Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ซอฟต์แวร์ และภาษาคอมพิวเตอร์ บทที่ 4 (ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (แบ่งกลุ่มการใช้งา…
ซอฟต์แวร์ และภาษาคอมพิวเตอร์ บทที่ 4
องค์ประกอบด้านซอฟต์แวร์ หมายถึง ส่วนที่ทำหน้าที่เป็นคำสั่งที่ใช้ควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ หรืออาจเรียกว่า “โปรแกรม” ก็ได้ ซึ่งหมายถึงคำสั่งหรือชุดคำสั่ง สามารถใช้เพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน
ซอฟต์แวร์ระบบ หมายถึง โปรแรกมที่มีหน้าที่ควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ทุกอย่างและอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอ
ซอฟต์แวร์ประยุกต์ หมายถึง โปรแกรมที่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์เป็นผู้เขียนมาใช้งานเอง เพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ต้องการ
ระบบปฎิบัติการ
คุณสมบัติการทำงาน
การทำงานแบบ Multi-Tasking คือ ความสามารถในการทำงานได้หลาย ๆ งาน หรือหลาย ๆ โปรแกรมในเวลาเดียวกัน เช่น พิมพ์รายงานควบคู่ไปกับการท่องเว็บ
การทำงานแบบ Multi-User ในระบบการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าไว้ด้วยกันแบบเครือข่าย ระบบปฏิบัติการที่ทำหน้าที่ควบคุมจะมีคุณสมบัติอย่างหนึ่งที่เรียกว่า multi-user หรือความสามารถในการทำงานกับผู้ใช้ได้หลาย ๆ คน ขณะที่มีการประมวลผลของงานพร้อม ๆ กัน
ประเภทของระบบปฎิบัติการ
ระบบปฎิบัติการแบบเดี่ยว (Standalone OS)
ระบบปฎิบัติการแบบเครือข่าย (NOS: Network Operating System)
ระบบปฎิบัติสำหรับอุปกรณ์พกพา (Mobile OS)
ระบบปฎิบัติการฝังตัว (Embedded OS)
โปรแกรมอรรถประโยชน์ ปรแกรมอรรถประโยชน์หรือโปรแกรมยูทิลิตี้ (utility programs) เป็นซอฟท์แวร์ที่ทำหน้าที่เฉพาะอย่าง เพื่อการจัดการงานพื้นฐานและบริการต่างๆ เช่น การจัดเรียงข้อมูล (sort) การรวมแฟ้มข้อมูลที่เรียงลำดับแล้วเข้าด้วยกัน
ซอฟต์แวร์ประยุกต์
แบ่งตามลักษณะการผลิต
ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นเอง
ซอฟต์แวร์สำเร็จรูป
แบ่งกลุ่มการใช้งาน
กลุ่มซอฟต์แวร์สำนักงาน
กลุ่มซอฟต์แวร์ออกแบบกราฟิก และมัลติมีเดีย
กลุ่มซอฟต์แวร์เว็บและการสื่อสาร
กลุ่มซอฟต์แวร์สำหรับองค์กรธุรกิจ
ภาษาที่ใชเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์(Computer Programming Language) คือ ชุดคำสั่งที่นักเขียนโปรแกรม หรือโปรแกรมเมอร์ (Programmer) เขียนโปรแกรมซอร์สโค้ด (Source Code) ที่ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ของภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อให้สามารถติดต่อสื่อสาร ควบคุมการรับส่งข้อมูล และสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่นักเขียนโปรแกรมต้องการได้
ตัวแปรภาษาคอมพิวเตอร์ ในการพัฒนาซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์นั้น โปรแกรมเมอร์จะเขียนโปรแกรมในภาษาคอมพิวเตอร์แบบต่าง ๆ ตามแต่ความชำนาญของแต่ละคน โปรแกรมที่ได้จะเรียกว่า โปรแกรมต้นฉบับ หรือ ซอร์สโคด (source code) ซึ่งมนุษย์จะอ่านโปรแกรมต้นฉบับนี้ได้แต่คอมพิวเตอร์จะไม่เข้าใจคำสั่งเหล่านั้น เนื่องจากคอมพิวเตอร์เข้าใจแต่ภาษาเครื่อง (Machine Language) ซึ่งประกอบขึ้นจากรหัสฐานสองเท่านั้น จึงต้องมีการใช้โปรแกรม ตัวแปรภาษาคอมพิวเตอร์