Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรคความดันโลหิตสูงในผู้สูงอายุ (การพยาบาล (ควบคุมน้ำหนัก ไม่ให้มากเกินไป,…
โรคความดันโลหิตสูงในผู้สูงอายุ
ความหมาย
คือ ภาวะที่มีความดันเลือดแดงสูงกว่าปกติในขณะพักและคงสูงอยู่ตลอดเวลา
การแบ่งความดันโลหิตสูงตามสาเหตุ
ความดันโลหิตสูงไม่ทราบสาเหตุ (Primary hypertension) พบได้ประมาณ 90-95% เชื่อว่ามีปัจจัยหลายอย่างเกี่ยวข้อง คือกรรมพันธุ์ โรคอ้วน อาชีพ อายุ
ความดันโลหิตสูงที่มีสาเหตุ (Secondary hypertension) พบได้ประมาณ 5-10 % สาเหตุมาจากโรคไต เนื้องอกของต่อมหมวกไต
ระดับความดันน้อยกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท ถือว่าเป็นค่าความดันปกติ
ระดับความดันระหว่าง 140/90-160/95 มิลลิเมตรปรอท ถือว่าเป็นความดันโลหิตสูงก่ำกึ่งและมีแนวโน้มจะเกิดภาวะความดันโลหิตสูงได้มาก
ระดับความดันตั้งแต่ 160/95 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป ถือว่าเป็นผู้ที่มีความดันโลหิตสูง
สาเหตุ
ผลจากการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยา เมื่ออายุมากขึ้น
หลอดเลือดแดงตีบเนื่องจากมีไขมันมาอุดตัน และความยืดหยุ่นของหลอดเลือดแดงทั่วร่างกายจะลดลง ขนาดของรูหลอดเลือดจะเล็กลงเป็นผลให้ความต้านทานของหลอดเลือดส่วนปลายเพิ่มขึ้น เนผลทำให้ความดันโลหิตสูงในที่สุด
อัตราการกรองของไตลดลงและปริมาณเลือดที่ไปเลี้ยงไตลดลง
การเปลี่ยนแปลงของ renin-angiotensin system พบว่าเมื่ออายุมากขึ้น ความสามารถในการทำหน้าที่ของเรนินจะลดลงและเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิด essential hypertension ความดันสูงไม่ทราบสาเหตุในผู้สูงอายุ
แบบแผนการดำรงชีวิต ตลอดจนการเผชิญกับสภาวะเครียดของสังคมและสิ่งแวดล้อม
การสูบบุหรี่ ผลของบุหรี่จะทำให้เกิดการตีบตันของหลอดเลือดมากขึ้น
อาหาร อาหารที่ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นคือ อาหารที่มีรสเค็ม
จากโรคอื่นๆ ที่มีผลให้ความดันโลหิตสูงขึ้น เช่น โรคโลหิตจาง ต่อมไทรอยด์เป็นพิษ ไตวายเรื้อรัง
อาการและอาการแสดง
ปวดศีรษะตื้อๆ เมื่อตื่นนอน สูญเสียความจำ สับสน มึนงง คลื่นไส้อาเจียน แต่อาการเหล่านี้อาจเป็นอาการเตือนแต่เมื่อความดันโลหิตสูงเป็นระยะเวลานานๆ จะมีผลต่อระบบต่างๆ ภายในร่างกาย เช่น หัวใจ หลอดเลือด สมองไต และตา ทำให้เกิดภาวะหัวใจวาย ไตวาย ตาบอดและอุบัติเหตุของหลอดเลือดที่สมองได้
การวินิจฉัยโรคความดันโลหิตสูง
1.จะต้องวัดอย่างน้อย 3 ครั้ง ในภาวะที่ต่างกัน การวัดควรทำอย่างน้อย 2 ท่า คือ ท่านอน กับ ท่านั่ง เปรียบเทียบกับท่ายืน จะทำให้ทราบค่าความดันโลหิตที่เปลี่ยนแปลงค่าความดันโลหิตเมื่อเปลี่ยนท่า
การวัดความดันโลหิตควรวัดแขนทั้งสองข้างเปรียบเทียบกัน อย่างน้อยในครั้งแรกของการวัดผู้ป่วยแต่ละราย โดยทั่วไปค่าจะแตกต่างกันประมาณ 5 มิลลิเมตรปรอท ไม่เกิน 10 มิลลิเมตรปรอท ถ้าความแตกต่างมากเกินไป บ่งชี้ว่าอาจมีความผิดปกติของหลอดเลือดแดงข้างใดข้างหนึ่งถูกกดทับหรือมีการอุดตัน
การพยาบาล
ควบคุมน้ำหนัก ไม่ให้มากเกินไป
จำกัดโซเดียมในอาหาร ให้เหลือเพียง 1000-2000 มิลลิกรัม/วัน อาจทำให้ความดันโลหิตลดลงได้ 10 มิลลิเมตรปรอท
งดดื่มแอลกอฮอล์และกาแฟ เพราะถ้าดื่มมากจะทำให้ความดันโลหิตสูง ส่วนคาเฟอีนในกาแฟจะไปกระตุ้นการทำงานของระบบซิมพาเทติก ทำให้ความดันสูงได้
ออกกำลังกาย ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกาย isometric เพราะจะทำให้ความดันโลหิตเพิ่มขึ้นได้
งดสูบบุหรี่ เนื่องจากสารนิโคตินในบุหรี่จะทำให้เพิ่มการหลั่งของอีฟิเนฟฟินและนอร์อีพิเนฟฟิน ซึ่งเป็นการเพิ่มการทำงานของหัวใจโดยตรง
พักผ่อนให้เพียงพอและลดความเครียด
ดูแลผู้สูงอายุให้ได้รับยาลดความดันโลหิตสูงอย่างเหมาะสม