Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
วิเคราะห์พระมหากษัตริย์ไทย ที่มีส่วนต่อการสร้างชาติไทย รัชกาลที่ ๑…
วิเคราะห์พระมหากษัตริย์ไทย ที่มีส่วนต่อการสร้างชาติไทย
รัชกาลที่ ๑
ด้านการเมือง
โปรดเกล้าให้มีการชำระกฏหมายขึ้นมาใหม่ โดยหน้าเเรกของเเต่ละชุดประทันตรา ๓ ดวง ใช้ในการตัดสินเเละชำระคดีความ ภายหลัง กฎหมายนี้ได้ถูกยกเลิกไป
ตราราชสีห์( สมุหนายก)
สัญลักษณ์ของหน่วยงานด้านการปกครอง
ตรสคชสีห์ (สมุหพระกลาโหม)
สัญลักษณ์ตราประจำตำแหน่งของเสนาบดีและหมวดงานตกทอดมาถึงยุครัตนโกสินทร์
ตราบัวเเก้ว ( กรมท่า)
จึงใช้เป็นตราสำหรับใช้ประทับในเอกสารของกรมท่าที่เกี่ยวข้องกับงานด้านการต่างประเทศ
การสงครามกับพม่า
สงคราม ๙ ทัพ
การรบของกองทัพวังหน้าที่ทุ่งลาดหญ้า (กาญจนบุรี)
การรบของกองทัพวังหลังทางภาคเหนือ
*
การรบของกองทัพวังหลังทางภาคเหนือ
สงครามท่าเดินเเดน
รักษาเอกราชและความมั่นคงของประเทศนั้น ได้ทรงทำศึกสงครามกับประเทศเพื่อนบ้านที่มุ่งรุกรานไทย และได้เจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศมหาอำนาจตะวันตกที่เริ่มจะเข้าติดต่อกับไทย
ด้านศาสนา
โปรดเกล้าฯให้ออกแบบพระที่นั่งสรรเพชญ์ปราสาทขึ้นมาใหม่ และพระราชทานนามว่า "พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท"
โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างวัดและบูรณปฏิสังขรณ์วัดวาอารามต่าง ๆ
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์)
วัดสุทัศนเทพวราราม
วัดสระเกศ
วัดระฆังโฆสิตาราม
วัดสุวรรณดาราราม
โปรดเกล้าฯให้ตรากฎหมายคณะสงฆ์ เพื่อบังคับพระภิกษุสงฆ์ที่ไม่ประพฤติอยู่ในธรรมวินัย
โปรดเกล้าฯให้สร้างพระอารามหลวง พระอุโบสถ พระเจดีย์ วิหาร และศาลาราย รวม ๑๒ หลัง นามว่า “วัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือวัดพระแก้ว”
พ.ศ. ๒๓๓๑ ได้ทำการสังคายนาพระไตรปิฎก หลังจากนั้นโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระไตรปิฎกขึ้นอีก ๒ ฉบับ เรียกว่า ฉบับรองทรง (หรือฉบับข้างลาย)
และฉบับทองชุบ
ทรงฟื้นฟูพระราชพิธีและประเพณีสำคัญสมัยอยุธยา
พระราชพิธีบรมราชาภิเษก
พระราชพิธีสมโภชพระนคร
ด้านเศรษฐกิจ
ย้ายพระนครมาฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา เพราะมีพระราชดำริว่า ชัยภูมิดีกว่าฝั่งตะวันตก
การทะนุบำรุงประเทศได้มาจากภาษีอากร
ซึ่งแบ่งออกเป็น ๔ ประการ
จังกอบ
ค่าผ่านด่านขนอนทั้งทางบกและทางน้ำ โดยเรียกเก็บตามยานพาหนะที่บรรทุกสินค้า
ส่วย
สิ่งของหรือเงินที่ไพร่หลวงจ่ายให้รัฐทดแทนการถูกเกณฑ์มาทำงาน โดยรัฐจะเป็นผู้กำหนดว่าท้องถิ่นใดจะส่งส่วยประเภทใด เช่น ส่วยดีบุก ส่วยรังนก
อากร
เงินที่เก็บจากผลประโยชน์ที่ราษฎรประกอบอาชีพได้ เช่น การทำนา จะเสียอากรค่านา เรียกว่า "หางข้าว" ให้แก่รัฐ
ฤชา
ค่าธรรมเนียมที่ทางราชการเรียกเก็บจากราษฎรซึ่งได้รับประโยชน์จากรัฐเป็น การเฉพาะตัว ฤชาที่สำคัญได้แก่
ค่าธรรมเนียม และค่าปรับ
