Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โลกทัศน์ที่ปรากฏในนิทานพื้นบ้านไทลื้อ อำเภอ เชียงคำ จังหวัดพะเยา…
โลกทัศน์ที่ปรากฏในนิทานพื้นบ้านไทลื้อ
อำเภอ เชียงคำ จังหวัดพะเยา
โลกทัศน์เรื่องอำนาจ
อำนาจในการครอบงำ
ในนิทานเรื่อง “กลับใจ” ที่สะท้อนให้เห็น ถึงการที่ลูกถูกครอบงำโดยพ่อ ผ่านการใช้กรอบจารีต ในการอธิบายถึงเหตุผลที่จะต้องปฏิบัติตามคำของพ่อ และหากไม่ปฏิบัติตามจะต้องได้รับผลร้ายแรง ซึ่ง นิทานเรื่องนี้ได้พูดถึงพ่อที่สอนจังหวะการตีกลองเพื่อ ไม่ให้ลูกถูกโจรดักปล้นระหว่างทางกลับบ้าน แต่ลูกไม่เชื่อจึงเป็นเหตุให้ถูกปล้นกลางทาง และ สุดท้ายลูกก็กลับใจทำตามคำสอนของพ่อ
การแสดงอำนาจที่เหนือกว่า
ในสังคมไทยลื้อ เรื่องพ่อตากับลูกเขย เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงการมองโลกว่า ผู้ที่มีประสบการณ์ชีวิตมาก่อนย่อมเป็นผู้ที่มีสิทธิแสดงอำนาจที่เหนือกว่า ดังตัวอย่างนิทานเรื่อง “พ่อตากับ ลูกเขยตัดต้นไม้” ที่แสดงให้เห็นว่าลำดับชั้นที่เหนือกว่า (พ่อตา) ย่อมมีประสบการณ์ในทุก ๆ ด้านมากกว่าผู้ที่มี ประสบการณ์น้อยกว่า (ลูกเขย) หรือที่สำนวนไทย
เรียกว่าอาบน้ำร้อนมาก่อน
การท้าทายอำนาจ
การท้าทายอำนาจ โดยการใช้สติปัญญาและความเฉลียวฉลาดในฐานะอำนาจประเภทหนึ่ง เพื่อลองเชิง หรือย้อนแย้งกับอำนาจหลัก ดังปรากฏในนิทาน “ครูบากับเซี่ยงเมี่ยง” ที่สะท้อนให้เห็นว่าคนรับใช้ของครู บามีสติปัญญาและความเฉลียวฉลาดมากกว่า ซึ่งโดยสถานะของครูบา (อำนาจหลัก) ที่ได้รับการยกย่องจาก สังคมว่าเป็นผู้ทรงความรู้ ความสามารถ และมี สติปัญญาที่หลักแหลม ยังถูกเซี่ยงเมี่ยง (อำนาจใหม่) ที่มีสถานะด้อยกว่าท้าทายอำนาจ
โลกทัศน์เรื่องคติสอนใจ
คติสอนใจเรื่องให้ทุกข์แก่ท่านทุกข์นั้นถึงตัว
ในนิทานเรื่อง “ตะเข็บขึ้นกระท่อม” ด้สะท้อนให้เห็นว่าความพยายาม ในการทำร้ายใครก่อน โดยที่เขายังไม่ได้ทำอันตรายเรา อาจนำมาซึ่งสิ่งที่คาดไม่ถึง
คติสอนใจเรื่องตกน้ำไม่ไหลตกไฟไม่ไหม้
ในนิทานเรื่อง “นางสิบสอง” ได้แสดงให้เห็นถึงการรอดพ้นภยันตราย ที่ต้องเกือบสังเวยชีวิตไปเป็นอาหารให้กับลูกนางยักษ์
โลกทัศน์เรื่องความเชื่อ
ความเชื่อเรื่องป่าและสัตว์
ชาวไทลื้อมองว่าป่าเป็นสถานที่ที่เต็มไปด้วยอันตรายไม่น่าไว้วางใจ ลึกลับซับซ้อน อีกทั้งยังมีสัตว์ป่ามากมายที่ไม่คุ้นเคย และอาจสำแดงฤทธิ์อัศจรรย์เป็นที่น่ากลัว แก่มนุษย์ก็ได้ เรื่อง”ข่าวลือ
ความเชื่อเรื่องตำนานเล่าขาน
