Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลทารกแรกเกิดที่มีภาวะเสี่ยง (การพยาบาลทารกขาดออกซิเจนแรกเกิด…
การพยาบาลทารกแรกเกิดที่มีภาวะเสี่ยง
การพยาบาลทารกอุณหภูมิร่างกายตำ่
ความหมาย
อุณหภูมิกายต่ำ หมายถึงภาวะที่อุณหภูมิกายของทารกวัดได้ต่ำกว่า 37.5 องศาเซลเซียส:
การสูญเสียความร้อนจากผื้นผิวกายทารก
การระเหย
การแผ่รังสีความร้อน
การพาความร้อน
การนำ
อาการและอาการแสดง
ผิวหนังเย็น ตัวเย็นและซีด
แขนขาบวม
น้ำหนักไม่ขึ้น หรือน้ำหนักลด
อาเจียน ท้องอืด
ซึม ดูดนมช้า
หายใจเร็ว หายใจลำบาก
น้ำตาลในเลือดต่ำ
ตัวเหลือง เกร็ดเลือดต่ำ
ถ่ายปัสสาวะได้น้อย ไตวาย
การรักษาพยาบาล
กรณีทารกอยู่ในตู้อบปรับอุณหภูมิด้วยมือหรือ ปรับอุณหภูมิอัตโนมัติ Air Servocontrol mode
ติด skin probe บริเวณหน้าท้อง โดยหลีกเลี่ยงบริเวณตับ และ bony prominence
ประยอุตู้อบเริ่มที่ 36.5 องศาเซลเซียส
ปรับอุณหภูมิขึ้นครั้งละ 0.1 องศาเซลเซียสทุก 15-30 นาที
ลดการสูญเสียความร้อน เบ่น ครอบพลาสติก
พยาธิสรีรภาพ
ศูนย์ควบคุมความร้อนใน Hypothalamus ยังทำหน้าที่ไม่สมบูรณ์
พื้นที่ผิวกาย (Surface area) มีมากเมื่อเทียบกับน้ำหนักตัว ทำให้สูญเสียความร้อนได้ง่าย
ไขมันใต้ผิวหนัง (Brown fat) ซึ่งเป็นแหล่งผลิตความร้อนที่สำคัญ มีจำนวนน้อย Brown fat จะมีอยู่บริเวณสะบักและคอ รอบหลอดลม หลอดอาหาร หัวใจ ต่อมหมวกไต ฯลฯ ของทารก
ทารกเกิดก่อนกำหนดเสียความร้อนออกจากร่างกายได้ง่าย โดยวิธีการพา (Convection)
การนำ (Conduction) การระเหย (Evaporation) และการแผ่รังสี (Radiation) จึงอาจเกิดภาวะอุณหภูมิของร่างกายต่ำกว่าปกติ Rectal temperature ต่ำกว่า 36.5ซ. เมื่อทารกเกิดก่อนกำหนดมีอุณหภูมิร่างกายต่ำมากๆ (Cold stress) อาจจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญ ได้แก่ ร่างกายขาดออกซิเจน (Hypoxia) น้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia) เลือดมีภาวะเป็นกรด (Metabolic acidosis) เลือดไหลลัดวงจรจากขาวไปซ้าย (Right to left shunt) เลือดออกในช่องสมอง (Intraventricular hemorrhage) และ ตัวเหลือง (Hyperbilirubinemia) เป็นต้น ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ทารกเสียชีวิตได้
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
ทารกเสี่ยงต่อภาวะอุณหภูมิต่ำและภาวะแทรกซ้อน
ข้อมูลสนับสนุน
ผิวกายเย็น ตัวลาย
วัตถุประสงค์
ทารกไม่มีภาวะอุณหภูมกายต่ำและไม่พบภาวะแทรกซ้อน
เกณฑ์การประเมินผล
ทารกมีอุณหภูมิกายไม่ต่ำกว่า 36.5 องศาเซลเซียส
ผิวทารกเป็นสีชมพู ปลายมือปลายเท้าไม่คล้ำ
ไม่พบภาวะแทรกซ้อน เข่น หายใจลำบาก น้ำตาลในเลือดต่ำ
กิจกรรมการพยาบาล
จัดสิ่งแวดล้อม ให้มีอุณหภูมิที่เหมาะสมกับทารก
จัดให้ทารกไม่อยู่ในที่ที่พัดลมผ่าน
การทำความสะอาดร่างกายทารก ต้องทำเมื่ออุณหภูมิร่างกายคงที่
เปลี่ยนผ้าอ้อม หรือ ผ้าปูที่นอนทุกครั้งเมื่อเปียกชื้น
ถ้าทารกอยู่ในตู้อบต้องควบคุมอุณหภูมิของตู้อบให้เหมาะสมกับทารก
ไม่เปิดตู้อบขณะให้การพยาบาล ควรเปิดเฉพาะช่องหน้าต่างเท่านั้น
ถ้าอุณหภูมิกายทารกไม่เพิ่มขึ้นหลังจากเพิ่มตู้อบ 37 องศาเซลเซียสแล้ว ให้ใช้ Radiant Warmer
สังเกตภาวะแทรกซ้อนจากอุณหภูมิกายต่ำ เช่น ซึม ไม่ดูดนม หายใจลำบาก เป็นต้น
วัดอุณหภูมิทุก 1-2 ชั่วโมง จนสู่ภาวะปกติ
การประเมินผล
ทารกมีอุณหภูมิกายไม่ต่ำกว่า 36.5 องศาเซลเซียส
ผิวกายไมเย็น ตัวแดงดี
ไม่พบภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เช่น ซึม ตัวลาย ไม่ดูดนม หายใจลำบาก ตัวเขียว เป็นต้น
การพยาบาลทารกภาวะลำไส้อักเสบ
ความหมาย การอักเสบและเน่าตายของระบบทางเดินอาหารอย่างเฉีบยพลันเป็นภาวะฉุกเฉินที่พบได้บ่อย มีความรุนแรง
สาเหตุ
ทารกเกิดก่อนกำหนด
ลำไส้ขาดเลือดและออกซิเจน
การได้รับสารอาหารที่มากเกินไป
การติดเชื้อในลำไส้ เข่น E.coli ,klebsiella ,Staphylococcus aureus,clostridium,salmonella
พยาธิสรีรภาพ เป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงเมื่อลำไส้ขาดเลือดไปเลี่ยง ทำให้ผนังลำำไส้บวม มีแผลเลือดออก ถ่ายอุจาระเป็นมูกปนเลือด เชื้เอโรคจะเข้าสู่เยื่อบุชั้นใน และกล้ามเนื้อของลำไส้เกิดการเน่าตายของลำไส้เพิ่มมากขึ้น ทำให้ลำไส้ทะลุ และมักพบอาการแทรกซ้อน คือ การติดเชื้อในกระแสเลือด และมีภาวะช็อกร่วมด้วย
อาการและอาการแสดง
ถ้าติดจากเชื้อไวรัส จะมีอาการ ถ่ายเหลว ถ่ายเป็นน้ำ ถ่ายเป็นฟอง รอบก้นแดง มีอาการไอ เป็นไข้ และมีน้ำมูกร่วมด้วย
ถ้าติดจากเชื้อแบคทีเรียจะมีอาการ ถ่ายปนเลือดนานเป็นสัปดาห์ มีอาการขาดน้ำ ปากแห้ง ปัสสาวะออกน้อย กระหม่อมบุ๋ม และซึม
ถ้าอาการไม่รุนแรงมาก สังเกตได้ดังนี้ คลื่นไส้ อาเจียน มีไข้
ซึม มือเท้าเย็น นอนทั้งวัน ไม่เล่น ปากแห้ง ปัสสาวะน้อยมีสีเหลืองเข้ม ร้องไห้งอแง ตาแห้ง อาเจียน ถ่ายเหลวมีมูกเลือดผสม ไม่ยอมกินนมหรือกินน้ำ ควรพาไปพบแพทย์ทันที
การป้องกัน
ป้องกันการอักเสบของลำไส้ จากการให้อาหารที่ไม่ถูกต้อง ไม่ใช้นมผสมที่ทำเข้มข้น และควรล้างมือเพื่อป้องกันการติดเชื้อ
การให้นมแม่ เพื่อให้ภุมิคุ้มกันทางลำไส้
ป้องกันการเกิดก่อนกำหนด ปัจจัยเสี่ยง ภาวะเครียดทั้งระยะคลอด และหลังคลอด
การให้สเตียรอยด์ก่อนคลอดในมารดาที่คลอดก่อนกำหนดืเพื่อให้ลำไส้ได้เจริญเติบโตอย่างเต็มที่
ข้อวินิจฉัยและกิจกรรมการพยาบาล
เสี่ยงต่อภาวะขาดนำ้และสารอาหาร เนื่องจากมีความจำกัดในการย่อย การดูดซึมของลำไส้ และจากการดูด gastric coontent
เมื่อลำไส้เริ่มทำงานได้ดีขึ้น เริ่มให้อาหารโดยเร็วที่สุด เท่าที่จะเป็นไปได้ก่อนให้นมทางสายให้อาหารในแต่ละมื้อ ควรดูดปริมาณนำ้นมที่เหลือค้างในกระเพาะก่อน ถ้าเหลือเกินร้อยละ 20-25 ของนมที่ได้รับ ควรรายงานแพทย์ โดยเฉพาะทารกที่มีอาการท้องอืดร่วมด้วย และขณะขหลังให้นมต้องสังเกตอาการแหวะนม อาเจียน และท้องอืด ควรจัดท่าให้ทารกนอนควำ่ หรือตะแคงขววา และศรีษะสูง เพื่อให้นมผ่านกระเพาะอาหารเข้าสู่ลำไส้ได้เร็วขึ้น
ชั่งนำ้หนักตัวทารก
ดูแลให้ทารกได้รับสารอาหารทางหลอดเลือดดำตามแผนการรักษา
