Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Aspiration Pneumonia โรคปอดบวม (ข้อมูลผู้ป่วย (ยาที่ใช้ในการรักษา…
Aspiration Pneumonia โรคปอดบวม
ข้อมูลผู้ป่วย
วันที่เข้ารับไว้ในโรงพยาบาล คือ วันที่ 19 กรกฏาคม 2562
อาการสำคัญ
2 วันก่อนมาโรงพยาบาล มีไข้ ไอ เสมหะมากขึ้นจึงมาโรงพยาบาล
General Appearance
หญิงชาวไทยอายุ 65 ปี มีลักษณะรูปร่างอวบ รู้สึกตัวดี ลักษณะการหายใจ หายใจ room air หายใจปกติ ไม่มีเหนื่อยหอบ o2 saturation 96 % อัตราการหายใจ 20 ครั้งต่อนาที ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ด้วยตัวเองแต่สามารถขยับแขนและขาได้บางส่วน บริเวณคอเจาะ tracheostomy tube ต่อสายให้อาหารทางจมูก (on NG tube) ผู้ป่วยไม่สามารถเสื่อสารเป็นคำพูดได้แต่ผู้ป่วยสามารถสื่อสารเป็นภาษาท่าทางให้ผู้อื่นรับรู้ได้
vital signs (21/08/2562) อัตราการเต้นของหัวใจ 88 ครั้ง/นาที ความดันโลหิต 120/80 mmHg อุณหภูมิร่างกาย 37.4 องศาเซลเซียส o2 saturation 98 % อัตราการหายใจ 20 ครั้งต่อนาที
ยาที่ใช้ในการรักษา
Bronhexine 1*3p.c.
ยาละลายเสมหะ ผลข้างเคียง หงุดหงิดง่าย,ชัก,ซึมเศร้า
Misoven1*3p.c.
ยาละลายเสมหะ ผลข้างเคียง เป็นหวัด,น้ำมูกไหล,ง่วงนอน,,มีไข้
Madopar 1/2 *3p.c
ยาเสริมธาตุเหล็ก ผลข้างเคียง ถ่าายอุจจาะเป็นสีดำ
Prenolol1*1p.c.
ยาที่ใช้รักษาโรคความดันโลหิตสูง ผลข้างเคียง ท้องผูก,ปากแห้ง,ซึมเศร้า,หายใจวี๊ด
Madopar 1/2 *3p.c
รักษา Parkinson's Disease ผลข้างเคียง กระกระส่าย,ควบคุมร่างกายไม่ได้,วิตกกังวล
Misoven1*3p.c.
ยาลดระดับคอเลสเตอรอลที่ไม่ดีภายในร่างกาย ผลข้างเคียง คือ ปัสสาวะแสบขัด,ท้องผูก
Plavix1*1p.c.
ยาต้านเกล็ดเลือดไม่ให้เกล็ดเลือดแข็งตัวจับกันเป็นกลุ่ม ผลข้างเคียง อาการฟกช้ำและมีเลือดออกที่ไม่รุนแรง
Folic1*1p.c.
ยาเสริมธาตูโฟลิก ผลข้างเคียบริเวณปากและลิ้นงคือ รู้สึกชา,คันยุบยิบ,อ่อนหล้า,เจ็บปวดบริเวณปากและลิ้น
Vitamin B Complex1*2p.c
ยาเสริมวิตามินบีรวม ผลข้างเคียง ปวดท้อง,ท้องเสีย,รู้สึกวู่วาม
Trihexyphenidyl1*2p.c
รักษา Parkinson's Disease ผลข้างเคียง คือมองเห็นไม่ชัดเจน,ปวดศีรษะ
Fenisal1*3p.c.
ยาคลายกล้ามเนื้อที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง ผลข้างเคียง คือ ง่วงซึม,นอนไม่หลับ,ปัสสาวะบ่ิยกว่าปกติ
Ativan1*1p.c.
