Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กาฬสินธุ์ (คำขวัญประจำจังหวัด (หลวงพ่อองค์ดำลือเลื่อง เมืองฟ้าแดดสงยาง,…
กาฬสินธุ์
ข้อมูลเชิงกายภาพ
ภูมิศาสตร์
อาณาเขตติดต่อ
-
ทิศใต้ จังหวัดร้อยเอ็ด , จังหวัดมหาสารคาม
ทิศตะวันตก จังหวัดมหาสารคาม , จังหวัดขอนแก่น
ทิศเหนือ จังหวัดอุดรธานี , จังหวัดสกลนคร
-
-
ชนเผ่า
-
-
-
-
ภูไท
ถิ่นฐานดั้งเดิมของชาวภูไทเดิมอยู่ในแคว้นสิบสองจุไทย และแค้นสิบสองปันนา (ดินแดนส่วนเหนือของลาวและเวียดนาม ซึ่งติดต่อกับส่วนใต้ของประเทศจีน) ราชอาณาจักไทยได้สูญเสียดินแดนแค้วนสิบสองจุไทยให้ฝรั่งเศส เมื่อ ร.ศ. 107 (พ.ศ. 2431) ภูไท มีถิ่นฐานอยู่ในเขตจังหวัดนครพนม กาฬสินธุ์ มุกดาหาร สกลนคร และบางส่วนกระจายอยู่ในเขตจังหวัดหนองคาย อำนาจเจริญ อุบลราชธานี อุดรธานี ร้อยเอ็ด และยโสธร เป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่รักษาวัฒนธรรมของ ตนไว้ได้อย่างดี
การแต่งกาย
ผู้ชาย
นิยมนุ่งกางเกงขาก๊วย สีดำหรือนุ่งโสร่งตาหมากรุก เสื้อใช้ผ้าสีครามหรือดำชนิดเดียวกับกางเกง สวมเสื้อคอกลมแคบชิดคอหรือคอจีน ตัวเสื้อผ่าอกตลอด ชายเสื้อผ่าข้าง จะเป็นแขนยาวหรือแขนสั้นก็ได้ มีผ้าคาดเอว และโพกศีรษะ ผู้ชายโบราณมักนิยมสักแขนขา ลายด้วย หมึกสีดำ แดง ถือเป็นเครื่องรางและแสดงออกถึงความเป็นชายชาตรี
ผู้หญิง
นิยมนุ่งผ้าซิ่นที่ทำจากผ้า ซึ่งลักษณะเด่นของซิ่นภูไท คือ การทอและลวดลายเช่น ทอเป็นลายนาคเล็กๆ นอกจากนี้มีลายอื่น ๆ เช่น หมี่ปลา หมี่กระจัง หมี่ข้อ หมี่ขอ ทำเป็นหมี่คั่นหรือหมี่ลวด ต่อด้วยหัวซิ่นและตีนซิ่นทั้งขิดและจก นอกจากนี้ยังพบผ้ามัดหมี่ฝ้ายสีขาวสลับดำย้อมใบครามหรือมะเกลือสีดำ เย็บต่อด้วยหัวซิ่นตีนซิ่น
-
-
ไทดำ
มีถิ่นฐานดั้งเดิมอยู่ในเขตสิบสองจุไทเดิม หรือบริเวณลุ่มแม่น้ำดำและแม่น้ำแดงในเวียดนามตอนเหนือ ซึ่งเป็นถิ่นที่อยู่ดั้งเดิมของชาวไทดำและ ชาวไทขาว ปัจจุบันสิบสองจุไทคือจังหวัดเดียนเบียนฟูของเวียดนาม มีเขตติดต่อกับประเทศลาวคือแขวงพงสาลี
การแต่งกาย
ทั้งชายและหญิงมักนิยมใช้ผ้าฝ้ายทอมือย้อมคราม สำหรับเสื้อผ้าที่ใส่ในพิธีกรรมจะจัด ทำขึ้นเป็นพิเศษ มีสีดำตกแต่งด้วยผ้าไหมชิ้นเล็กๆ ส่วนใหญ่ มีเครื่องประดับเป็นเงิน ผู้หญิงมี "ผ้าเปียว" คล้องคอ ส่วนเด็กๆ จะมีหมวกคล้ายถุงผ้าปักไหม หรือด้ายสวยงามเรียกว่า "มู"
