Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Febrile convulsion index (:star:การวินิจฉัย (การซักประวัติ…
Febrile convulsion
:star:พยาธิสภาพ
การมีไข้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเมตาบอลิซึมของเซลล์ประสาทของสมอง ทำให้เซลล์ประสาทไวต่อการที่จะเกิดอาการชักได้มากขึ้น โดยขึ้นอยู่กับอายุและความเจริญของสมองด้วย สมองที่เจริญมากขึ้นมีการเปลี่ยนแปลงหลังจากเกิดไข้ได้น้อยลง โอกาสที่จะเกิดอาการชักน้อยลง นอกจากนี้ความสูงของไข้ก็เป็นปัจจัยสำคัญในการกระตุ้นให้เกิดอาการชักซึ่งยังไม่มีข้อสรุปที่แน่นอนว่าเท่าไหร่ถึงจะชัก แต่ยอมรับกันว่าที่ 38 องศาเซลเซียส เป็นจุดต่ำสุดที่เด็กเริ่มมีอาการชักได้ ถึงแม้ว่าบ่อยครั้งที่เด็กมีอาการชักขณะมีอุณหภูมิสูง ๆ โดยเฉลี่ยประมาณร้อยละ 75 ของเด็กจะมีอุณหภูมิสูงเกิน 39 องศาเซลเซียส
Febrile convulsion เป็นภาวะที่มีการชักในเด็กอายุ 3 เดือน ถึง 5 ปี โดยพบร่วมกับการมีไข้ และสาเหตุของไข้นั้นไม่ได้มาจากสาเหตุการติดเชื้อในระบบประสาท หรือสาเหตุอื่น ๆ โดยชัดเจน และการชักนี้จะไม่เรียก Febrile convulsion ถ้าเป็นการชักโดยมีไข้ร่วมด้วยในเด็กที่เคยมีการชักโดยไม่มีไข้ หรือเป็นลมบ้าหมูมาก่อน โดยมากจะชักเกร็ง หรือชักกระตุกเป็นจังหวะตามด้วยอาการเกร็งทั้งตัวเป็นระยะเวลาสั้นๆ หลังหยุดชักแล้วก็จะเป็นปกติ ส่วนใหญ่จะมีอาการชักเกิดขึ้นภายใน 24 ชั่วโมงแรกที่เริ่มมีไข้ และมักหยุดชักได้เอง
:star:อาการชัก
อาการชักแบบกระตุกเกร็งเป็นจังหวะ หรือเกร็งค้างมักเป็นทั้งตัว และหยุดได้เองในระยะสั้นไม่เกิน 5 นาที โดยมากจะชักเพียง 1-2 ครั้ง ขณะที่ตัวร้อนจัด พอไข้ลงก็จะไม่ชักซ้ำอีก
:star:การพยาบาล
การดูแลผู้ป่วยขณะชัก
- จัดท่าผู้ป่วยเด็กนอนตะแคงให้ศีรษะต่ำเพื่อป้องกันการสำลัก
- อาจดูดเสมหะเพื่อให้ผู้ป่วยหายใจสะดวก
- ห้ามใช้ไม้กดลิ้น ด้ามช้อน หรือดินสอ สอดไว้ในปากเด็ก
- ถ้ายังไม่หยุดชัก พยาบาลรายงานแพทย์ เพื่อพิจารณาให้ยา Diazepam 0.2-0.3 mg/kg/dose IV หรือ 0.5 mg/kg/dose per rectum หลังจากหยุดชักให้ค้นหาสาเหตุของโรคที่ทำให้เกิดไข้
การดูแลผู้ป่วยเพื่อลดไข้
เช็ดตัวเพื่อลดไข้ โดยปฏิบัติดังนี้
- ถอดเสื้อผ้าเด็กออกให้หมด จัดให้นอนบนเตียง
- ใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำบิดหมาด เช็ดให้ทั่วทั้งหน้าและลำตัวโดยเฉพาะบริเวณซอกคอ รักแร้ ขาหนีบ โดยเช็ดย้อนรูขุมขนเพื่อเป็นการเปิดระบายความร้อนและเปลี่ยนผ้าบ่อย ๆ จนกระทั่งอุณหภูมิกายลดลง
- เช็ดตัวเด็กให้แห้งและสวมเสื้อผ้าหลวม ๆ ให้
- วัดไข้ซ้ำอีกครั้งหลังเช็ดตัวเสร็จ 30 นาที ถ้ายังมีไข้อยู่ให้เช็ดตัวซ้ำอีกครั้ง
- ให้ยาลดไข้ paracetamol 10-15 mg/kg/dose หลังจากหยุดชัก
:star:การวินิจฉัย