บันทึกปริมาณนำ้เข้าออกจากร่างกาย ปริมาณนำ้เข้า พิจารณาจาก การให้สารนำ้ทางหลอดเลือดดำ การให้อาหารทางสายยาง การให้อาหารทางหลอดเลือดดำ และปริมาณนำ้ออก พิจารณาจาก ปัสสาวะ หรือการชั่งปัสสาวะที่เปียกผ้าอ้อม (1 กรัม =1 มิลลิลิตร) อาเจียน และ insensible loss
ประเมินภาวะขาดนำำ้ เช่น ผิวหนังแห้ง ความยืดหยุ่นของผิวหนังไม่ดี ปากแห้ง มีไข้ กระหม่อมบุ๋ม ปัสสาวะน้อย
ส่งเสริมให้ทารกได้กินนมแม่โดยเร็วที่สุด ซึ่งย่อยดูดซึมง่าย และช่วยลดปัญหาการติดเชื้อในทางเดินอาหาร
บิดามารดามีความวิตกกังวลต่อการเจ็บป่วยของบุตร
ส่งเสริมและสนับสนุนให้บิดามารดาได้เข้าเยี่ยมบุตรตามความต้องการและเปิดโอกาสให้ได้มีส่วนร่วมในการดูแลบุตร
ให้ความเชื่อมั่นแก่บิดามารดาว่าบุตร จะได้รับการดูแลเป็นอย่างดีจากบุคลากร
สร้างสัมพันธภาพ เปิดโอกาสให้ซักถามข้อสงสัยต่างๆ พร้อมทั้งรับฟังปัญหา ความไม่สบายใจ และแสดงออกถึงความเข้าใจและเห็นใจ
ให้ข้อมูลเกี่ยวข้องที่บิดามารดาควรทราบเพื่อลดความวิตกกังวล
เสี่ยงต่อภาวะลำไส้ทะลุ เนื่องจากลำไส้มีการติดเชื้อและขาดเลือดไปเลี้ยง
ติดตามผลเลือด และอิเล็กโทรไลต์ เป็นระยะๆ
งดนำ้และอาหาร ทางปาก เพื่อให้ลำไส้ได้พัก และติดตามการทำงานของลำไส้ ถ้าดีขึ้นจะได้พิจารณาให้อาหารทางปาก
ใส่ O-G tube เพื่อระบาย gastric content ดูดออกเป็นระยะๆ และบันทึกปริมาณที่ดูดออกมาได้
ดูแลให้ได้รับสรนำ้ และอาหารทางหลอดลเือดดำ รวมทั้งยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษา พร้อมทั้งสังเกตอาการ และอาการแสดงของภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขื้น
สังเกตอาการผิดปกติ และประเมินอาการเปเลี่ยนแปลงของระบบทางเดินอาหาร
การพยาบาลทารกแรกเกิดนำ้ตาลในเลือดตำ่
การพยาบาล (การประเมินภาวะสุขภาพ)
การตรวจร่่างกาย เมื่อตรวจร่างกายจะพบ ว่า ตัวใหญ่ อ้วน แก้มยุ้ย ผิวแดงเข้ม ผมและขนดกดำ ส่นสะดือและรกใหญ่
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ การตรวจหาระดับนำ้ตาลในเลือด และการตรวจอื่นๆที่เกี่ยข้อง
การซักประวัติ เช่ประวัติการตั้งครรภ์ การเป็นเบาหวาน การได้รับยาระหว่างการตั้งครรภ์
ข่้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
เสี่ยงจากอันตราย เนื่องจากมีภาวะนำ้ตาลในเลือดตำ่
ติดตามผลการตรวจหาระดับนำ้ตาลเป็นระยะ เพื่อทราบการเปลี่ยนแปลง และให้การพยาบาลำด้ทันท่วงที
ดูแลให้ทารกได้รับยาอย่างถูกต้อง ตามแบบแผนการรักษา
ควบคุมและดูแลเรื่องความอบอุ่นแก่ทารก เพื่อป้องกันภาวะที่จะทำให้มีการใช้นำ้ตาลในร่างกายเพิ่มขึ้น
บันทึก สังเกต และรายงานการเปลี่ยนแปลงของสัญญาณชีพและอาการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับภาวะนำ้ตาลในเลือดตำ่
อาการเกร็งเหยียดจากกล้ามเนื้ออ่อนแรง (lethargy of hypotonia )
หายใจไม่เป็นจังหวะ หยุดหายใจ เขียว
ไม่ดูดนม ร้องเสียงแหลม หรือร้องเสียงเบบาผิดปกติ
การกระตุกของกล้ามเนื้อ (twiching) การเคลื่อนไหวแบบสั่นระรัว(่jittery movement)
กระวนกระวาย (irritability) สั่น (tremors)
ตัวเย็น อุณหภูมิตำ่
ชักกระตุก (seizure) การเคลื่อนไไหวที่ไม่สัมพันธ์กันของปากและลิ้น นำ้ลายยืด ตาเบิกกว้าง การเคลื่อนไหวแขนขาอยู่ในท่าผิดปกติ
ดูแลให้ทารกได้รับสารนำ้และอาหารอย่างเพียงพอและเหมาะสมตามสภาวะของทารก
มีระดับนำ้ตาลในเลือดตำ่ แต่ไม่แสดงอาการ ถ้าดูดนมแม่ไม่ได้ให้ใช้นมบีบ หรือนมอื่นทดแทน ด้วยการป้อน หรือให้ทางสายยางทางปากอย่างน้อยทุก 3 ชม. และตรวจระดับนำ้ตาลในเลือดเป็นระยะ ๆ ถ้าระดับนำ้ตาลในเลือดยังตำ่อยู่ อาจต้องให้กลูโคสทางหลออดเลือดดำ
มีระดับนำ้ตาลในเลือดตำ่ และแสดงอาการ ได้แก่ หยุดหายใจ เขียว สั่ย หรือชัก ต้องวัดระดับนำ้ตาลในเลือดอย่างเร่งดาวน และให้เดกซ์โทรส 10% ในนำ้ ทางหลอดเลือดดำ โดยต้องไม่ให้เร็วหรือช้าจนเกินไป ถ้ามีระดับนำ้ตาลในเลือดเพิ่มขึ้นปกติ และคงอยู่อย่างน้อย 12 ชม. ทารกดูดกลืนได้ดี ไม่มีอาการผิดปกติทางระบบประสาท ควรพิจารณาเริิ่ใให้นมทางปสากโดยเร็วเท่าที่จำทำได้
บิดามารดามีความวิตกกังวลต่อการเจ็บป่วยของบุตร
ให้ข้อมูลเกี่ยวข้องที่บิดามารดาควรทราบเพื่อลดความวิตกกังวล
ให้ความเชื่อมั่นแก่บิดามารดาว่าบุตร จะได้รับการดูแลเป็นอย่างดีจากบุคลากร
สร้างสัมพันธภาพ เปิดโอกาสให้ซักถามข้อสงสัยต่างๆ พร้อมทั้งรับฟังปัญหา ความไม่สบายใจ และแสดงออกถึงความเข้าใจและเห็นใจ
ส่งเสริมและสนับสนุนให้บิดามารดาได้เข้าเยี่ยมบุตรตามความต้องการและเปิดโอกาสให้ได้มีส่วนร่วมในการดูแลบุตร
สาเหตุ
ปัจจัยด้านทารก
SGA หรือ LGA
ทารกเกิดก่อนกำหนด หรือมีนำ้หนักแรกเกิดน้อยกว่า 2500 กรัม
มีการเจ็บป่วย เช่น การติดเชื้อ
มีความผิดปกติแต่กำเนิด
จากสาเหตุอื่นๆ
pancreatic disorders เช่น adenoma สร้าง insulin มากกว่าปกติ
adrenal insufficiency ทำให้เกิด inadequate carbohydrate -regulating hormone
ได้รับอาหารช้า หรืออาเจียน
ได้รับเลือดที่ใส่ acid citrate dextrose (ACD)
ปัจจัยด้านมารดา
มารดาเป็นเบาหวาน ภาวะครรภ์เป็นพิษ การคลอดยาก
การได้รับยาบางชนิด เช่น tocolytic agents,ethanol,sulfonylureas ,dextrose infusion
ความหมาย
คือ การพยาบาลทารกที่มีภาวะระดับนำ้ตาลใสนนเลือดตำ่กว่า 40 mg/dL ซึ่งจะพบได้ 2 ลักษณะ ได้แก่ นำ้ตาลในเลือดตำ่ชนิดเป็นชั่วคราว ง่ายต่อการรักษา พบในทารกที่มารดาที่มีประวัติ pre-eclampsia มีขี้เทาในนำ้ครำ่ และ นำ้ตาลในเลือดตำ่ชนิดที่กลับเป็นซำ้หรือเป็นตลอดไป
การพยาบาลทารกตัวเหลือง
ความหมาย
ภาวะตัวเหลือง หมายถึง ภาวะที่ร่างกายมีระดับบิลิรูบิน(สารสีเหลือง) ในกระแสเลือดมากกว่าปกติ มีอาการตัวเหลืองปรากฏให้เห็นที่ผิวหนัง
สาเหตุ
3.มีการกำจัดบิลิรูบินได้ลดลง จากท่อนำ้ดีอุดตัน การขาดเอนไซม์บางชนิดแต่กำเนิด
4.มีการสร้างบิลิรูบินเพิ่มขึ้น ร่วมกับการกำจัดบิลิรูบินได้น้อยลง ได้แก่ ภาวะติดเชื้อในครรภ์และหลังคลอด และภาวะคลอดก่อนกำหนด
มีการดูดซึมของบิลิรูบินจากลำไส้เพิ่มมากขึ้น เช่นภาวะลำไส้อุดตัน การตีบของกระเพาะอาหารส่วนไพรอลัส หรือ meconium plug
