธีนี้จะต้องเกิดจากการทํางานที่ต่อเนื่องของทีมงานเดียวกัน ในการพิจารณาองค์ประกอบ 4 อย่างคือ
องค์ประกอบ A : ขนาดปัญหา การให้คะแนนอยู่ระหว่าง 0-10
องค์ประกอบ B : ความรุนแรงปัญหา การให้คะแนนอยู่ระหว่าง 0-20 พิจารณาจากปัจจัย 4 อย่างดังนี้คือ
ความเร่งด่วน (Urgency)
ความร้ายแรง (Severity)
การสูญเสียทางเศรษฐกิจ (Economic Loss)
4) ความเกี่ยวข้องของประชากรกับปัญหา (Involvement of Other People)
องค์ประกอบ C : ประสิทธิผลของการปฏิบัติงาน การให้คะแนนอยู่ระหว่าง 0-10
องค์ประกอบ D : ข้อจํากัด ให้คะแนน 0 หรือ 1
วิธีที่ 2 วิธีขององค์การอนามัยโลก
Public Health In the Western Pacific
1.1 ความเหมาะสม หมายถึง ความเหมาะสมของเทคโนโลยีในการแก้ปัญหา
1.2 ขนาดของปัญหา หมายถึง จํานวนของผู้ที่เป็นปัญหาทางด้านสุขภาพ
1.3 ความสนใจของชุมชน พิจารณาจากการมองเห็นความสําคัญของปัญหาของชุมชนจากผลของปัญหา
1.4 การสนับสนุนด้านนโยบาย เป็นการพิจารณาว่ามีนโยบายสนับสนุนการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นมากน้อยเพียงไร
Guide Index
2.1) ขนาดของปัญหา พิจารณาจากจํานวนคนตายที่เกิดขึ้นในชุมชน
2.2) ความสําคัญของปัญหา พิจารณาจากจํานวนคนป่วย หรือจํานวนโรคที่เกิดขึ้นในชุมชน
2.3) ความเหมาะสมของเทคโนโลยี พิจารณาควบคู่ไปกับการยอมรับของชุมชนต่อเทคโนโลยีที่จะนํามาใช้ในการแก้ไขปัญหา
วิธีที่ 3 ของ 5 D
วิธีนี้สามารถใช้ในการระบุปัญหา และจัดลําดับความสําคัญของปัญหา โดยใช้หลักการทางวิทยาการระบาด เกณฑ์ในการพิจารณา ได้แก่
1) Death หมายถึง จํานวนประชากรที่ตายจากปัญหา หรืออัตราตาย ที่เกิดขึ้นในชุมชน
2) Disability หมายถึง จํานวนประชากรที่พิจารณาจากปัญหา หรือปัญหานั้นมีแนวโน้มที่ก่อให้เกิดความพิการกับประชากรในชุมชนได้มากน้อยเพียงไร
3) Disease หมายถึง จํานวนประชากรที่ป่วยเป็นโรคจากปัญหาหรืออัตราป่วย ที่เกิดขึ้นในชุมชน
4) Discomfort หมายถึง ความรู้สึกไม่สุขสบายของประชาชนในชุมชนและ การตระหนักถึงความสําคัญของปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน
5) Dissatisfaction หมายถึง ความรู้สึกไม่พึงพอใจของประชาชนในชุมชนต่อปัญหา ที่เกิดขึ้นและต้องการที่จะแก้ไขปัญหาสําหรับ 4 และ 5 เป็นความรู้สึกของประชาชน คะแนนที่ได้จึงควรมาจากประชาชนในชุมชน
วิธีที่ 4 ของกระบวนการกลุ่ม (Nominal Group Process)
เป็นการนํากระบวนการกลุ่มมาใช้ในการจัดลําดับความสําคัญปัญหา เพื่อให้ประชาชน เป็นคนตัดสินใจเลือกแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง ตามลําดับความสําคัญ