- การซักประวัติ พบว่ามีไข้สูง ตัวร้อน มีอาการติดเชื้อที่บริเวณใดบริเวณหนึ่งของร่างกาย อาการเจ็บคอ กลืนไม่ได้ในเด็กที่มีการติดเชื้อที่ต่อมทอนซิล ถ่ายอุจจาระเหลวหลายครั้ง มีไข้ ไอ หายใจไม่สะดวก เป็นต้น
- การตรวจร่างกาย จะพบว่าเด็กมีอุณหภูมิร่างกายสูงมากกว่าปกติ หน้าแดง ตัวแดง พบอาการหรืออาการแสดงของการติดเชื้อในระบบใดระบบหนึ่งของร่างกาย เช่น ต่อมทอนซิลบวมแดง มีเสมหะสีเหลือง คลำพบต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอ เป็นต้น
- การตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น การนับจำนวนเม็ดเลือด (CBC) การเพาะเชื้อหรือการตรวจปัสสาวะเพื่อค้นหาการติดเชื้อในระบบต่างๆ และทำการวินิจฉัยแยกโรคติดเชื้อทางประสาท
- การตรวจพิเศษ ส่วนใหญ่จะทำการเจาะหลัง (Lumbar puncture) เพื่อตรวจดูน้ำไขสันหลัง ใช้ในการวินิจฉัยแยกโรคระหว่างการติดเชื้อในระบบอื่น ๆ ของร่างกายกับการติดเชื้อทางระบบประสาท ถ้าเด็กมี complex febrile seizure หรือในกรณีที่เด็กมีพัฒนาการช้าหรือมีอาการที่แสดงว่ามีปัญหาของสมอง แพทย์จะ ทำการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม เช่น ทำ CT scan ตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง เป็นต้น
:star:สาเหตุ
ภาวะชักจากไข้สูง เกิดจากการติดเชื้อในระบบต่าง ๆที่ไม่ใช่ระบบประสาท เช่น การติดเชื้อในระบบหายใจ หูชั้นกลางอักเสบ การติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร ต่อมทอนซิลอักเสบ การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะหรืออาจเกิดภายหลังจากการใช้วัคซีนคางทูม หัด หัดเยอรมัน เป็นต้น ส่วนใหญ่สาเหตุของภาวะชักจากไข้สูงเกิดจากการติดเชื้อไวรัสในระบบทางเดินหายใจส่วนบน หูชั้นกลางอักเสบ ถ้าเด็กมีการติดเชื้อที่เยื่อหุ้มสมองหรือสมองติดเชื้อจากการอักเสบต่าง ๆ แล้วมีอาการของไข้สูงและชักตามมา จะไม่เรียกว่าภาวะชักจากไข้สูง เด็กจะมีอาการชักเมื่ออุณหภูมิกายสูงมากกว่า 39 องศาเซลเซียส อาการชักเกิดขึ้นภายใน 24 ชั่วโมงแรกที่เริ่มมีอาการไข้สูง ส่วนใหญ่เกิดกับเด็กอายุระหว่าง 3 เดือน ถึง 5 ปี พบมากที่สุดในช่วงอายุ 17-24 เดือน พบได้บ่อยในเด็กที่มีประวัติครอบครัวมีอาการชักจากไข้สูง เกิดกับเพศชายได้มากกว่าเพศหญิง
:star:คำแนะนำก่อนจำหน่าย
- พยาบาลอธิบายให้ความมั่นใจแก่ผู้ปกครองว่า อาการชักจากไข้สูงในช่วงเวลาสั้น ๆ ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อระบบประสาท
- อธิบายการดูแลผู้ป่วยเด็ก ขณะที่มีอาการชัก ซึ่งอาจเกิดซ้ำได้ขณะอยู่ที่บ้าน
- อธิบายกรณีมีความจำเป็นต้องให้ยากันชัก เพื่อป้องกัน ควรแนะนำให้รับประทานยาตามแพทย์สั่ง
ประสานงานกับทีมเยี่ยมบ้าน ในการติดตามดูอาการ ได้แก่
- การดูแลรักษาเวลามีไข้ของผู้ปกครอง
-การชักซ้ำและการดูแลรักษาขณะมีการชักของผู้ปกครอง
- พัฒนาการพื้นฐานตามวัย
-
-