Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การตรวจบริเวณช่องท้อง (Abdomen) (การดู(Inspection) (1.รูปร่างลักษณะของท้อง…
การตรวจบริเวณช่องท้อง (Abdomen)
การดู(Inspection)
1.รูปร่างลักษณะของท้อง ท้องโตกว่าปกติหรือไม่
ภาวะปกติ
ท้องสมมาตรไม่พบท้องโต มีลักษณะ Flat
ภาวะผิดปกติ
ท้องโตกว่าปกติ (Abdominal Distention) ไม่สมมาตร
อาจเกิดจาก ลม น้ำในช่องท้องหรือก้อนในช่องท้อง
ท้องแฟบกว่าปกติ (Scaphoid abdomen)
พบในผู้ป่วยขาดสารอาหาร
2.ผิวหนังหน้าท้อง สีผิว รอยแผลผ่าตัด รอยจ้ำเลือด
ภาวะปกติ
ไม่มีผื่นและแผล ไม่มีแผลเป็น ไม่มีรอยแผลผ่าตัด ไม่มีรอยจ้ำเลือดใดๆ
ภาวะผิดปกติ
มีแผลอักเสบติดเชื้อหรือแผลไม่ติด มีรอยจ้ำเลือด
3.หลอดเลือดดำที่ผนังหน้าท้องโป่งพองหรือไม่
ภาวะปกติ
ไม่พบหลอดเลือดดำขยายหรือโป่งพอง
ภาวะผิดปกติ
มีการขยายของหลอดเลือดดำชัดเจน
มีหลอดเลือดดำชัดเจนรอบๆสะดือและมีทิศทางการไหลออกจากสะดือ (carput medusa แสดงการอุดตันของ portal vein)
มีหลอดเลือดดำขยายบริเวณเอวและมีทิศทางการไหลขึ้นด้านบนแสดงการอุดตันของ inferior vena cava)
มีภาวะหลอดเลือดดำโป่งพอง (Superficial vein dilatation)
4.สะดือมีการดึงรั้งหรือไม่ในผู้ที่มีการอักเสบหรือไส้เลื่อน
ภาวะปกติ
ไม่พบการดึงรั้งของสายสะดือ (umbilical hernia)
บริเวณขาหนีบไม่มีการโป่งนูนหรือมีก้อน
ภาวะผิดปกติ
สะดือถูกดึงหรือดันผิดปกติหรือสะดือจุ่น (umbilical hernia)
มีการอักเสบของสะดือหรือบริเวณขาหนีบหรือมีก้อน (hernia)
เกิดจากการมีสารน้ำในช่องท้อง
5.การเคลื่อนไหวของผนังหน้าท้องขณะหายใจเข้าและออก
ภาวะปกติ
ท้องจะเคลื่อนไหวโดยป่องออกเวลาหายใจเข้า ยุบลงเวลาหสยใจออก
ภาวะผิดปกติ
ผนังหน้าท้องไม่เคลื่อนไหวตามการหายใจ
การฟัง (Auscultation)
อุปกรณ์
ใช้ stethhoscope ด้าน bell ฟังอย่างน้อย 3 นาที
ตำแหน่งที่ฟัง
หน้าท้องบริเวณ umbilical area
การเคลื่อนไหวของลำไส้ (Bowel sound)
ภาวะปกติ
จะได้ยินเสียงการเคลื่อนไหวเป็นเสียงกร๊อก กร๊อก คล้ายเทน้ำออกจากขวด
ได้ยิน 6-12 ครั้ง/นาที หรือ Normoactive
ภาวะผิดปกติ
ได้ยินน้อยกว่า 6-12 ครั้ง/นาที หรือ Hypoactive
พบในรายที่ท้องอืด ลำไส้ขยับตัวน้อย
ได้ยินมากกว่า 6-12 ครั้ง/นาที หรือ Hyperactive
พบในรายที่ท้องเสียหรือท้องร่วง
ไม่ได้ยินเสียงการเคลื่อนไหวของลำไส้อย่างน้อย 3 นาที (Absent bowel sound)
เสียงฟู่ (Bruit)
เกิดจากความผิดปกติของหลอดเลือดแดง
การเคาะ (Percussion)
