Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
อาการคางทูม (อาการคางทูม (สาเหตุของคางทูม (คางทูมเกิดจาก),…
อาการคางทูม
-
สาเหตุการเกิดโรค :คางทูมเกิดจาก เกิดจากการติดเชื้อไวรัสคางทูม (Mumps Virus) ซึ่งเป็นไวรัสที่อยู่ในกลุ่ม Paramyxovirus (พารามิกโซไวรัส) เช่นเดียวกับไวรัสหัด โดยเชื้อจะอยู่ในน้ำลายและเสมหะของผู้ป่วย เชื้อจะเข้าสู่ทางร่างกายทางจมูกและปาก แล้วแบ่งตัวในเซลล์เยื่อบุของทางเดินหายใจส่วนต้น หลังจากนั้นเชื้อจะเข้าสู่กระแสเลือดและแพร่กระจายไปยังอวัยวะต่าง ๆ โดยเฉพาะที่ต่อมน้ำลายข้างหู
ระยะแพร่เชื้อที่ติดต่อได้ง่าย : ผู้ป่วยสามารถแพร่เชื้อติดต่อให้ผู้อื่น คือ ในช่วงตั้งแต่ 4 วันก่อนมีอาการจนกระทั่ง 9 วันหลังมีอาการคางทูม (อาการบวมของต่อมน้ำลาย)
ระยะฟักตัวของโรค : นับตั้งแต่ติดเชื้อจนมีอาการแสดงออกมา คือ ประมาณ 2-3 สัปดาห์ (โดยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 14-18 วัน แต่อาจเร็วสุด 7 วัน หรือนานได้ถึง 25 วัน)
การดำเนินโรค : ส่วนใหญ่จะไม่มีภาวะแทรกซ้อนและสามารถหายได้เองตามธรรมชาติ อาการปวดและบวมส่วนใหญ่จะหายไปได้เองภายใน 4-8 วัน แต่บางรายอาจนานถึง 10 วัน ส่วนอาการไข้ส่วนใหญ่จะเป็นอยู่ประมาณ 3-4 วัน แต่บางรายอาจเป็นอยู่ประมาณ 1-6 วัน และอาการโดยรวมจะหายสนิทภายใน 2 สัปดาห์
-
-
ถ้ามีอาการปวดหรือมีไข้สูงให้กินยาพาราเซตามอล (Paracetamol) ในผู้ใหญ่ให้ใช้ในขนาด 1-2 เม็ด ส่วนในเด็กให้ใช้ในขนาด 1/2-1 เม็ด
ให้ใช้น้ำอุ่นจัด ๆ หรือกระเป๋าน้ำร้อนประคบบริเวณที่เป็นคางทูมวันละ 2 ครั้ง แต่ถ้ามีอาการปวดมากให้ใช้ความเย็นประคบเพื่อบรรเทาอาการปวด (เช่น การใช้น้ำแข็งหรือกระเป๋าน้ำเย็น)
-
-
ภาวะแทรกซ้อนของโรคคางทูม
อัณฑะอักเสบ (Orchitis) เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยประมาณ 20-30% ของผู้ชายวัยเจริญพันธุ์ ส่วนใหญ่พบในช่วงอายุ 30-40 ปี ส่วนในเด็กอาจพบได้บ้าง ข้ออักเสบ รังไข่อักเสบ (Oophoritis) พบได้ประมาณ 5% ของผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ ตับอ่อนอักเสบ
-
วิธีป้องกันโรคคางทูมที่มีประสิทธิภาพ คือ การฉีดวัคซีนรวมเอ็มเอ็มอาร์ป้องกันโรคหัด คางทูม และหัดเยอรมัน (MMR ย่อมาจาก M = Measles (โรคหัด), M=Mumps (โรคคางทูม), R = Rubella (โรคหัดเยอรมัน)) โดยเด็กทุกรายควรได้รับการฉีดวัคซีนรวม โดยเข็มแรกให้ฉีดเข้ากล้ามเมื่ออายุ 9-12 เดือน และให้ฉีดเข็มที่ 2 ซ้ำอีกครั้งเมื่ออายุได้ประมาณ 4-6 ปี และไม่จำเป็นต้องฉีดกระตุ้นภูมิคุ้มกันอีก ซึ่งภูมิคุ้มกันต้านทานโรคคางทูมจะคงอยู่ไปได้ตลอดชีวิต
ควรแนะนำให้ผู้ป่วยที่เป็นโรคคางทูมแยกตัวออกห่างจากผู้อื่นในระยะแพร่เชื้อ ไม่นอนปะปนหรือคลุกคลีใกล้ชิดกับผู้อื่น เวลาไอหรือจามควรใช้ผ้าปิดปากและจมูก และเวลาเข้าไปในที่ที่มีคนอยู่กันมาก ๆ ควรสวมหน้ากากอนามัย
โดยมากมักจะเป็นที่ต่อมน้ำลายข้างหูที่เรียกว่า "ต่อมพาโรติด" (Parotid glands) ซึ่งเป็นต่อมคู่ มีทั้งข้างซ้ายและข้างขวา โดยโรคอาจเกิดขึ้นกับต่อมน้ำลายเพียงข้างใดข้างหนึ่งหรือเกิดทั้งสองข้างก็ได้ นอกจากนั้นยังอาจเกิดขึ้นกับต่อมน้ำลายอื่นได้ เช่น ต่อมน้ำลายใต้คาง (Submandibular glands) และต่อมน้ำลายใต้ลิ้น (Sublingual glands)
คางทูม (Mumps, Epidemic parotitis) เป็นโรคติดต่อเฉียบพลันทางระบบทางเดินหายใจซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสในกลุ่ม Paramyxovirus และก่อให้เกิดการอักเสบของต่อมน้ำลาย
การวินิจฉัยโรคคางทูม
แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคคางทูมได้จากประวัติอาการและการตรวจร่างกายของผู้ป่วย โดยผู้ป่วยมักมีไข้ประมาณ 38-40 องศาเซลเซียส (บางรายอาจไม่มีอาการไข้ก็ได้) บริเวณขากรรไกรบวมข้างใดข้างหนึ่งหรือบวมทั้ง 2 ข้าง เมื่อกดจะรู้สึกเจ็บ ต่อมน้ำลายใต้คางบวม