Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ระบบทางเดินหายใจ
(Respiratory system) 4BF7CADB-4DD6-404A-9A13-6F221E6B18F1
ระบบทางเดินหายใจ
(Respiratory system)
สรีรวิทยาของการหายใจ
(physiology of respiration)
-
-
-
-
การหายใจ (breathing) เป็นกระบวนการซึ่งนำอากาศเข้าหรือออกจากปอด สิ่งมีชีวิตที่ต้องการออกซิเจนต้องการไปเพื่อปลดปล่อยพลังงานผ่านการหายใจระดับเซลล์ในรูปเมแทบอลิซึมโมเลกุลพลังงานสูงการหายใจเป็นเพียงกระบวนการเดียวซึ่งส่งออกซิเจนไปยังที่ที่ต้องการในร่างกายและนำคาร์บอนไดออกไซด์ออก อีกกระบวนการหนึ่งที่สำคัญเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่ของเลือดโดยระบบไหลเวียน การแลกเปลี่ยนแก๊สเกิดขึ้นในถุงลมปอดโดยการแพร่ของแก๊สระหว่างแก๊สในถุงลมและเลือดในหลอดเลือดฝอยปอด เมื่อแก๊สที่ละลายนี้อยู่ในเลือด หัวใจปั๊มเลือดให้ไหลไปทั่วร่างกาย
-
-
การแลกเปลี่ยนแก๊สในร่างกาย
1.ที่ปอดเป็นการแลกเปลี่ยนแก๊สระหว่างในถุงลมปอดกับเส้นเลือดฝอย
โดยออกซิเจนจากถุงลมปอดจะแพร่เข้าสู่เส้นเลือดฝอยรอบ ๆถุงลมปอดและรวมตัวกับฮีโมโกลบิน (haemoglobin; Hb)
ที่ผิวของเม็ดเลือดแดงกลายเป็นออกซีฮีโมโกลบิล (oxyhemoglobin; HbO2)ซึ่งมีสีแดงสด
เลือดที่มีออกซีฮีโมโกลบินนี้จะถูกส่งเข้าสู่หัวใจและสูบฉีดไปยังเนื้อเยื่อต่าง ๆ ทั่วร่างกาย
2.ที่เนื้อเยื่อออกซีฮีโมโกลบินจะสลายให้ออกซิเจนและฮีโมโกลบิน
ออกซิเจนจะแพร่เข้าสู่เซลล์ทำให้เซลล์ของเนื้อเยื่อได้รับออกซิเจน
ในขณะที่เนื้อเยื่อรับออกซิเจนนั้น คาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดขึ้นในเซลล์ก็จะแพร่เข้าเส้นเลือด
คาร์บอนไดออกไซด์ส่วนใหญ่จะทำปฏิกิริยากับน้ำในเซลล์เม็ดเลือดแดงเกิดเป็นกรดคาร์บอนิก(H2CO3)
ซึ่งแตกตัวต่อไปได้ไฮโดรเจนคาร์บอเนตไอออน (HCO3-) และไฮโดรเจนไอออน (H+)
เมื่อเลือดที่มีไฮโดรเจนคาร์บอเนตไอออนมากไหลเข้าสู่หัวใจจะถูกสูบฉีดต่อไปยังเส้นเลือดฝอยรอบ ๆ
ถุงลมปอด ไฮโดรเจนคาร์บอเนตไอออนและไฮโดรเจนไอออนจะรวมตัวกันเป็นกรดคาร์บอนิกแล้วจึงสลายตัวเป็นคาร์บอนไดออกไซด์
และน้าในเซลล์เม็ดเลือดแดง เป็นผลให้ความหนาแน่นของคาร์บอนไดออกไซด์ในเส้นเลือดฝอยสูงกว่าคาร์บอนไดออกไซด์ในถุงลมปอด
จึงเกิดการแพร่ของคาร์บอนไดออกไซด์จากเส้นเลือดฝอยเข้าสู่ถุงลมปอดดังภาพ
ศูนย์ควบคุมการสูดลมหายใจศูนย์ควบคุมการหายใจ (the respiratory centers) อยู่ที่สมองส่วนเมดัลดาออบลองกาตา(medulla oblongata) โดยเป็นเซลล์ประสาทกระจายอยู่ทางด้านข้างทั้งสองข้าง ศูนย์นี้จะมีความไวต่อปริมาณของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์หรือไฮโดรเจนคาร์บอเนตไอออนและไฮโดรเจนไอออน ซึ่งสารต่างๆเหล่านี้จะกระตุ้นทำให้เกิดการหายใจเข้าเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นถ้าหากมีแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดเพิ่มขึ้นก็จะทำให้เกิดการการกระตุ้นเพิ่มขึ้นด้วย การควบคุมการสูดลมหายใจแสดงดังแผนภาพ