1.มีการสร้างบิลิรูบินเพิ่มมากกว่าปกติจากภาวะต่างๆ ที่มีการทำลายเม็ดเลือดแดง
มีเลือดออกตามที่ต่างๆในร่างกาย ทำให้จำนวนเม็ดเลือดแดงที่ต้องทำลายมีมากขึ้น
เกิดก่อนกำหนด ทารกที่เกิดก่อนกำหนด ยังมีการทำงาน ของตับไม่ดี มักจะมีตัวเหลืองมากกว่าทารกครบกำหนดเสมอ
เม็ดเลือดแดงผิดปกติRed blood cell membrane defect เยื่อหุ้มเม็ดเลือดแดงผิดปกติ ทำให้เม็ดเลือดแดงแตกง่ายกว่าปกติ เช่น รูปร่างผิดปกติแต่กำเนิดหรือเอ็นไซม์ในเม็ดเลือดแดงบกพร่อง (G6PD ) จะทำให้เม็ดเลือดแดงแตกง่ายกว่าธรรมดาได้
จากน้ำนมแม่ เนื่องจากน้ำนมแม่เฉพาะบางคน จะมีสารที่ต้านการทำงานของตับในการขับถ่ายสารสีเหลืองจะทำให้ทารกตัวเหลืองได้ พบไม่บ่อยและจะเหลืองเมื่ออายุมากกว่า 10 วัน แตกต่างจากตัวเหลืองทั่วไปที่มักจะตัวเหลืองในสัปดาห์แรก ในรายที่เหลืองมากๆ อาจต้องงดนมแม่ชั่วคราว1-2วัน เพื่อให้หายเหลืองเร็วขึ้น ส่วนใหญ่สามารถกลับมาให้นมแม่ใหม่ได้
หมู่เลือดของมารดาและทารกไม่เข้ากัน เป็นสาเหตุที่ทำให้ทารกตัวเหลืองได้เร็ว และเหลืองมากกว่าปกติ เนื่องจากมีการทำลายของเม็ดเลือดแดงมากกว่าธรรมดา
จากการดูดนมแม่ เป็นตัวเหลืองในทารกแรกเกิดที่พบได้บ่อย และพบในสัปดาห์แรกเนื่องจากน้ำนมยังมีน้อย ทำให้ทารกขาดน้ำ พลังงานและสารอาหาร ส่วนใหญ่มักไม่มีอันตราย และป้องกันโดยให้ทารกดูดนมมารดาได้บ่อยๆในช่วงแรก
สาเหตุอื่นๆ ของตัวเหลือง เช่นการติดเชื้อ มารดาเป็นเบาหวาน ลำไส้อุดตัน ต่อมธัยรอยด์ทำงานน้อย และความผิดปกติต่างๆของการขับถ่ายสารสีเหลือง เป็นต้น
การวินิจฉัย
1.ประวัติและการตรวจร่างกาย
ประวัติการเกิดของทารก ได้แก่ คะแนน Apgar ตำ่ ได้รับบาดเจ็บจากการคลอด คลอดก่อนกำหนด ตัดสายสะดือช้า
มีอาการผิดปกติอื่นๆ ร่วมด้วย ได้แก่ อาเจียน ซีมลง กินได้ไม่ดี นำ้หนักตัวน้อย หายใจเร็ว อุณหภูมิร่างกายไม่คงที่
ประวัติครอบครัว มีโรคเม็ดเลือดแดงแตกง่าย
การตรวจร่างกาย ทารกจะเริ่มมีอาการตัวเหลืองที่ใบหน้า ลำตัว แขน ขา (cephalocaudal progession) ตับโต ม้ามโต เกร็ดเลือดตำ่ มีจุดเลือดออกตามตัว
2.การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
หมู่เลือดแม่และลูก เพื่อดูภาวะ blood group incompatibility (ABO ,Rh)
direct coombs' test เพื่อดูภาวะ blood group incompatibility
ระดับ Direct Bilirubin ในเด็กที่มีอาการตัวเหลืองนานกว่า 2 สัปดาห์ หรือสงสัยว่ามีภาวะ cholestatic jaundice
ค่า CBC เพื่อดูภาวะติดเชื้อในมารก
ระดับบิลิรูบินในเลือด
peripheral blood smear เพื่อดูลักษณะของเม็ดเลือดแดงที่ผิดปกติ และดูภาวะติดเชื้อ
Glucose-6-phosphate เพื่อดูภาวะพร่องเอนไซม์ G6PD โดยเฉพาะในเด็กชาาย
reticulocyte count เพื่อสนับสนุนว่ามีภาวะ hemolysis
การรักษา
การเปลี่ยนถ่ายเลือด
แพทย์จะใช้วิธีนี้กับเด็กที่มีระดับบิลิรูบินในเลือดสูงมากและไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยวิธีอื่น รวมทั้งเด็กที่เริ่มแสดงอาการทางสมอง หรือมีภาวะตัวเหลืองเนื่องจากมีหมู่เลือดระบบอาร์เอชต่างจากแม่ โดยเป็นการรักษาที่ช่วยให้ระดับบิลิรูบินในร่างกายลดลงเร็วขึ้น
การฉีดอิมมูโนโกลบูลินเข้าเส้นเลือด (IVIg)
ในกรณีที่ภาวะตัวเหลืองเกิดจากเลือดของแม่และเด็กไม่เข้ากัน สารก่อภูมิคุ้มกันจากแม่จะจับตัวกับเม็ดเลือดแดงของทารกจนทำให้เม็ดเลือดแดงแตกตัว การฉีดอิมมูโนโกลบูลินเข้าทางเส้นเลือดจะช่วยลดระดับสารก่อภูมิคุ้มกันและอาจลดภาวะตัวเหลืองได้ โดยไม่จำเป็นต้องรับการถ่ายเลือด
การส่องไฟรักษา
เป็นการใช้หลอดไฟชนิดพิเศษที่มีความยาวคลื่นแสงที่เหมาะสมเพื่อลดระดับสารบิลิรูบินในเลือด โดยแสงจากเครื่องฉายแสงจะช่วยเปลี่ยนรูปร่างหรือโครงสร้างโมเลกุลของบิลิรูบินให้ร่างกายขับถ่ายออกมาทางปัสสาวะหรืออุจจาระ ซึ่งแสงแดดจากธรรมชาติไม่อาจช่วยรักษาภาวะนี้ได้
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
บิดามารดามีความวิตกกังวลต่อการเจ็บป่วยของบุตร
ให้ข้อมูลเกี่ยวข้องที่บิดามารดาควรทราบเพื่อลดความวิตกกังวล
ให้ความเชื่อมั่นแก่บิดามารดาว่าบุตร จะได้รับการดูแลเป็นอย่างดีจากบุคลากร
สร้างสัมพันธภาพ เปิดโอกาสให้ซักถามข้อสงสัยต่างๆ พร้อมทั้งรับฟังปัญหา ความไม่สบายใจ และแสดงออกถึงความเข้าใจและเห็นใจ
ส่งเสริมและสนับสนุนให้บิดามารดาได้เข้าเยี่ยมบุตรตามความต้องการและเปิดโอกาสให้ได้มีส่วนร่วมในการดูแลบุตร
เสี่ยงต่อสมองได้รับอันตรายจากภาวะบิลิรูบินในเลือดสูง
สังเกตอาการเปลี่ยนแปลงที่บ่งชี้ ้ถึงภาวะที่มีการทาํลายของเนื้อสมองไดแ้ก ่ ดูดนมไม่ดี ซึมลง ร้องเสียงแหลม หลงัแอ่น ตวัเขียว ชกัหรือกระตุก
ดูแลให้ไ้ด้ร้บนำ้นมมารดาตามต้องการ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการขจัดบิลิรูบินออกจาก
ร่างกาย
สังเกตอาการตัวเหลืองโดยใช้นิ้วกดบริเวณผิวหนังบริเวณจมูก หน้าผาก หน้าอก และ หน้าแข้ง
ดูแลให้ได้ร้ับการส่องไฟรักษาโดย
ตรวจสอบประสิทธิภาพของหลอดไฟ ให้ทารกนอนตรงกลางของแผงไฟในระยะห่าง 30-45 ซม. กั้นผ้าไว้รอบแสงไฟ
สังเกตลกัษณะอุจจาระเพราะทารกอาจจะมีอาการถ่ายอุจจาระเหลวสีเขียว
ปิดตาด้วย Eyes pad เพื่อป้องกันการระคายเคืองของแสงต่อตา
เจาะเลือดหาระดบับิลิรูบินในเลือด 4 ชั่วโมงหลังส่องไฟและทุก 24 ชั่วโมงจนกว่าระดับบิลิรูบินในเลือดปกติ
ไม่ทาแป้งนำ้มันหรือโลชั่น เพราะอาจมีส่วนผสมของสารบางอย่างที่ทาํใหเ้กิดการสะท้อนของแสง
ตรวจร่างกายดูการเปลี่ยนแปลงของผวิหนังว่ามีผดผื่นหรือผิวสีบรอนซ์หรือไม่
บันทึกและรายงานการเปลี่ยนแปลงของสัญญาณชีพทุก 4 ชั่งโมง และรักษาอุณหภูมิร่างกายให้อบอุ่่นตลอดเวลา
ถอดเสื้อผา้ออกและพลิกตัวให้อยู่ในท่าหงายหรือท่านอนควำ่ทุก 3 – 4 ชั่วโมง เพื่อให้ทารกได้รับแสงทั่วตัว
ได้ร้บการดูแลช่วยเหลือเมื่อเกิดภาวะแทรกซ้อน
การพยาบาลทารกแรกเกิดก่อนกำหนด
ลักษณะของทารกเกิดก่อนกำหนด
ไขเคลือบตัว (vernix caseosa)น้อย
เส้นลายฝ่าเท้ามีน้อย
หัวนมแบนราบ
ทารกชายพบถุงอัณฑะมีรอยย่นน้อย และอัณฑะยังไม่ลงมาในถุง ส่วนทารกหญิงเห็น labia minora และ clitoris ชัดเจน
