Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
POSTPARTUM COMPLICATIONS (การบวมคั่งของเลือด (Hematoma) (การรักษาพยาบาล…
POSTPARTUM COMPLICATIONS
การบวมคั่งของเลือด (Hematoma)
ความหมาย
ภาวะที่มีการฉีกขาดของเส้นเลือดดำบริเวณเนื้อเยื่อเกี่ยวพันของอวัยวะสืบพันธ์ภายนอก ฝีเย็บ(Perineum) หรือเยื่อบุภายในอุ้งเชิงกราน
อาการและอาการแสดง Hematoma
ปวดหนวงแผลฝีเย็บ และช่องคลอดอยางรุนแรง
ตรวจพบก้อนบวมโป่งแข็งที่แผลฝีเย็บ ส่วนใหญ่ก้อนจะใหญ่ขึ้นเรื่อย และมีสีม่วงคลำ
อาจพบปัสสาวะไม่ได้
ชนิดของ [Hematoma]
ตำแหน่งสูงกว่ากล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน (Supralevator) อุบัติการณ์น้อยมาก แต่รุนแรงเกิดขึ้นบริเวณเหนือช่องคลอดขึ้นไป (Supravaginal)
ตำแหน่งตำกว่ากล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน (Infralevator) การเกิด Hematoma หลังคลอดส่วนใหญ่จะพบที่บริเวณนี้มักเกิดขึ้นบริเวณอวัยวะสืบพันธ์ภายนอก (Vulva)
สาเหตุ Hematoma
การตัดแผลฝีเย็บที่ไม่เหมาะสม
การคลอดที่รวดเร็วจนเส้นเลือดดำฉีกขาด เช่น คลอดเองโดยไม่ได้ตัดแผลฝีเย็บ (Episiotomy)
บีบคลึงมดลูกรุนแรง
การรักษาพยาบาล Hematoma
ควรทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธ์ทุกครั้งหลังการขับถายอุจจาระ หรือปัสสาวะทุกครั้ง
ควรเปลี่ยนผ้าอนามัยทุก 2-3 ชั่วโมง
พยาบาลหลังคลอดควรประเมินแผลฝีเย็บทันทีเมื่อแรกรับ อาจใช้การประเมินการบวมของแผลฝีเย็บภายหลังคลอดตามแนวทาง REEDA
หากก้อนเลือดมีขนาดเล็กเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 5 ซม ให้ประคบน้ำแข็งเพื่อลดอาการปวดและบวม
กรณีก้อนเลือดขนาดใหญ่เพิ่มขนาดมากขึ้น การรักษาสวนใหญ่จะดำเนินการแก้ไขในห้องผ่าตัด
หากก้อนเลือดมีขนาดใหญ่เพิ่มขนาดมากขึ้น (เส้นผ่าศูนย์กลางเกิน 5 ซม) ดำเนินการแก้ไขในห้องผ่าตัด
มดลูกเข้าอู่ช้า (Subinvolution of Uterus)
ความหมาย
ภาวะที่มดลูกใช้เวลาคืนสู้ภาวะปกติภายหลังคลอดมากกว่า 6 สัปดาห์ขึ้นไป
อาการและอาการแสดง
น้ำคาวปลาออกนานหรือปริมาณมากกว่าปกติ
มีอาการปวดมดลูกผิดปกติเกิน 72 ชม. (Afterbirth Pain)
มดลูกมีขนาดใหญ่และอ่อนนุ่ม คลำหามดลูกไม่ชัดเจนหรือคลำไม่พบ
ระดับยอดมดลูกไม่ลดลงตามปกติ
สาเหตุ
มดลูกหดรัดตัวไม่ดีภายหลังคลอด
มีเศษรก หรือเยื่อหุ้มค้างรกในมดลูก
มีก้อนเนื้องอกภายในมดลูก
การผ่าคลอดทางหน้าท้อง (CesarianSection)
การรักษาพยาบาล
การดูแลเพื่อขูดมดลูก
ประเมินระดับมดลูกวันละ 1 ครั้งในเวลาเดียวกัน และด้วยวิธีที่เหมือนเดิม
ประเมินการหดรัดตัวของมดลูกใน 2 ชม.แรกหลังคลอด ทุก 15 นาที หลังจากนั้นทุก 2-4 ชม จนครบระยะ 24 ชม. รวมทั้งประเมินทุก 4 ชม. หลังคลอด 2-3 วัน
ดูแลและกระตุ้นให้บุตรดูดนมแม่ทุก 2-3 ชม
การได้รับสารน้ำและยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูกรวมทั้งยาปฏิชีวนะหากมีการติดเชื้อ
ผลกระทบ
