Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรคกระดูกพรุนในผู้สูงอายุ (ปัจจัยเสี่ยง (เพศหญิง มีโอกาสเกิดโรคกระดูกพรุนส…
โรคกระดูกพรุนในผู้สูงอายุ
ความหมาย
โรคกระดูกพรุนเกิดจากกระบวนการสูญเสียมวลกระดูกอย่างช้าๆ ต่อเนื่อง ในเพศหญิงมวลกระดูกมีมากสุดในช่วงอายุประมาณ 35 ปี และคงสูงอยู่จนถึงวัยมดประจำเดือน โดยอัตราการลดลงของมวลกระดูกในช่วงวัยแรกของวัยหมดประจำเดือนที่สูง ร้อยละ7 หลังจากนั้นจะลดลงร้อยละ 1-2 ต่อปี แต่ในเพศชายหลังจากมวลกระดูกมีสูงสุดช่วง 35 ปี แล้วจะค่อยลดลงร้อยละ 1-2 ต่อปี
ความหนาแน่นของกระดูก
ปัจจัยเสี่ยง
เพศหญิง มีโอกาสเกิดโรคกระดูกพรุนสูงกว่าเพศชายถึง 4 เท่า เนื่องจากมวลกระดูกมีน้อยกว่าเพศชายประมาณร้อยละ 30 และผู้สูงอายุเพศหญิงหมดประจำเดือนทำให้ขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนซึ่งมีผลต่อการสร้างกระดูก
อายุมากขึ้น เนื่องจากกระบวนการสลายกระดูกในผู้สูงอายุเร็วกว่ากระบวนการสร้างกระดูก
ได้รับแคลเซียมน้อย เนื่องจากแคลเซียมเป็นแร่ธาตุสำคัญในกระบวนการสร้างกระดูก
ได้รับวิตามินดีน้อย ทำให้การดูดซึมคลเซียมลดลง
ไม่เคลื่อนไหวร่างกายเป็นเวลานาน ทำให้มีการสลายแคลเซียม
ขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนในพศหญิง ทำให้มวลกระดูกลดลงเนื่องจาก ฮอร์โมนเอสโตรเจน ส่งผลต่อเซลล์สลายกระดูกหรือออสติโอคลาสต์มีการทำงานเพิ่มขึ้น ส่งผลให้มีการสลายกระดูกมากกว่าสร้างกระดูก
สูบบุหรี่ สารพิษในบุหรี่มีฤทธ์ติอการเพิ่มเมตาบอลิซึมของฮอร์โมนเอสโตรเจนในตับ ทำให้ฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง ส่งผลให้กระบวนการสร้างกระดูกลดลง
ดื่มแอลกอฮอล์มาก ซึ่งส่งผลต่อการดูดซึมแคลเซียมในร่างกายลดลง
ใช้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ซึ่งมีผลกรดการสร้างกระดูกใหม่ลดการดูดซึมแคลเซียมในทางเดินอาหาร
ชนิดของโรคกระดูกพรุน
กระดูกพรุนชนิดปฐมภูมิ (Primary osteoporosis) แบ่งออกเป็น Type I (postmenopausal osteoporosis) เป็นโรคกระดูกพรุนในสตรีหมดประจำเดือน และ Type II (Senile osteoporosis) เป็นโรคกระดูกพรุนในผู้สูงอายุ 75 ปีขึ้นไป พบทั้งหญิงและชาย เพราะขาดแคลเซียม
กระดูกพรุนชนิดทุติยภูมิ (Secondary osteoporosis) เป็นโรคกระดูกพรุนที่เกิดจากสาเหตุอื่น เช่น โรคต่อมไทรอยด์ ต่อมพาราไทรอยด์ โรคเบาหวาน และอาจเกิดจากปัจจัยอื่น เช่น ไม่เคลื่อนไหว โรคไตวาย โรคตับ
อาการแสดง
ส่วนใหญ่กระดูกพรุนพบมากได้แก่ กระดูกสันหลัง กระดูกสะโพก และกระดูกต้นแขน โดยส่งผลให้เกิดภาวะกระดูกหัก เช่นยกของหนักทันที่ การโค้งตัวหรือการหกล้ม การเสื่อมของกระดูกสันหลังและการเปลี่ยนแปลงรูปร่างและความสูง โดยอาการแสดงได้แก่ หลังโกง
การป้องกันโรคกระดูกพรุน
การป้องกันในระดับปฐมภูมิ เป็นการส่งเสริมสุขภาพและคงไว้ซึ่งความแข็งแรงของกระดูกด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม
ออกกำลังกายให้เหมาะสม ได้แก่ การเดิน การวิ่งเหยาะ โดยออกกำลังกาย 3 ครั้ง/สัปดาห์ และ 2 set (set ละ 10 ครั้ง) ต่อ 1 วัน
รับประทานอาหาร ได้แก่ โปรตีน วิตามินซี แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส แมงกานีส
การรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง ประมาณ 1200-1500 มิลลิกรัมต่อวัน ได้แก่ กุ้งแห้งตัวเล็ก เต้าหู้ ถั่วเขียว ใบยอ ผักคะน้า มะเขือพวง
รับประทานวิตามินดี หรือพยายามให้ร่างกายได้รับแสงแดด ประมาณ 10-15 นาที
หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารประเภทโปรตีนจากเนื้อสัตว์มากเกินไป
หลีกเลี่ยงการดื่มคาร์เฟอีน แอลกอฮอล์และสูบบุหรี่
การป้องกันในระดับทุติยภูมิ เป็นการตรวจคัดกรองโรคกระดูกพรุนในผู้สูงอายุ และการรักษาโรคตั้งแต่ในระยะแรกทั้งแบบใช้ยาและไม่ใช่ยา
ยารักษาโรคกระดูกพรุน
ยายับยั้งการสลายกระดูก
Bisphosphonate มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการสลายกระดูกโดยยับยั้งการทำงานของเซลล์สลายกระดูกมีทั้งชนิดรับประทาน รับประทานทุกวัน เดือนละครั้ง และ ฉีดเข้าเส้นเลือดดำทุก 3 เดือน ผลข้างเคียง มีไข้ ปวดกล้ามเนื้อ
เอสโตรเจนหรือโปรเจสติน มีประสิทธิภาพในการลดการสูญเสียเนื้อกระดูกในหญิงวัยหมดประจำเดือน
ยาจับกับตัวรับเอสโตรเจน SERMs
ยากระตุ้นการสร้างกระดูกใหม่
Teriparatide จะใช้เฉพาะโรคกระดูกพรุนที่รุนแรงและมีความเสี่ยงสูงมากต่อการเกิดกระดูกใหม่ ผลข้างเคียง ระดับแคลเซียมในเลือดและระดับปัสสาวะสูงขึ้น
ยาที่ออกฤทธิ์ยับยั้งการสลายกระดูกและกระตุ้นการสร้างกระดูกใหม่
วิตามินดีหรือวิตามินสังเคราะห์ร่วมกับแคลเซียม
Menaterrenone ช่วยคงความหนาแน่นของกระดูกได้ แต่ต้องรับประทานกับคลเซียมและวิตามินดี
Strontium ranelate ช่วยลดความเสี่ยงต่อการหักของกระดูกสันหลังและสะโพก ผลข้างเคียง ถ่ายเหลว มีการอุดตันของหลอดเลือดดำ