การค้าขายกับจีนเพิ่มมากขึ้น ทำให้เศรษฐกิจดีขึ้น มีเงินใช้จ่ายในการทำนุบำรุงบ้านเมือง สร้างพระนคร สร้างและบูรณปฏิสังขรณ์วัด รวมทั้งสั่งซื้อและสร้างอาวุธเพื่อใช้ป้องกันพระราชอาณาเขต ทำให้บ้านเมืองและราษฎรเกิดความมั่นคงและมั่งคั่ง
ด้านสังคม
ทรงได้ตรา พระราชกำหนดใหม่ให้มีความยุติธรรมในด้านการ ฟ้องร้อง และการพิจารณาคดีความแพ่งโดยได้ทรงออก
กฎหมายหลายฉบับ
ทรงห่วงใยสวัสดิภาพความปลอดภัยของบรรดาพสกนิกร
ไม่ว่าจะเป็นผู้ใหญ่หรือเด็กเป็นอย่างมาก ในความปลอดภัยของสภาพความเป็นอยู่ของสังคม
ด้านการทหาร
สงครามครั้งที่ ๑
สงครามเก้าทัพ (พ.ศ.๒๓๒๘)
พระเจ้าปดุงได้แต่งตั้งกองทัพมาตีเมืองไทย
เป็นทัพใหญ่ถึง ๙ ทัพ
เข้าโจมตีตั้งแต่ทิศเหนือ
เมืองลำปาง
หัวเมืองริมแม่น้ำแควใหญ่ แม่น้ำยม
ด่านแม่ละเมา หัวเมืองริมแม่น้ำปิง
เมืองตาก
เมืองกำแพงเพชร
ด่านเจดีย์สามองค์
ตีเมืองกรุงเทพ
ด่านบ้องตี้
ตีเมืองราชบุรี
เมืองเพชรบุรี
พระเจ้าปดุงทรงกะแผนการผิดพลาดอย่างสำคัญอยู่ 2 ประการ
การแบ่งแยกกำลังกองทัพเข้ามาหลายทาง จึงยากที่จะกำหนดให้ถึงกรุงเทพฯพร้อมกัน
การจัดหาเสบียงอาหาร ตลอดจนการขนส่งอาหารสำหรับกองทัพที่มีจำนวนมาก ซึ่งเป็นเรื่องยากลำบากมาก
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงเปลี่ยนยุทธวิธีต่อสู้ข้าศึกใหม่
กรีธาทัพออกไปยันพม่าข้าศึกที่ชายแดนเมืองกาญจนบุรี
แต่งกองทัพไปสกัดข้าศึกไว้ที่เมืองนครสวรรค์ และเมืองราชบุรี
ทรงตั้งค่ายที่ทุ่งลาดหญ้าอยู่ติดเชิงเขาบรรทัด
กองทัพพม่าจึงต้องหยุดที่เชิงเขานั้น และทัพต่อๆไปก็ชะงักอยู่ในช่องเขา ได้รับความลำบากต้องอาศัยเสบียงอาหารจากแนวหลังทางเดียว
กองทัพไทยแต่งกองโจรออกไปดักตีชิงเเสบียงอาหาร กองทัพพม่าได้รับความขัดสนและเกิดความเจ็บไข้ได้ป่วย เมื่อรบเข้าจริงทัพพม่าก็แตกพ่ายไป
สงครามครั้งที่ ๒
ศึกท่าดินแดง (พ.ศ.๒๓๒๙)
ต่อเนื่องมาจากสงครามเก้าทัพ
เข้ามาทางด่านพระเจดีย์สามองค์ ตั้งค่ายรายทางตลอดจนถึงตำบลท่าสบ ท่าดินแดง
แต่ก็ต้องพ่ายแพ้แก่ไทยอีกครั้ง จนพม่าไม่คิดจะยกทัพมาตีเมืองหลวงของไทยอีกเลย
สงครามครั้งที่ ๓
ที่ลำปางและป่าซาง (พ.ศ.๒๓๓๐)
สงครามครั้งที่ ๔
ไทยตีเมืองทะวาย (พ.ศ.๒๓๓๐)
สงครามครั้งที่ ๕
การรบที่เมืองทะวาย (พ.ศ.๒๓๓๖)
สงครามครั้งที่ ๖
พม่าตีเมืองเชียงใหม่ (พ.ศ.๒๓๔๐)
สงครามครั้งที่ ๗
ขับไล่พม่าออกจากเขตลานนา (พ.ศ.๒๓๔๕)
ด้านการปกครอง
การปกครองส่วนกลาง (ราชธานี)
ฝ่ายพลเรือน คือ เสนาบดีกรมมหาดไทย ( สมุหนายก )
มีอำนาจหน้าที่ บังคับบัญชา ดูแลหัวเมืองฝ่ายเหนือ
ใช้ ตราราชสีห์ เป็นตราประจำตำแหน่ง
กรมพระโกษาธิบดี ( กรมคลัง )
มีอำนาจหน้าที่ บังคับบัญชาหัวเมืองชายทะเลภาคตะวันออก ใช้ตราบัวแก้วเป็นสัญลักษณ์ แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบเป็น ฝ่ายการเงิน มีหัวหน้าคือ พระยาราชภัคดี ฝ่ายการต่างประเทศ มีหัวหน้าคือ พระยาศรีพิพัฒน์
ฝ่ายตรวจบัญชีและดูแลหัวเมืองชายทะเลตะวันออก มีหัวหน้าคือ พระยาพระคลัง(พระยาโกษาธิบดี
