Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
เสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับเนื่องจากการเคลื่อนไหวร่างกายลดลง (NOC (1…
เสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับเนื่องจากการเคลื่อนไหวร่างกายลดลง
Patho
การเกิดแผลกดทับในผู้สูงอายุที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล มักเกิดภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมงหลังการไม่เคลื่อนไหว เนื่องจากผิวหนังชั้นEpidermisและDermisบางลง มีเส้นเลือดมาเลี้ยงน้อยลง อัตราการทดแทนลดลง และมีการสูญเสียชั้นไขมันใต้ผิวหนัง หากมีแรงกดต่อผิวหนังสูงกว่าความดันหลอดเลือดฝอย (32 mmHg) เพียงเล็กน้อย แรงกดทับที่เกิดจากน้ำหนักของร่างกายกดทับไปบนปุ่มกระดูกจึงมากพอที่จะทำให้เลือดไม่สามารถไปเลี้ยงเนื้อเยื่อบริเวณนั้นได้ ทำให้เกิดภาวะขาดเลือดและไม่สามารถขับสารพิษออกได้โดยขณะเดียวกัน ขบวนการเผาผลาญของเนื้อเยื่อต่างๆ เหล่านี้ยังคงดำเนินต่อไป ทำให้เกิดการสะสมของสารพิษ (Toxic metabolic by product) ขึ้น สารพิษเหล่านี้ยิ่งทำให้เกิดการตายของเซลล์บริเวณนั้น เพิ่มขึ้นอีก แต่ถ้าเนื้อเยื่อไดร้บการบรรเทาการกดทับไดัทันท่วงทีเลือดจะสามารถกลับมาเลี้ยงได้ตามปกติและกลับสู่สภาพปกติ ได้แต่ถ้าปล่อยไว้ให้การกดทับต่อไปเรื่อยๆ จะเกิดการตายอย่างถาวรของเนื้อเยื่อขึ้นและไม่สามารถกลับมาคงสภาพเดิมได้ สามารถทำให้เกิดการขาดเลือดและเนื้อตายได้
สาเหตุ
ไม่มีการเคลื่อนไหว
การมีแรงเฉือน
ผู้ป่วยนอนติดเตียง
Objective data
นอนหงายตลอด ไม่ค่อยขยับเขยื้อน
ผู้ป่วยผิวหนังแห้ง
Subjective data
ผู้ป่วยอายุ 64 ปี
น้ำหนัก 60 kg
braden score =
การประเมินผล
ผิวหนังไม่มีผื่นบวม
ผิวหนังแห้ง ขาดความชุ่มชื้น poor skin turgor
ผิวหนังสะอาด
NOC
1.ผิวหนังสะอาด
2.ไม่มีผื่น/บวม/แดง
3.ไม่มีอาการคัน/ชา/ปวด
4.ผิวหนังชุ่มชื้น ความตึงตัวดี
NIC
การประเมินความสามารถในการเคลื่อนไหวของผู้ป่วยว่าสามารถเคลื่อนไหวและช่วยเหลือตนเองได้มากน้อยเพียงใด นอกจากนี้ต้องประเมินข้อจำกัดในการเคลื่อนไหวและกำลังของกล้ามเนื้อด้วย
จัดให้ผู้ป่วยนอนในท่านอนศีรษะสูง ในการจัดท่านอนศีรษะ สูง 30-45 องศา เพื่อป้องกันการเกิดการเลื่อนไถลและการกดทับจากแรงกดทับและ แรงเฉือนบริเวณที่จะรับแรงกดมากที่สุด คือ บริเวณก้นกบ สลับกับพลิกตะแคงตัวทุก 2 ชั่วโมง
การดูแลผิวหนังเพื่อควบคุมและปรับปรุงเนื้อเยื่อที่ถูกกดทับให้มีความแข็งแรงและป้องกันไม่ใหเ้กิดการบาดเจ็บ
1) การทำความสะอาดร่างกาย ใช้น้ำเย็น สบู่อ่อน ผู้สูงอายุทำความสะอาดวันละครั้ง ซับให้แห้งและทาแป้งให้ผิวลื่น
2) การทาโลชั่นในผู้ป่วยที่มีผิวแห้งควรทาโลชั่นโดยทา 3-4 คร้ัง/วัน
สังเกตผิวหนังที่ถูกกดทับและผิวหนังบริเวณใกล้เคียงทุกคร้ังที่เปลี่ยนท่า หากพบรอยแดงที่ผิวหนังบริเวณที่ถูกกดทับ ควรประเมินว่าเป็นแผลกดทับหรือไม่ เฝ้าระวังรอยแดงที่เกิดขึ้นและป้องกันไม่ให้ลุกลามกลายเป็นแผลกดทับ