Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่4 ซอฟต์แวร์และภาษาคอมพิวเตอร์ :lock: 625420427 (3.โปรแกรมอรรถประโยชน์…
บทที่4 ซอฟต์แวร์และภาษาคอมพิวเตอร์ :lock: 625420427
1.องค์ประกอบด้านซอฟต์แวร์
กลุ่มของชุดคำสั่งที่เขียนขึ้นเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้ตามต้องการ การที่คอมพิวเตอร์ทำงานได้อย่างอัตโนมัติโดยที่มนุษย์ไม่ต้องเข้าไปเกี่ยวข้องในการประมวลผลนั้น ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการทำงานของซอฟต์แวร์นั่นเอง โดยปกติแล้วผู้เขียนชุดคำสั่งนี้ขึ้นมาเรามักเรียกว่า นักเขียนโปรแกรม ( programmer )
ซอฟต์แวร์ระบบ ( System Software ) เ
ป็นซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการทำงานที่ใกล้ชิดกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์มากที่สุด โดยจะทำหน้าที่ติดต่อ ควบคุม และสั่งการให้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกันให้ได้มากที่สุด รวมถึงการบำรุงรักษาระบบตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ให้มีการใช้งานได้ยาวนานขึ้นอีกด้วย ซอฟต์แวร์ระบบแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทด้วยกัน คือ ระบบปฏิบัติการ ( operating systems ) โปรแกรมอรรถประโยชน์ ( utility programs )
ซอฟต์แวร์ประยุกต์ ( Application Software )
เป็นซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้เฉพาะด้านเท่านั้น ไม่เกี่ยวข้องกับการควบคุมระบบของคอมพิวเตอร์ แต่จะทำงานได้โดยเรียกใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ผ่านซอฟต์แวร์ระบบอีกทอดหนึ่งดังที่กล่าวแล้วในบทที่ผ่านมา ซอฟต์แวร์กลุ่มนี้สามารถแบ่งออกได้หลายชนิดขึ้นอยู่กับลักษณะเกณฑ์ที่ใช้แบ่ง ซึ่งพอจะสรุปได้ดังนี้
แบ่งตามลักษณะการผลิต ได้ 2 ประเภท
คือ- ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นใช้เองโดยเฉพาะ ( Proprietary Software )- ซอฟต์แวร์ที่หาซื้อได้โดยทั่วไป ( Off – the– Shelf Software หรือ Packaged Software )
แบ่งตามกลุ่มการใช้งาน ได้ 3 กลุ่มใหญ่
คือ- กลุ่มการใช้งานทางด้านธุรกิจ ( business )- กลุ่มการใช้งานทางด้านกราฟิกและมัลติมีเดีย ( graphic and multimedia )- กลุ่มสำหรับการใช้งานบนเว็บและการติดต่อสื่อสาร ( web and communications )
2.ระบบปฏิบัติการ(OS:Operating System)
เป็นซอฟต์แวร์ที่เอาไว้ใช้สำหรับควบคุมและประสานงานระหว่างอุปกรณ์ภายในคอมพิวเตอร์ทั้งหมด ตั้งแต่ซีพียู หน่วยความจำ ไปจนถึงส่วนนำเข้าและส่งออกผลลัพธ์ ( input/output device ) บางครั้งก็นิยมเรียกรวม ๆ ว่า แพลตฟอร์ม (platform ) คอมพิวเตอร์จะทำงานได้จำเป็นต้องมีระบบปฏิบัติการติดตั้งอยู่ในเครื่องเสียก่อน ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับบริษัทผู้ผลิตเครื่องนั้น ๆ ว่าจะเลือกใช้แพลตฟอร์ม หรือระบบปฏิบัติการอะไรในการทำงาน เราจะพบเห็นระบบปฏิบัติการอยู่ในคอมพิวเตอร์แทบจะทุกประเภทตั้งแต่เครื่องขนาดใหญ่อย่างเครื่องเมนเฟรมจนถึงระดับเล็กสุด เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์พกพาประเภทพีดีเอ