พยาธิสรีรวิทยา
ระบบหายใจทำหน้าที่รักษาสมดุลของออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดแดงโดยนำออกซิเจนเข้าสู่เลือดและควบคุมภาวะกรด-ด่างของร่างกายโดยควบคุมระดับของคาร์บอนไดออกไซด์ในกระแสเลือดโดยการหายใจและแลกเปลี่ยนแก๊ส
-
-
โรคต่างๆ
Congenital Lobar Emphysema (CLE)
เป็นความผิดปกติที่มีการขยายขนาดของปอดกลีบใดกลีบหนึ่ง มากกว่าปกติทําให้มีการกดเบียดต่อปอดกลีบอื่นๆและทําให้มีการเคลื่อน ของประจันอก (mediastinum) CLE เป็นพยาธิสภาพที่พบบ่อยท่ีสุดคือ ประมาณร้อยละ 50 ของผู้ป่วยที่มีความผิดปกติแต่กําเนิดของปอด สาเหตุ ที่สําคัญคือสาเหตุภายในที่เกิดภาวะหลอดลมแฟบที่เกิดจากกระดูกอ่อน ของหลอดลมผิดปกติ หรือจากการท่ีมีเสมหะอุดตันในหลอดลม อาจจะ เป็นจากการบิดตัวของหลอดลม นอกจากน้ีสาเหตุภายนอกที่ทําให้เกิดการ อุดกั้นของหลอดลมคือการกดเบียดจากภายนอกเช่น pulmonary artery sling หรือ หลอดเลือดใหญ่โป่งพอง
พยาธิสภาพ
สิ่งที่จะพบได้คือการที่มีหลอดลมอ่อนตัวและแฟบได้ง่าย ทำให้ถุงลมฝอยมีลมคั่งและเกิดการโป่งพองมากขึ้น แต่มีลักษณะเรียกว่า
pulmonary hypoplasia คือถุงลมฝอยมีจํานวนลดลง ในบางรายอาจพบว่ามีจํานวนขอ งถุงลมมากขึ้น (alveolar hyperplasia) ได้เช่นกัน ตําแหน่งท่ีพบบ่อยคือ กลีบซ้ายบน (left upper lobe, LUL) กลีบขวาบน (right upper lobe, RUL) และกลีบขวากลาง (right middle lobe, RML)
อาการและการแสดง
ร้อยละ 50 ของผู้ป่วยจะแสดงอาการหายใจลําบากโดยเฉพาะใน ช่วงอายุหนึ่งสัปดาห์แรก และกลุ่มผู้ป่วยเด็กส่วนใหญ่จะแสดงอาการภาย ในอายุ 6 เดือน อาการท่ีสําคัญคือหายใจเร็ว ไอมาก อาจพบอาการเขียว (cyanosis) และหายใจขัด ในกลีบที่มีพยาธิสภาพก็มักจะมีการติดเชื้อซ้ำๆ ได้บ่อย ลักษณะท่ีตรวจพบจากการตรวจร่างกายคือเสียงหายใจเบากว่าข้าง ที่ปกติและเคาะได้โปร่งกว่า
ส่ิงตรวจพบจากภาพถ่ายรังสีทรวงอกคือ hyperlucency ในข้างที่ เป็นร่วมกับมีการเคล่ือนของประจันอกไปยังฝั่งตรงกันข้าม และถ้าทํา air bronchography ก็จะพบการแฟบของผนังหลอดลม
การรักษา
เป็นโรคที่ต้องรักษาด้วยการผ่าตัดซึ่งมีข้อบ่งชี้คือมีภาวะคุกคามต่อ ชีิตจากการกดเบียดปอดที่ปกติ หลักการท่ีสําคัญคือจะต้องอนุรักษ์เน้ือปอด ส่วนที่เหลืออยู่รอบๆพยาธิสภาพไว้ให้ได้มากท่ีสุด แต่ในกรณีท่ีจําเป็นอาจ จะต้่องทําการตัดออกท้ังกลีบ ซึ่งผลการรักษาโดยท่ัวไปดี และสมรรถภาพ ปอดจะค่อนข้างปกติ
Pulmonary cyst
คํานิยามของภาวะนี้คือถุงน้ําที่อยู่ในเนื้อปอด (pulmonary parenchyma) ซึ่งถุงน้ำที่เกิดขึ้นมีแหล่งกำเนิดที่แตกต่างกันขึ้นกับเนื้อเยื่อต้นกําเนิดโดยทราบจากการตรวจทางพยาธิวิทยาของผนังของถุงน้ํา เช่น เกิด จากต่อมท่ีเยื่อบุหลอดลม (bronchial gland) กระดูกอ่อนของหลอดลม หรือแม้กระท่ังเยื่อบุถุงลม (alveolar epithelium)
พยาธิสภาพ