ตำนานเล่าขานเป็นเรื่องราวที่เปรียบเสมือนเครื่องมือในการถ่ายทอด หรืออธิบายเรื่องราวที่ไม่มีหลักทางวิทยาศาสตร์มารองรับ ต่อสิ่งที่เกิดขึ้น “กบกินดวงจันทร์” ได้อธิบายเหตุผลไว้ว่าเกิดจากอะไร
ความเชื่อเรื่องโชคชะตา
เป็นความเชื่อที่สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของโชคชะตาว่าสามารถเนรมิตสิ่งที่ไม่คาดคิดให้เกิดขึ้นได้ เช่น ทำให้คนกลายเป็นเศรษฐี หรือเป็นยาจกได้ในชั่วข้ามคืน เช่น นิทานเรื่อง “จนไม่รู้จักรวย” ที่สะท้อนภาพของชายยากจนที่แม้ว่าจะมีเมวดามาโปรดอย่างไรก็ไม่รวยขึ้นสักที
ความเชื่อความศรัทธาในพิธีกรรม
พิธีกรรมที่กล่าวถึงนั้นเป็นการกระทำที่คนเราสมมติขึ้น เป็นขั้นเป็นตอนมีระเบียบวิธี เพื่อให้เป็นสื่อหรือหนทางที่จะประสบความสำเร็จในสิ่งที่คาดไว้ ทำให้เกิดความสบายใจ และมีขัวญกำลังใจในการดำเนินชีวิตต่อไป เช่น “ข่าวลือ” ที่กล่าวถึงพิธีรับขัวญ ปัดเคราะห์ให้กับครูผู้หญิง
โลกทัศน์เรื่องสุขภาพ
สุขภาพเรื่องเหล้าเป็นโอสถ
ในนิทานเรื่อง “เหล้าแก้เอว” ได้สะท้อนให้เห็นว่าวิธีดูแลสุขภาพให้แข็งแรงนั้น จะต้องได้นอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ และการค้นพบการหมักเหล้าจากธรรมชาติก็กลายเป็นโอสถที่ทำให้คนดื่มไปแล้วรู้สึกอยากนอน จนทำให้อาการปวดเมื่อยตามร่างกายหายไป
สุขภาพเรื่องจิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว
ดังที่สะท้อนผ่านนิทานเรื่อง “พ่อเฒ่าขาขอมะทอห้าว” ที่เจ็บป่วยด้วยอาการขา เหยียดไม่ได้แต่ก็สามารถหายได้เองเมื่อได้ฟังค่าวที่ สนุก จนตกลงมาด้านล่างเป็นเหตุให้เกิดความอับอาย และลืมว่าตนเจ็บป่วยอยู่ลุกขึ้นวิ่งได้และหายจาก อาการเจ็บป่วยโดยปริยาย
โลกทัศน์เรื่องธรรมชาติ
ชาวไทลื้อ มองธรรมชาติในฐานะที่เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นตาม สภาพแวดล้อมจริง มีความเชื่อมโยงกับชีวิตของมนุษย์ ช่วยปรับสมดุลให้กับสิ่งที่มีชีวิตทุกชนิด สามารถทำให้ ชีวิตทุกชีวิตอยู่รอดได้ด้วยตัวของตัวเอง
โลกทัศน์เรื่องชาติพันธุ์อื่น
แม้วมีความแตกต่างจากไทลื้อ
จากการศึกษานิทานพื้นบ้านของชาวไทลื้อ พบว่าชาวไทลื้อมองกลุ่มชาติพันธุ์แม้วว่ามีความเป็น อื่นแตกต่างจากพวกของตน มีความน่ารังเกียจ ความ สกปรก ไม่อยากคบค้าสมาคมด้วย ดังนิทานเรื่อง
“เล่ห์ของย่าบุญ”
ชาวเขาเป็นคนไม่ทันคน
ขมุเป็นชนเผ่าที่ฉลาด
อีกชาติพันธุ์หนึ่งที่ปรากฏในนิทานพื้นบ้าน ไทลื้อ คือ ขมุ ในนิทานเรื่อง. “ผีเกตกับขมุ” ที่สะท้อน ให้เห็นว่าชาติพันธุ์ขมุเป็นคนฉลาดแกมโกง
อยู่พอสมควรแต่ถึงอย่างไรก็ไม่ฉลาดเท่ากับผีเกต