มีขนอ่อนขึ้นมากโดยเฉพาะ หน้าผาก ไหล่ และต้นแขน
แขนขาเหยียดออก กล้ามเนื้อมีกำลังน้อย และร้องเสียงค่อย
ผิวหนังบาง ไขมันใต้ผิวหนังน้อย มองเห็นเส้นเลือดฝอยชัดเจน จึงมองเห็นผิวเด็กเป็นสีแดง
ทรวงอกอ่อนนิ่ม เนื้อยื่อปอดเจริญไม่สมบูรณ์ การระบายอากาศในปอดมีน้อย มีการหายใจเป็นระยะ ๆ ได้บ่อย
รูปร่างเล็ก และศรีษะใหญ่ เมื่อเทียบกับลำตัว
ไม่มีรีเฟล็กซ์ หรือมีน้อย เกี่ยวกับการดู กลืน จาม ไอ และอาการแสดงททางระบบประสาท
การทำงานของระบบต่างๆ ไม่สมบูรณ์
มีนำ้หนักตัวไม่เกิน 2,500 กรัม หรือขึ้นอยู่กับอายุครรภ์
สภาวะบกพร่องของทารกเกิดก่อนกำเนิด
4.การเปลี่ยนแปลงหน้าที่ของไต
ไตมีการทำงานที่ผิดปกติคือจะมีการขับนำ้ตาลร่วมกับปัสสาวะ
ความสามารถในการบัฟเฟอร์ลดลง ทำให้มีกรดสะสมอยู่ที่ไต
ความสามารถในการทำหน้าที่ของไตจำกัดในการทำให้ปัสสสาวะเข้มข้น ทำให้มีนำ้ส่วนเกินและภาวะนำ้คั่ง
ไตใช้เวลาในการขับยานาน ทารกจะได้รับพิษจากยาเร็วกว่าผู้ใหญ่
อัตราการกรองของไตตำ่ เพราะการไหลเวียนของเลือดไปที่ไตลดลง ทำให้มีปัสสาวะน้อย หรือไม่มีปัสสาวะ ความดันโลหิตตำ่
5.การแสดงพฤติกรรมและระยะตื่นตัว
มีวงจรการหลับตื่นไม่แน่นอน
ไม่สามารถที่จะจ้องมองใบหน้าคน หรือสิ่งแวดล้อมได้
มีปฏิกิริยาตอบสนองทางระบบประสาทน้อยกว่าทารกที่คลอดปกติ
ระบบทางเดินอาหาร
ต้องการโปรตีนเวย์ (whey) ซึ่งเป็นโปรตีนที่มีความเข้มข้นที่ทารกรับได้
จำกัดการดูดซึมกรดไขมันอิ่มตัว เนื่องจากนำ้ดี และเอนไซม์ไลเปสจากตับอ่อนมีน้อย
เอนไซม์บางอย่างยังเจริญไม่เต็มที่ ไม่สามารถเปลี่ยนกรดอะมิโนที่จำเป็นให้เป็นกรดอะมิโนที่สำคัญสำหรับทารกได้ เช่น histidine taurine cystidine
ช่วงอายุ 2-3 วันแรกมีการจำกัดการย่อยนำ้ตาลแลกโตส
กระเพาะอาหารมีความจุน้อย
โครงสร้างกระดูกบอบบาง เป็นโรคกระดูกอ่อน (ricket) เนื่องจากการขาดแคลเซียมและฟอสเฟต
มี gag reflex (รีเฟล็กซ์ขย้อน) จาการสำลักขี้เทาในระยะคลอด ทำให้รีเฟล็กซ์การดูด การกลืน ยังเจริญไม่สมบูรณ์
ต้องการออกซิเจนและพลังงานพื้นฐานเพิ่มขึ้น เพราะทารกจะเหนื่อยล้าจากการดูด
6.ระบบภูมิคุ้มกัน
การสร้าง IgM ไม่สมบูรณ์ ทารกเกิดการติดเชื้อได้ง่าย
มีผิวหนังบอบบาง และบวม
2.ระบบการควบคุมอุณหภูมิร่างกาย จะมีการสูญเสียความร้อนได้ง่าย
มี brown fat น้อย เป็นไขมันที่ถูกเผาผลาญเพื่อสร้างความร้อน
มีกล้ามเนื้อน้อย และยังไม่มีการสั่นของกล้ามเนื้อ (shivering) ความร้อนจึงผลิตได้น้อย
มี subcutaneous (white) fat น้อย ซึ่งเป็นฉนวนห่อหุ้มความร้อน
มีการสูญเสียนำ้ และความร้อนด้วยการระเหยทางผิวหนังที่บาง และซึมผ่านได้ง่าย
พื้นที่ผิวร่างกายกว้าง เมื่อเทียบกับนำ้หนักตัว ทำให้ทารกสร้างความร้อนได้น้อยกว่าการสูญเสียความร้อน
มีลักษณะท่านอนแขนขาเหยียด ซึ่งเป็นการเพิ่มพื้นที่ผิวสัมผัสต่ออากาศกับสิ่งแวดล้อม จึงสูญเสียความร้อนได้ง่าย
หลอดเลือดที่ผิวหนังชั้นตื้น หดตัวไม่สมบูรณ์ จึงสูญเสียความร้อนได้ง่าย
7.บทบาทของบิดามารดา
ถูกทอดทิ้ง
ได้รับความสนใจและการปกป้องเป็นพิเศษ เกินควร ทำให้ทารกเหล่านี้ มีปัญหาทางพฤติกรรมทีี่เรียกว่า vulnerable child syndrome ขาดความมั่นใจ ไม่อยากจากมารดา มีปัญหาเมื่อเข้าโรงเรียน คือคบเพื่อยยาก นอนไม่ค่อยหลับ
1.ระบบหายใจ
ทางเดินหายใจมีขนาดเล็ก จึงเกิดการอุดตันได้ง่าย
ผนังทรวงอกอ่อนตัว ทำให้ปอดแฟบ
การขับสารคัดหลั่งจากทางเดินหายใจยังไม่ดี อาจทำให้เกิด apnea คือทารกจะหยุดหายใจนานเกิน 20 วินาที ร่วมกับมีอาการเขียว หัวใจเต้นช้าลลง
การขาดสารลดแรงตึงผิว ทำให้เกิด respiratory distress syndrome
ศูนย์ควบคุมการหายใจในสมองยังเจริญไม่สมบูรณ์ ทำให้เกิดการหยุดหายใจ
สาเหตุ
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรถ์
ภาวะตั้งที่ครรภ์แฝด (multiple pregnancy)
ภาวะตั้งครรภ์แฝดนำ้ (polyhydramnios)
ภาวะที่ปากมดลูกปิดไม่สนิท (cervical incompetence)
การแตกของถุงนำ้ครำ่ก่อนกำหนด (premature rupture of membrance ) หรือมีการอักเสบของถุงนำ้ครำ่ (chorioamnionitis)
ภาวะแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์( complication pregnancy)
ปัจจัยด้านทารก
chrommosomal abnormalities ความผิดปกติด้านโครโมโซม
anatomic abnormalities ความผิดปกติของรูปร่าง
intrauterine infection การติดเชื้อในครรภ์
ปัจจัยด้านมารดา
2.เศรษฐฐานะตำ่ มารดาได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ และเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ตามาได้ง่าย
3.มารดามีอายุตำ่กว่า 18 ปี หรือมากกว่า 35 ปี
1.โรคของมารดา เช่น เบาหวาน โรคไต โรคหัวใจ โรคติดเชื้อต่างๆ
4.การสูบบุหรี่
การพยาบาล
5.การป้องกันการติดเชื้้อ (เสี่ยงต่อการติดเชื้อ เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันยังเจริญไม่สมบูรณ์)
ประเมินอาการติดเชื้อ เช่น ซึม ตัวเย็น ดูดนมไม่ดี นำ้หนักลด
บุคลากร หรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในห้องเด็ก ควรใช้เสื้อผ้าเฉพาะห้องเด็ก สะอาด และปลอดเชื้อ และควรล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง และผู้ที่เป็นโรคติดเชื้อทางระบบหายใจหรือโรคผิวหนัง ไม่ควรเข้าไปให้การดูแลทารก
เปลี่ยนตู้ให้ความอบอุ่นทุกสัปดาห์ เปลี่ยนสารนำ้และอุปกรณ์ในการให้สารนำ้ทุกวัน
ดูแลรักษาความสะอาดของผิวหนังและสะดือ เวลาเช็ดตัว หรืออาบนำ้ควรดูแลให้แห้ง และสะอาดอยู่เสมอ สังเกตผิวหนัง โดยเฉพาะส่วนที่เป็นซอกหรือรอยย่น เช่น ซอกคอ หลังหูรักแร้ ขาหนีบ
6.การดูแลด้านพัฒนาการของทารก(เสี่ยงต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการล่าช้า เนื่องจากระบบประสาทสัมผัสยังเจริญไม่สมบูรณ์)
จัดกิจกรรมกระตุุ้นประสาทสัมผัสด้านต่างๆ รวมทั้งแนะนำการปฏิบัติแก่บิดามารดาในระยะที่ทารกอยู่ในสภาวะตื่นตัว
กระตุ้นประสาทสัมผัสด้านการได้ยิน
ร้องเพลง เปิดเทป หรือวิทยุ เป็นระยะๆ
เรียกชื่อทารก และพูดคุยขณะดูแลทารก
กระตุ้นประสาทสัมผัสที่ผิวหนังและการเคลื่อนไหว
โอบอุ้มสัมผัสทารก
เปลี่ยนท่านอนทารกช้าๆ ทุก 2 ชม.
