Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่11 การบริหารจัดการระบบเครือข่าย (การบริหารจัดการประสิทธิภาพของระบบเคร…
บทที่11 การบริหารจัดการระบบเครือข่าย
แบบอ้างอิงการบริหารจัดการระบบเครือข่าย
แบบอ้างอิงในการบริหารจัดการระบบเครือข่าย ถูกกำหนดขึ้นโดยองค์กรมาตรฐานนานาชาติ (IOS) เพื่อเป็นเเนวทางในการบริหารจัดการระบบเครือข่ายเเบบมีโครงสร้าง ประกอบไปด้วย 5 ข้อ ดังนี้ คือ
1.การบริหารจัดการบัญชีผู้ใช้งาน
2.การบริหารจัดการความผิดพลาด
3.การบริหารจัดการประสิทธิภาพ
4.การบริหารจัดการในการกำหนดค่าต่างๆ
5.การบริหารจัดการเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัย
การบริหารจัดการทรัพยากรในระบบเครือข่าย
1.ดิสก์โควตา
2.การพิมพ์
3.ไฟล์เเละไดเร็กทอรี่
การบริหารจัดการบัญชีผู้ใช้งานในระบบเครือข่าย
1.บัญชีผู้ใช้งาน
2.บัญชีกลุ่มผู้ใช้งาน
การบริหารจัดการประสิทธิภาพของระบบเครือข่าย
1.ฮาร์ดเเวร์ของระบบเครือข่าย
2.เน็ตเวิร์คทราฟฟิก
3.แพ็กเก็ตฃ้อมูลที่เป็นขยะ
4.การลักลอบเข้าเครือข่ายแบบ Denial-of-Service
5.ปัญหาที่เกิดขึ้้นจากการตั้งค่าต่างๆ
การบริหารจัดการเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัย
1.ไฟร์วอลล์
ไฟร์วอลล์ เป็นระบบที่บังคับให้ใช้นโยบายการรักษาความปลอดภัยระหว่างเครือข่าย โดยมีหลักการทำงานอยู่ 2 รูปแบบ คือ อนุญาตเเละไม่อนุญาตให้เเพ็กเก็ตข้อมูลผ่านไปได้ขึ้นอยู่กับนโยบายการรักษาความปลอดภัยระหว่างเครือข่ายนั้น
2.ระบบตรวจจับการบุกรุก
ระบบตรวจจับการบุกรุก เป็นเครื่องมือสำหรับการรักษาความปลอดภัยของระบบเครือข่าย ใช้สำหรับการตรวจจับความพยายามที่จะบุกรุกเครือข่าย โดยระบบจะทำการแจ้งเตือนผู้ดูแลระบบ ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า IDS ไม่ใช่ระบบป้องกันการบุกรุก แต่เป็นระบบที่คอยตรวจจับเเละเเจ้งเตือนภัยเท่านั้น
3.คริพโตกราฟี
คริพโตกราฟี หมายถึงเทคนิคการเข้ารหัสเเละการถอดรหัสข้อมูล เพื่อรักษาความปลอดภัยของข้อมูลที่ส่งผ่านระบบเครือข่ายข้อมูลก่อนการเข้ารหัส เรียกว่าเคลียร์เท็กซ์ ส่วนข้อมูลที่เข้ารหัสเเล้ว เรียกว่าไซเฟอร์เท็กซ์
เครื่องมือที่ใช้ในการบริหารจัดการระบบเครือข่าย
1.คำสั่ง Ping
คำสั่ง Ping เป็นคำสั่งที่ใช้งานในโพรโตคอล TCP/IP และเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการทดสอบว่าโฮสต์ในระบบเครือข่ายนั้นยังมีการเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายหรือไม่
2.คำสั่ง Traceroute
เป็นคำสั่งที่ช่วยในการค้นหาสาเหตุที่ทำให้ระบบเครือข่ายทำงานช้าเช่นเดียวกับคำสั่ง Ping แต่มีวิธีการใช้งานที่ง่าย เเละเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์มากเพื่อใช้ในการค้นหาเกตเวย์หรือเราเตอร์ที่มีปัญหาเพราะคำสั่ง Traceroutc จะเเสดงสถิติเกี่ยวกับช่วงเวลาการตอบรับจากเกตเวย์หรือเราเตอร์ต่างๆที่อยู่ระหว่างโฮสต์นี้ สามารถทำให้ทราบว่าการเชื่อมต่อส่าวใดที่เกิดปัญหา
3.คำสั่ง Netstat
เป็นเครื่องมือที่ใช้เพื่อเฝ้าดูการทำวานของระบบเครือข่าย โดยแสดงสถิติเกี่ยวกับโพรโตคอล TCP/IP
Protocol Analyzer
เครื่องมือวิเคราะห์โพรโตคอลหรือเรียกอีกอย่างว่าแพ็กเก็ตสนิฟเฟอร์เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับวิเคราะห์การไหลเวียนของข้อมูลในเครือข่าย
5.Cable Analyzer
เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับวิเคราะห์ประสิทธิภาพการใช้งานของสายสื่อสาร ซึ่งเครื่องมือที่กล่าวมาแล้วทั้งหมดไม่สามารถทำได้ ซึ่ง Cable Analyzer นี้ส่วนใหญ่จะใช้เมื่อมีการติดตั้งสายสื่อสารครั้งเเรก