Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพัฒนาการทางจิตใจในวัยสูงอายุ (1 บุคลิกภาพ (Personality)…
การพัฒนาการทางจิตใจในวัยสูงอายุ
1 บุคลิกภาพ (Personality)
วัยสูงอายุบุคลิกภาพมักไม่ค่อยแตกต่างจากเดิมการเปลี่ยนแปลงทางด้านบุคลิกภาพอาจเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของอัตมโนทัศน์การตอบสนองต่อเหตุการณ์ต่างๆที่เปลี่ยนแปลง
2 บุคลิกภาพแบบต่อต้าน (Defended personalities)
3 บุคลิกภาพเฉยชาและพึ่งพาบุคคลอื่น (Passive-dependent personalities)
1บุคลิกภาพแบบผสมผสาน (Integrated personalities) เป็นบุคลิกภาพที่ดีซึ่งสามารถพบได้ในผู้สูงอายุส่วนใหญ่
1.4. บุคลิกภาพแบบขาดการผสมผสาน (Unintegrated personalities)
2 การเรียนรู้ (Learning)
ผู้สูงอายุมีความจำเสื่อมโดยเฉพาะเรื่องราวใหม่ๆเพราะความสามารถในการเก็บข้อมูลลดลง แต่สามารถจำเรื่องราวเก่าๆได้ดี (remote memory) ความสามารถในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆลดลง ต้องอาศัยเวลานานขึ้นและต้องเป็นเรื่องที่ผู้สูงอายุให้ความสนใจด้วยความคิดเห็นที่คงที่ การวิเคราะห์ และการคำนวณด้านต่างๆเสื่อมลงแต่ยังสามารถทำงานที่มีประสบการณ์มาแล้วได้ดีและประสบความสำเร็จได้
3 ความจำ (Memory)
ผู้สูงอายุจะมีความจำเรื่องราวในอดีต (Long-term or Remote memory) ได้ดีแต่จะมีความจำเกี่ยวกับสิ่งใหม่ๆ (Short-term or Recent memory) ลดลงซึ่งอาจเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายและทางด้านจิตสังคมการกระตุ้นความจำของผู้สูงอายุจะต้องอาศัยการปฏิบัติเป็นลำดับขั้นตอน (Step by step)
5 สมรรถภาพ (Competence and performance)
สมรรถภาพการรับรู้ข้อมูล (Competence) และสมรรถภาพในการนำความรู้ไปปฏิบัติ (Performance) ลดลงโดยส่วนใหญ่สมรรถภาพในการนำความรู้ไปปฏิบัติต่ำกว่าสมรรถภาพการรับรู้ข้อมูล
4.สติปัญญา (Intelligence)
สติปัญญาของบุคคลขึ้นอยู่กับความสามารถทางสมองซึ่งจะเริ่มลดลงหลังอายุ 30 ปีนอกจากนั้นยังเกี่ยวข้องกับระดับการศึกษาการเรียนรู้ในอดีตและประสบการณ์ในการแก้ปัญหารวมทั้งสภาวะสุขภาพ
ความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ลดลงแต่จะดีขึ้นถ้าผู้สูงอายุใช้ประสบการณ์เดิมที่ผ่านมาช่วยค้นหาและต้องใช้เวลานานกว่าวัยหนุ่มสาว
ความสามารถในการคิดอิสระลดลงต้องอาศัยบุคคลอื่นช่วยในการตัดสินใจ
ความสามารถในการคิดเรื่องนามธรรมมีจำกัด
ความสามารถในการใช้เหตุผล (Inductive reasoning) เสื่อมเร็วกว่าความสามารถในการคำนวณบวกลบตัวเลข (Numerical ability)
มักใช้วิธีแก้ปัญหาแบบที่เคยปฏิบัติโดยไม่เปลี่ยนแปลงเนื่องจากความจำสั้นทำให้แยกสาเหตุไม่ได้
6 เจตคติความสนใจและคุณค่า (Attitudes, Interests and Values)
ผู้สูงอายุที่มาจากครอบครัวที่มีฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมดีจะมีเจตคติความสนใจและคุณค่าสูง
7 การรับรู้ตนเองและความรู้สึกมีคุณค่า (Self-concept and self-esteem)
ถ้าเป็นไปในทางบวกจะช่วยผู้สูงอายุให้สามารถปรับตัวและแก้ปัญหาได้ดีความรู้สึกมีคุณค่าในตัวเองมีผลมาจากกระบวนการความคิดอารมณ์ความปรารถนาคุณค่าและพฤติกรรม