ถุงน้ํามีลักษณะเป็นถุงเดี่ยวและมักเป็นเฉพาะที่ในกลีบใดกลีบ หนึ่ง ท่ีพบบ่อยคือกลีบล่างของทั้ง 2 ข้าง ถุงน้ํานี้สามารถหายได้เอง แต่ ถ้าเป็นอยู่นานติดต่อกันเกินหนึ่งปีพบว่ามีโอกาสที่ถุงน้ําจะหายไปได้ด้วยตน เองน้อยมาก
ในกรณีของถุงน้ําหลายตําแหน่งมีโอกาสเกิดจากความผิดปกติแต่ กําเนิดน้อยมาก ซึ่งมักจะเกิดจากการติดเชื้อมากขึ้น โดยเฉพาะในภาวะปอด อักเสบที่เกิดจากเชื้อ Staphylococcus และcystic fibrosis
อาการและอาการแสดง
อาการที่เกิดจากถุงน้ําขนาดใหญ่หรือมีการขยายขนาดอย่างรวด เร็วจะทําให้เกิดอาการหายใจลําบาก แต่ถ้ามีการติดเชื้อผู้ป่วยจะมีอาการไข้ ไอ หอบเหนื่อย และมีการติดเชื้อในกระแสเลือด การตรวจด้วยภาพถ่ายรัง สีทรวงอกเพียงอย่างเดียวก็เพียงพอท่ีจะให้การวินิจฉัยได้
การรักษา
ต้องอาศัยการผ่าตัดเท่านั้นเพื่อทำการตัดถุงน้ำออก ในบางกรณีเช่นน้ําถุงเดียวท่ีเป็นทั้งกลีบก็มีความจําเป็นท่ีจะต้องทําการตัดออกทั้งกลีบ เลย (lung resection) แต่ถ้ามีการติดเชื้อมาก่อนควรทําผ่าตัดหลังจากท่ีให้ยา ปฏิชีวนะมาก่อนจนกระท่ังผู้ป่วยอาการสงบลงแล้ว ในกรณีของถุงน้ําหลายใบการรักษาคือการรักษาโรคพื้นฐาน เดิมที่มีอยู่ ส่วนโอกาสที่ต้องผ่าตัดมีน้อยมาก และโดยเฉพาะการที่มี pneumatocoele ถือเป็นข้อห้ามของการผ่าตัด
ไม่แนะนําการใส่ท่อระบายทรวงอกหรือการเจาะดูดหนองในถุงน้ํา ที่มีแรงดันภายในเนื่องจากจะมีโอกาสทําให้เกิด empyema thoracis
มะเร็งปอด เกิดจากการเจริญเติบโตของเซลล์ที่ผิดปกติอย่างรวดเร็วและไม่สามารถควบคุมได้ ทำให้เกิดเป็นกลุ่มก้อนของเซลล์ที่ผิดปกติ ซึ่งจะตรวจพบได้เมื่อมีขนาดใหญ่ มีจำนวนมาก และแพร่ไปตามบริเวณต่างๆ ของร่างกาย มะเร็งปอดจะทำลายชีวิตของผู้ป่วยได้รวดเร็วแค่ไหนขึ้นอยู่กับชนิดของมะเร็ง
มะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็ก (small cell lung cancer) พบได้ประมาณ 10-15% เซลล์จะเจริญเติบโตและแพร่กระจายได้รวดเร็วกว่ามะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์เล็ก ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้อย่างรวดเร็ว การรักษาจะไม่ใช้วิธีการผ่าตัด ส่วนมากจะรักษาด้วยการใช้ยาหรือฉายรังสี
มะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์เล็ก (non-small cell lung cancer) พบได้บ่อยกว่ามะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็ก (พบได้ประมาณ 85-90%) แต่จะแพร่กระจายได้ช้ากว่า และสามารถรักษาให้หายได้โดยการผ่าตัดหากพบตั้งแต่เนิ่นๆ
การรักษา
สิ่งสำคัญของการรักษามะเร็งปอด คือ การพิจารณาตำแหน่ง ขนาด และระยะของเซลล์มะเร็ง รวมถึงสภาพร่างกายและจิตใจของผู้ป่วย
-
มีเป้าหมายเพื่อผ่าเอาก้อนมะเร็งที่ปอดและต่อมน้ำเหลืองที่ช่องอกออกให้หมด ซึ่งบางครั้งก้อนเนื้อนั้นอาจไม่ใช่เซลล์มะเร็งทั้งหมดก็ได้
-
วิธีนี้ใช้ในการรักษามะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์เล็ก ในระยะที่ 1, 2 และ 3A