Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กระดูกหัก (Bone fracture) หรือ Compound fracture Open fracture of the…
กระดูกหัก (Bone fracture) หรือ Compound fracture
Open fracture of the right leg
การวินิจฉัย
จากประวัติการได้รับบาดเจ็บ ดูจากอาการปวด การเคลื่อนไหว อาจมองเห็นกระดูกหักได้จากภายนอก การถ่ายภาพรังสีจะช่วยให้จำแนกได้ว่า กระดูกหักแบบไหน โดยทั่วไปการถ่ายเอ็กเรย์ธรรมดาจะช่วยให้เห็นบริเวณที่หักได้ แต่หากได้ทำ Computed tomography (CT) scan จะช่วยประเมินลักษณะของการหักได้ดียิ่งขึ้น เพื่อช่วยวางแผนในการรักษาต่อไป
พยาธิสภาพ
เมื่อกระดูกหักจะมีเลือดออกจากตัวกระดูกและเนื้อเยื่อรอบๆ กระดูก เมื่อเลือดหยุดไหลจะเกิดเป็นก้อนเลือดตรงบริเวณที่หักทำให้กระดูกสูญเสียความมั่นคง ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ตามปกติ และมีอาการปวดและชาเนื่องจากการสูญเสียการทำงานชั่วคราวของเส้นประสาทหากมีกระดูกหักบริเวณใกล้ข้อจะทำให้มีการฉีกขาดของเอ็นกระดูกและเอ็นกล้ามเนื้อเยื่อหุ้มข้อร่วมด้วย ทำให้มีเลือดออกเพิ่มขึ้นจากการที่เนื้อเยื่อบริเวณกระดูกที่หักเกิดการอักเสบ รวมทั้งจะมีการขยายตัวของหลอดเลือดทำให้บริเวณที่กระดูกหักเกิดอาการบวม กระดูกที่หักบริเวณแขนขาจะมีความยาวสั้นลงและผิดรูปออกไป เนื่องจากแรงดึงของกล้ามเนื้อตามแกนยาวของกระดูกทำให้กระดูกเกยกัน หากกระดูกรูปยาวหักอาจหักเป็นมุม เนื่องจากแรงดัด หรือโก่ง และแรงดึงของกล้ามเนื้อบริเวณรอบๆ กระดูกหักไม่เท่ากัน การอักเสบเป็นระยะเวลานานจะทำให้เกิดพังผืด (Fibrosis) ขึ้นได้ โดยเฉพาะกระดูกหักบริเวณข้อ พังผืดที่เกิดรอบๆ ข้อทำให้ข้อติดแข็งได้
การรักษา
plate and screw การใช้เหล็กแผ่นและสกรูเพื่อยึดตรึงกระดูกหัก การผ่าตัดเปิดแผลเพื่อยึดตรึงกระดูกหักโดยใช้เหล็กแผ่นแบบดั้งเดิมนั้น แผลจะมีความยาวไม่น้อยกว่า ความยาวของเหล็กแผ่นที่ใช้ในการยึดตรึงกระดูก ซึ่งเหล็กแผ่นนี้จะมีความยาวตั้งแต่ 15 – 30 เซ็นติเมตร ซึ่งแพทย์จะเลือกใช้ขนาดใดนั้นขึ้นอยู่กับตำแหน่งและลักษณะของกระดูกที่หัก การผ่าตัดเปิดแผลแต่ละครั้งนั้นจำเป็นต้องตัดผ่านชั้นผิวหนัง ชั้นไขมัน และชั้นกล้ามเนื้อจนกว่าจะเห็นตำแหน่งของกระดูกที่หัก การเปิดแผลยิ่งยาวเท่าใดก็จะทำลายเนื้อเยื่อและกล้ามเนื้อต่างๆมากขึ้นตามไปด้วย การกระทำเช่นนั้นจึงเป็นการทำลายโอกาสในการสร้างกระดูกใหม่ นอกจากนี้ยังส่งผลให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น การติดเชื้อ อุปกรณ์ที่ยึดตรึงกระดูกอาจหัก และกระดูกไม่ติด
X-ray
ข้อวินิจฉัยและการวางแผนการพยาบาล
ปวดบวมบริเวณแผลหลังการผ่าตัด