ผลกระทบทางตรง คือ ระยะเวลาที่มดลูกคืนสู่ปกติช้าทำให้มารดาใช้เวลาในการรักษา ฟื้นฟู สภาพที่ยาวนานขึ้น มีผลต่อบทบาทการเลี้ยงดูบุตร บทบาทภรรยา การประกอบอาชีพ
ผลกระทบทางอ้อมที่เกิดจากภาวะความผิดปกติของสาเหตุที่มดลูกหดรัดตัวไม่ดี เช่น การตกเลือดหลังคลอด เสี่ยงต่อการเกิดภาวะช็อค เกิดกลุ่มอาการชีแฮนซินโดรม (Sheehan syndrome) ภาวะแทรกซ้อนจากการขูดมดลูก การติดเชื้อหลังคลอด เสี่ยงต่อการผ่าตัดมดลูกทิ้ง การติดเชื้อในกระแสเลือด (Septicemia) เป็นอันตรายต่อชีวิต
การติดเชื้อหลังคลอด (Puerperal infection)
ความหมาย
การติดเชื้อแบคทีเรีย โดยทั่วไปจะใช้ตัวบ่งชี้จากมีไข้ที่อุณหภูมิตั้งแต่ 38◦C
สาเหตุ
ส่วนใหญ่เกิดจากการปนเปื้อนเชื้อโรคจากช่องคลอด หรืออวัยวะสืบพันธ์ภายนอกเข้าสู่บาดแผลตั้งแต่แผลฝีเย็บลุกลามไปอุ้งเชิงกราน หรือในโพรงมดลูก
อาการและอาการแสดง
น้ำคาวปลามีกลิ่นเหม็น (Foul lochia)
น้ำคาวปลาไหลนานกว่าปกติ
ปวดท้องน้อยและกดเจ็บบริเวณ Parametrium
ตรวจพบเม็ดเลือดขาวเพิ่มขึ้นพบได้ถึง 15,000-30,000 เซลล์/มล.
ไข้ (Fever ) 38-39 องศาเซลเซียส
การรักษาพยาบาล
การประเมินสัญญาณชีพและบันทึกทุก 4 ชั่วโมง
ประเมินการหดรัดตัว และระดับของมดลูก รวมทั้งลักษณะ ปริมาณ สี และ กลิ่นน้ำคาวปลา
การพักผ่อนและได้รับสารน้ำและอาหารที่เพียงพอ
ได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะทางหลอดเลือดดำ ดูแลให้ได้รับยาปฏิชีวนะ ตามแผนการรักษา
เต้านมอักเสบเป็นฝี (Breast abscess)
อาการและอาการแสดง
ไข้ 38-40องศาเซลเซียส
เต้านมข้างที่เป็นฝีน้ำนมไม่ไหล หรืออาจพบว่าน้ำนมมีสีเขียว ปนเหลืองคล้ายหนอง
เจ็บที่เต้าคลำได้ก้อน (lump) ที่เกิดจากน้ำนมขังอยู่ในกลีบถุงสร้างน้ำนมและกดเจ็บ (tenderness) เต้านมมีสีแดงคลำปวดถ่วงที่เต้านมกว่าปกติ
การรักษาพยาบาล
ดูแลได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะทางหลอดเลือดดำ ตามแผนการรักษา
ยาบรรเทาความเจ็บปวด
การเจาะหรือใส่หลอดสวน (catheter) เพื่อระบายหนอง
ปกติจะไม่งดดูดนมข้างที่เป็นนอกจากลักษณะของน้ำนมจะเปลี่ยนสี รวมทั้งเมื่อตรวจพบเชื้อโรคในน้ำนมเทานั้น จึงงดการให้นมข้างที่เป็นในก้อนในระยะแรกก่อน
ในกรณีที่ให้งดดูดเต้านมข้างที่เป็นก้อน ต้องดูแลช่วยเหลือมารดาในการทำให้เต้านมข้างที่เป็นว่าง
ในกรณีที่สีน้ำนมไม่เปลี่ยน หรือตรวจไม่พบเชื้อโรคในน้ำนม จะต้องกระตุ้นให้ลูกดูดนมข้างที่เป็นก่อนโดยใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำอุ่นจัดประคบที่เต้านมก่อนให้บุตรดูดนม
หลังจากลูกดูด หรือหลังบีบน้ำนมใช้ความเย็นประคบ เพื่อลดอาการปวด
สาเหตุ
เกิดจากการที่มีน้ำนมเก่าคั่งค้างในเต้านม โดยไม่ได้ระบายน้ำนมออกเท่าที่ควร หรือมีท่อน้ำนมอุดตัน
หลอดเลือดดำอักเสบจากการอุดตัน (Thrombophlebitis)
ความหมาย
ภาวะที่มีก้อนหรือลิ่มเลือดภายในหลอดเลือดทำให้เส้นเลือดบางส่วนเกิดการอุดตัน ทำให้อวัยวะส่วนนั้นบวมแดงอักเสบ
ประเภท
การอุดตันของหลอดเลือดที่อยู่ลึก (Deep venous thrombosis) พบบ่อย คือ เส้นเลือดดำที่ขา