วัตถุประสงค์
เพื่อตรวจหารสารน้ำ อากาศ หรือก้อนในช่องท้อง
วิธีตรวจ
ใช้ปลายนิ้วกลางข้างขวาเคาะเบาๆลงบนนิ้วมือซ้ายของผู้ตรวจซึ่งวางอยู่บนหน้าท้องของผู้ป่วย
เคาะจากส่วนที่โปร่งไปยังส่วนที่เคาะทึบ
การเคาะเพื่อตรวจหาสารน้ำ
1.การตรวจการเปลี่ยนที่ของเสียงเคาะทึบ (Shifting dullness)
หลักการ
สารน้ำจะเปลี่ยนที่ไปอยู่ส่วนที่ต่ำที่สุดเสมอตามแรงโน้มถ่วง
วิธีตรวจ
1.ผู้ป่วยนอนหงาย
2.เริ่มเคาะจากสะดือไปด้านข้างทั้งซ้ายและขวาจนถึงแนวเส้นกลางรักแร้
ภาวะปกติ
ได้ยินเสียงโปร่ง (Tympony)
ภาวะผิดปกติ
มีน้ำในช่องท้องได้ยินเสียงทึบ (Dullness)
3.ให้ผู้ป่วยพลิกตัว บริเวณที่มีสารน้ำจะเปลี่ยนที่มาอยู่ข้างล่าง
ภาวะปกติ
บริเวณเอวข้างบนจะเป็นเสียงโปร่ง (Tympony)
ภาวะผิดปกติ
บริเวณเอวข้างบนจะเป็นเสียงทึบ (Dullness)
2.การตรวจการสั่นสะเทือนของสารน้ำ (Fluid Thrill)
หลักการ
สารน้ำในช่องท้องจะเป็นตัวนำให้เกิดการสั่นสะเทือน
วิธีตรวจ
1.ผู้ป่วยนอนหงาย
2.ผู้ตรวจวางมือซ้ายขนานกับหน้าท้องด้านขวาของผู้ป่วย ใช้มือขวาของผู้ตรวจเคาะเบาๆที่ท้องด้านซ้าย
3.ถ้ามีน้ำในช่องท้อง ผู้ตรวจจะรู้สึกถึงการสั่นสะเทือนที่ฝ่ามือซ้าย
3.การตรวจอาการแสดงแบบหลุมบ่อ (Puddle sign)
เป็นการตรวจสารน้ำในช่องท้องโดยเฉพาะที่จำนวนน้อย
ไม่นิยมใช้เนื่องจากเป็นท่าที่ไม่สะดวกสำหรับผู้ป่วย
การเคาะตับ
จุดประสงค์
เพื่อหาขนาดตับ
วิธีตรวจ
1.เคาะในแนวเส้นกลาง MCL.
2.เริ่มจากหน้าท้องด้านล่างต่ำกว่าสะดือมีเสียงโปร่ง เคาะขึ้นบนจนได้ขอบล่างของตับมีเสียงทึบ
3.เคาะจากบริเวณหน้าอกซึ่งมีเสียงโปร่ง ค่อยๆเคาะต่ำลงจนพบขอบบนของตับ
4.วัดความสูงของตับ (Liver span)
ภาวะปกติ
เคาะได้เสียงทึบของตับตามแนว MCL. ขวา ระหว่างช่องซี่โครงที่ 6ถึงใต้ชายโครงประมาณ 1 นิ้ว
เสียงทึบกว้างประมาณ 10-12 cm
ภาวะผิดปกติ
เคาะได้บริเวณตับเล็กกว่าปกติ
พบในภาวะถุงลมปอดโป่งพองมาก
เคาะได้บริเวณตับโตกว่าปกติ
พบในผู้ที่มีพยาธิสภาพของตับ
การปฎิบัติก่อนให้บริการแก่ผู้ใช้บริการ
1.ให้ผู้ป่วยนอนหงายในที่ที่วบายและไม่เกร็ง เเขนทั้งสองวางข้างลำตัว
2.เปิดเฉพาะส่วนที่ตรวจ คือ ตั้งแต่ระดับเหนือ xiphoid process เล็กน้อย ถึงหัวเหน่า
3.งอสะโพกและเข่าเล็กน้อยโดยใช้ผ้าหรือหมอนเล็กหนุน
4.หายใจเข้าออกลึกๆช้าๆ ช่วยให้กล้ามเนื้อหน้าท้องหย่อน
5.แนะนำให้ผู้ใช้บริการถ่ายปัสสาวะก่อนตรวจท้อง
การคลำ (Palpation)
หลักการ
1.ใช้ฝ่ามือและนิ้ว
2.มือผู้ตรวจไม่ร้อนหรือเย็นเกินไปและควรวางในแนวราบ