ยาลดความกังวล ผลข้างเคียง มองเห็นไม่ชัด,ปวดศีรษะ.ปากแห้งและวิตกกังวล
ketonazole cream
รักษาเชื้อราบริเวณก้น ผลข้างเคียงที่รุนแรง ลมพิษ ผื่น หายใจลำบาก กลืนลำบาก ปวด บวม แดง ร้อนบริเวณที่ใช้ยา
ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต
Multiple system atrophy(MSA)
อาการพาร์กินโซนิซึมในผู้ป่วย MSA
เกร็ง
ปัญหาในการพูด (dysarthria)
เคลื่อนไหวช้า
อาการอื่นๆ ของสมองส่วนหลัง
ปัญหาในการกลอกตา
อาการสั่น (kinetic tremor)
ปัญหาทางการหายใจ โดยเฉพาะ inspiratory stirdor
Brain strem stroke
พยาธิสภาพ
เหมือนกับสาเหตุของโรคหลอดเลือดสมองอื่นซึ่งรวมถึงสิ่งใดก็ตามที่ขัดขวางการไหลเวียนของเลือดไปยังก้านสมอง ซึ่งรวมถึงลิ่มเลือดหรือการสะสมของเลือดในสมองหลังจากที่เส้นเลือดแตก โรคหลอดเลือดสมองตีบเป็นโรคหลอดเลือดสมองที่พบได้บ่อยที่สุด มันเกิดจากก้อนเลือด การก่อตัวของก้อนสามารถเกิดขึ้นได้ในหลอดเลือดแดงซึ่งส่งเลือดไปยังสมอง การก่อตัวของก้อนในพื้นที่อื่น ๆ สามารถเกิดขึ้นได้หลังจากที่ก้อนสามารถเดินทางผ่านหลอดเลือด
อาการ
มีปัญหากับการเคี้ยวและกลืน
มีความอ่อนแอของแขนขา
ความยากลำบากในการพูด
ความยากลำบากในการหายใจ
อัมพาต
Dyslipidemia
พยาธิสภาพของโรค
การมีโคเลสเตอรอลในร่างกายจึงไม่ใช่สิ่งที่เลวร้ายเสมอไป เพียงแต่หากร่างกายมีระดับโคเลสเตอรอลที่สูงเกินไปโดยเฉพาะระดับโคเลสเตอรอลในเลือดจะทำให้เกิดการสะสมของโคเลสเตอรอลที่หลอดเลือดต่างๆ เช่น หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจหรือสมอง หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงตามแขน-ขา เป็นต้น และเมื่อมีการสะสมของโคเลสเตอรอลมากขึ้นเรื่อยๆ กลายเป็นตะกรันไขมันที่ผนังหลอดเลือด (atherosclerotic plaque)
Parkinson's Disease
พยาธิสภาพของโรค
สมองจะมีสีจางลงเนื่องจากเซลล์ประสาทใน Substantial nigra, Brain stem มีการเสื่อมหน้าที่ในการเก็บสารเมลานินและยังทำให้สารสื่อประสาทโดปามีน (Dopamine) มีปริมาณลดลงเนื่องจากมีการทำลายสีที่เซลล์ประสาทใน Substantial nigra ตำแหน่ง Besal ganglia ของสมอง จึงเกิดความไม่สมดุลของสารสื่อประสาท ส่งผลต่อการควบคุมวิถีประสาทสั่งงาน (Motor pathway) ที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหว และจะตรวจพบ Lewy bodies ซึ่งเป็นเซลล์ที่มีรูปร่างกลมย้อมติดสีแดงสามารถบอกถึงความเสื่อมสลายของเซลล์ที่พบในโรคพาร์กินสัน อาจเกิดจากการติดเชื้อไวรัส
อาการแสดง
การเคลื่อนไหวช้า
กล้ามเนื้อแข็งเกร็ง
ท้องผูก
ตะโกนร้อง หรือมีการขยับแขนขาอย่างรุนแรงในขณะหลับ
การทรงตัวไม่ดี เสียงค่อยและเบาลง
Hypertention
พยาธิสภาพของโรค