ใช้มือที่อุ่น ลูบและสัมผัสทารกตั้งแต่ศรีษะถึงปลายเท้า
กระตุ้นประสาทสัมผัสด้านการมอง
ใช้ผ้าคลุมตู้อบ หรือเปิดไฟให้มีแสงสลัวในขณะที่ทารกหลับ และเปิดผ้าคลุมตูั้อบออกในขณะที่ทารกตื่น เพื่อปรับเวลาให้สอดคล้องกลางวัน และกลางคืน
แขวนโมบายสีดำ ขาวในระยะที่ห่างจากสายตาทารก 7-9 นิ้วสำหรับทารกที่อยู่มนตู้อบให้ติดรูปภาพไว้ที่ผนังตู้ด้านใดด้านหนึ่ง
อุ้มทารกในระดับมองหน้า สบตตาตามปกติ อุ้มทั้งในท่านั่ง และท่าซบไหล่
ประเมินการกระตุ้นประสาทสัมผัสด้านการมองเห็นที่มากเกินไป เช่น การมองหันทางอื่น
ลดความเจ็บปวดจากการทำหัตถการ ได้แก่ การห่อตัว การใช้ผ้าม้วนกลมล้อมรอบลำตัวทารก การวางมือสัมผัสบริเวณศรีษะและเท้า และการนวดสัมผัส
กำหนดกิจกรรมการพยาบาลให้เสร็จในเวลาเดียวกัน เพื่อให้ทารกมีระยะพักนาน
4.การดูแลให้อาหารและสารนำ้ อย่่างเพียงพอ (ได้รับสารอาหารน้อยกว่าความต้องการของร่างกาย เนื่องจากความจุของกระเพาะอาหารน้อย และความไม่สมบูรณ์ของรีเฟล็กซ์การดูดและการกลืน)
สังเกตุความสมบูรณืของรีเฟล็กซ์ เพื่อเปลี่ยนวิธีการให้อาหารทางหลอดเลือดดำมาเป็นทางสายยาง หรือทางปาก เช่น การดูด และการกลืน อาจทดสอบให้ลองดุดจุกนมปลอม
ดูแลให้สารนำ้ นม และอาหาร ตามแผนการรักษา
ดูแลอุ่นนมให้มีอุณหภูมิใกล้เคียงนมแม่ หรือ 37.0 องศาเซลเซียส ก่อนให้ทารก
ก่อนให้นมทางสายให้อาหารในแต่ละมื้อ ควรดูดปริมาณนำ้นมที่เหลือค้างในกระเพาะก่อน ถ้าเหลือเกินร้อยละ 20-25 ของนมที่ได้รับ ควรรายงานแพทย์ โดยเฉพาะทารกที่มีอาการท้องอืดร่วมด้วย และขณะขหลังให้นมต้องสังเกตอาการแหวะนม อาเจียน และท้องอืด
ส่งเสริมการดูด ได้แก่ การใช้ผ้าห่อตัวทารก (swaddling ) ในท่าแขนและมืองอเข้าหาปากได้ จัดสิ่งแวดล้อมให้มีแสงสลัว เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจของทารก รวมทั้งการนวดรอบปาก
สังเกตการตอบสนองของทารกต่อการให้อาหาร เช่น ความแรงและระยะเวลาในการดูด นมไหลย้อนกลับ อาเจียน
จัดท่าให้ทารกนอนควำ่ หรือตะแคงขววา และศรีษะสูง เพื่อให้นมผ่านกระเพาะอาหารเข้าสู่ลำไส้ได้เร็วขึ้น
7.การส่งเสริมบทบาทของบิดา มารดา (เสี่ยงต่อการปฏิบัติบทบาทมารดาบิดาบกพร่อง เนื่งอจากการแยกบุตรและไม่มีความรู้ในการดูแลทารกคลอดก่อนกำหนด)
ให้โอกาสมารดา บิดาได้บอกเล่าความรู้สึก และซักถามข้อสงสัยเกี่ยวกับความเจ็บป่วยและการดูแลรักษาบุตร
ให้คำแนะนำมารดาบิดาเกี่ยวกับสิ่งที่ควรปฏิบัติในการเข้าเยี่ยมบุตร รวมทั้งเปิดโดอกาสให้เข้าเยี่ยมและจับต้อง พูดคุยกับบุตร
สร้างสัมพันธภาพโดยการแนะนำตัว พูดคุยเกี่ยวกับทารก :เกิดก่อนกำหนด เพื่อให้เกิดความคุ้นเคยและไว้วางใจ:
ให้คำแนะนำมารดาบิดาเกี่ยวกับการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนด พฤติกรรม และพัฒนาการของทารก การดูแล เช่น การให้นมบุตร เปลี่ยนผ้าอ้อมการสัมผ้ส จับต้องและโอบอุ้มบุตร
3.การควบคุมอุณหภูมิร่างกายให้อยู่ระดับปกติ (การควบคุมอุณหภูมิร่างกายไม่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากระบบการควบคุมอุณหภูมิร่างกายยังเจริญไม่สสมบูรณ์)
ควบคุมอุณหภูมิสิ่งแวดล้อม และตู้ให้ความอบอุ่นให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม เพื่อเพิ่มการสร้างความร้อน และลดการใช้ออกซิเจน
ในขณะทำหัตถการโดยเปิดฝาตู้อบ ควรใช้เครื่องแผ่รังสีให้ความอบอุ่นด้วย
ให้มารดาอุ้มบุตรแบบแกงการู (Kangaroo care) ช่วยให้ทารกได้รับความอบอุ่นจากมารดา
ประเมินอุณหภูมิร่างกายทางทวาร โดยสอดเทอร์ดมมิเตอร์ลึก 2.5 ซม. นาน 3 นาที ส่วนทางรักแร้นาน 5 นาที
2.การดูแลด้านการหายใจ (การแลกเปลี่ยนก๊าซไม่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากความไมม่สมบูรณ์ของปอด และผนีงทรวงอก)
ดูแลให้ออกซิเจนที่อุ่น และมีความชื้ืนร้อยละ 40-60 เพื่อป้องกันเยื่อบุจมูกแห้ง
ระมัดระวังอาการอาเจียน และสำลักขณะดูดนม เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนของปอด
ควรเปลี่ยนท่านอนทุก 2-3 ชม.เพื่อช่วยระบายอากาศและลดการคั่งค้่งของเสมหะ โดยปกติจะให้นอนท่านอนราบตะแคงไปทางด้านใดด้านหนึ่ง เพื่อให้เสมหะออกสู้ภายนอกได้ง่าย หากทารกหายใจลำบาก ให้จัดท่านอนศรีษะสูง เพื่อให้ปอดขยายตัวได้เต็มที่ หรืออาจจะจัดท่านอนราบ (ใช้ผ้าหนุน คอและไหล่ ให้หน้าแหงนเล็กน้อย ) จะทำให้ทางเดินหายใจเปิดตลอดเวลา
กำหนดกิจกรรมการพยาบาลให้เสร็จสิ้นในเวลาเดียวกัน เพื่อให้มารกมีระยะพักนาน ลดการใช้ออกซิเจน
ดูแลทางเดินหายใจให้โล่งอยู่เสมอ มีการดูดเสมหะในปากและลำคอด้วยลูกยางแดง หรือเครืื่องดูดเสมหะ โดยดูดครั้งละ ไม่เกิน 5-10 วินาที
ประเมินการหายใจ ได้แก่ จำนวนครั้ง ลักษณะการหายใจ สีผิว ความอิ่มตัวของออกซิเจน
1.การประเมินภาวะสุขภาพของทารกเกิดก่อนกำหนด
ตรวจสอบภาวะนำ้ตาลในเลือดเมื่อแรกนับ
ตรวจสสอบสัญญาณชีพ โดยเฉพาะอุณหภูมิที่ผิวหนัง
ประเมินการหายใจ สังเกตระยะหยุดหายใจซึ่งนานเกิน 20 วินาที
ประเมินเสียงการเต้นของหัวใจ ว่ามี murmur (ภาวะ PDA) หรือไม่
ประเมินภาวะแทรกซ้อน
ตรวจสอบระดับความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด
ตรวจสอบผิวหนัง ดูสี ความสมบูรณ์ และความยืดหยุ่น
ประเมินระบบประสาทจากพฤติกรรม เช่น ร้องเสียงคค่อย ดูดนมไม่ดี
การประเมินสภาพร่างกาย เพื่อจำแนกความผิดปกติ
ตรวจสอบผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น Hb ,Hct ,Billirubin เพื่อดูภาวะเลือดข้น และตัวเหลือง
การประเมินอายุครรภ์ และการเจริญเติบโตในครรภ์ล่าช้า
ประเมินการทำงานของไต โดยกา งนำ้หนักปัสสาวะ และการบันทึกสารนำ้ที่ให้
รายงานการตั้งครรภ์ และการคลอดที่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อ
ประเมินสภาพและการปรับตัวของครอบครัว เพื่อวางแผนการพยาบาล
ประวัติมารดา
ความหมาย
