Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
แนวคิดเกี่ยวกับภาวะสุขภาพของผู้ใหญ่ (บทบาทของพยาบาล (สร้างสัมพันธภาพ,…
แนวคิดเกี่ยวกับภาวะสุขภาพของผู้ใหญ่
วัยผู้ใหญ่หมายถึงวัยที่มีการเจริญเติบโตเต็มที่ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ทำให้มีวุฒิภาวะสมบูรณ์ (อายุครบ 18 ปีบริบูรณ์)
วัยผู้ใหญ่แบ่งออกเป็น
วัยผู้ใหญ่ตอนกลาง อายุ 41-60 ปี เริ่มมีการเสื่อมถอยของร่างกาย ด้านอารมณ์มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเช่น หงุดหงิดง่าย ฉุนเฉียว เคร่งเครียด เห็นได้ชัดในเพศหญิง ด้านสังคมและการงานประสบความสำเร็จ มีหน้าที่รับผิดชอบเพิ่มมากขึ้นทำให้เผชิญความเครียดมากขึ้น ด้านสติปัญญาความสามารถในการคิดคำนวณลดลง
วัยผู้ใหญ่ตอนปลาย อายุ 65 ปีขึ้นไป วัยแห่งการเสื่อมถอย เป็นช่วยระยะท้ายของวัยผู้ใหญ่ ด้านร่างกายผิวหนังแห้ง เหี่ยวย่น ผมบางและหงอก ความสูงลดลง หลังโก่ง ความสามารถในการมองเห็นลดลง เหนื่อยง่าย เจ็บป่วยง่าย ด้านอารณ์ได้รับอิทธิพลจากความสำเร็จและความพึงพอใจในวัยที่ผ่านมา ด้านสังคมมีการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ยากขึ้นในการทำกิจวัตรประจำวัน ด้านสติปัญญา ความสามารถในการคำนวณลดลงแต่ด้านอื่นเพิ่มขึ้น เช่นการจำคำศัพท์
วัยผู้ใหญ่ตอนต้น อายุ 18-40 ปี เป็นวัยที่มีประสิทธิภาพและการทำงานของอวัยวะต่างๆสูงสุด เป็นวัย Reproductive ที่สุด ด้านอารมณ์เริ่มเครียดกับหน้าที่และความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้น
ด้านสังคม ปรับตัวเพื่อรับการเปลี่ยนแปลง เช่นการมีคู่ครอง การมีบุตร ด้านสติปัญญา สมองพัฒนาเต็มที่
พันธกิจ
วัยผู้ใหญ่ตอนปลาย มองเห็นคุณค่าและความหมายของชีวิต เชื่อมั่นในศักยภาพของตนแม้จะเปลี่ยนแปลงตามวัย คงไ้ซึ่งมุมมองต่อภาพลักษณ์มองโลกในแง่ดี
วัยผู้ใหญ่ตอนกลาง เอาใจใส่และห่วงใยต่อสังคมรอบข้าง พึงพอใจต่ออาชีพการงาน พัฒนาบทบาทในครอบครัว เช่น พ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย มีการปรับตัวด้านร่างกาย จิตใจ สังคม
วัยผู้ใหญ่ตอนต้น การทำสิ่งที่ถูกต้องมากกว่าสิ่งที่ถูกใจ พัฒนาความสัมพันธในสังคมอย่างมีเป้าหมาย มีการยอมรับในตัวเองและบุคคลอื่น ตัดสินใจสร้างครอบครัวและมีบุตร
สุขภาพของวัยผุ้ใหญ่
