Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ระบบเครือข่ายท้องถิ่น บทที่7 (มาตรฐาน IEEE 802 (IEEE 802.1…
ระบบเครือข่ายท้องถิ่น บทที่7
ความหมายของระบบเครือข่ายท้องถิ่น
ระบบเครือข่ายแบบ LAN หรือระบบเครือข่ายเฉพาะบริเวณ
โดยปกติแล้วจะเป็นระบบเครือข่ายส่วนตัว (Private Network) นั่นคือองค์กรที่ต้องการใช้งานเครือข่าย ทำการสร้าง
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันเป็นระบบเครือข่ายในระยะใกล้ ๆ ซึ่งจะช่วยให้เกิดประโยชน์แก่องค์กรและธุรกิจต่างๆ มากมาย เช่น
สามารถแบ่งเบาการประมวลผลไปยังเครื่องต่างๆ เฉลี่ยกันไป
สามารถแบ่งกันใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ เช่น เครื่องพิมพ์ ซีดีรอมไดร์ฟ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูง เป็นต้น
สามารถแบ่งกันใช้งานซอฟต์แวร์และข้อมูลหรือสารสนเทศต่างๆ รวมทั้งทำให้สามารถจัดเก็บข้อมูลเหล่านั้นไว้เพียงที่เดียว
สามารถวางแผนหรือทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มได้ แม้จะไม่ได้อยู่ใกล้กันก็ตาม
สามารถใช้ในการติดต่อกัน เช่น ส่งจดหมายทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือการส่งเสียงหรือภาพทางอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
ช่วยลดค่าใช้จ่ายโดยรวมขององค์กร
ประโยชน์ของระบบเครือข่ายท้องถิ่น
การแลกเปลี่ยนข้อมูลทำได้ง่าย
โดยผู้ใช้ในเครือข่ายสามารถที่จะดึงข้อมูลจากส่วนกลาง หรือข้อมูลจากผู้ใช้คนอื่นมาใช้ได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย เหมือนกับการดึงข้อมูลมาใช้จากเครื่องของตนเอง และนอกจากดึงไฟล์ข้อมูลมาใช้แล้ว ยังสามารถคัดลอกไฟล์ไปให้ผู้อื่นได้อีกด้วย
ใช้ทรัพยากรร่วมกันได้
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายนั้น ถือว่าเป็นทรัพยากรส่วนกลางที่ผู้ใช้ในเครือข่ายทุกคน สามารถใช้ได้โดยการสั่งงานจากเครื่องคอมพิวเตอร์ของ ตัวเองผ่านเครือข่ายไปยังอุปกรณ์นั้น เช่น มีเครื่องพิมพ์ส่วนกลางในเครือข่าย เป็นต้น ซึ่งทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้ด้วย
ใช้โปรแกรมร่วมกัน
ผู้ใช้ในเครือข่ายสามารถที่จะรันโปรแกรมจาก เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนกลาง เช่น โปรแกรม Word, Excel, Power Point ได้ โดยไม่จำเป็นจะต้องจัดซื้อโปรแกรม สำหรับคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง เป็นการประหยัดงบประมาณในการจัดซื้อ และยังประหยัดเนื้อที่ในหน่วยความจำด้วย
ติดต่อสื่อสารสะดวก รวดเร็ว
เครือข่ายนับว่าเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร ได้เป็นอย่างดี ผู้ใช้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูล กับเพื่อนร่วมงานที่อยู่คนละที่ ได้อย่างสะดวก และรวดเร็ว
เรียกข้อมูลจากบ้านได้
เครือข่ายในปัจจุบันมักจะมีการติดตั้งคอมพิวเตอร์ เครื่องหนึ่งเป็นเซิร์ฟเวอร์ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเข้าใช้เครือข่ายจากระยะไกล เช่น จากที่บ้าน โดยใช้ติดตั้งโมเด็มเพื่อใช้หมุนโทรศัพท์เชื่อมต่อ เข้ากับเครื่องเซิร์ฟเวอร์ คอมพิวเตอร์เครื่องนั้นก็จะเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่าย
มาตรฐาน IEEE 802
IEEE 802.1 การบริหารจัดการระบบเครือข่าย
-IEEE 802.2 ถูกออกแบบใน LLC ไม่ต้องการให้เครื่องรู้จักกับ MAC sub layer กับ physical layer
IEEE 802.3 สำหรับเป็น โปรโตคอลมาตราฐานเครือข่าย EtherNet ที่มีอัตราเร็วในการส่งข้อมูล 10 Mbps
IEEE 802.4 มาตรฐาน IEEE 802.4 เป็นมาตรฐานกำหนดโปรโตคอลสำหรับเลเยอร์ชั้น MAC
IEEE 802.5 เครือข่ายที่ใช้โทโปโลยีแบบ Ring
IEEE 802.6 กำหนดมาตรฐานของ MAN ซึ่งข้อมูลในระบบเครือข่ายถูกออกแบบมาให้ใช้งานในระดับเขต และเมือง