ในระยะแรกผู้ป่วยที่มีความดันเลือดสูงจะไม่มีอาการ แต่อาจพบมีความดันเลือดสูงเป็นครั้งคราว เนื่องจากพยาธิสภาพจะเกิดกับหลอดเลือดในหัวใจ ไต สมอง และตาอย่างช้า ๆ โดยหลอดเลือดขนาดใหญ่ เช่น เอออร์ตา หลอดเลือดแดงโคโรนารี เป็นต้น มีไขมันมาเกาะทำให้ผนังชั้นในตีบแคบ และเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายลดลง หลอดเลือดอาจฉีกขาดทำให้มีเลือดออก
ประวัติการแพ้ยา
ยา Penicillin
อาการแสดงของโรค
ไอแห้ง
มีเสมหะเหนียวข้น
มีไข้
มีเสียงในปอดทั้ง 2 ข้าง คือ เสียง Crepitation
หายใจลำบาก
Problem list
ผู้ป่วยไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายเองได้
ผู้ป่วยมีเสมหะอุดกั้นตามทางเดินหายใจ
ผู้ป่วยมีภาะท้องผูก
ผู้ป่วยมีแผลกดทับบริเวณก้นแลัวมีเชื้อราร่วมด้วย
ประวัติการ try wean
16/08/62 off o2 collar
keep o2 sat >= 94 %
ABG หลัง off collar 2 hr.
17/02/62 on o2 collar 3 L/min
โดยค่า o2 sat ประมาณ 96%
วางแผน try wean o2 collar
ปัจจุบัน on o2 collar 3 L/Min เคย try wean เป็น Room Air
lab ที่ผิดปกติเกี่ยวกับ stupum ผล stupum culture ที่พบคือ พบเชื้อ Gram positive Bacilli และGram Negative Bacilli
แบบแผนบทบาทและความสัมพันธ์
ผู้ป่วยมีสามีดูแลอย่างใกล้ชิด สามีของผู้ป่วยมีพยายามที่จะเรียนรู้วิธีการดูแลผู้ป่วยอย่างถูกต้อง เช่น การทำแผลบริเวณคอเจาะ tracheostomy tube การออกกำลังกาย สามีขแงผู้ป่วยมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวการดูแลผู็ป่วยถ้าผู้ป่วยได้กลับบ้าน
Aspiration Pneumonia
พยาธิสภาพของโรค
มีการติดเชื้อในทางเดินหายใจ เชื้อที่อยู่ในเสมหะหรือเมือกในทางเดินหายใจส่วนต้นจะแพร่เข้าสู่ถุงลมซึ่งภายในถุงลมจะมีกลไรการป้องกันตามปกติของร่างกาย เช่น การโบกปัดของซิเลียและการไอเพื่อขจัดเชื้อในเสมหะหรือเมือกออกไป ขณะเดียวกันแมกโครฟาจจะทำลายเชื้อโลกที่อยู่ในถุงลมและซิเลียจะโบกปัดขับออกโดยการไอเพื่อขับเชื้อออกทางเสมหะหรือกลืนลงสู่กระเพาะอาหาร แต่ถ้าร่างกายไม่มีกลไกดังกล่าวปอดจะมีการอักเสพโดยมีการสร้างน้ำและเมือกเพิ่มขึ้นบริเวณถุงลมและไหลเข้าสู่หลอดลมฝอยทำให้เนื้อที่ในการแลกเปลี่ยนออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ลดลงและยังมีการขจัดเชื้อโรคออกไปยังต่อมน้ำเหลืองและกระแสเลือดเพื่อขจัดออกจากร่างกาย ซึ่งจะมีเม็ดเลือดขาวและเม็ดเลือดแดงมารวมตัวบริเวณที่มีการอักเสบมากขึ้น ทำให้บริเวณถุงลมแคบลงและมีลักษณะแข็งน้ำและเมือกที่ติดเชื้อจะแพร่กระจายไปยังปอดส่วนอื่น
อาการ
มีไข้สูงติดต่อกัน ตัวร้อน หน้าแดง
หายใจหอบ
มีเสียงเสมหะในปอด
เจ็บหน้าอก
ไอมีเสมหะเป็นหนอง
หนาวสั่น มีไข้สูง
หายใจลำบาก
การวินิจฉัยโรค
การถ่ายภาพรังสีทรวงอกอาจพบเงาผิดปกติ