วัยผู้ใหญ่ตอนกลาง เริ่มเกิดปัญหาสุขภาพที่สำคัญ เช่นโรคเรื้อรัง เกิดภาวะ Mide life crisis จากการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย มีการเคลื่อนไหวช้าลง กำลังน้อยลง เหนื่อยง่าย ผู้หญิงเริ่มหมดประจำเดือน น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ผมบาง กล้ามเนื้อเหี่ยว การส่งเสริมสุขภาพในวัยนี้ รับประทานอาหารและน้ำในสัดส่วนที่เหมาะสมต่อความต้องการของร่างกาย เสริมวิตามิน เช่นการเสริมแคลเซียมในหญิงหมดประจำเดือน ทำกิจกรรมที่เหมาะสมกับภาวะสุขภาพ จำกัดอาหารหวานมันเค็ม นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
วัยผู้ใหญ่ตอนปลาย สุขภาพด้านต่างๆเสื่อมถอย เจ็บป่วยง่าย ภูมิคุ้มกันต่ำมีโอกาสติดเชื้อได้สูง มีโอกาสเกิดอุบัติเหตุง่ายจากการเสื่อมถอยของร่างกาย เช่นการพลัดตกหกล้มซึ่งนำมาสู่การเจ็บป่วย ความพิการหรืออาจถึงขั้นเสียชีวิต
วัยผู้ใหญ่ตอนต้น ปัญหาที่สำคัญอุบัติเหตุต่างๆ เช่น อุบัติเหตุจากการทำงาน จากการขับขี่ จากการเล่นกีฬา การส่งเสริมสุขภาพในวัยนี้คือหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ alc ออกกำลังกาย ควบคุมน้ำหนัก นอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ 7-9 hr ขจัดความเครียดอย่างเหมาะสม ตรวจสุขภาพประจำปี
ประสบการณ์ของผู้ป่วย
ประสบการณ์เชิงบวก
ความรู้สึกปลอดภัยเกี่ยวกับพฤติกรรมของพยาบาล
ประสบการณ์เชิงลบ
กลัว
วิตกกังวล เครียด
รบกวนการนอนหลับพักผ่อน
ปวด ไม่สุขสบาย
การเจ็บป่วย
การเจ็บป่วยเริ้อรัง เกิดพยาธิสภาพและความต้องการในการดูแลตนเองไปตลอดชีวิต
การเจ็บป่วยวิกฤต เกิดภาวะเสี่ยงคุกคามชีวิตจำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลืออย่างทันท่วงที
การเจ็บป่วยเฉียบพลัน เกิดขึ้นแบบทันท่วงที ระยะดำเนินโรคสั้นเช่นไข้หวัด กระเพาะอาหารอักเสบ
ความรุนแรงของการเจ็บป่วยในผู้สูงอายุ
การเจ็บป่วยปานกลางทำให้เกิดความไม่สมดุลของร่างกาย จิตใจ ความผิดปกติที่ว่านี้มีผลทำให้สมรรถภาพการทำหน้าที่ของบุคคลขาดความ สมบูรณ์ไปชั่วระยะ แต่อาจฟื้นคืนกลับได้ ใช้ระยะเวลาต่างกันขึ้นอยู่กับสุขภาพเดิม และการดูแลสุขภาพขณะเจ็บป่วย
การเจ็บป่วยวิกฤต เกิดความไม่สมดุลอย่างรุนแรง มีผลให้หน้าที่ทั้งด้านร่างกาย จิตสังคมได้รับ ผลกระทบอย่างรุนแรง จนอาจสูญเสียหน้าที่ของอวัยวะในร่างกายและเสียชีวิตได้ หากไม่ได้รับการดูแลรักษาและพยาบาลอย่างเหมาะสม ทันเวลา
การเจ็บป่วยเล็กน้อยทำให้เกิดวามไม่สุขสบายมีผลกระทบต่อการต่อหน้าที่ของร่างกายเพียงชั่วขณะ เช่นปวดศีรษะ ปวดเมื่อย
บทบาทของพยาบาล
สร้างสัมพันธภาพ
ให้ข้อมูล
ส่งเสริมการปรับตัว
สนับสนุนการเผชิญปัญหา
ปรับสภาพแวดล้อม
นางาวจตุรภัทร จันทิมาตร 603060233-7 sec 4