คือการพยาบาลทารกที่เกิดมาด้วยอายุครรภ์ที่น้อยกว่า 37 สัปดาห์เต็ม ซึ่งเป็นปัจจัยที่พบบ่อยที่สุดของการตายของทารกแรกเกิด และการเข้ารับการรักษาดูแลในหน่วยบำบัดพิเศษ ในประเทศไทยพบทารกเกิดก่อนกำหนดร้อยละ 12 ของการคลอด
การพยาบาลทารกกลุ่มอาการหายใจลำบาก
ปัญหาในระบบทางเดินหายใจของทารกแรกเกิดที่ทำให้เกิดภาวะหายใจลำบาก
กลุ่มอาการหายใจลำบาก (Respiratory distress syndrome,RDS)
ความหมาย
กลุ่มอาการหายใจลำบาก (RDS) หรือ hyaline membrane disease (HMD) หมายถึง ภาวะหายใจลำบากในทารกเกิดก่อนกำหนด เนื่องจากขาดสารลดแรงตึงผิว (surfactant) ในปอดที่มีสาเหตุเริ่มต้นจากการเจริญเติบโตไม่สมบูรณ์ของปอด
ปัจจัยเสี่ยง
1.การเกิดก่อนกำหนด
2.มารดาเป็นเบาหวาน
3.มารดาที่มีเลือดออกกก่อนคลอด
4.ทารกที่คลอดโดยการผ่าตัดออกทางหน้าท้อง(Caesarean section)
5.ทารกที่มีภาวะเลือดขาดออกซิเจน เลือดเป็นกรดจากเมตาบอลิซึม และอุณหภูมต่ำ จะทำให้การสร้างสารลดแรงตึงผิวลดลง
6.ทารกที่มีประวัติว่าพี่เคยเป็น RDS
7.ทารกที่เป็นแฝดน้องมีโอกาสจะเป็นโรคนี้มากกว่าแฝดพี่
8.ทารกเพศชาย
อาการและอาการแสดง
1.หายใจเร็ว (tachypnea) มากกว่า60ครั้ง/นาที หรือหายใจลำบาก (dysnea)
2.หน้าอกบุ๋ม บริเวณช่องซี่โครง ชายโครง กระดูกลิ้นปี่ เนื่องจากการหดตัวอย่างแรงของกล้ามเนื้อที่ช่วยการหายใจ รวมทั้งความยืดหยุ่นของปอดลดลงและโครงกระดูกซี่โครงเพิ่มขึ้น
3.มีการหายใจโดยที่ทรวงอกและหน้าท้องเคลื่อนไหวไม่พร้อมกัน
4.เสียงกลั้นหายใจในระยะหายใจออก (expiratory grunting) เนื่องจากสายเสียงหุบแคบลงในระยะหายใจออก เพื่อคงปริมาตรภายในปอด
5.หายใจมีเสียงคราง (moaning)
6.ปีกจมูกบาน (flaring nose)
7.อาการเขียว เมื่อหายใจในอากาศธรรมดา
8.อาการอื่นๆ ได้แก่ อุณหูภูมิร่างกายต่ำ ไม่ค่อยเคลื่อนไหวขยับร่างกาย ถ้าอาการรุนแรงมากขึ้นจะมีกล้ามเนื้ออ่อนแรง ระยะต่อมาจะมีอาการบวม และปัสสาวะน้อย
การรักษา
1.การให้ออกซิเจนโดยรักษาระดับออกซิเจนในเลือด ให้อยู่ระหว่าง50-70มิลลิเมตรปรอท ระดับคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือด 40-50มิลลิเมตรปรอท และ pH อยู่ระหว่าง7.25-7.30
2.การให้สารน้ำ อิเล็คโทรลัยต์ และควบคุมกรดด่างในระยะ3วันแรก
3.การรักษาประคับการประคองอื่นๆ ได้แก่ การรักษาอุณหภูมิร่างกาย เพื่อลดการใช้ออกซิเจน และความต้องการออกซิเจน
4.การใช้เครื่องช่วยหายใจในทารกที่มีภาวะ RDS รุนแรงหรือมีภาวะหายใจวาย
5.การรักษาด้วยสารลดแรงตึงผิว
ภาวะแอสฟิย์กเซียปริกำเนิด (Perinatal asphyxia)
ความหมาย
ภาวะที่ประกอบด้วยภาวะเลือดขาดออกซิเจน(hypoxia) คาร์บอนไดออกไซด์คั่ง (hypercapnia) และเลือดเป็นกรดจากเมตาบอลิซึม (metabolic acidosis)ที่พบในทารกขณะอยู่ในครรภ์และภายหลังกิด ส่งผลให้เนื้อเยื่อของร่างกายได้รับออกซิเจนและการแลกเปลี่ยนก๊าซไม่เพียงพอ นิยมใช้ apgar score เพื่อบ่งชี้ถึงความรุนแรงของภาวะแอสฟิย์กเซีย โดยแบ่งเป็น4ระดับ ดังนี้
สาเหตุของการเกิดภาวะแอสฟิย์กเซีย
1.ปัจจัยเกี่ยวข้องกับการคลอด เช่นศีรษะของทารกไม่ได้สัดส่วนกับเชิงกรานมารดา การคลอดติดไหล่(shoulder dystocia) สายสะดือย้อย(prolapsed cord) ครรภ์แฝด ท่าผิดปกติของทารกในครรภ์
2.ปัจจัยทางด้านมารดา เช่น โรคความดันโลหิตต่ำ โรคหัวใจ เบาหวาน อายุมาก รกเกาะต่ำ รกลอกตัวก่อนกำหนด ภาวะพิษแห่งครรภ์ ได้รับยาระงับความปวดหรือยาสลบก่อนคลอดในปริมาณมาก
3.ปัจจัยที่เกี่ยวกับทารก เช่น ปอดยังไม่เจริญเต็มที่ การสำลักน้ำคร่ำที่มีขี้เทา ภาวะติดเชื้อ ความพิกาแต่กำเนิด
พยาธิสรีรภาพ
1.การลดลงของเลือดและออกซิเจนไปสู่อวัยวะ และการลดลงของการกำซาบของเซลล์ (cellular perfusion) เมื่อเกิดแอสฟีย์กเซียในระยะแรก การกระจายของเลือดไปสู่อวัยวะต่างๆจะเปลี่ยนแปลงเพื่อให้หัวใจ สมอง และต่อมหมวกไตได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ แต่ปริมาณของเลือดไปสู่ปอด ลำไส้ ตับ ไต ม้าม กระดูก กล้ามเนื้อ และผิวหนังจะลดลง แต่ถ้ามีแอสฟีย์กเซียนานเกิน5นาทีไปแล้ว หัวใจ สมอง และต่อมหมวกไตจะขาดเลือดและออกซิเจนด้วย
2.การทำงานของเยื่อหุ้มเซลล์ผิดปกติจากการสูญเสียความมั่นคงของเซลล์ (cellular integrity) ซึ่งจะมีผลทำให้เซลล์ทำงานผิดปกติ หรือตายในที่สุด
การรักษา
1.การคาดการณ์ล่วงหน้า เพื่อจะได้เตรียมการช่วยฟื้นคืนชีพทารกหลังคลอดให้ได้ผลดี และอย่างมีประสิทธิภาพ
2.การรักษาประคบประคองและการรักษาตามอาการ หลังจากแก้ไขทารกแล้ว ควรสังเกตและดูแลอย่างใกล้ชิด ติดตามผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ หลัง12ชั่วโมงให้ระวังการชักไว้ ให้เลือดถ้ามีฮีมาโตคริทต่ำหรือเสียเลือดมาก ให้ยาปฏิชีวนะในกรณีที่ต้องใส่ท่อหลอดลมคออยู่นานๆ หรือต้องใส่สายสวนหลอดเลือดสายสะดือ
กลุ่มอาการสูดสำลักขี้เทา (Meconium aspiratory syndrome,MAS)
ความหมาย
กลุ่มอาการสูดสำลักขี้เทา หมายถึง กลุ่มอาการหายใจลำบากที่เกิด เนื่องจากการที่ทารกสูดสำลักหายใจเอาขี้เทาปนอยู่ในน้ำคร่ำเข้าไปในทางเดินหายใจ อาจเกิดขึ้นขณะอยู่ในครรภ์ ระหว่างการคลอด หรือทันทีหลังเกิด
อาการและอาการแสดง
1.อาการรุนแรงน้อย ทารกมีอาการหายใจเร็วเพิ่มขึ้น ทำให้ PaCO₂ ลดลง และมี pPปกติ อาการมะกหายไปใน 24-72 ชั่วโมง
2.อาการรุนแรงปานกลาง อาการหายใจเร็วทวีความรุนแรงมากขึ้น มีการดึงรั้งของช่องซี่โครง ความรุนแรงสูงสุดเมื่ออายุประมาณ24ชั่วโมง
3.อาการรุนแรงมาก ทารกจะมีระบบหายใจล้มเหลวทันที หรือภายใน2-3ชั่วโมงหลังเกิด
การรักษา
ระยะแรก
ในห้องคลอด เมื่อศีรษะทารกพ้นช่องคลอด ผู้ทำคลอดต้องพยายามดูดขี้เทาและน้ำคร่ำออกจากปากและจมูกให้มากที่สุดโดยใช้สายดูดเสมหะขนาด 10 Fr. ก่อนที่ทารกจะหายใจครั้งแรก เพื่อลดการสูดสำลักขี้เทา แต่ถ้าทารกคลอดออกมาแล้วไม่หายใจ หรือหายใจผิดปกติ ควรได้รับการใส่ท่อหลอดลมคอและใช้สายดูดเสมหะออก ถ้าดูดทางสายไม่ออกจึงใช้เครื่องดูดเสมหะต่อกับท่อหลอดลมคอโดยรงแล้วค่อยๆเลื่อนท่อออก เมื่อดูดขี้เทาออกแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น รีบให้ออกซิเจน และช่วยหายใจด้วยความดันบวก เมื่อทารกหายใจเองได้ดีและมีอาการคงที่แล้ว จะใส่สายให้อาหาร และดูดน้ำคร่ำที่มีขี้เทาปนจากกระเพาะอาหารให้หมด เพื่อป้องกันทารกอาเจียนและสำลักขี้เทาอีก
ระยะหลัง
1.การให้ออกซิเจน โดยปรับระดับความเข้มข้นของออกซิเจนให้เหมาะสม
2.การให้ยาปฏิชีวนะ
3.การรักษาด้วย CPAP ในรายที่มีภาวะขาดออกซิเจนรุนแรง
4.การรักษาด้วยสารลดแรงตึงผิว
5.การรักษาภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น เช่น ภาวะหัวใจวาย ภาวะเลือดออกผิดปกติ ภาวะไตวาย
ภาวะหยุดหายใจในทารกเกิดก่อนกำหนด(Apnea of prematurity,AOP)
ความหมาย
ภาวะหยุดหายใจ หมายถึง ภาวะที่มีการหยุดหายใจนานกว่า20วินาที หรือภาวะหยุดหายใจอาจน้อยกว่า15-20วินาที แต่มีผลทำให้อัตราการเต้นของหัวใจช้าลง(น้อยกว่า100ครั้ง/นาที) หรือมีอาการเขียว ความตึงตัวของกล้ามเนื้อลดลง (hypotonia) และความอิ่มตัวของออกซิเจนลดลงเหลือ80%
สาเหตุของภาวะหยุดหายใจแบ่งตามการเคลื่อนไหวของผนังทรวงอกหรือกระบังลม(respiratory effort)และอากาศที่ผ่านรูจมูก (airflow) ได้เป็น3แบบ
1.Central apnea หมายถึง ภาวะหยุดหายใจที่ไม่มีการเคลื่อนไหวของปนังทรวงอกหรือกระบังลม และไม่มีอากาศไหลผ่านรูจมูก มีสาเหตุจากความไม่สมบูรณ์ของระบบการควบคุมการหายใจ พบได้ประมาณร้อยละ50
2.Obstructive apnea หมายถึง ภาวะหยุดหายใจที่มีการเคลื่อนไหวของผนังทรวงอกหรือกระบังลมแต่ไม่มีอากาศไหลผ่านรูจมูก มีสาเหตุจากการอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนบน ส่วนใหญ่เกิดที่บริเวณหลอดคอ (pharynx) โดยอาจเกิดจากการงอของลำคอ หรือจากการที่ช่องคอ (pharyngeal lumen) ไม่เปิดกว้างขณะหายใจเข้า เนื่องจากมีความดันลบ (negative pressure) บริเวณหลอดคอ ทำให้ทางเดินหายใจส่วนบนแฟบเกิดการอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนบนขณะหายใจเข้า มีผลทำให้ทรวงอกเคลื่อนไหวโดยไม่มีอากาศผ่านรูจมูก พบได้ประมาณร้อยละ10
3.Mixed apnea หมายถึง ภาวะหยุดหายใจที่มีสาเหตุจาก central และ obstructive โดย central apnea เกิดก่อนหรือตามหลัง obstructive apnea พบบ่อยในทารกเกิดก่อนกำหนด พบได้ร้อยละ12-20
การรักษา
1.การกระตุ้นบริเวณผิวหนัง เช่น การลูบลำตัว แขนขา การดีดบริเวณผ่าเท้าเบาๆ
2.การจัดท่านอนให้ทางเดินหายใจเปิดโล่งโดยให้ทารกนอนหงายมีผ้าหนุนใต้ไหล่ ในรายที่มีคางสั้น ควรจัดให้อยู่ในท่านอนตะแคง
3.หลีกเลี่ยงการกระตุ้นรีเฟล็กซ์ที่ทำให้เกิด apnea เช่น การดูดเสมหะที่แรงหรือนานเกินไป การให้ออกซิเจนที่เป่าผ่านใบหน้า การให้นมทางสายให้อาหารเร็ว
4.ดูดเสมหะที่นมที่ไหลย้อนกลับ
5.งดการวัดอุณหภูมิทางทวารหนัก เพราะจะกระตุ้นเส้นประสาทเวกัสทำให้หัวใจเต้นช้า และหยุดหายใจ
6.ให้ออกซิเจน ตวรตรวจสอบระดับออกซิเจนในเลือดเสมอ
7.กระตุ้นบริเวณผิวหนังโดยการให้ทารกนอนบนเตียงน้ำ (oscillating waterbed) หรือใช้วิธี verticalpulsating stimulation
8.การหาสาเหตุหรือปัจจัยที่ทำให้ทารกหยุดหายใจ และให้การรักษาตามสาเหตุ
9.การใช้ยากระตุ้นการหายใจ คือ theophylline ซึ่งเป็นยาในกลุ่ม methylxanthines
10.การใช้เครื่องช่วยหายใจและให้ intermittent positive pressure ventilation (IPPV)
โรคปอดเรื้อรัง (Bronchopulmonary desplasia,BPD)
ความหมาย
โรคปอดเรื้อรัง พบบ่อยในทารกเกิดก่อนกำหนดที่มีภาวะ RDS และได้รับการรักษาด้วยออกซิเจนและการใช้เครื่องช่วยหายใจ นอกจากนั้นภาวะ BPD ยังพบในทารกที่มีภาวะปดอักเสบ ภาวะสูดสำลักขี้เทา (MAS) โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด และภาวะมีรูรั่วของหลอดอาหารเข้าสู่หลอดลม (tracheoesophageal fistula)
ปัจจัยเสี่ยง
1.ปอดเจริญเติบโตไม่สมบูรณ์
2.การขาดสารลดแรงตึงผิว (surfactant deficiency)
3.การได้รับออกซิเจนที่มีความเข้มข้นสูง
4.การช่วยหายใจโดยใช้แรงดันบวก
5.ภาวะ PDA
6.Pulmonary edema
7.Pulmonary air leak
8.พยาธิสภาพของปอด เช่น ปอดอักเสบ ภาวะแรงดันเลือดสูงในปอด (PPHN)
9.พันธุกรรม
10.อื่นๆ เช่น ภาวะทุพโภชนาการ โดยเฉพาะการขาดวิตามินเอ
สาเหตุ
1.พิษของออกซิเจน (oxygen toxicity) ขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของออกซิเจนที่ได้รับ ระยะเวลาที่ทางเดินหายใจสัมผัสกับออกซิเจน พิษของออกซิเจนส่วนใหญ่จะเกิดกับเยื่อบุหลอดลม ทำให้ส่วนที่เรียกว่า cilia ทำงานได้ไม่ดี
2.บาดแผลจาดแรงดัน (barotrauma) มีผลต่อเนื้อปอดที่แข็งหรือไม่ยืดหยุ่น ส่งผลให้ปอดขยายตัวมากกว่าปกติ และถุงลมแตก
การรักษา
1.การให้ออกซิเจน
2.การใช้เครื่องช่วยกายใจ
3.ส่งเสริมภาวะโภชนาการและการเจริญเติบโตของผู้ป่วย
3.การรักษาด้วยยา
4.การให้อาหาร/การจำกัดน้ำ
5.การป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล ทั้งแบคทีเรียและไวรัส
6.รักษาภาวะแทรกซ้อนที่พบร่วมด้วย เช่น ความดันโลหิตสูง ภาวะซีด ภาวะหัวใจวายจากโรคปอด
การพยาบาลทารกขาดออกซิเจนแรกเกิด
ความหมาย
คือ การพยาบาลทารกแรกเกิดที่ไม่สามารถหายใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ เลือดขาดออกซิเจน (hypoxemia) การคั่งของco2 และเลือดเป็นกรด
สาเหตุ
1.ร่างกายได้รับออกซิเจนน้อย(Hypoxic/Hypoxia)
ความกดดันของออกซิเจนในถุงลมปอดลดลง
พื้นที่ใช้ในการแลกเปลื่ยนก๊าซระหว่างปอดกับกระแสโลหิตลดลง
ออกซิเจนไม่สามารถซึมผ่านจากถุงลมปอดไปสู่กระแสโลหิตได้สะดวก
2.จากเลือด(Hypemic Hypoxia)
จำนวนเม็ดเลือดแดงในกระแสโลหิตลดลงจากโรคโลหิตจางหรือเสียเลือด
ภาวะผิดปกติของฮีโมโกลบิน
การได้รับยาหรือสารพิษบางอย่าง
3.การคั่งของกระแสโลหิต(Stagnant Hypoxia)