ตรวจและเพาะเชื้อจากเสมหะและเลือด เพื่อหาชนิดของเชื้อที่เป็นสาเหตุของโรค
ตรวจวัดออกซิเจนในเลือด เพื่อดูประสิทธิภาพของปอดในการลำเลียงออกซิเจนเข้าสู่กระแสเลือดว่าลดลงหรือไม่
ตรวจนับเม็ดเลือดขาวในเลือด เพื่อดูว่ามีการติดเชื้อหรือไม่ แต่ยังไม่สามารถแยกชนิดของเชื้อโรคได้อย่างชัดเจน
สิ่งที่ตรวจพบในผู้ป่วยโรคปอดอักเสบ
มักตรวจพบไข้ประมาณ 39-40 องศาเซลเซียส แต่ผู้ป่วยบางรายอาจมีไข้ต่ำ ๆ หรือไม่มีไข้เลยก็ได้
ในรายที่เป็นมากจะมีอาการหายใจหอบเร็วเกินเกณฑ์ตามอายุ รูจมูกบาน ซี่โครงบุ๋ม อาจมีอาการตัวเขียว (ริมฝีปาก ลิ้น และเล็บเขียว) และภาวะขาดน้ำ
การใช้เครื่องฟังตรวจปอดมักมีเสียงกรอบแกรบ (Crepitation) หรือเสียงวี้ด (Wheezing) เฉพาะในบริเวณใดบริเวณหนึ่ง ในบางรายอาจพบอาการเคาะทึบ (Dullness) และใช้เครื่องฟังตรวจได้ยินเสียงหายใจค่อย (Diminished breath sound) ที่ปอดข้างใดข้างหนึ่ง
ในรายที่เกิดจากการติดเชื้อไมโคพลาสมา นิวโมเนียอี (Mycoplasma pneumoniae) หรือเชื้อคลามัยเดีย นิวโมเนียอี (Chlamydia pneumoniae) อาจมีผื่นตามผิวหนังร่วมด้วย ส่วนการตรวจฟังปอดในระยะแรกอาจไม่พบเสียงผิดปกติก็ได้
การรักษา
แนวทางการรักษาปอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย
การให้ยาปฏิชีวนะ หากในรายที่เป็นไม่มากและไม่มีอาการแทรกซ้อน
การรักษาประคับประคองตามอาการ/การรักษาอาการแทรกซ้อน
การให้สารน้ำทางหลอดเลือดหรือให้อาหารเหลวทางสายลงกระเพาะอาหาร (ในรายที่รับประทานอาหารไม่ได้หรือไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย)
การให้ออกซิเจน (ในรายที่มีอาการหายใจหอบเหนื่อย ตัวเขียว ซี่โครงบุ๋ม กระวนกระวาย หรือซึม)
การให้ยาลดไข้พาราเซตามอล (Paracetamol) ร่วมกับการใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัวอยู่บ่อย ๆ และให้ดื่มน้ำมาก ๆ
ให้ยาขยายหลอดลม (ในรายที่ได้ยินเสียงวี้ดหรือเสียงอึ๊ด และมีการตอบสนองต่อยาขยายหลอดลม)
ให้ยาขับเสมหะหรือยาละลายเสมหะ (ในรายที่ให้สารน้ำเต็มที่แล้วแต่เสมหะยังคงเหนียวอยู่)
การทำกายภาพบำบัดทรวงอก (เพื่อช่วยให้เสมหะถูกขับออกจากปอดและหลอดลมได้ดีขึ้น)
อาจต้องการใส่ท่อเข้าหลอดลมและช่วยการหายใจด้วยเครื่องช่วยหายใจ (ในรายที่มีอาการหอบเหนื่อยและการให้ออกซิเจนเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอ หรือมีภาวะหายใจล้มเหลวหรือหยุดหายใจ)
รายที่เป็นโรคปอดอักเสบจากเชื้อไวรัส จะไม่มียารักษาที่จำเพาะ ซึ่งแพทย์จะให้การรักษาแบบประคับประคองไปตามอาการ และบำบัดรักษาทางระบบหายใจที่เหมาะสม
ติดตามดูอาการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด โดยนัดมาตรวจดูอาการเป็นระยะ ๆ