พยาบาลชุมชน และทีมผู้ดําเนินงานด้านสุขภาพในชุมชนเปิดอภิปรายให้ประชาชนในชุมชนได้รับทราบถึง ประเด็นปัญหาต่างๆ
1) ความสําคัญของปัญหาหรือผลกระทบของปัญหาต่อชุมชน
โดยนำขนาดปัญหา หรือความรุนแรงปัญหาหรืออื่นๆ มาอภิปรายร่วมกับชุมชน
2) ผลดีผลเสียในการดําเนินงานแก้ไขปัญหา
3) ความสามารถของชุมชน ในการดําเนินงานแก้ไขปัญหาตามข้อจํากัดทางด้านเวลา ตลอดจนบุคลากร และทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชน
วิธีที่ 5 ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
คิดจากเกณฑ์และ ความสัมพันธ์ของปัญหาเกณฑ์ที่ใช้พิจารณา ได้แก่
1) ขนาดของกลุ่มชนที่ถูกกระทบ มีค่าคะแนนอยู่ระหว่าง 1-5
2) ความร้ายแรงและเร่งด่วน มีค่าคะแนนอยู่ระหว่าง 1-5
3) ความเสียหายต่อการพัฒนาในอนาคต มีค่าคะแนนอยู่ระหว่าง 1-5
4) การยอมรับร่วมกันของชุมชน มีค่าคะแนนอยู่ระหว่าง 1-5
วิธีที่ 6 วิธีของคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
นิยมในปัจจุบัน เนื่องจากมีองค์ประกอบ ที่ง่ายต่อการตัดสินใจ คํานวณเป็นคะแนนได้ง่ายและไม่ซับซ้อน
องค์ประกอบที่ 1 ขนาดปัญหา (Size of Problem)
ร้อยละ/อัตราอุบัติการณ์/อัตราความชุกของโรค คะแนน 0-4
องค์ประกอบที่ 2 ความรุนแรงของปัญหา (Severity of Problem) แบบที่ 1 ร้อยละหรืออัตราประชากรที่ได้รับผลจากปัญหา
แบบที่ 2 ความร้ายแรงปัญหา คะแนน 0-4
องค์ประกอบที่ 3 ความยากง่ายและความพร้อมในการที่จะแก้ไขปัญหา (Feasibility of Management) คะแนน 0-4
องค์ประกอบที่ 4 ความตระหนักและความร่วมมือของประชาชนในชุมชน (Community Concern) คะแนน 0-4
ภายหลังการให้ค่าคะแนนตามองค์ประกอบต่างๆ แล้ว
วิธีที่ 1 วิธีบวก (Additive Method)
ความสําคัญของปัญหา = A + B + C + D
วิธีที่ 2 วิธีคูณ (Multiplicative Method)
ความสําคัญของปัญหา = A x B x Cx D เมื่อ A,B,C และ D
คือ องค์ประกอบของการจัดลําดับปัญหา
วิธีที่ 7 Standhope และLancaster (2000)
เกณฑ์ (Criteria) สําหรับการเรียง ลําดับความสําคัญของปัญหา
1 การรับรู้ปัญหาของชุมชน
6 ความรวดเร็วของมติที่จะต้องแก้ไขปัญหานั้น
5 ความรุนแรงของปัญหาถ้าไม่ได้รับการแก้ไข
4 ผู้ชํานาญการในการแก้ปัญหานั้นๆที่มีอยู่
3 ความสามารถของพยาบาลในการแก้ไขปัญหา
2 ความตั้งใจของ (motivation) ชุมชนในการจะแก้ไขปัญหานั้นๆ
แต่ละเกณฑ์มีน้ำหนักคะแนนตั้งแต่ 1-10
แต่ละปัญหาก็มีน้ำหนักคะแนน ตั้งแต่ 1 - 10
หลังจากนั้นนําคะแนนของ เกณฑ์มาคูณกับคะแนนของปัญหา และนําคะแนนที่คุณได้ของแต่ละเกณฑ์มาบวกกันก็ จะได้เป็นคะแนนรวมของแต่ละปัญหา