Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การปฏิบัติการพยาบาลสุขภาพชุมชน เพื่อแก้ปัญหาสุขภาพในชุมชน (7.2…
การปฏิบัติการพยาบาลสุขภาพชุมชน
เพื่อแก้ปัญหาสุขภาพในชุมชน
คือ การนําแผนงานย่อย (Sub Plan) หรือโครงการที่กําหนดไว้มาปฏิบัติร่วมกับชุมชนเพื่อให้ปัญหาสุขภาพได้รับการแก้ไข
กิจกรรมต่างๆ
ที่กำหนดในโครงการอาจมีทั้งการส่งเสริมสุขภาพ การรักษาพยาบาล การป้องกันโรค และการฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วย ซึ่งสถานที่ปฏิบัติกิจกรรมอาจเป็นไปได้ทั้ง ในหรือนอกสถานบริการ
ในขณะเดียวกับกระบวนการแก้ปัญหาควรมีการนําเทคโนโลยีที่ไม่ซับซ้อนมาใช้ตามความเหมาะสม และเน้นการนําภมิปัญญาชาวบ้านมาผสานกับวิธีการดูแลสุขภาพสมัยใหม่ เพื่อช่วยให้ชุมชนเห็นคุณค่า สามารถพึ่งตนเองและปฏิบัติได้อย่างสอดคล้องกับวิถีชีวิต กลุ่มที่เป็นเป้าหมายของการแก้ปัญหาสุขภาพในชุมชน มีทุกระดับตั้งแต่ระดับบุคคล ครอบครัว กลุ่ม และชุมชน
7.1 กลวิธีการพยาบาลชุมชนเพื่อการปฏิบัติการพยาบาลสุขภาพชุมชน
มีพื้นฐานแนวคิดสําคัญรองรับ
การดูแลสุขภาพที่บ้าน (Home Health Care)
เป็นการเข้าไปดูแลสุขภาพที่บ้านของผู้รับบริการ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่
ผู้ที่เจ็บป่วยเรื้อรัง
ผู้เจ็บป่วยจากอุบัติเหตุที่ต้องฟื้นฟูสุขภาพ
ฝึกหัดการใช้กายอุปกรณ์
เด็กก่อนวัยเรียนที่ขาดสารอาหาร
ผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพ
ผู้พิการ
เป้าหมายการดูแลสุขภาพที่บ้านเพื่อฝึกทักษะให้ผู้รับบริการและครอบครัวให้สามารถดูแลตนเองได้
การเยี่ยมบ้าน (Home Visit)
เป็นการออกเยี่ยมบ้านเพื่อให้การดูแลพยาบาล
กลุ่มผู้ป่วยหลังจากการจําหน่ายออกของโรงพยาบาล
กลุ่มผู้ป่วยที่ต้องเฝ้าระวังการแพร่กระจายเชื้อโรค
กลุ่มหญิงหลังคลอด
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยง
กลุ่มเด็กที่มีปัญหาสุขภาพกายและสุขภาพจิต
กลุ่มผู้สูงอายุหรือผู้พิการที่ขาคผู้ดูแล
การให้ความรู้ทางสุขภาพ (Health Education)
เป็นการจัดกิจกรรมเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายเกิดการเรียนรู้ และนําไปสู่การปรับเปลี่ยน พฤติกรรมสุขภาพไปในทางที่เหมาะสม
การอนามัยโรงเรียน (School Health)
เป็นการทํากิจกรรมเพื่อส่งเสริมป้องกัน รักษาโรค สําหรับกลุ่มนักเรียน
มีเป้าหมายเพื่อคัดกรองนักเรียนที่มีความเสี่ยงทางสุขภาพ รักษาผู้ที่เจ็บป่วย และให้ความรู้คําแนะนําในการส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันการเจ็บป่วย
การให้บริการคลินิกเคลื่อนที่ (Mobile Clinic)
เป็นการให้บริการสุขภาพนอกสถานบริการ โดยเจ้าหน้าที่เตรียมวัสดุอุปกรณ์ เวชภัณฑ์ และยาออกไปให้บริการรักษาพยาบาลในชุมชน
การฝึกอบรม (Training)
เป็นการอบรมให้แก่กลุ่มแกนนําเพื่อนําไปขยายผลต่อสมาชิกในชุมชน
การรณรงค์ (Campaign)