การลดลงของปริมาณแรงดันเลือดจากหัวใจ จากโรคหัวใขล้มเหลว
4.ภาวะเป็นพิษของเซลล์(Histotoxic Hypoxia)
จากการได้รับสารพิษ
คาร์บอนมอนอกไซด์
ไซยาไนด์
พยาธสรีรภาพ
เมื่อทารกขาดออกซิเจนจะมีการหายใจเร็วขึ้นร่วมกับการเคลื่อนไหวของแขนขา จากนั้นจะหยุดหายใจ เรียกว่า primary apnea ประมาณ 1 นาที อัตราการเต้นของหัวใจจะลดลง มีการหายใจไม่สม่ำเสมอ 4-5 นาที แล้วค่อยๆเบาลง และหายใจครั้งสุดท้าย เรียกว่า secondary apnea ก่อนหยุดหายใจ
อาการและอาการแสดง
ขณะอยู่ในครรภ์
ทารกเคลื่อนไหวมากกว่าปกติ ต่อมาจะมีการเคลื่อนไหวน้อยลง อัตราการเต้นของหัวใจระยะแรกมากกว่า 160 ครั้ง/นาที ต่อมาจะช้าลง
ขณะคลอด
พบขี้เทาในน้ำคร่ำ
ระยะแรกเกิดทันที แบ่งได่ 3 ระดับ
1.Mild asphyxia (Apgar 5-7) มีอาการ cyanosis เล็กน้อย มีการหายใจตื้นๆ กล้ามเนื้ออ่อนแรง อัตราเต้นของหัวใจมากกว่า 100ครั้ง/นาที
2.Moderate asphyxia ( Apgar score 3-4) ทารกมี cyanosis เพราะความสามารถในการหายใจอ่อนมาก ความตึงตัวของกล้ามเนื้ออ่อนมาก Reflex irritability น้อย อัตราเต้นของหัวใจน้อยกว่า100ครั้ง/นาที
3.Severe asphyxia ( Apgar score 0-2) ทารกมีภาวะขาดออกซิเจนอย่างมาก เป็นกรดในกระแสเลือดสูง ทารกมี cyanosis มาก ไม่มีความสามารถในการหายใจหรือมีเพียงการหายใจเฮือก(gasping) ตัวอ่อนปวกเปียก (limp)
ระยะต่อมา
ผลของการขาดออกซิเจนนานๆ
การเปลี่ยนแปลงในปอด มีหายใจหอบ เขียว หายใจแบบ gasping หยุดหายใจ
ระบบไหลเวียนโลหิต มีหัวใจเต้นเร็ว ซีด มีmetabolic acidosis อุณหภูมิและความดันโลหิตต่ำ
ระบบประสาท ทารกจะซึม หยุดหายใจบ่อย หัวใจเต้นช้า ม่านตาขยายกว้าง ไม่มี doll’s eye movement กล้ามเนื้อไม่มีแรง
ระบบทางเดินอาหาร ท้องอืด มีการทำลายของเยื่อบุลำไส้ ทำให้ไส้เน่าอักเสบชนิด NEC (necrotizing enterocolitis)
ระบบทางเดินปัสสาวะ ปัสสาวะน้อยลง ไม่ถ่ายปัสสาวะ หรือ ปัสสาวะเป็นเลือด
การเปลี่ยนแปลงทาง metabolic อาจมีอาการชักจากการเกิด hypoglycemia hypocalcemiaและ hyperkalemia
การรักษา
การใช้เครื่องช่วยหายใจชนิด noninvasive ventilation
กลุ่มที่ให้ความดัน บวก2ระดับ (bilevel positive airway pressure, BiPAP)
เครื่องจะอัดก๊าซหรือลม ด้วยความดันสูงในช่วงที่ผู้ป่วยหายใจเข้า และผ่อนความดันลงในช่วงหายใจออก
มีประโยชน์ในการรักษาผู้ป่วยเด็กที่จวนเจียนจะเกิดการหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน หรือมีภาวะการหายใจล้มเหลวเรื้อรังจากสาเหตุต่างๆ
กลุ่มที่ให้ความดัน บวกคงที่(continuous positive airway pressure, CPAP)
โดยแรงดัน บวกที่เกิดขึ้น จะช่วยถ่างขยายทางเดินหายใจส่วนบน (บริเวณ naso-oro-และ hypopharynx เปิดโล่งขึ้น)
เป็นวิธีการรักษาในผู้ป่วยเด็กที่มี obstructive sleep apnea ที่ให้การรักษาโดยการผ่าตัดเอาต่อมทอนซิลและอะดีนอยด์ออกแล้วไม่ดีขึ้น นอกจากนี้ยังมีการใช้ CPAPในผู้ป่วยเด็กที่มีปัญหาการอุดกั้น ทางเดินหายใจส่วนบนจากสาเหตุอื่นๆ
ข้อวินิจฉัยและกิจกรรมการพยาบาล
ข้อวินิจฉัย
เสี่ยงต่อภาวะพร่องออกซิเจนเนื่องจากประสิทธิภาพในการแลกเปลี่ยนก๊าซลดลง
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินภาวะพร่องออกซิเจน ประเมินอัตราการหายใจ ชีพจร สีของเล็บ ปลายมือปลายเท้า เยื่อบุผิวหนังลักษณะการซีด เขียว เพราะอาการหายใจหอบ ชีพจรเร็ว ปลายมือปลายเท้า เยื่อบุผิวหนัง ลักษณะการซีดเขียว แสดงถึงภาวะพร่องออกซิเจน เพื่อรายงานแพทย์พิจารณาการให้ออกซิเจน
2.จัดท่านอนศีรษะสูง เพราะทำให้กระบังลมเคลื่อนต่ำลง ปอดขยายตัวได้เต็มที่เพิ่มพื่นที่ในการแลกเปลี่ยนก๊าซมากขึ้น
3.Vital sign ทุก 4 ชม เพราะการประเมินสัญญาณชีพจะช่วยให้ทราบความรุนแรงของภาวะพร่องออกซิเจน
ประเมิน O2 saturation ทุก 4 ชม เพราะเป็นการวัดระดับความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด
ติดตามผล lab Hb, Hct และ Chest X-Ray เพราะเป็นค่าที่แสดงถึงความเข้มข้นของเลือดในร่างกายและChest X-ray เป็นการประเมินความก้าวหน้าของการรักษาซึ่งอาจพบฝ้าขาวในปอดลดลงหรือเพิ่มขึ้น
ุ6.ใส่อุปกรณ์ให้ออกซิเจน
Nasal cannula
Simple face mask
Partial rebreathing mask
Oxygen box or Hood or Hut tent
สังเกตและประเมินอาการของผู้ป่วยหลังได้รับออกซิเจน
วัดสัญญาณชีพ สังเกตลักษณะการหายใจ
สังเกตการเปลี่ยนแปลงของความรู้สึกตัว
ตรวจดูสีผิวตามเยื่อบุและเล็บมือ เล็บเท้า
ติดเครื่องวัด pulse oximeter ที่นิ้วมือ-เท้า
ประเมินเสียงลมหายใจโดยการใช้หูฟังที่ทรวงอก
8.ดูแลความสุขสบายของผู้ป่วย
ทำความสะอาดช่องจมูกด้วยไม้พันสำลีชุบน้ำสะอาดหรือน้ำเกลือ
ดูแลความสะอาดบริเวณใบหน้า
ทำความสะอาดช่องปากทุก3-4 ชม.
ให้จิบน้ำเป็นระยะหากไม่มีข้อห้าม
9.ตรวจดูระบบการทำงานและความปลอดภัยของผู้ป่วย
ตรวจดูอุปกรณ์สาย หน้ากากให้อยู่ในตำแหน่งและออกซิเจนไม่หลุดรั่ว สายไม่หักพับงอ
ตรวจสอบการโป่งของถุงกักออกซิเจน ในกรณีที่ใช้Partial rebreathing mask หากจำเป็นต้องเอาหน้ากากออก ต้องใชนิ้วมืออุดข้อต่อของถุงุให้ถุงโป่งก่อนจึงนำไปสวมบนใบหน้าของผู้ป่วย
เปิดอัตราการไหลให้เหมาะสมกับเครื่องมือ
10.บันทึกผลการให้ออกซิเจนตลอดจนการตอบสนองของผู้ป่วยต่อการรักษา
11.เปลี่ยนอุปกรณ์ส่งทำความสะอาดทุก24-48 ช.ม. ตามมาตรฐาน
วิธีการวินิจฉัย
ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการและการตรวจพิเศษอื่นๆ
ค่า arterial blood gas ผิดปกติ คือ PaCO2 สูง ( > 40 mmHg), PaO2 ต่ำ ( ≤ 80 mmHg), pHและHCO3ต่ำ (pH ≤7.1) และมี base deficit มาก
ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่า 30 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์
ค่าของ calcium ในเลือดต่ำกว่า 8 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์
ค่าของ potassium ในเลือดสูง