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลข้อที่ 1 เสี่ยงต่อภาวะร่างกายอาจได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอเนื่องจากผู้ป่วยมีเสมหะอุดกั้นจำนวนมาก
ข้อมูลสนับสนุน
O.D.
ผู้ป่วยไม่สามารถไอขับเสมหะออกมาได้เอง
มีเสมหะเหนียวข้นจำนวนมากในปาก ลำคอและหลอดลม
ฟังเสียงได้ยินเสียง crepitation ทั้งปอดสองข้าง
S.D.
ญาติผู้ป่วยบอกว่าผู้ป่วยมีเสมหะเหนียวข้นเป็นจำนวนมาก
วัตถุประสงค์ทางการพยาบาล
ป้องกันการอุดตันของทางเดินหายใจ
ส่งเสริมให้ร่างกายได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ
เกณฑ์การประเมินผลทางการพยาบาล
ผู้ป่วยไม่เกิดอาการขาดออกซิเจน เช่น ปลายมือปลายเท้าเขียว
ทางเดินหายใจโล่ง ไม่มีเสมหะ
ลักษะหายใจเป็นปกติประมาณ 16-24 ครั่งต่อนาที
ฟังเสียงปอดทั้งสองข้่างไม่ได้ยินเสียงcrepitation
chest X rays ได้ผลปกติ
ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ
Aterial blood gas ได้ผลปกติ
PO2 = 80-100 mmHg.
PCO2 = 35-45 mmHg.
PH = 7.35-7.45
HCO3=22-26 mEq/L
O2 Saturation keep >= 94
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินสัญญาชึพ โดยเฉพาะลักษณะการหายใจ อัตราการหายใจ สังเกตปลายมือปลายขาว่าเขียวหรือไม่
ฟังเสียงปอดเพื่อช่วยเคาะปอดให้เสมหะมีการเคลื่อนไหวและ suction ออกมาได้ง่าย
จัดท่าให้ผู้ป่วยนอนตะแคงศ๊รษะสูง เพื่อให้หายใจสะดวกและช่วยระบายน้ำลายและเสมหะในปากในไหลออกมาได้ง่าย
ดูแลในผู้ป่วย normal saline ตามแผนหารรักษษของแพทย์เพื่อให้เสมหะอ่อนตัว
สอนผู้ป่วยให้หายใจลึกๆและไออย่างมีประสิทธิภาพ
ดูแลให้ผู้ป่วยให้รับยาBronhexine 1*3 หลังอาหาร ตามแผนการรักษาของแพทย์
กระตุ้นให้ผู้ป่วยดื่มน้ำมากๆเพื่อช่วยให้เสมหะอ่อนตัวช่วยให้ขับออกมาได้ง่ายขึ้น
ติดตามผลการตรวจ Chest X rays อย่างต่อเนื่อง
ดูแลให้ผู้ป่วยให้รับยาMisoven1*3หลังอาหาร ตามแผนการรักษาของแพทย์
การประเมินผลการพยาบาล(เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2562)
ผู้ป่วยไม่มีอาการเหนื่อยหอบ หายใจ room air ได้ดี อัตราการหายใจ= 20 ครั้งต่อนาที ไม่มีอาการ cyanosis O2 Saturation = 98 % ผู้ป่วยพยายามปฎิบัติตามที่แนะนำเรื่องสอนผู้ป่วยให้หายใจลึกๆและไออย่างมีประสิทธิภาพ ฟังเสียงปอดทั้งสองข้่างไม่ได้ยินเสียง crepitation
ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ(19/08/62)
PO2 =84.2 mmHg(ปกติ)
PCO2 =41.1 mmHg(ปกติ)
PH=7.423(ปกติ)
HCO3=26.3 mEq/L(ปกติ)
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลข้อที่ 2 เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน(แผลกดทับ ข้อยึดติดแข็ง ท้องผูก)เนื่องจากผู้ป่วยไม่สามารถร่างกายได้จากพยาธิสภาพของโรคเดิม
ข้อมูลสนับสนุน
S.D.
ญาติผู้ป่วยบอกว่าผู้ป่วยไม่ค่อยขับถ่ายอุจจาระเป็นเวลา 2-3 วัน
O.D.
แขนขาทั้ง 2 ข้างของผู้ป่วยอ่อนแรง เคลื่อนไหวร่างกายไม่ได้
ผู้ป่วยมีแผลกดทับบริเวณก้น stage 1 มีแผลขนาด 2*2 cm. มีลักษณะผิวหนังสีแดง ไม่มี Discharge ซึม
ฺBraden score = 9
ผู้ป่วยขับถ่ายอุจจาระได้น้อยและกระปริดกระปรอย
วัตถุประสงค์ทางการพยาบาล
ป้องกันการเกิดแผลกดทับที่จะเกิดขึ้นใหม่ในบริเวณอื่นๆของร่างกาย
ลดแผลกดทับบริเวณก้น
ไม่เกิดข้อติดแข็ง
ท้องไม่ผูก
เกณฑ์การประเมินผลทางการพยาบาล
ผิวหนังผู้ป่วยชุ่มชื้นและมีความยืดหยุ่นดี
ผิวหน้าบริเวณก้นมีแผลลดน้อยลง
ผู้ป่วยไม่มีแผลกดทับเพิ่มขึ้น
ข้อต่างๆ ตามร่างกายไม่เกิดการติดยึดสามารถเคลื่อนไหวได้ตามปกติ
ขับถ่ายอุจจาระได้ไม่เกิน 2-3 วันต่อครั้ง ลักษณะอุจจาระไม่แห้งแข็ง
กิจกรรมการพยาบาล
แนะนำญาติผู้ป่วยให้ช่วยเหลือผู้ป่วยในการตะแคงตัวอย่างน้อยทุก 2 ชั่วโมง การเลื่อนตัวผู้ป่วยขึ้นหัวเตียง การพลิกตะแคงตัวผู้ป่วยควรทำด้วยความนุ่มนวล ไม่ควรให้ผิวหนังถูเสียดสีกับที่นอนเพราะจะทำให้แผลถลอกได้ง่าย
ดูแลผ้าปูที่นอนให้สะอาดแห้ง และเรียบตึงอยู่เสมอเพื่อให้ช่วยกระจายแรงกดทับบริเวณใดของร่างกาย
ประเมินสภาพผิวหนังและรอยแดงต่างๆที่เกิดขึ้นในร่างกาย โดยเฉพาะปุ่มกระดูกต่างๆ
สอนญาติให้นวดหลังและผิวหนังบริเวณที่มีปุ่มกระดูก เพื่อกระตุ้นการไหลเวียนโลหิต
ถ้าผิวหนังแห้งให้ทาโลชั่นช่วยให้ผิวหนังมีความชุ่มชื่น
แนะนำให้ญาติผู้ป่วยช่วยออกกำลังกายหรือดูแลให้ได้รับการทำกิจกรมมต่างๆให้ร่างกายมีการเคลื่อนไหวมากชึ้นเพื่อกระตุ้นให้ลำไส้มีการบีบตัวมากยิ่งขึ้น
สวนอุจจาระให้ผู้ป่วยในกรณีที่วิธีการใช้ยาสวนทวาร(enema) โดยถ้าอุจจาระไม่ออกจะต้องสวนอุจจาระทางทวารหนักออกโดยวิธีปลอดเชื้อ
สอนญาติให้ช่วยบริหารข้อต่างๆตามหลักของ ROM และทำ Passive exersive
ดูแลส่วนต่างๆของร่างกายให้อยู๋ในท่าที่ถูกต้องโดยใช้เครื่องช่วย เช่น นำหมอนรองเพื่อป้องกันข้อสะโพกบิดออกด้านนอก การใช้ foot board ป้องกันปลายเท้าตก(foot drop)