ส่วนใหญ่จะรณรงค์ในกรณีที่มีโรคระบาด หรือโรคติดต่ออย่างใดอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้น
7.2 ขั้นตอนการปฏิบัติการพยาบาลสุขภาพชุมชนตามแผนโครงการ
7.2.1 การเตรียมงาน
การเตรียมกลุ่มเป้าหมาย หรือผู้รับบริการในชุมชน
2) ประสานกับผู้นําชุมชน เพื่อให้การสนับสนุนและช่วยกระตุ้นให้ชุมชนเห็นความสําคัญและมีส่วนร่วมในการดําเนินกิจกรรมตามแผนโครงการ
1) การเตรียมผู้รับบริการสําหรับการปฏิบัติการพยาบาลตามตามแผนนั้นผู้รับบริการ หรือกลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้องกับแผนงานโครงการ จะต้องได้รับการชี้แจงอย่างชัดเจนต้องมีการประเมิน ความพร้อมด้านความสะดวก ความยินดีที่จะให้ความร่วมมือก่อนทุกครั้ง
3) คัดเลือกสมาชิกกลุ่ม หรือองค์กรในชุมชนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับปัญหา
เพื่อเป็นแกนนําในการประสาน และดําเนินการแก้ปัญหาสุขภาพชุมชน
การเตรียมผู้ปฏิบัติงานแก้ปัญหาสุขภาพในชุมชน
1) การศึกษารายละเอียดของกิจกรรม หมายถึง การศึกษารายละเอียดของแผนงาน
แผนงานย่อยหรือโครงการแก้ปัญหาสุขภาพที่ได้จัดทําและผ่านการของบประมาณสนับสนุน
2) การแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ เพื่อป้องกันการทํางานซ้ำซ้อน
พยาบาลชุมชนควรกําหนดตัวบุคคลผู้รับผิดชอบให้เหมาะสม
กับบทบาท หน้าที่ และความสามารถเฉพาะ
3) การเตรียมทรัพยากร อุปกรณ์ รวมถึงทรัพยากรบุคคล
7.2.2 การดําเนินการตามแผนโครงการ
การปฏิบัติการพยาบาลตามแผนงานย่อยหรือโครงการที่ได้กําหนดไว้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อ ตอบสนองความต้องการของชุมชนในการแก้ไขปัญหาสุขภาพชุมชน การดําเนินงานจะต้องอาศัย ทีมงานและการมีส่วนร่วมของชุมชน โดยมีการจัดเรียงลําดับงานตามสิ่งที่กําหนดไว้ก่อนหลัง
1) ตารางปฏิบัติงาน
2) รูปแบบอื่นๆ เช่น แผนภูมิแกนท์ (Gantt Chart)
1) แสดงกิจกรรมตามลําดับก่อนหลัง
2) แสดงระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุด ที่จะทําให้ทราบช่วงเวลาดําเนินการ
3) กําหนดสื่อและทรัพยากรที่ใช้
4) แสดงผู้รับผิดชอบแต่ละกิจกรรม
5) วิธีดําเนินงาน อาจมีแนวทางในการดําเนินงานเป็นสิ่งกํากับ
6) การติดตามประเมินผล หรือการควบคุมตรวจสอบ
ความก้าวหน้าของกิจกรรมเป็นระยะอย่างไร
-ใครรับผิดชอบ
-ตัวอย่างรายละเอียด
แผนปฏิบัติงานประจําวัน และแผนอื่นๆ
แผนปฏิบัติงานประจําปี
แผนปฏิบัติงานประจําเดือน
7.2.3 การติดตามและการนิเทศ (Monitoring and Supervision)
ประโยชน์ดังนี้
เป็นการติดตามกิจกรรมของโครงการว่าดําเนินการไปตามแผนการที่กําหนดไว้ และในระยะเวลาที่กําหนดไว้หรือไม่ ถ้าไม่เป็นไปตามแผน เป็นเพราะเหตุใด ควรแก้ไขอย่างไร
ทําให้ทราบปัญหาอุปสรรคต่างๆ ที่เกิดจากการทํากิจกรรม
เป็นการกระตุ้นและให้กําลังใจแก่ผู้ปฏิบัติในชุมชน ทําให้เกิดความรู้สึกสนใจ ต่องานอย่างต่อเนื่อง มีความตื่นตัวอยู่เสมอด้วยการติดตามงานอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง