Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรคสมาธิสั้น(ADHD) (การพยาบาล (4) การสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัดเป็นรายบุ…
โรคสมาธิสั้น(ADHD)
การพยาบาล
4) การสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัดเป็นรายบุคคล เพื่อให้ไว้วางใจในตัวพยาบาลและมีทักษะในการสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่น
3) การใช้พฤติกรรมบ าบัดเพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยทั้งทางบ้านและโรงเรียนควรมีบรรยากาศที่เข้าใจเป็นกำลังให้เด็ก ให้ความสนใจ ชื่นชม เมื่อเด็กมีพฤติกรรมที่ดี หากเด็กทำผิดโดยไม่ตั้งใจสมควรใช้คำพูดปลอบใจ มีท่าทีเห็นใจ แนะน าวิธีแก้ไข ไม่ประจาน และไม่ลงโทษด้วยความรุนแรง หากมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมควรปราม ตักเตือนอย่างสม่ำเสมอ เปิดโอกาสให้แก้ไขด้วยตนเอง ซึ่งจะทำให้เกิดพฤติกรรมที่พึงประสงค์และทำให้พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมลดลงหรือหมดไป
2) การจัดสภาพแวดล้อมให้ปลอดภัยและช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ เนื่องจากเด็กที่มีสมาธิสั้นมักมีความบกพร่องในการควบคุมพฤติกรรมตนเอง การปรับสิ่งแวดล้อมจะช่วยให้เด็กสามารถควบคุมตนเองและปรับตัวได้ดีขึ้น
-
5) การให้คำแนะนำสำหรับครูเพื่อให้เกิดความเข้าใจและช่วยเหลือเด็กทั้งในด้านการเรียนและการปรับตัวที่โรงเรียน
6) การให้ความรู้เรื่องการใช้ยาเกี่ยวกับวิธีการใช้ การออกฤทธิ์ ผลข้างเคียง และการติดตามประเมินอย่างต่อเนื่อง
สาเหตุ
โครงสร้างสมอง
อาจเป็นโครงสร้างแต่กำเนิด หรืออาจเกิดจากการได้รับบาดเจ็บกระทบกระเทือนทางสมองตั้งแต่ในครรภ์ หรือในช่วงที่เป็นเด็กเล็ก
จากการสแกนสมองคนทั่วไปเทียบกับผู้ป่วยโรคสมาธิสั้น พบว่าพื้นที่บางส่วนของสมองผู้ป่วยโรคสมาธิสั้นมีขนาดเล็กกว่า และบางส่วนก็มีขนาดใหญ่กว่า รวมทั้งการขาดความสมดุลของระดับสารสื่อประสาทในสมอง ซึ่งอาจส่งผลให้เป็นโรคสมาธิสั้น
พันธุกรรม
ผลการค้นคว้าชี้ว่า ผู้ป่วยโรคสมาธิสั้นมักมีพ่อแม่หรือญาติพี่น้องที่เกี่ยวข้องกันทางสายเลือดป่วยเป็นโรคนี้เช่นกัน ดังนั้น จึงมีแนวโน้มที่โรคสมาธิสั้นจะส่งต่อกันผ่านทางพันธุกรรม
การตั้งครรภ์และการคลอด
ผู้เป็นแม่อาจสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ หรือใช้สารเสพติดในขณะตั้งครรภ์ หรืออาจอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นพิษ และเต็มไปด้วยมลภาวะ จึงรับเอาสารพิษเข้าสู่ร่างกายจนมีผลกระทบต่อทารกในครรภ์ รวมไปถึงการคลอดก่อนกำหนด และการมีน้ำหนักตัวแรกเกิดต่ำ
สภาพแวดล้อมที่เป็นพิษ
ผู้ป่วยอาจได้รับสารพิษและสารเคมีที่เป็นอันตรายเข้าสู่ร่างกายในขณะที่ยังเป็นเด็กเล็ก เช่น ได้รับสารตะกั่วเข้าไปในร่างกายเป็นปริมาณมาก
-
การเข้ารับการบำบัด
การให้ความรู้ทางสุขภาพจิต (Psychoeducation) เป็นวิธีการที่ให้เด็กกล้าที่จะเผชิญหน้าและพูดคุยถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจากการเป็นโรคสมาธิสั้น เพื่อให้เด็กทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรค และหาวิธีรับมือกับอาการที่เกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสม
พฤติกรรมบำบัด (Behavior Therapy) เป็นการวางแผนจัดการกับพฤติกรรมที่เกิดขึ้นอย่างเป็นระบบ ผู้ปกครองและครูควรช่วยกันดูแลและปรับพฤติกรรมของเด็ก เช่น การให้รางวัลหรือคำชมเมื่อเด็กมีพฤติกรรมที่เหมาะสม และการลงโทษหรือยึดของที่เด็กชอบเมื่อเด็กมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ทำให้เด็กเรียนรู้ที่จะหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ไม่ดีและเลือกที่จะกระทำพฤติกรรมในด้านดี
การเข้าโปรแกรมฝึกหัดและการให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง โดยกลุ่มผู้ปกครองของเด็กสมาธิสั้น หรือผู้ที่ดูแลเด็กจะได้เข้ากลุ่มเพื่อศึกษาทำความเข้าใจเด็กสมาธิสั้น ฝึกหัดดูแลและรับมือพฤติกรรมของเด็กสมาธิสั้น
การบำบัดโดยการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม (Cognitive Behavioral Therapy: CBT) นักบำบัดจะพูดคุยให้ผู้ป่วยทำความเข้าใจถึงโรคและอาการที่เผชิญอยู่ แล้วร่วมวางแผนหาทางแก้ไขรับมือกับอาการที่เกิดขึ้น เพื่อปรับมุมมองความคิดที่จะแสดงความรู้สึกต่อสถานการณ์ต่าง ๆ ให้เหมาะสม และลดพฤติกรรมที่สร้างปัญหาลง อาจทำการบำบัดทั้งแบบรายบุคคลและแบบกลุ่ม
การฝึกทักษะสังคม พ่อแม่ของเด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้นสามารถฝึกให้เด็กเรียนรู้การปฏิบัติตัวอย่างเหมาะสมตามสถานการณ์ต่าง ๆ
การรักษาด้วยยา
การใช้ยารักษาเด็กสมาธิสั้นต้องเป็นไปตามใบสั่งจากแพทย์เท่านั้น โดยเด็กควรรับประทานยาอย่างถูกต้องตามวิธีและตามปริมาณที่แพทย์กำหนด และต้องไปพบแพทย์เพื่อติดตามผลการรักษาอยู่เสมอ
ส่วนยาบางกลุ่มที่ออกฤทธิ์ต่อระดับสารโดปามีนและสารนอร์อะดรีนาลีนในสมอง ที่อาจส่งผลต่อการรักษาโรคสมาธิสั้น ได้แก่ โคลนิดีน (Clonidine) และยาต้านเศร้า (Antidepressant) แต่เป็นยาที่มีประสิทธิภาพน้อยกว่า และมีข้อมูลการค้นคว้าเกี่ยวกับยาในทางการรักษาโรคสมาธิสั้นน้อยมาก จึงไม่ควรเป็นยาหลักที่ถูกนำมารักษาอาการสมาธิสั้น
กลุ่มยาที่ใช้รักษาโรคสมาธิสั้นในประเทศไทย ได้แก่ กลุ่มยากระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง ซึ่งจะออกฤทธิ์ต่อสารสื่อประสาทภายในสมองส่วนที่ควบคุมสมาธิ ความคิดและพฤติกรรม อย่างโดปามีน และนอพิเนฟรีน เช่น ยาเมทิลเฟนิเดต (Methylphenidate) ที่ใช้กับเด็กอายุตั้งแต่ 6 ปีไปจนถึงวัยรุ่น และอะโทม็อกซีทีน (Atomoxetine) ใช้กับเด็กอายุตั้งแต่ 6 ปีไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ ออกฤทธิ์ต่างจากยาตัวอื่น คือ ไม่ได้กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง แต่จะยับยั้งการดูดกลับสารนอร์อะดรีนาลีน ทำให้เพิ่มจำนวนสารนอร์อะดรีนาลีนที่ช่วยควบคุมอาการหุนหันพลันแล่นและเพิ่มการจดจ่อสมาธิของเด็ก
ภาวะผิดปกติทางจิตเวชที่ส่งผลให้มีสมาธิสั้นกว่าปกติ ขาดการควบคุมการเคลื่อนไหว ทำให้มีลักษณะอาการซุกซน วอกแวกง่าย ไม่เคยอยู่นิ่ง เวลาที่พูดด้วยจะไม่ตั้งใจฟังและเก็บรายละเอียดไม่ค่อยได้ ขาดความรับผิดชอบ พบได้ค่อนข้างบ่อยในเด็กที่มีช่วงอายุระหว่าง 3 - 7 ปี
-
-