คุณสมบัติการทำงาน
-การทำงานแบบ
Multi – Tasking
คือ ความสามารถในการทำงานได้หลาย ๆ งาน หรือหลาย ๆ โปรแกรมในเวลาเดียวกัน เช่น พิมพ์รายงานควบคู่ไปกับการท่องเว็บ ซึ่งในสมัยก่อนการทำงานของระบบปฏิบัติการจะอยู่ในรูปแบบที่เรียกว่า single-tasking ซึ่งจะทำงานทีละโปรแกรมคำสั่ง ผู้ใช้ไม่สามารถที่จะสลับงานไประหว่างโปรแกรมหรือทำงานควบคู่กันได้ แต่สำหรับในปัจจุบันจะพบเห็นลักษณะการทำงานแบบนี้มากขึ้น เช่น ในระบบปฏิบัติการ Windows รุ่มใหม่ ๆ ซึ่งทำให้การใช้งานได้สะดวกและทำงานได้หลาย ๆ โปรแกรม
คุณสมบัติการทำงาน
-การทำงานแบบ
Multi – User
ในระบบการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าไว้ด้วยกันแบบเครือข่าย ระบบปฏิบัติการที่ทำหน้าที่ควบคุมจะมีคุณสมบัติอย่างหนึ่งที่เรียกว่า multi-user หรือความสามารถในการทำงานกับผู้ใช้ได้หลาย ๆ คน ขณะที่มีการประมวลผลของงานพร้อม ๆ กัน ทำให้กระจายการใช้ได้ทั่วถึงมากยิ่งขึ้น
ประเภทของระบบปฏิบัติการ
1.ระบบปฏิบัติการแบบเดี่ยว ( stand – alone OS )
มุ่งเน้นและให้บริการสำหรับผู้ใช้เพียงคนเดียว นิยมใช้สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ประมวลผลและทำงานแบบทั่วไป
2.ระบบปฏิบัติการแบบเครือข่าย ( network OS )
มุ่งเน้นและให้บริการสำหรับผู้ใช้หลายๆ คน (multi-user) นิยมใช้สำหรับงานให้บริการและประมวลผลข้อมูลสำหรับเครือข่ายโดยเฉพาะ
3.ระบบปฏิบัติการแบบฝัง ( embedded OS )
พบเห็นได้ในอุปกรณ์คอมพิวเตอร์พกพาขนาดเล็ก
3.โปรแกรมอรรถประโยชน์ (UtilityvProgram)
คุณสมบัติการใช้งานนั้นค่อนข้างหลากหลาย ส่วนมากใช้เพื่อบำรุงรักษาและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของคอมพิวเตอร์ ช่วยสนับสนุน เพิ่ม หรือขยายขีดความสามารถของโปรแกรมที่ใช้งานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ยูทิลิตี้แบ่งออกเป็นสองชนิดคือ โปรแกรมอรรถประโยชน์สำหรับระบบปฏิบัติการ (OS utility program) และโปรแกรมอรรถประโยชน์อื่น ๆ (stand-alone utility program)
Screen Saver
ช่วยรักษาหน้าจอไม่ให้แสดงภาพเดิมค้างติดต่อกันนานเกินไป หรือแสดงภาพสวยๆเพิ่มความน่าสนใจ
Power Management
ตรวจสอบข้อมูลการใช้พลังงาน ปิดหรือลดการทำงานของแอปที่ไม่ได้ใช้งานในขณะนั้น
Disk/Storage Management
ตรวจสอบและจัดเรียง/จัดระบบข้อมูลในดิสก์หรืออุปกรณ์เก็บข้อมูลอื่นๆค้นหาพื้นที่หรือไฟล์ซึ่งไม่ถูกใช้งานหรือเป็นขยะแต่กินพื้นที่ไปเปล่าๆช่วยให้ได้พื้นที่ว่างคืนมา
Firewall
รักษาความปลอดภัยของเครื่อง ป้องกันการโจมตีจากเครือข่ายภายนอกองค์กร
Install/Uninstall
ช่วยในการติดตั้งและถอดถอนโปรแกรมและเก็บกวาดข้อมูลที่หลงเหลือจากการติดตั้งซึ้งไม่ได้ใช้งาน
Antivirus/Malware scanner
สแกนหาไวรัสหรือโปรแกรมมุ่งร้าย (malware) อื่นๆ
File Viewer/Manager/preview
