Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
แนวคิดการบำบัดรักษาทางจิตเวช (การจัดการในภาวะวิกฤตและฉุกเฉิน…
แนวคิดการบำบัดรักษาทางจิตเวช
การจัดการในภาวะวิกฤตและฉุกเฉิน
แนวคิดของภาวะวิกฤตทางอารมณ์ และปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะวิกฤติ
ความหมายของภาวะวิกฤติ
“ ภาวะวิกฤติ” มักเป็นสถานการณ์ที่เลวร้าย ซึ่งเป็นผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวง ในช่วงชีวิตที่บุคคลเผชิญกับเหตุการณ์นั้น ๆ
หรือสถานการณ์ที่ก่อให้เกิดความเครียด ความสูญเสีย โดยที่บุคคลนั้นไม่สามารถลดความรู้สึกดังกล่าวลงได้ด้วยการใช้กลวิธานแบบที่เคยใช้
สาเหตุของภาวะวิกฤติ
1 Maturational Crisis เกิดจากกระบวนการพัฒนาการด้านร่างกายจิตใจในแต่ละช่วงวัยของชีวิตหรือจุดเชื่อมต่อระหว่างวัย
2 Situational Crisis เกิดขึ้นตามสถานการณ์โดยกะทันหันไม่สามารถคาดการล่วงหน้าถึงระยะเวลาการเกิดได้
องค์ประกอบที่ส่งเสริม
1 รับรู้ความเป็นจริง และยอมรับเหตุการณ์ต่าง ๆ ได้ช้า หรือยอมรับไม่ได้
2 มีแหล่งสนับสนุนช่วยเหลือน้อย
3 ร่างกายไม่แข็งแรง ไม่เข้มแข็งอดทน ขาดทักษะในการดูแลตนเอง
ความรู้สึกของผู้ที่อยู่ในภาวะวิกฤติ
รู้สึกผิดอยากตาย และไม่อยากตายในเวลาเดียวกัย (Ambivalence)
สิ้นหวัง ขาดคนเข้าใจ
โกรธ ก้าวร้าว พยายามร้องขอความช่วยเหลือ (Cry for help)
วิธีการช่วยเหลือในภาวะวิกฤต และแนวทางการพยาบาลในภาว ะฉุกเฉิน
หลักการช่วยเหลือ
1 ประเมินอาการและความรุนแรงความเข้มแข็งและความอ่อนแอของผู้ที่อยู่ในภาวะวิกฤติ
2 จัดการกับภาวะเร่งด่วนทันทีภายใน 24 ชั่วโมงช่วยให้ผู้ที่อยู่ในภาวะวิกฤติหลุดพ้นจากภาวะวิกฤติโดยเร็ว
3 บรรเทาความรุนแรงลดภาวะอันตรายอาจประสานงานกับแหล่งติดต่อประสานงานช่วยเหลือหลายฝ่าย
4 ให้โอกาสระบายทุกข์ลำดับปัญหาทีละขั้น
5 ยอมรับเข้าใจเห็นใจ
6 ยอมรับความจริง
7 มุ่งแก้ปัญหาปัจจุบันส่งเสริมการปรับตัวระยะแรก
8 เสริมกำลังใจให้เข้มแข็ง
9 ให้ครอบครัวมีส่วนในการช่วยเหลือ
10 สร้างหรือจัดหารูปแบบและแผนงานที่ชัดเจนมีการฝึกอบรมเตรียมความพร้อมไว้เสมอ
การพยาบาล
1 การประเมินอาการและความรุนแรงของภาวะวิกฤติ
สังเกตสัญญาณเตือนอันตราย
ประเมินระดับความรุนแรง
2 ให้คำปรึกษา
ขั้นเริ่ม
ขั้นประคับประคองอารมณ์
กระตุ้นให้ผู้รับคำปรึกษาพูดถึงเรื่องราวต่าง ๆ
ช่วยให้ผู้รับคำปรึกษาเผชิญกับภาวะวิกฤติ โดยแนะนำการใช้กลไกการเผชิญปัญหาที่สร้างสรรค์
สนับสนุนให้ผู้รับคำปรึษากระทำตามแผนที่วางไว้
เสนอแนะแหล่งบริการที่เหมาะสม
3 ประเมินผล
อรพรรณ ลือบุญธวัชชัย. 2553. การให้คำปรึกษาทางสุขภาพ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.