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินอาการปวดแผลโดยการสอบถามหรือใช้ Visual analog scale
จัดให้นอนพักผ่อนบนเตียง
ดูแลอาการปวดแผลและปวดจากภาวะความดันในช่องกล้ามเนื้อเพิ่มที่ขา ดังนี้
3.1 ตรวจสอบการพัน Elastic bandage ที่แผลผ่าตัดว่าแน่นหรือหลวม โดยสอบถามจากผู้ป่วยและใช้นิ้วมือ 1 นิ้วสอดเข้าตรงรอยพันทบของ Elastic bandage ว่าพอประมาณนิ้วมือ 1 นิ้วสอดเข้าได้ ถ้าสอดไม่ได้แสดงว่าแน่นเกินไป
3.2 ประเมินชีพจรของแขนหรือขาโดยการตรวจจับชีพจร
3.3 ตรวจประเมินเกี่ยวกับการไหลเวียนเลือดไปเลี้ยงอวัยวะส่วนปลายโดยทำ blanching test (capillary refill) และประเมิน neurovascular status โดยใช้หลัก 6Ps ทุก 4 ชั่วโมง
3.4 ยกบริเวณอวัยวะที่เป็นแขนหรือขาที่ได้รับการทำผ่าตัดให้สูงเพื่อส่งเสริม Venous return
3.5 หลีกเลี่ยงการงอบริเวณข้อพักตะโพก และขา เพื่อให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น
ดูแลอาการปวดแผลบริเวณช่องท้อง ดังนี้
4.1 ตรวจประเมินบริเวณบาดแผลว่ามีลักษณะของการอักเสบติดเชื้อที่ผิดปกติหรือไม่
4.2 หากมีสิ่งคัดหลั่งซึมเปื้อน ให้เปิดทำแผล
แนะนาให้ผู้ป่วยเบี่ยงเบนความสนใจโดยให้ผู้ป่วยอ่านหนังสือ ฟังเพลง พูดคุยหรือให้เล่นเกมส์ เป็นต้น
ถ้าปวดมากจัดให้ได้รับยาแก้ปวดคือ pethidine หรือ tramal ตามแผนการรักษา
เสี่ยงต่อการติดเชื้อเนื่องจากมีทางเปิดของผิวหนังบริเวณหน้าแข้งด้านขวา
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินการติดเชื้อที่แผลผ่าตัด โดยสังเกตลักษณะบาดแผลเกี่ยวกับลักษณะการบวม แดงรอบๆ แผลและสังเกต discharge ที่ซึมจากแผลผ่าตัด
ทาแผลผ่าตัดโดยใช้หลักปราศจากเชื้อ
ดูแลท่อระบายที่ขาให้ระบายสารเหลวอย่างมีประสิทธิภาพ สายไม่หัก พับ งอ ป้องกันการคั่งค้างเพื่อเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรคได้
บันทึกสัญญาณชีพ ทุก 4 ชั่วโมง เพื่อดูการเปลี่ยนแปลง ถ้าอุณหภูมิมากกว่า 38 องศาเซลเซียสแสดงถึงการติดเชื้อ
รักษาความสะอาดร่างกาย เช็ดตัวให้สะอาด ดูแลความสะอาดปากฟัน เสื้อผ้า และ สิ่งแวดล้อม
แนะนาเรื่องการไม่แกะเกาแผล ไม่ให้น้าโดนแผล ถ้าน้าโดนแผลต้องรีบซับให้แห้งด้วยผ้าสะอาด และรีบไปรับการทาแผลจากพยาบาล
ดูแลการได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อการฟื้นตัวหลังทาผ่าตัด และการหายของแผล เช่น การได้รับอาหารโปรตีน ไข่ นม เนื้อ ผักและผลไม้ที่มีวิตามินซีมาก เพื่อช่วยในการติดของกระดูกที่หักและการหายของแผล รวมทั้งน้าดื่ม อย่างน้อย 2,500 – 3,000 ซีซี / วัน
ดูแลให้ได้รับยาปฏิชีวนะ คือ Augmentin และ Cefazolin หรือ Cloxaillin ตามแผนการรักษา
อาการ
กระดูกแข้งแตกหัก
ปวด
ขาข้างขวาผิดรูป