Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 4 ซอฟตแวร์ และภาษาคอมพิวเตอร์ 625420429 (โปรแกรมอรรถประโยชน์ …
บทที่ 4 ซอฟตแวร์
และภาษาคอมพิวเตอร์
625420429
องค์ประกอบด้านซอฟต์แวร์
ซอฟต์แวร์ คือ กลุ่มของชุดคำสั่ง (Instruction)
หรือโปรแกรมที่สั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน
เพื่อประมวลผลตามที่ผู้ใช้ต้องการ
ระบบปฏิบัติการ
(OS:Operating System)
ระบบปฏิบัติการ (Operating System) เรียกกันสั้นๆ ว่าโอเอส (OS) คือ โปรแกรมที่สำคัญมาก ประกอบด้วยชุดโปรแกรมที่ทำหน้าที่ในการควบคุมการดำเนินงานต่างๆ
ชนิดของระบบปฏิบัติการ สามารถจำแนก
ออกไปเป็น 3 ชนิด คือ
ระบบปฏิบัติการแบบใช้คนเดียว (Stand-Alone Operating System) คือ ระบบปฏิบัติการที่ใช้งานบนเครื่องคอมพิวเตอร์แบบเดี่ยวๆ ได้แก่ ระบบปฏิบัติการดอส (DOS) ระบบปฏิบัติการวินโดว์ (MS-Windows)
ระบบปฏิบัติการเครือข่าย (Network Operating System) ระบบปฏิบัติการเครือข่ายในที่นี้ หมายถึง ระบบปฏิบัติการแบบไคลเอนต์เซิร์ฟเวอร์ (Client/Server)
ระบบปฏิบัติการแบบฝังในเครื่อง (Embedded Operating System) เป็นระบบปฏิบัติการที่มักนำไปใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์แบบมือถือ
โปรแกรมอรรถประโยชน์
(Utility Program)
โปรแกรมอรรถประโยชน์หรือมักเรียกว่า โปรแกรมยูทิลิตี้ เป็นโปรแกรมระบบที่ใช้งานเฉพาะอย่าง ซึ่งในปัจจุบันระบบปฏิบัติการหลายชนิดได้มีการผนวกโปรแกรมยูทิลิตี้ต่างๆ
ซอฟต์แวร์ที่นำมาใช้สำหรับงานเฉพาะด้าน (Application-Specific) ประเภทของโปรแกรมนี้ได้แก่ ชุดโปรแกรมต่างๆ ที่ใช้กับระบบงานธุรกิจหรือระบบงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ซอฟต์แวร์ที่นำมาใช้กับงานทั่วไป (General-Purpose) เป็นโปรแกรมที่ผู้ใช้สามารถนำมาใช้กับงานทั่ว ๆไปได้ เช่น โปรแกรมประมวลผลคำ โปรแกรมตารางงาน
ซอฟต์แวร์ประยุกต์
(Application Software)
ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) หมายถึง โปรแกรมที่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์เป็นผู้เขียนมาใช้งานเอง เพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ต้องการ ซึ่งแบ่งได้ดังนี้
ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นใช้เอง (Castom made Sofrware)
เป็นซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นเพื่อนำไปใช้กับงานในองค์กรใดองกรค์หนึ่งโดยเฉพาะ ออกแบบและสร้างขึ้นโดยผู้ผลิตซอฟแวร์ที่มีความชำนาญด้านนั้นๆ
ซอฟต์แวร์สำเร็จรูป(Packaged Software)
เป็นวิธีที่ผู้ใช้งานซื้อได้จากตัวแทนจำหน่ายซอฟแวร์ที่ได้รับการแต่งตั้งจากบริษัทผู้ผลิตโดยตรง ซึ่งมักมีการเตรียมบรรจุภัณฑ์และเอกสารคู่มือการใช้งานไว้อยู่แล้ว
ภาษาที่ใช้เขียนโปรแกรม
คอมพิวเตอร์
ภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์(Computer Programming Language) คือ ชุดคำสั่งที่นักเขียนโปรแกรม หรือโปรแกรมเมอร์ (Programmer) เขียนโปรแกรมซอร์สโค้ด (Source Code) ที่ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ของภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์
ยุคที่ 1 ภาษาเครื่อง (Machine Language)
การ เขียนโปรแกรมเพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานในยุคแรก ๆ จะต้องเขียนด้วยภาษาซึ่งเป็นที่ยอมรับของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า “ภาษาเครื่อง”
ยคที่ 2 ภาษาระดับต่ำ (Low Level Language)
เนื่อง จากภาษาเครื่องเป็นภาษาที่มีความยุ่งยากในการเขียนดังได้กล่าวมาแล้ว จึงไม่มีผู้นิยมและมีการใช้น้อย
ยุคที่ 3 ภาษาระดับสูง (High Level Language)
ภาษา ระดับสูงเป็นภาษาที่สร้างขึ้นเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการเขียนโปรแกรม กล่าวคือลักษณะของคำสั่งจะประกอบด้วยคำต่าง ๆ
ยุคที่ 4 ภาษาระดับสูงมาก
เป็น ภาษาโปรแกรมยุคที่ 4 ซึ่งเป็นภาษาระดับสูงมาก จัดเป็นภาษาไร้กระบวนคำสั่ง หมายความว่าผู้ใช้ เพียงบอกแต่ว่าให้คอมพิวเตอร์ทำอะไร
ยคที่ 5 ภาษาธรรมชาติเป็น ภาษาโปรแกรมยุคที่ 5 ซึ่งคล้ายกับภาษาพูดตามธรรมชาติของคน การเขียนโปรแกรมง่ายที่สุด คือการเขียนคำพูดของเราเองว่าเราต้องการอะไร ไม่ต้องใช้คำสั่งงานใดๆ เลย
ตัวแลภาษาคอมพิวเตอร์
ในการพัฒนาซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์นั้น โปรแกรมเมอร์จะเขียนโปรแกรมในภาษาคอมพิวเตอร์แบบต่าง ๆ ตามแต่ความชำนาญของแต่ละคน โปรแกรมที่ได้จะเรียกว่า โปรแกรมต้นฉบับ หรือ ซอร์สโคด (source code)
แอสเซมเบลอ (Assembler) เป็นตัวแปลภาษาแอสแซมบลีซึ่งเป็นภาษาระดับต่ำให้เป็นภาษาเครื่อง
อินเตอร์พรีเตอร์ (Interpreter) เป็นตัวแปลภาษาระดับสูงซึ่งเป็นภาษาที่ใกล้เคียงกับภาษามนุษย์ ไปเป็นภาษาเครื่อง โดยใช้หลักการแปลพร้อมกับงานตามคำสั่งทีละบรรทัด
คอมไพเลอร์ (Compiler) จะเป็นตัวแปลภาษาระดับสูงเช่นเดียวกับอินเตอร์พรีเตอร์แต่จะใช้วิธีแปลโปรแกรมทั้งโปรแกรมให้เป็นออบเจคโคด ก่อนที่จะสามารถนำไปทำงานเช่นเดียวกับแอสแซมเบลอ