การประเมินผลการพยาบาล(เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2562)
ผู้ป่วยไม่เกิดการติดยึดตามข้อต่างๆตามร่างกายและสามารถเคลื่อนไหวได้ตามปกติ
แผลกดทับของผู้ป่วยดีขึ้น ไม่มี Discharge ซึม ไม่มีแผลกดทับเพิ่มขึ้น ผิวหนังมีความชุ่มชื้น ยืดหยุ่น
ผู้ป่วยสามารถถ่ายอุจจาระได้เอง ไม่ต้องล้วงหรือสวนอุจจาระให้ผู้ป่วย ลักษณะอุจาระเป็นปกติ ไม่แห้งแข็ง
Braden score คะแนนน้อยกว่า 9 คะแนน
ญาติผู้ป่วยช่วยออกกำลังแขนขาให้ผู้ป่วยได้ถูกต้องวันละ 2-3 ครั้ง ได้อย่างถูกต้องตามหลัก Passive excersive
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลข้อที่ 4 ผู้ป่วยและญาติมีภาวะวิตกกังวลเนื่องจากการดำเนินไปของโรคที่ผู้ป่วยเป็นอยู่
วัตถุประสงค์ทางการพยาบาล
ผู้ป่วยและญาติมีภาวะวิตกกังวลน้อยลง
เกณฑ์การประเมินผล
ผู้ป่วยสงบลง อาการวิตกกังวลลดลง
ผู้ป่วยสามารถนอนหลับพักผ่อนเต็มที่
สามีของผู้ป่วยมีสีหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส ไม่มีอาการวิตกกังวล
กิจกรรมการพยาบาล
อธิบายให้ผู้ป่วยและญาติเข้าใจถึงการดำเนินไปของโรคให้ผู้ป่วยเข้าใจสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างปกติและสามารถมีชีวิตยืนยาวได้อย่างมีคุณภาพที่ดีถ้ามีการดูแลสุขภาพถูกต้อง
เปิดโอกาสให้ญาติผู้ป่วยซักถามในสิ่งที่สงสัย
สร้างสัมพันธ์ภาพที่ดีกับผู้ป่วยและครอบครัว
ให้ความรู้และแนะนำวิธีปฏิบัติเมื่อกลับบ้าน ได้แก่ เรื่องอาหาร การใช้ยา การออกกำลังกาย การรักษาความสะอาดของช่องปาก ร่างกาย การหลีกเลี่ยงภาวะเครียดและให้ญาติสังเกตอาการที่ควรมาพบแพทย์ก่อนถึงวันนัด
แนะนำให้ญาติผู้ป่วยมาเยี่ยมให้กำลังใจผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอและหลีกเลี่ยงการพูดคุยในสิ่งที่ทำให้ผู้ป่วยวิตกกังวล
ให้ยาคลายกังวล Ativan1*1p.c. ตามแผนการรักษาของแพทย์แก่ผู้ป่วย
สังเกตพฤติกรรมทสีีหน้า ท่าทางหรือซักถามข้อมูลผู้ป่วยจากญาติ
ข้อมูลสนับสนุน
S.D.
