Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กระดูกหัก Bone Fracture ชนิดOpenfracture/ Compound Fracture…
กระดูกหัก Bone Fracture
ชนิดOpenfracture/ Compound
Fracture
พยาธิสภาพ
เมื่อกระดูกหักจะมีเลือดออกจากตัวกระดูกและเนื้อเยื่อรอบๆ กระดูก เมื่อเลือดหยุดไหลจะเกิดเป็นก้อนเลือดตรงบริเวณที่หักทำให้กระดูกสูญเสียความมั่นคง ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ตามปกติ และมีอาการปวดและชาเนื่องจากการสูญเสียการทำงานชั่วคราวของเส้นประสาท
หากมีกระดูกหักบริเวณใกล้ข้อจะทำให้มีการฉีกขาดของเอ็นกระดูกและเอ็นกล้ามเนื้อเยื่อหุ้มข้อร่วมด้วย ทำให้มีเลือดออกเพิ่มขึ้นจากการที่เนื้อเยื่อบริเวณกระดูกที่หักเกิดการอักเสบ รวมทั้งจะมีการขยายตัวของหลอดเลือดทำให้บริเวณที่กระดูกหักเกิดอาการบวม
กระดูกที่หักบริเวณแขนขาจะมีความยาวสั้นลงและผิดรูปออกไป เนื่องจากแรงดึงของกล้ามเนื้อตามแกนยาวของกระดูกทำให้กระดูกเกยกันหากกระดูกรูปยาวหักอาจหักเป็นมุม เนื่องจากแรงดัด หรือโก่ง
แรงดึงของกล้ามเนื้อบริเวณรอบๆ กระดูกหักไม่เท่ากัน
การอักเสบเป็นระยะเวลานานจะทำให้เกิดพังผืด (Fibrosis) ขึ้นได้ โดยเฉพาะกระดูกหักบริเวณข้อ พังผืดที่เกิดรอบๆ ข้อทำให้ข้อติดแข็งได้
อาการและอาการแสดง
มีแผลที่ขาด้านขวา
ข้อต่อฉีกขาด
ขาข้างขวาผิดรูป
การวินิจฉัย
จากประวัติการได้รับบาดเจ็บ ดูจากอาการปวด การเคลื่อนไหว อาจมองเห็นกระดูกหักได้จากภายนอก การถ่ายภาพรังสีจะช่วยให้จำแนกได้ว่า กระดูกหักแบบไหน โดยทั่วไปการถ่ายเอ็กเรย์ธรรมดาจะช่วยให้เห็นบริเวณที่หักได้ แต่หากได้ทำ Computed tomography (CT) scan จะช่วยประเมินลักษณะของการหักได้ดียิ่งขึ้น เพื่อช่วยวางแผนในการรักษาต่อไป
การรักษา
การตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan)
การทำ CT Scan หรือ (Computer Tomography) คือ การตรวจสแกนร่างกายด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์เพื่อหาความผิดปกติในบริเวณที่เฉพาะเจาะจง เช่น ตรวจหามะเร็งช่องท้อง ตรวจสแกนสมอง เป็นต้น โดยใช้หลักการส่งรังสีเอกซ์จากหลอดเอกซเรย์ (X-ray tube) หมุนรอบผ่านอวัยวะนั้นๆ ไปยังหัววัดรังสี (Detector) ที่อยู่ตรงกันข้าม แล้วใช้ตัวตรวจจับปริมาณรังสีที่ผ่านตัวผู้ป่วยออกมา เพื่อตรวจวัดผลความหนาแน่นของอวัยวะส่วนที่ต้องการตรวจสอบ จากนั้นจึงแปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้าเพื่อสร้างภาพด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ข้อมูลที่คอมพิวเตอร์รวบรวมได้จะถูกวิเคราะห์เป็นภาพลักษณะตัดขวางที่ซอยเป็นแผ่นบางๆ ทำให้เห็นรายละเอียดด้านใน โครงสร้างของอวัยวะ และความผิดปกติต่างๆ ได้ชัดเจนกว่าภาพเอกซเรย์ทั่วไป โดยสามารถสร้างภาพ 3 มิติ หรือสร้างภาพในระนาบอื่นๆ เพื่อการตรวจวินิจฉัยโรคที่แม่นยำยิ่งขึ้น
Screw
การใช้สกรูเพื่อยึดตรึงกระดูกหัก การผ่าตัดเปิดแผลเพื่อยึดตรึงกระดูกหัก
Plate
โดยใช้เหล็กแผ่นแบบดั้งเดิมนั้น แผลจะมีความยาวไม่น้อยกว่า ความยาวของเหล็กแผ่นที่ใช้ในการยึดตรึงกระดูก ซึ่งเหล็กแผ่นนี้จะมีความยาวตั้งแต่ 15 – 30 เซ็นติเมตร ซึ่งแพทย์จะเลือกใช้ขนาดใดนั้นขึ้นอยู่กับตำแหน่งและลักษณะของกระดูกที่หัก การผ่าตัดเปิดแผลแต่ละครั้งนั้นจำเป็นต้องตัดผ่านชั้นผิวหนัง ชั้นไขมัน และชั้นกล้ามเนื้อจนกว่าจะเห็นตำแหน่งของกระดูกที่หัก
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
เสี่ยงต่อการเกิดภาวะตกเลือดหลังผ่าตัดเนื่องจากมีการฉีกขาดของเนื้อเยื่อและมีการหักของกระดูก
1.ตรวจบันทึกสัญญาณอย่างใกล้ชิดทุก1-2ชั่วโมง ถ้ามีการเลี่ยนแปลงผิดปกติรีบรายงานแพทย์
2.สังเกตการซึมของเลือดจากผ้าปิดแผล และลักษณะที่ซึมออก รวมทั้งปริมาณเลือดที่ออกจากท่อระบาย
3.ประเมิน neurovascular status โดยหลัก6P ทดสอบ capilary refill time ทุก4ชั่วโมง
เสี่ยงต่อการติดเชื้อเนื่องจากมีทางเปิดของผิวหนังบริเวณหน้าแข้งขาด้านขวาที่ใส่วัสดุยึดตรึงไว้ภายใน
1.ประเมินการติดเชื้อที่แผลผ่าตัด โดยสังเกตลักษณะบาดแผลเกี่ยวกับลักษณะการบวมแดงรอบๆแผล และสังเกต discharge ที่ซึมจากแผลผ่าตัด
2.ทำแผลผ่าตัดโดยใช้หลักปราศจากเชื้อ
3.บันทึกสัญญาณชีพทุก4ชั่วโมง
4.รักษาความสะอาดร่างกาย ดูแลความสะอาดปากฟัน เสื้อผ้า และสิ่งแวดล้อม
5.ดูแลการได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อการฟื้นตัวหลังผ่าตัด และการหายของแผล
6.ดูแลให้ได้รับยาปฏิชีวะนะ