โปรแกรมช่วยจัดการไฟล์เช่นการค้นหาไฟล์หรือโฟลเดอร์ที่มีขนาดใหญ่ช่วยค้นหาข้อมูล เปลี่ยนชื่อ ลบ หรือย้ายไฟล์ เรียกดูตัวอย่างข้อมูลในไฟล์
File security/Compression
ซ่อนหรือเข้ารหัสเพื่อรักษาความปลอดภัยข้อมูลของบางไฟล์ที่สำคัญรวมทั้งช่วยบีบอัดข้อมูลเพื่อประหยัดที่เก็บ
4.ซอฟต์แวร์wareประยุกต์(Application Soft)
ป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้กับงานด้านต่าง ๆ ตามความต้องการของผู้ใช้ ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้โดยตรง ปัจจุบันมีผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ใช้งานทางด้านต่าง ๆ ออกจำหน่ายมาก การประยุกต์งานคอมพิวเตอร์จึงกว้างขวางและแพร่หลาย เราอาจแบ่งซอฟต์แวร์ประยุกต์ออกเป็นสองกลุ่มคือ ซอฟต์แวร์สำเร็จ และซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นใช้งานเฉพาะ ซอฟต์แวร์สำเร็จในปัจจุบันมีมากมาย เช่น ซอฟต์แวร์ประมวลคำ ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน ฯลฯ
แบ่งตามลักษณะการผลิต
ในที่นี้แบ่งเป็น2ประเภทคือ ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นเองโดยเฉพาะ(Custom-made Software) และซอฟต์แวร์สำเร็จรูป (Packaed Software) ดังนี้
ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นเอง(Custom-made Software)
In-house developed
สร้างและพัฒนาโดยหน่วยงานของบริษัทเองโดยทีมงานที่มีทักษะและความเชี่ยวชาญด้านการออกแบบและเขียนโปรแกรมโดยเฉพาะวิธีนี้นอกจากจะได้ซอฟต์แวร์ที่ตรงกับความต้องการแล้ว ข้อดีอีกประการหนึ่งคือ แก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ง่าย อีกทั้งสามารถควบคุมการผลิตได้ตลอดระยะเวลาการพัฒนานั้น
Contract หรือ outsource
เป็นการจ้างบุคคลภายนอกให้ทำขึ้นมา โดยอาจเป็นบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญในการเขียนโปรแกรมหรือที่เรียกว่า software house ซึ่งสามารถขอดูผลงานที่ผ่านมาของผู้ผลิตได้ อย่างไรก็ตาม บางครั้งอาจทำสัญญาจ้างผลิตและตกลงเรื่องาคากันตั้งแต่ต้น พร้อมทั้งระบุระยะเวลาที่กำหนดแล้วเสร็จให้ชัดเจน เพื่อป้องกันปัญหาในภายหลังได้
ซอฟต์แวร์สำเร็จรูป (Packaed Software)
ซอฟต์แวร์สำเร็จรูป (Package Software) คือ ซอฟต์แวร์ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ในสำนักงานทั่ว ๆ ไป สร้างโดยบริษัทที่มีความชำนาญในด้านนั้น ๆ โดยเฉพาะ มีการปรับปรุงรุ่น(version)ของซอฟต์แวร์ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นอยู่เสมอ สามารถแบ่ง Package Software ออกเป็นประเภทตามลักษณะหน้าที่ของการทำงาน ได้ดังนี้ซอฟต์แวร์ประมวลผลคำ(Word Processing)คือซอฟต์แวร์สำเร็จรูปที่ทำหน้าที่จัดการสร้างเอกสาร สิ่งพิมพ์ รายงานอย่างอัตโนมัติ มีความสามารถในการสร้างและการแก้ไขเอกสาร การจัดรูปแบบเอกสาร การแทรก การลบ การจัดข้อความ การแทรกภาพในเอกสาร การตรวจสอบคำสะกด การสร้างตาราง การสร้างจดหมายเวียน (Mail-merge) การสร้างแบบฟอร์ม เป็นต้น เหมาะสำหรับงานเอกสารในสำนักงานทั่ว ๆ ไป ตัวอย่างซอฟต์แวร์ประเภทนี้ ได้แก่ โปรแกรมราชวิถีเวิร์ด (RW Word) ทำงานภายใต้ระบบปฏิบัติการ DOSซอฟต์แวร์นำเสนอผลงาน(Presentation)oคือ ซอฟต์แวร์ที่มีความสามารถนำเสนอข้อมูลในรูปแบบของสไลด์หรือเป็นเฟรม(frame) เพื่อการเสนอผลงานหรือข้อมูลผ่านคอมพิวเตอร์ โดยทั่วไปมีความสามารถในการสร้างเฟรมสไลด์ จัดตัวอักษรได้หลายรูปแบบ แทรกรูปภาพในสไลด์ แทรกภาพเคลื่อนไหว รวมทั้งแทรกเสียงลงในสไลด์ได้ เหมาะสำหรับการนำเสนอข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ในที่ประชุม การทำสื่อการเรียนการสอน การทำสไลด์โฆษณา การทำแผ่นใส เป็นต้น ตัวอย่างซอฟต์แวร์ประเภทนี้ ได้แก่ Microsoft PowerPoint, Freelance Graphic ทำงานภายใต้ Windows 95 OS
5.ภาษาที่ใช้เขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์
ภาษาโปรแกรม คือภาษาประดิษฐ์ชนิดหนึ่งที่ออกแบบขึ้นมาเพื่อสื่อสารชุดคำสั่งแก่เครื่องจักร โดยเฉพาะอย่างยิ่งคอมพิวเตอร์ ภาษาโปรแกรมสามารถใช้สร้างโปรแกรมที่ควบคุมพฤติกรรมของเครื่องจักร และ/หรือ แสดงออกด้วยขั้นตอนวิธี (algorithm) อย่างตรงไปตรงมา ผู้เขียนโปรแกรมซึ่งหมายถึงผู้ที่ใช้ภาษาโปรแกรมเรียกว่า โปรแกรมเมอร์ (programmer)
6.ตัวแปลคอมพิวเตอร์
(1.) แอสแซมเบลอร์ (Asseblers)
เป็นตัวแปลภาษาที่ทำหน้าที่แปลความหมายของสัญลักษณ์ เขียนขึ้นด้วยโปรแกรมภาษาแอสแซมบลี (Assembly Language) ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการแปลความหมายของสัญลักษณ์เหล่านั้นให้เป็นเลขฐานสองที่เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจได้ ภาษาแอสแซมบลีนี้ ยังจัดอยู่ในกลุ่มของภาษาระดับต่ำ (Low-level Language)
(2.)อินเตอร์พรีเตอร์ (Interpreters)
ทำหน้าที่แปลความหมายของชุดคำสั่ง เขียนขึ้นด้วยโปรแกรมภาษาระดับสูง (high-level Language) โดยวิธีการแปลความหมายในรูปแบบของอินเตอร์พรีเตอร์ คือการอ่านคำสั่งและแปลความหมายทีละบรรทัดคำสั่ง เมื่อพบข้อผิดพลาดจะแจ้งข้อผิดพลาดให้ผู้เขียนทราบและแก้ไขได้ทันที แต่เมื่อประมวลชุดคำสั่งเหล่านั้นแล้ว จะไม่สามารถเก็บไว้ใช้ได้อีก ถ้าต้องการที่จะเรียกใช้นครั้งต่อไปต้องทำการประมวลชุดคำสั่งนี้ใหม่ ทำให้การทำงานของโปรแกรมค่อนข้างช้า จึงเหมาะกับการเขียนโปรแกรมที่มีขนาดเล็ก ตัวอย่างโปรแกรมที่ใช้แปลอินเตอร์พรีเตอร์ได้แก่ ภาษาเบสิก
(3.)คอมไพเลอร์ (Compilers)
ทำหน้าที่แปลความหมายของชุดคำสั่งเขียนขึ้นด้วยโปรแกรมภาษาระดับสูง (high-level Language) เช่นเดียวกับอินเตอร์พรีเตอร์ แต่มีความแตกต่างกัน สำหรับวิธีการแปลความหมาย เนื่องจากคอมไพเลอร์ จะอ่านชุดคำสั่งทั้งหมดและแปลความหมายของชุดคำสั่งทั้งหมดในครั้งเดียว เมื่อแปลความหมายของชุดคำสั่งทั้งหมดแล้วจะได้เป็น Object Code หรือ สัญลักษณ์ของรหัสคำสั่ง ที่สามารถเก็บไว้ได้เมื่อต้องการใช้งานในครั้งต่อไปโดยไม่ต้องเสียเวลาในการแปลชุดคำสั่งนั้นอีก จึงเหมาะกับการเขียนโปรแกรมที่มีขนาดใหญ่ ตัวอย่างโปรแกรมที่ใช้ตัวแปลคอมไพเลอร์ ได้แก่ ภาษาปาสคาล ภาษาโคบอล และภาษาฟอร์แทรน