Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กระดูกหัก Bone Fracture ชนิด Openfracture (อาการ (ความเจ็บปวดของอวัยวะที่ม…
กระดูกหัก Bone Fracture ชนิด Openfracture
อาการ
ความเจ็บปวดของอวัยวะที่มีกระดูกหักโดยเฉพาะถ้ากดแล้วจะเจ็บ (tenderness) เกิดจากการหดเกร็งของกล้ามเนื้อที่อยู่รอบบริเวณกระดูกหักอย่างแรง
บริเวณที่หักมีอาการบวมเนื่องจากการคั่งของเลือด
มีรอยฟกช้ำมีจำเลือดเกิดจากเลือดออกบริเวณกระดูกหักและมีการฉีกขาดของกล้ามเนื้อมีการรวมตัวเป็นก้อนเลือดอยู่ใต้ชั้นของผิวหนัง
ไม่สามารถเคลื่อนไหวอวัยวะส่วนที่หักได้ถ้ามีการเคลื่อนไหวบริเวณที่กระดูกหักจะมีความเจ็บปวดมาก
ถ้ามีการขยับหรือเคลื่อนไหวส่วนที่มีกระดูกหักจะได้ยินเสียงกรอบแกรบ (crepitus) จากการเสียดสีของปลายกระดูกหัก
พยาธิสภาพ
เมื่อเกิดกระดูกหักเส้นเลือดในกระดูกจะฉีกขาเกิดเลือดออกภายในและรอบ ๆ กระดูกที่หัก (hematoma) หลังจากนั้นจะเกิดขบวนการ 2 อย่างพร้อม ๆ กันคือ
เกิดร่างแหของ fibrin ภายในบริเวณที่มีเลือดออกทำให้เกิดก้อนเลือดแข็งหุ้มกระดูกที่หักไว้พบการสร้างเส้นเลือดฝอยและการแบ่งตัวของ fibroblasts เป็นจำนวนมาก
ลิ่มเลือด (platelets) และเซลล์อักเสบบริเวณกระดูกที่หักจะหลั่งสาร PDGE, TGFB และ FGF ออกมากระตุ้น osteoprogenitor Cells ที่อยู่ภายใน periosteum, medullary cavity. และเนื้อเยื่อรอบ ๆ บริเวณที่หัก
ความหมาย
กระดูกเป็นอวัยวะพิเศษที่มีความสามารถในการซ่อมแซมตนเองหลังจากบาดเจ็บโดยอาศัยขบวนการที่คล้ายกับการเจริญเติบโตของกระดูกทารก (embryogenesis) การซ่อมแซมตนเองของกระดูกจะเป็นไปตามลำดับ
การรักษา
การรักษาด้วยการผ่าตัด
Debridement
(การตัดเนื้อตาย และนำสิ่งแปลกปลอมออกจากแผล) เพราะถ้าทิ้งไว้จะเป็นอาหารที่ดีของแบคทีเรีย (Necrotic tissueRemove Foreign bodyAdequacy) และหลีกเลี่ยงการตัดชิ้นเนื้อที่ดีออกหรือการตัดออกมากเกินไปอาจจะทำให้เป็น defect ของแผลมีเนื้อเยื่อหายออกไปมากเกินไป (Avoid unnecessary or excessive debridement)สังเกตดูจากลักษณะสีที่คล้ำผิดปกติ สีผิวซีดไม่มีเลือดออก ล้างด้วยน้ำเกลือ (0.9% NSS) หลังการตัดเนื้อตายออก (Irrigation with 0.9% NSS after debridement)
การใส่โลหะยึดตรึงกระดูกรยางค์ภายในร่างกาย
(Open Reduction Internal Fixation : ORIF)
การผ่าตัดเพื่อจัดกระดูกที่หักให้เข้าท่ี โดยใช้วัสดุต่างๆ เช่น แผ่นเหล็ก (plate) แท่งเหล็กปลายแหลม (pin) ลวด (wire) สกรู (screw) หรือแกน ดามกระดูก (nail) ยึดตรึงกระดูกที่หักไว้ เพื่อช่วยในการสมานกันของกระดูก
การใช้เหล็กแผ่นและสกรูเพื่อยึดตรึงกระดูกหัก การผ่าตัดเปิดแผลเพื่อยึดตรึงกระดูกหักโดยใช้เหล็กแผ่นแบบดั้งเดิมนั้น แผลจะมีความยาวไม่น้อยกว่า ความยาวของเหล็กแผ่นที่ใช้ในการยึดตรึงกระดูก ซึ่งเหล็กแผ่นนี้จะมีความยาวตั้งแต่ 15 – 30 เซ็นติเมตร ซึ่งแพทย์จะเลือกใช้ขนาดใดนั้นขึ้นอยู่กับตำแหน่งและลักษณะของกระดูกที่หัก การผ่าตัดเปิดแผลแต่ละครั้งนั้นจำเป็นต้องตัดผ่านชั้นผิวหนัง ชั้นไขมัน และชั้นกล้ามเนื้อจนกว่าจะเห็นตำแหน่งของกระดูกที่หัก
ข้อวินิจฉัยและการวางแผนการพยาบาล
เสี่ยงต่อการติดเชื้อ เนื่องจากมีทางเปิดของผิวหนังบริเวณหน้าขา
1.ประเมินการติดเชื้อที่แผลผ่าตัดโดยสังเกตลักษณะการบวมแดงรอบๆแผลและสังเกต discharge ที่ซึมจากแผลผ่าตัด
2.ทำแผลผ่าตัดโดยใช้หลักปราศจากเชื้อ
3.บันทึกสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมงเพื่อดูการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิมากกว่า 38 องศาเซลเซียสแสดงถึงการติดเชื้อ
4.แนะนำเรื่องการไม่แกะเกาแผลไม่ให้น้ำโดนแผลถ้าน้ำโดนแผลต้องรีบซับให้แห้งด้วยผ้าสะอาดดูแลการได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อการฟื้นตวหลังทำผ่าตัดเช่นการไดร์บอาหารโปรตีนไข่นมเนื้อผักและผลไมท์มีวตามินซีมาก
5.ดูแลให้ได้รับยาปฏิชีวนะ
ไม่สุขสบายเนื่องจากปวดแผล
1. ประเมินตำแหน่งและระดับความรุนแรงของอาการปวด เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนการให้การพยาบาลที่เหมาะสม
2. ดูแลให้ได้รับยาบรรเทาปวดที่เหมาะสม
3.จัดท่าผู้ป่วยในท่าสุขสบาย
4. แนะนำให้ใช้เทคนิคเบี่ยงเบนความสนใจหรือการผ่อนคลาย เช่น การอ่านหนังสือ การนั่งสมาธิ การผ่อนคลายกล้ามเนื้อ (Stress relaxation
การวินิจฉัย
การซักประวัติเกิดอะไรขึ้นอาการที่เกิดภายหลังกระดูกหักเมื่อใดที่ไหนรักษามาอย่างไร
การตรวจร่างกายตรวจร่างกายโดยการดูการคลำการขยับการวัดการตรวจสอบความมั่นคงและกำลังกล้ามเนื้อและการฟัง
3.การ x-ray