IEEE 802.7 ใช้ให้คำปรึกษากับกลุ่มเทคโนโลยีการส่งสัญญาณแบบ Broadband
IEEE 802.8 ใช้ให้คำปรึกษากับกลุ่มเทคโนโลยีเคเบิลใยแก้วนำแสง
IEEE 802.9 ใช้กำหนดการรวมเสียงและข้อมูลบนระบบเครือข่ายรองรับ
IEEE 802.10 ใช้กำหนดความปลอดภัยบนระบบเครือข่าย
IEEE 802.11 มาตรฐาน IEEE 802.11 และเป็นเทคโนโลยีสำหรับ WLAN
IEEE802.12 ใช้กำหนดลำดับความสำคัญของความต้องการเข้าไปใช้งานระบบเครือข่าย
มาตรฐาน IEEE 802.3หรือ อีเทอร์เน็ต
ใน ค.ศ.1985 ทางสถาบัน IEEE ได้ริเริ่มโครงการสำคัญโครงการหนึ่ง โดยตั้งชื่อโครงการนี้ว่าโครงการหมายเลข 802 หรือ Project 802 โดยโครงการดังกล่าวจัดตั้งขึ้นเพื่อต้องการให้ผลิตภัณฑ์อุปกรณ์สื่อสารที่มาจากแหล่งผู้ผลิตต่างๆ สามารถสื่อสารให้เป็นไปตามมาตรฐานเดียวกัน แต่โครงการนี้มิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำมาใช้ทดแทนมาตรฐาน OSI โมเดลที่ทางหน่วยงาน ISO จัดตั้งขึ้นแต่อย่างใด เนื่องการโครงการของหมายเลข 802 มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดหน้าที่และรายละเอียดของชั้นสื่อสารฟิสิคัล ดาต้าลิงก์ และมีส่วนขยายเพิ่มเติมบางส่วนอีกเล็กน้อย ที่นำมาใช้งานเพื่อการเชื่อมต่อเครือข่ายท้องถิ่นเป็นหลักสำคัญ
ปัจจุบันมาตรฐาน IEEE 802.3 ได้เข้ามาแทนที่มาตรฐานดั้งเดิมของอีเทอร์เน็ตอย่างสมบูรณ์แล้วกล่าวคือ คำว่าอีเทอร์เน็ตจะอ้างอิงถึงเครือข่ายที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของมาตรฐาน IEEE 802.3 แต่ในบางครั้งอาจกล่าวได้ว่า IEEE 802.3 และอีเทอร์เน็ตมิใช่สิ่งเดียวกัน ซึ่งในเชิงเทคนิคแล้วคำตอบนี้ถือว่าไม่ผิดแต่อย่างใด โดยในช่วงหลายปีที่ผ่านมาอีเทอร์เน็ตเป็นมาตรฐานดั้งเดิมของบริษัทซีร็อก แต่ในช่วงราวปี ค.ศ. 1985 ทาง IEEE ก็ได้เริ่มพัฒนาโครงการ 802 ขึ้นมา และได้มีการประกาศนำมาตรฐาน 802.3 ออกมาใช้ซึ่งมาตรฐาน IEEE 802.3 นั้นมีข้องแตกต่างเพียงเล็กน้อยในด้านรายละเอียดเมื่อเทียบกับมาตรฐาน อีเทอร์เน็ตเดิมจากบริษัทซีร็อกซ์ ดังนั้นปัจจุบันจึงมักมีการใช้คำว่าอีเทอร์เน็ตและ IEEE 802.3 ร่วมกัน ซึ่งหมายถึงเป็นคำที่สามารถใช้แทนความหมายเดียวกันได้ กล่าวคืออีเทอร์เน็ตจะอ้างถึงมาตรฐานของ IEEE 802.3 นั้นเอง
10 Base 2
อัตราความเร็วในการส่งข้อมูลอยู่ที่ 10 Mbps
ใช้สัญญาณส่งข้อมูลแบบเบสแบนด์
สามารถขยายได้สูงสุด 5 เซกเมนต์ ดังนั้นใช้สายสัญญาณยาวสูงสุดประมาณ 1000 เมตร
ใช้สายโคแอกเซียลแบบางหรือ PG-58 A/U ซึ่งแสดงไว้ดังรูปที่ 8.26
ภายในหนึ่งหนึ่งเซกเมนต์สามารถเชื่อมต่อโหนดได้ไม่เกิน 30 เครื่อง
ระยะทางสูงสุด 185 เมตรต่อหนึ่งเซกเมนต์
อุปกรณ์ Tap ที่ใช้ในการเชื่อมต่อระหว่างโหนดกับสายเรียกว่า T–Connector
สายเคเบิลที่ใช้เชื่อมต่อเข้ากับโหนดต่างๆ จะต้องเชื่อมต่อเข้ากับคอนเน็กเตอร์แบบ BNC
การ์ดเครือข่ายจะมีซ็อกเก็ตเพื่อเชื่อมต่อเข้ากับ T–Connector ทั้งนี้ห้ามต่อหัว BNC เข้ากับซ็อกเก็ตที่การ์ดเครือข่ายโดยตรง ซึ่งแสดงไว้ดังรูปที่ 8.30 – 8.31
ปลายสายทั้งสองด้านจะต้องมีเทอร์มิเนเตอร์ปิด โดยใช้เทอร์มิเนเตอร์แบบ 50 โอห์ม ซึ่งแสดงไว้ดังรูปที่ 8.34
แต่ละโหนดจะมีระยะห่างกันเท่าไรก็ได้ แต่สายเคเบิลที่เชื่อมต่อระหว่างโหนดจะต่องมีความยาวไม่น้อยกว่าครึ่งเมตร ซึ่งแตกต่างจาก 10 Base 2 นั้นมีความยืดหยุ่นกว่า
มาตรฐาน IEEE 802.4 หรือ โทเคนบัส
มีโครงสร้างการเชื่อมต่อเครือข่ายแบบบัส
หลักการทำงาน แต่ละโหนดในเครือข่าย
(เฉพาะโหนดที่เปิดใช้งาน)จะประกอบเป็น วงแหวนทางตรรกะ (Logical Ring)
มาตรฐาน IEEE 802.5 หรือ โทเคนริง
แต่ละโหนดจะมีหลายเลขประจำตัว ใช้วิธีการควบคุมการรับ-ส่ง ข้อมูลในเครือข่าย ใช้วิธี
Token Passing
มีโครงสร้างการเชื่อมต่อเครือข่ายแบบดาว
: