Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กระดูกหักแบบแผลเปิด (Open Fracture) (อาการและอาการแสดง (รู้สึกปวดกระดูกหรื…
กระดูกหักแบบแผลเปิด (Open Fracture)
การวินิจฉัย
การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) :
การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan)
อาการและอาการแสดง
รู้สึกปวดกระดูกหรือรอบ ๆ บริเวณที่ได้รับบาดเจ็บอย่างรุนแรง โดยอาการจะแย่ลงเมื่อเคลื่อนไหวอวัยวะที่ได้รับบาดเจ็บ หรือได้รับแรงกดที่บริเวณดังกล่าว
เกิดอาการบวมบริเวณกระดูกที่ได้รับบาดเจ็บ ทั้งนี้ยังเกิดรอยช้ำและเลือดออกจากผิวหนัง
อวัยวะผิดรูป เช่น แขนหรือขาผิดรูป โดยแขนหรือขาจะงอ หรือหักบิดในลักษณะที่ผิดปกติ
เคลื่อนไหวแขนขาได้น้อย หรือเคลื่อนไหวไม่ได้เลย
รู้สึกชา และเกิดเหน็บชา
ผู้ป่วยบางรายอาจเกิดกระดูกทิ่มผิวหนังออกมา
การรักษา การผ่าตัด
1.การรักษาแบบไม่ผ่าตัด
การเข้าเฝือก มักใช้กับกระดูกส่วนแขนหรือขาท่อนล่าง รวมทั้งใช้เพื่อจัดกระดูกผิดรูปในเด็กได้ด้วย
การดึงถ่วงน้ำหนัก จะใช้กับกระดูกต้นขาหรือในกรณีที่มีการดึงรั้งของกล้ามเนื้อ โดยแบ่งออกเป็น 2 วิธีย่อยๆ คือ
Skeletal Tractionใช้ในกรณีต้องการดึงถ่วงน้ำหนักมากขึ้น แต่น้ำหนักไม่ควรเกิน 1 ใน 6 ของผู้ป่วย ต้องใช้เหล็กเส้นเล็กๆ แทงผ่านกระดูก และมีอุปกรณ์เพื่อดึงออกแรงผ่านกระดูกโดยตรง
Skin Traction หรือการดึงกระดูกทางอ้อม โดยใช้แรงดึงผ่านผิวหนังด้วยน้ำหนักไม่เกิน 5 กิโลกรัม ผ่านทางสายดึง เทปกาว และปลอกรัดข้อมือข้อเท้า มักทำในเวลาสั้นๆ
2.การรักษาด้วยวิธีผ่าตัด
เหล็กแผ่นเป็นรูและใส่สกรูยึด (Plate and Screw)มักใช้หลังการจัดกระดูกเพื่อตรึงกระดูกให้นิ่งอยู่กับที่
เหล็กแกน (Nail) นิยมใช้ในการรักษากระดูกหักบริเวณส่วนกลางของกระดูก เช่น ต้นแขน ต้นขา และขาท่อนล่าง
โครงเหล็กยึดกระดูกภายนอก (External fixator)จะถูกเจาะเข้าไปในกระดูกห่างจากบริเวณกระดูกหักทั้ง 2 ด้านของกระดูกหัก จากนั้นดึงกระดูกให้เข้าที่และประกอบโครงจากภายนอกเพื่อยึดกระดูกให้อยู่กับที่ อุปกรณ์นี้ใช้ในกรณีที่มีแผลเปิดเท่านั้น
พยาธิสภาพ
มีกระดูกหักบริเวณใกล้ข้อจะทำให้เกิดการฉีดขาดของเอ็นกระดูกและเอ็นกล้ามเนื้อเยื่อหุ้มข้อร่วมด้วยทำให้มีเลือดออกเพิ่มขึ้นจากการที่เนื้อเยื่อบริเวณกระดูกหัก
เกิดการอักเสบรวมทั้งจะมีการขยายตัวของหลอดเลือดทำให้บริเวณที่กระดูกหักเกิดอาการบวมและมีการผิดรูป
กระดูกที่หักจะมีการซ่อมแซมตามธรรมชาติโดยมีการสร้างกระดูกใหม่ที่เรียกว่าแคลลัสจะช่วยตรึงกระดูกที่หักให้ติดกัน
อาจมีปัญหากระดูกไม่ติดกันเนื่องจากมีเนื้อเยื่อพังผืดคั่นระหว่างปลายกระดูกที่ห้กกระดูกรูปยาวหักอาจหักเป็นมุมเนื่องจากแรงดัดหรือโก่งและแรงดึงของกล้ามเนื้อบริเวณรอบๆกระดูกไม่เท่ากัน
ข้อวินิจฉัยและการวางแผนการพยาบาล
ไม่สุขสบายเนื่องจากปวด
1.ประเมินความรุนแรงของความเจ็บปวด โดยใช้ pain score และสังเกตอาการ
2.จัดให้ขาข้างที่ปวดวางอยู่นิ่งด้วยการดาม ทำขาให้ขางออกทำมุม 10-15 องศา เพื่อคลายกล้ามเนื้อ
3.แนะนำวิธีการหายใจเข้าออกลึกๆ เป็นการเบี่ยงเบนความสนใจ
4.ช่วยเหลือประคับประคองด้านจิตใจ เอาใจใส่ดูแลให้ผู้ป่วยเกิดความไว้วางใจ
5.แนะนำให้ทำกิจกรรมหรืองานอดิเรกเพื่อเบี่ยงเบนความความปวด เช่น ฟังเพลง ดูหนัง อ่านหนังสือ
6.ดูแลให้ได้รับยาแก้ปวดตามแผนการรักษา
7.เฝ้าระวังผลข้างเคียงของยา
พร่องกิจวัตรประจำวันเนื่องจากเคลื่อนไหวร่างกายได้น้อย
1.ประเมิน Barthel Activies of Daily Living : ADL
2.จัดสิ่งแวดล้อมให้สะดวกต่อการหยิบใช้ของผู้ป่วย
3.ป้องกันอุบัติเหตุในการหกล้มหรือว่าตกเตียงโดยการยกไม้กั้นเตียงขึ้นและมีคนช่วยพยุง
4.ช่วยเหลือกิจกรรมในสิ่งที่ผู้ป่วยไม่สามารถทำได้
เสี่ยงต่อการติดเชื้อบริเวณแผลผ่าตัด
1.ประเมินอาการบริเวณแผลว่าบวม แดง หรือมีสิ่งคัดหลั่งออกมาหรือไม่
2.แนะนำไม่ให้เกาะ เกาบริเวณแผล ระวังไม่ให้แผลโดนน้ำ ดูแลแผลความสะอาดแผลด้วยเทคนิก sterile
3.แนะนำให้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่ โดยเฉพาะอาหารพวกโปรตีน เช่น นม เนื้อสัตว์ และผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง เช่น ส้ม ฝรั่ง เพื่อส่งเสริมการติดของกระดูกและการหายของแผล
4.ดูแลให้ได้รับยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษาของแพทย์
5.เฝ้าระวังผลข้างเคียงของยา