ผู้หญิงที่แต่งงานแล้วจะมวยผมปั้นเกล้ายกสูงขึ้นไว้บนกลางศีรษะ เสื้อใส่แขนทรงกระบอกสีดำ คอเสื้อมนกลม และนุ่งซิ่นสีดำยาว หรือไม่ก็ลายซิ่นแบบลายแตงโม จะมีผ้าเปียวโพกคลุมไว้ที่ศีรษะกรณีที่ออกไปทำไร่ทำนาหรือออกไปข้างนอก
ญ้อ
ประชากรกลุ่มใหญ่กลุ่มหนึ่งในจังหวัดสกลนคร และนครพนม มีภาษาพูดเหมือนภาษาไทยลาว ต่างสำเนียงเล็กน้อย คือ น้ำเสียงสูงอ่อน หวาน ไม่ห้วนสั้นเหมือนไทยลาว ผิวขาว บ้านเรือนสะอาดตาเช่นเดียวกับชาวผู้ไทย ชาวย้อถือว่ากลุ่มตนเป็นกลุ่มที่มีวัฒนธรรมแข็งกว่าไทยลาว ถิ่นฐานเดิมของไทยญ้อ อยู่ที่เมืองหงสา แขวงไชยบุรี ของประเทศลาว หรือจังหวัดล้านช้างของไทยสมัยหนึ่ง
ไทยญ้อส่วนใหญ่ได้อพยพ มาตั้งถิ่นฐานใหม่ที่ไชยบุรี ปากน้ำสงครามริมฝั่งแม่น้ำโขง (ตำบลไชยบุรี อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนมในปัจจุบัน) ในสมัยรัชกาลที่ 1 เมื่อ พ.ศ. 2351 ต่อมาเมื่อเกิดกบฎเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์ในสมัย รัชกาลที่ 3 (พ.ศ. 2369) พวกไทยญ้อที่เมืองไชยบุรีได้ถูกกองทัพเจ้าอนุวงศ์กวาดต้อนไป
ประวัติ
จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลางหรือตอนบนของประเทศไทย อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 510 กิโลเมตร เป็นจังหวัดที่มีความอุดมสมบูรณ์มากที่สุดจังหวัดหนึ่งในภาคอีสาน จากหลักฐานทางโบราณคดีบ่งบอกว่าเคยเป็นที่อยู่อาศัยของเผ่าละว้า ซึ่งมีความเจริญทางด้านอารยธรรมประมาณ 1,600 ปี
จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์เริ่มตั้งเป็นเมืองในสมัยรัตนโกสินทร์ เมื่อปี พ.ศ. 2336 โดยท้าวโสมพะมิตร ได้อพยพหลบภัยมาจากดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง (เมืองศรีสัตตนาคนหุตล้านช้างร่มขาวเวียงจันทน์ หรือนครหลวงเวียงจันทน์ในปัจจุบัน)พร้อมไพร่พล และมาตั้งบ้านเรือนอยู่ริมแม่น้ำปาว เรียกว่า “บ้านแก่งสำโรง” แล้วได้นำเครื่องบรรณาการเข้าถวายสวามิภักดิ์ต่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า จุฬาโลกมหาราช ต่อมาได้รับพระกรุณาโปรดเกล้า ยกฐานะบ้านแก่งสำโรงขึ้นเป็นเมือง และพระราชทานนามว่า “เมืองกาฬสินธุ์” หรือ “เมืองน้ำดำ” ซึ่งเป็นเมืองที่สำคัญทางประวัติศาสตร์มาตั้งแต่สมัยโบราณกาล “กาฬ” แปลว่า “ดำ” “สินธุ์” แปลว่า “น้ำ” กาฬสินธุ์จึงแปลว่า “น้ำดำ” (น้ำดำในที่นี้หมายถึง น้ำที่ใสสะอาดจนมองเห็นดินสีดำ ซึ่งดินดำเป็นดินที่อุดมสมบูรณ์ที่สุด) ทั้งมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งให้ท้าวโสมพะมิตรเป็น “พระยาชัยสุนทร” ครองเมืองกาฬสินธุ์เป็นคนแรก