3.เริ่มจากเบาๆพร้อมสังเกตสีหน้าผู้ถูกตรวจ
4.ตรวจบริเวณที่ผิดปกติเป็นส่วนสุดท้าย
5.ให้ผู้ป่วยหายใจเข้าออกทางปากลึกๆซ้ำๆเพื่อการตรวจที่ง่าย
วิธีการคลำ
1.คลำเบาๆหรือตื้นๆ (Light palpation)
หลักการ
1.ใช้ปลายนิ้วมือวางชิดกัน
3.สังเกตสีหน้าผู้ป่วย
2.กดค่อยๆตามบริเวณต่างๆของหน้าท้อง
Tenderness
กดเจ็บเฉพาะที่(Localized)
กดเจ็บทั่วทั้งท้อง (Generalized)
Rebound tenderness
เจ็บเมื่อเอามือกดลึกๆและปล่อยโดยเร็ว
เจ็บตอนปล่อยมากกว่าตอนกด
มีการอักเสบของ Parietal peritoneumบริเวณนั้น .เช่น Appendicitis
Rigidity
การแข็งเกร็งของกล้ามเนื้อหน้าท้องตลอดเวลาเมื่อถูกกด
มีการอักเสบที่ parietal peritoneum
Guarding หรือ Spasm
แบบจงใจ (Voluntary spasm)
แบบไม่จงใจ (Involuntary spasm หรือ Guarding)
มีการอักเสบของ Visceral Peritoneum เมื่อถูกกดกล้ามเนื้อหน้าท้องจะหดตัว
Murphhy's sign
ตรวจในรายที่สงสัยว่ามีถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลัน
วิธีตรวจ
1.ใช้มือซ้ายวางบนชายโครงขวา
2.ใช้นิ้วหัวแม่มือกดลงบริเวณถุงน้ำดีให้
3.หายใจเข้า-ออกจะรู้สึกเจ็บ อาจสะดุ้งหรือกลั้นหายใจเพื่อไม่ให้ถุงน้ำดีเคลื่อนมากระทบที่นิ้วมือ
มีการอักเสบเรียกว่า Murphy's sign positive
2.คลำลึกๆหรือคลำโดยใช้สองมือ (Deep/bimanual Palpation)
ใช้ตรวจอวัยวะที่โตกว่าปกติและคลำหาก้อนในช่องท้อง
การคลำตับ
วิธีตรวจ
1.ใช้มือซ้ายรองรับทางด้านหลังผู้ป่วย มือขวาวางราบบนผนังหน้าท้องให้ปลายนิ้วชี้ไปทางศีรษะผู้ป่วย
2.ให้ปู้ป่วยงอเข่าขวาเล็กน้อย หายใจเข้า-ออกลึกๆช้าๆทางปาก
3.เริ่มคลำจากหน้าท้องด้านขวาล่าง ค่อยๆขึ้นข้างบนเข้าหาชายโครงจนนิ้วคลำพบก้อนตับ
การคลำโดยวิธีเกี่ยว (Hooking technique)
1.ผู้ตรวจยืนทางขวาและหันหน้าไปทางปลายเท้าผู้ป่วย
2.ใช้นิ้วกดลงบริเวณใต้ชายโครงขวา แล้วดึงเข้าหาชายโครง ขณะหายใจเข้าลึกๆ
ภาวะปกติ
ผิวเรียบ ขอบเรียบ บาง นุ่ม ไม่ขรุขระ กดไม่เจ็บ
ภาวะผิดปกติ
ตับมีขนาดโตเกินขอบชายโครงมาก
ผิวขรุขระ
กดเจ็บ(Tenderness)
การคลำม้าม
วิธีตรวจ
1.ใช้มือซ้ายดันจากด้านหลังของผู้ป่วยในระดับชายโครงซ้าย มือขวาวางบนหน้าท้องให้นิ้วตั้งฉากกับชายโครงด้านซ้าย
2.เริ่มคลำที่หน้าท้องด้านล่างซ้าย เพื่อป้องกันการผิดพลาดในรายที่ม้ามโตมากๆ
3.ค่อยๆเลื่อนขึ้นข้างบนจนปลายนิ้วพบขอบม้ามซึ่งยื่นออกมาใต้ชายโครงซ้าย
ภาวะผิดปกติ
คลำพบขอบม้าม โตประมาณ 2-3 เท่าของขนาดปกติ