Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Rubrics Scoring (ลักษณะของ Rubric ที่ดี (มีความเกี่ยวข้องกับจุดมุ่งหมาย …
Rubrics Scoring
ลักษณะของ Rubric ที่ดี
- มีความเกี่ยวข้องกับจุดมุ่งหมาย หรือเป้าหมายทั่วไป (General goals) กล่าวคือเกี่ยวข้องกับงานที่ทำ
- จำแนกการปฏิบัติได้อย่างเที่ยงตรง (Performances Validly)
- ในแต่ละ Rubricจะไม่มีการรวมเกณฑ์การให้คะแนน
- วิเคราะห์งานได้อย่างละเอียด
- ภาษาที่ใช้อธิบายคุณลักษณะงาน จำแนกคุณภาพของงานได้ถูกต้อง
- สามารถตัดสินงานได้ถูกต้อง
- อธิบายอย่างชัดเจนในแต่ละระดับของคะแนน และมีความเที่ยงตรงในการให้คะแนนในตัวของมันเอง
- ตัดสินให้คะแนนจากผลงานที่ปฏิบัติมากกว่า กระบวนการรูปแบบเนื้อหา หรือความตั้งใจในการทำงาน
องค์ประกอบของเกณฑ์การให้คะแนน (Scoring Rubric)
Scoring rubric มีหลายองค์ประกอบ ในแต่ละองค์ประกอบก็มีประโยชน์ มีความสำคัญ องค์ประกอบ
- จะมีอย่างน้อย 1 คุณลักษณะหรือ 1 มิติที่เป็นพื้นฐานในการตัดสินผู้เรียน
- การนิยามและการยกตัวอย่างจะต้องมีความชัดเจนในแต่ละคุณลักษณะหรือมิติ
- มาตราการให้คะแนนจะต้องเป็นอัตราส่วนกันในแต่ละคุณลักษณะหรือมิติ
- จะต้องมีมาตรฐานที่เด่นชัดในแต่ละระดับของการให้คะแนน
-
-
จุดประสงค์ของการสร้าง
- เพื่อประเมินกระบวนการ เช่น ประเมินการเรียนรู้เป็นทีม ประเมินการนำเสนอปากเปล่า การอภิปลาย การสาธิต เป็นต้น
- เพื่อประเมินผลผลิต เช่น ประเมินแฟ้มสะสมผลงาน รายงานการวิจัย ผลงานศิลปะ เป็นต้น
ความหมาย
Scoring Rubric คือเกณฑ์การให้คะแนนที่ถูกพัฒนาโดยครูหรือผู้ประเมินที่ใช้วิเคราะห์ผลงานหรือกระบวนการที่ผู้เรียนได้พยายามสร้างขึ้น การประเมินผลงานของนักเรียนจะมี 2 ลักษณะคือ ผลงานที่ได้จากกระบวนการของนักเรียน และกระบวนการที่นักเรียนใช้เพื่อให้เกิดผลงาน
ความสำคัญเกณฑ์การให้คะแนน (Scoring Rubric)
การประเมินศักยภาพของผู้เรียนโดยให้ลงมือปฏิบัตินั้น ไม่มีคำเฉลยหรือคำตอบถูกที่แน่ชัดลงไปเหมือนแบบทดสอบเลือกตอบ การประเมินผลงานแต่ละชิ้นของผู้เรียนที่ได้ลงมือปฏิบัติจึงมีความจำเป็นที่จะต้องประเมินคุณภาพของงานอย่างเป็นปรนัย ซึ่งมันเป็นการยากที่จะทำได้ และได้ค้นพบการสร้างเกณฑ์การให้คะแนนหรือ rubric ขึ้นมาเพื่อกำหนดแนวทางในการตัดสินอย่างยุติธรรม และปราศจากความลำเอีย
สรุปได้ว่า การสร้างเกณฑ์การให้คะแนน ต้องคำนึงถึงงานที่ให้ทำต้องมีความ สำคัญมีความสอดคล้องระหว่างคะแนนกับจุดมุ่งหมายการประเมินเกณฑ์ที่สร้างต้องมีความเป็นรูปธรรม มีความชัดเจนเหมาะสมกับระดับชั้น และควรให้นักเรียนและผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการสร้างเกณฑ์การประเมินด้วย