-
-
-
สัญลักษณ์จังหวัด
ตราประจำจังหวัด
-
ต้นมะหาด
ดอกพะยอม
โปงลาง
ผ้าไหมแพรวา
ประวัติ
แพรวา หรือ ผ้าไหมแพรวาเป็นผ้าทอมืออันเป็นเอกลักษณ์ของชาวผู้ไทยหรือภูไท การทอผ้าแพรวามีมาพร้อมกับวัฒนธรรมของชาวภูไท ซึ่งเป็นชนกลุ่มหนึ่ง มีถิ่นกำเนิดในบริเวณแคว้นสิบสองจุไทย (ดินแดนส่วนเหนือของลาว และ เวียดนาม ซึ่งติดต่อกับดินแดนภาคใต้ของจีน) อพยพเคลื่อนย้ายผ่านเวียดนาม ลาว แล้วข้ามฝั่งแม่น้ำโขงเข้ามาตั้งหลักแหล่งอยู่แถบเทือกเขาภูพานทางภาคอีสานของไทย ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดกาฬสินธุ์ นครพนม มุกดาหาร สกลนคร โดยยังคงรักษาวัฒนธรรมประเพณี ความเชื่อ การแต่งกาย และการทอผ้าไหมที่มีภูมิปัญญาในการทอด้วยการเก็บลายจากการเก็บขิด และการจก ที่มีลวดลายโดดเด่น ที่มีภูมิปัญญาที่ได้รับการถ่ายทอดมาจาก บรรพบุรุษและพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ผ้าแพรวาจึงเปรียบเสมือนเป็นสัญลักษณ์ของกลุ่มชนที่สืบเชื้อสายมาจาก กลุ่มภูไท
ลวดลาย
ลวดลายของแพรวามีลักษณะคล้ายคลึงกับลายขิดอีสาน แตกต่างกันอยู่บ้างที่ ความหลากหลายของสีสันในแต่ละลวดลาย แต่มีลักษณะรวมกันคือ ลายหลักมักเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานของลายผ้า ส่วนสีสันบนผ้าแพรวาแต่เดิมนิยมพื้นสีแดงคล้ำย้อมด้วยครั่ง มีลายจกสีเหลือง สีน้ำเงิน สีขาว และสีเขียวเข้มกระจายทั้งผืนผ้าสอดสลับในแต่ละลายแต่ละแถว
ลายหลัก
มีขนาดใหญ่ ปรากฏอยู่ในพื้นที่ส่วนใหญ่ของลายผ้าในแนวนอน ลายหลักแต่ละลายมีความกว้างของลายสม่ำเสมอกัน คือกว้างประมาณแถวละ 8-12 เซนติเมตร ใน แพรวาผืนหนึ่งๆจะมีลายหลักประมาณ 13 แถว ลายหลักต่างๆ เช่น ลายนาค สี่แขน ลายพันธุ์มหา ลายดอกสา
-
-
ลายคั่น
ลายที่มีขนาดเล็กอยู่ในแนวขวางผืนผ้า ความกว้างของลายประมาณ 4-6 เซนติเมตร ทำหน้าที่เป็นตัวแบ่งลายใหญ่ออกเป็นช่วงสลับกันไป เช่น ลายตาไก่ ลายงูลอย ลายขาเข
ลายช่อปลายเชิง
ลายที่ปรากฏอยู่ตรงช่วงปลายของผ้าทั้งสองข้าง ทอติดกับลายคั่น ทำหน้าที่เป็นตัวเริ่มและตัวจบของลายผ้า มีความกว้างประมาณ 4-10 เซนติเมตร เช่น ลายช่อขันหมาก ลายดอกบัวน้อย ลายใบบุ่นน้อย
-
-
-