Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
แนวคิดการพยาบาลผู้ป่วยวิกฤต (การประเมินภาวะสุขภาพผู้ป่วยระยะวิกฤต (FASTHUG…
แนวคิดการพยาบาลผู้ป่วยวิกฤต
ภาวะเจ็บป่วยวิกฤตและการพยาบาล
บทบาทหน้าที่ของพยาบาล
หลักการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยในภาวะวิกฤต
2.พยาบาลวิกฤตต้องมีความรู้
4.คำนึงถึงการพิทักษ์สิทธิของผู้ป่วยและครอบครัว
1.พยาบาลผู้ป่วยวิกฤตต้องดำรงไว้ซึ่งการปฏิบัติการพยาบาลที่มีมาตรฐาน
3.ต้องเป็นส่วนหนึ่งของสหวิทยาการทีม ต้องประสานงานกับผู้อื่น
5.ต้องยอมรับค่านิยมความเชื่อของผู้ป่วยและครอบครัว
ขั้นตอนกระบวนการพยาบาล
1.การประเมินภาวะสุขภาพ
ประเมินปัญหา ความต้องการ และเฝ้าระวังภาวะสุขภาพ
อาการทั่วไป เช่น การรับรู้สติ ลักษณะการหายใจ สภาพผิวหนัง อาการบวม ซีด
2.การวินิจฉัยทางการพยาบาล
วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการกำหนดข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลที่เร่งด่วนและไม่เร่งด่วนอย่างต่อเนื่องจนผู้ป่วยจำหน่าย
กำหนดข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลครอบคลุมปัญหาและความต้องการด้านร่างกาย จิตวิญญาณ การเรียนรู้เพื่อการดูแลสุขภาพตนเอง
3.การวางแผการพยาบาล
กำหนดแผนการพยาบาลสำหรับผู้ป่วยเป็นรายบุคคลให้ครอบคลุมและสอดคล้องกับลำดับความสำคัญของปัญหาและความต้องการของผู้ป่วย
เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยและครอบครัวมีส่วนร่วมในการวางแผนการพยาบาลเพื่อให้ครอบคลุมและเหมาะสมตามปัญหา
4.การปฏิบัติการพยาบาล
เพื่อแก้ไขปัญหาและความต้องการในระยะวิกฤตและต่อเนื่องตามแผน
เพื่อส่งเสริมความสุขสบายของผู้ป่วย
5.การประเมินผลทางการพยาบาล
ปฏิกิริยาตอบสนองภายหลังการปฏิบัติการพยาบาลทันทีและต่อเนื่องตามแนวทางการดูแลผู้ป่วย
การพยาบาลผู้ป่วยภาวะวิกฤต
ภาวะล้มเหลว/เสี่ยงต่อการล้มเหลวของอวัยวะสำคัญของร่างกาย เช่น ระบบหายใจ ระบบไหลเวียนโลหิต
การดูแลบุคคลที่มีปัญหาจากการถูกคุกคามต่อชีวิต
โดยเน้นการรักษาการดูแลแบบประคับประคองทั้งร่างกายและจิตใจร่วมกับการป้องกันภาวะแทรกซ้อน
การประเมินภาวะสุขภาพผู้ป่วยระยะวิกฤต
มีความสำคัญที่สุดในการให้การพยาบาลผู้ป่วยภาวะวิกฤติ คือ พยาบาลต้องสามารถทำนายปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้
กรอบแนวคิดในการประเมิน
1.Pre - arrival
ระยะตั้งแต่ได้รับข้อมูลผู้ป่วยก่อนที่จะได้พบผู้ป่วย จากการส่งต่อทั้งจากภายนอกหรือภายในโรงพยาบาล เช่น ER,OR,Ward
2.Admission Quick Check
การตรวจสอบทันทีที่รับผู้ป่วย จะต้องทำทันที เพื่อดูหน้าที่ของการหายใจและหัวใจ การประเมินใช้หลักการประเมิน ABCDE
A = Air way
B=Breathing
C=Circulation, Cerebral perfusion and Chif complaint
D=Drug and Diagnostic tests
E=Equipment
3.Comprehensive Admission Assessment
การประเมินที่ต้องรีบทำให้เร็วที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้ เป็นการประเมินเชิงลึกถึงประวัติการรักษาในอดีต ประวัติทางสังคม และการตรวจร่างกายทุกระบบ
4.Ongoing Assessment
การประเมินต่อเนื่องตามความต้องการที่มีความสัมพันธ์กับเงื่อนไขเฉพาะตัวของผู้ป่วยการรักษาและการตอบสนองต่อการรักษาของผู้ป่วย
FANCAS
F=Fluid & Electrolyte
ประเมินความเพียงพอของการได้รับสารน้ำและลักษณะทางคลินิกที่บอกความสมดุลของสารน้ำและเกลือแร่
C=Communication
ประเมินความสามารถในการสื่อสาร/ความต้องการสื่อสาร
A=Activity
ประเมินการทำกิจกรรม/การเคลื่อนไหวของผู้ป่วย
S=Stimulation
ประเมินการตอบสนองต่อสิ่งเร้า
A=Aeration
ประเมินการหายใจ กรทำงานของหัวใจ ออกซิเจนในร่างกาย
N=Nutrition
ประเมินความเพียงพอของสารอาหารที่ผู้ป่วยได้รับ
FASTHUG
Feeding การให้อาหาร
Analgesia การดูแลจัดการความปวด
Sedation การควบคุมระบบประสาท
Thromboembolic prevention การป้องกันการเกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำ
Head of the bed elevated การจัดท่านอนให้ศีรษะสูงมากกว่า 30 องศา
Stress ulcer prophylaxis การป้องกันการเกิดแผลในทางเดินอาหารจากภาวะเครียด
Glucose control การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
หมายถึง
ความหมาย