สามีของผู้ป่วยวิตกกังวลเกี่ยวกับโรคที่ผู้ป่วยเป็น
O.D.
กล้ามเนื้อตึงเกร็ง
ผู้ป่วยมีปัญหาเรื่องการนอนหลับ
ผู้ป่วยมีสีหน้าวิตกกังวล ท่าทางกระสับกระส่ายขณะอยู่คนเดียว
ผู้ป่วยมีอาการสั่นเกร็งจากพยาธิสภาพของโรคพาร์กินสัน
การประเมินผลการพยาบาล(เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2562)
ผู้ป่วยมีสีหน้าสดชื่นแจ่มใส ไม่มีอาการวิตกกังวล สามารถนอนหลับพักผ่อนได้อย่างเพียงพอ
สามีของผู้ป่วยยิ้มแย้ม ไม่มีอาการวิตกกังวล
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลข้อที่ 3 มีภาวะติดเชื้อราบริเวณก้นเพิ่มขึ้นเนื่องจากได้รับยาปฏิชีวนะเป็นเวลานาน
ข้อสนับสนุน
S.D.
-
O.D.
ผู้ป่วยเชื้อราบริเวณก้นเป็นจำนวนมาก
ผู้ป่วยมีสีหน้าไม่สุขสบายเนื่องจากคันบริเวณก้น
ผู้ป่วยเคยได้รับยาปฎิชีวนะประจำ คือ ยา Tazoxin 4.5 mg. แต่ปัจจุบัน off ให้ยาตัวนี้แล้ว
วัตถุประสงค์การพยาบาล
เชื้อราบริเวณก้นลดลงหรือไม่มีเพิ่มขึ้นอีก
เกณฑ์การประเมินผล
ผิวหนังบริเวณก้นมีเชื้อราลดลง
ไม่มีอาการและอาการแสดงแทรกซ้อนจากเชื้อรา เช่นบวมแดง และมีอาการเจ็บปวด ผิวหนังหลุดลอกจนเห็นผิวชั้นหนังชั้นในแดงๆ
ผู้ป่วยรู้สึกคันบริเวณก้นลดลงหรือไม่รู้สึกคันเลย
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินผิวหนังว่ามีเชื้อราอยู่บริเวณใดและมีลักษณะอย่างไร เช่น มีขุยของเศษผิวหรือไม่
ดูแลความสะอาดบริเวณ Perineun ให้สะอาดโดยเช็ดจากด้านหน้าไปด้านหลังและไม่อับชื้น
ดูแลความสะอาดของเสื้อผ้าและที่นอน และสิ่งแวดล้อมอยู่เสมอ
แยกของใช้ที่ติดเชื้อเพื่อทำความสะอาดเช่น ผ้าอ้อมผู้ใหญ่ เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่น
ใช้ยา ketonazole cream บริเวนก้นหลังทำความสะอาด perineum ทุกครั้ง
ระวังผลข้างเคียงจากการใช้ยา ketonazole cream เช่น ลมพิษ ผื่น หายใจลำบาก กลืนลำบาก ปวด บวม แดง ร้อนบริเวณที่ใช้ยา ต้องรีบแจ้งแพทย์
การประเมินผลการพยาบาล(เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2562)
ผิวหนังบริเวณก้นมีเชื้อราลดลง
ผู้ป่วยรู้สึกสุขสบาย ไม่รู้สึกคันบริเวณที่เกิดเชื้อรา
ไม่มีอาการและแาการแสดงแทรกซ้อนขากเชื้อราเกิดขึ้น เช่น อาการบวมแดงบริเวณผิวหนังบริเวณก้นจนเห็นถึงชั้นผิวหน้าด้านใน