กรมพระเกษตราธิการ ( กรมนา )
มีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษานาหลวง เก็บหางข้าว ค่านา จัดเก็บและรักษาเสบียง อาหารสำหรับพระนคร พิจารณาคดีเกี่ยวกับที่นา ใช้ตราพระพิรุณทรงนาคเป็นสัญลักษณ์
กรมพระธรรมาธิกรณ์ ( กรมวัง )
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการในราชสำนัก รวมทั้งพิจารณาคดีที่พระมหากษัตริย์จะต้องวินิจฉัยด้วย ใช้ตราเทพยดาทรงพระนนทิการ (เทวดาทรงพระโค ) เป็นสัญลักษณ์
กรมพระนครบาล ( กรมเวียง )
มีอำนาจหน้าที่ปกครองดูแลราษฎรในเขตกรุง รักษาความสงบเรียบร้อยและปราบโจรผู้ร้าย มีตราพระยมทรงสิงห์ เป็นสัญลักษณ์ประจำตำแหน่ง
ฝ่ายทหาร คือเสนาบดีกรมพระกลาโหม
( สมุหพระกลาโหม ) มีอำนาจหน้าที่ บังคับบัญชา ดูแลหัวเมืองฝ่ายใต้ ใช้ ตราคชสีห์ เป็นตราประจำตำแหน่ง
การปกครองส่วนภูมิภาค (หัวเมือง)
หัวเมืองชั้นใน
เมืองชั้นใน จะตั้งอยู่รอบเมืองหลวง ถือว่าเป็นบริวารของเมืองหลวง ไม่มีเจ้าเมืองปกครอง มีแต่ผู้รั้ง หรือ จ่าเมือง ทำหน้าที่ดูแล ไม่มีอำนาจอย่างเจ้าเมือง การบริหารงานต้องรับคำสั่งจากเสนาบดีจัตุสดมภ์ หรือ ฟังคำสั่งจากเมืองหลวง หัวเมืองชั้นใน มีความสำคัญเป็นเมืองระดับชั้นจัตวา
หัวเมืองชั้นนอก
หัวเมืองที่ตั้งอยู่ในภาคเหนือและภาคอิสาน อยู่ในความรับผิดชอบของสมุหนายก
หัวเมืองที่ตั้งอยู่ในภาคใต้ อยูในความรับผิดชอบของสมุหกลาโหม
หัวเมืองชายทะเลภาคตะวันออก อยู่ในความรับผิดชอบของ กรมท่า ( พระยาพระคลัง ) หัวเมืองที่ สังกัดกรมท่า มี ๙ เมือง ได้แก่ นนทบุรี สมุทรปราการ สาครบุรี สมุทรสงคราม ชลบุรี บางละมุง ระยองจันทบุรี ตราด
เมืองชั้นเอก พระมหากษัตริย์เป็นผู้แต่งตั้งเจ้าเมืองเอง ในสมัยรัชกาลที่ ๑ ได้แก่ พิษณุโลก นครราชสีมา นครศรีธรรมราช ถลาง และสงขลา
เมืองชั้นโท ตรี และจัตวา เสนาบดีที่รับผิดชอบ
เป็นผู้แต่งตั้งเจ้าเมือง
หัวเมืองประเทศราช
ประเทศราชในสมัยรัชกาลที่ ๑ ได้แก่ ล้านนา (เชียงใหม่ ) ลาวหรือล้านช้าง( หลวงพระบาง เวียงจันทน์ จำปาศักดิ์ ) เขมร ( กัมพูชา ) หัวเมืองมลายู ( ปัตตานี ไทรบุรี กลันตัน ตรังกานู )
ด้านการต่างประเทศ
อาณาเขตของไทยได้แผ่
ขยายออกไปอย่างไม่เคยมีครั้งใดเสมอเหมือนมาก่อนโดย
ทิศเหนือ ตลอดเขตแดนลานนาไทยไปจน
ดินแดนจีน
ทิิศใต้ ตลอดแหลมมลายู
ทิศตะวันออก ตลอดหัวเมืองลาวจนถึง
เขตแดนเขมร
ทิศตะวันตก ตลอดมะริด ตะนาวศรี และ
ทวาย ดินแดนของพม่า
ทรงเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศเพื่อนบ้านที่อยู่
ใกล้เคียง
เขมร
ญวน
มลายู
จึน
ลาว
มีการติดต่อกับประเทศทางตะวันตก
โปรตุเกส
เป็นชาติแรกที่มาติดต่อกับไทยเมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๙ องตนวีเสนได้อัญเชิญพระราชสาส์นเข้ามาเจริญพระราชไมตรี รัชกาลที่ ๑โปรดให้จัดการต้อนรับอย่างสมเกียรติ์
อังกฤษ
คนอังกฤษได้เพียรขอเฝ้ารัชกาลที่ ๑ ทูลเกล้าถวายดาบที่ประดับพลอยกับปืนด้ามเงินกระบอกหนึ่ง ต่อมาทรงแต่งตั้งให้เป็นพระยาราชกัปตัน