การอุดตันของหลอดเลือดที่ปอด (Pulmonary embolism) ซึงมีความรุนแรงเฉียบพลันที่สุด
การอุดตันอักเสบของหลอดเลือดระดับตื้น (Superficial venous thrombosis)
สาเหตุ
การมีบาดแผลที่ผนังด้านในของหลอดเลือดดำ (Vascular endothelial injury)
การเปลี่ยนแปลงการไหลเวียนของเลือดดำ เช่น เลือดไหลเวียนช้าลง (Stasis) ในระหว่างตั้งครรภ์
เลือดแข็งตัวได้ง่าย (Hypercoagulability)
อาการและอาการแสดง
Deep venous thrombosis
เท้าและขาบวมใหญ่ขึ้น
ปวดเวลาเดิน กดเจ็บ คลำ ร้อน
มีอาการปวดที่น่องเมื่อกระดกปลายเท้าขึ้น ( positive Homan’s sign)
อาจคลำได้หลอดเลือดเป็นเส้นแข็ง
Pulmonary embolism
หายใจลำบาก เวลาหายใจเข้าเจ็บเหมือนถูกมีดแทง
ไอถี่ๆ หรือไอเป็นเลือด
ภาวะช็อก
หัวใจเต้นเร็ว
การรักษาพยาบาล
แนะนำให้ยกขาสูงกว่าหัวใจเพื่อเพิ่มการไหลกลับของเลือดดำ (venous return)
ให้ยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำ และยากิน เช่น Heparin
กระตุ้นให้บริหารเทาและข้อเท้า (foot & ankle exercise)
กระตุ้นให้มีการเคลื่อนไหวโดยเร็วที่สุด (early ambulation)
ภาวะอารมณ์เศร้าหลังคลอด (Postpartum blues)
ความหมาย
เป็นปัญหาสุขภาพจิตจากปรับตัวที่ยังไม่เป็นภาวะป่วย
อาการ
นอนไม่หลับ , รู้สึกเศร้า อยากร้องไห้ ,อ่อนเพลีย , วิตกกังวลง่าย, ไม่คอยมีสมาธิ, ปวดศีรษะ
การบำบัดรักษา
ให้ความมั่นใจและกำลังใจกับมารดาหลังคลอด
แนะนำให้สามีและครอบครัวให้กำลังใจ
ให้ข้อมูล ความรู้เกี่ยวกับการดูแลทารก
ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด (Postpartum Depression)
สาเหตุ
การสูญเสียคุณค่าในตนเองในระยะตั้งครรภ์
มารดามีอายุน้อย
อาการและอาการแสดง
ฉุนเฉียวง่ายหรืออารมณ์โกรธ
มีความคิดที่จะฆ่าตัวตาย
ความวิตกกังวล อารมณ์ แกว่งอยางไม่มีเหตุผล
ขาดความสนใจในตัวลูก
ปัญหาทางการนอน เช่น นอนไม่หลับหรือนอนมากเกินไป
ความหมาย
เป็นภาวะป่วยมีความรุนแรงกวาภาวะอารมณ์เศร้าหลังคลอด (Postpartum blue)
การรักษาพยาบาล
หากมีอาการควรประเมินอาการเบื้องต้นทันทีทุกราย
ปรึกษาจิตแพทย์เพื่อให้การวินิจฉัยและบำบัดรักษา
โรคนี้อาจรุนแรงถึงขนาดมีการทำร้ายตนเอง หรือทำร้ายลูก
การพยาบาลในระยะหลังคลอดครอบคลุมการป้องกันมารดา ไม่ให้เกิดภาวะซึมเศร้าหลังคลอด และดูแลมารดาที่มีภาวะซึมเศร้า
ผลกระทบ
ทำให้มีความเสี่ยงต่อภาวะขาดสารอาหาร
การมีภาวะซึมเศร้าหลังคลอดเป็นเวลานาน มารดาไม่สามารถควบคุมอารมณ์ด้านลบ
อาจรุนแรงถึงขั้นสามารถฆ่าตัวตายได้ในที่สุด
ขาดความสามารถในการเลี้ยงดูบุตร
กลุ่มอาการชีแฮน (Sheehan syndrome)
ความหมาย
ภาวะที่ต่อมใต้สมอง (Pituitary gland) เกิดการขาดเลือดไปเลี้ยงอย่างเฉียบพลันทำให้ต่อมใต้สมองส่วนหน้าสูญเสียการทำงาน
สาเหตุ
ปริมาณเลือดที่เสียจะมากจนเกิดภาวะช็อก
ช่วงตั้งครรภ์จนถึงหลังคลอดใหม่ๆ ต่อมใต้สมองจะมีขนาดใหญ่ขึ้น
อาการและอาการแสดง
ไม่มีประจำเดือนหลังคลอด
การไม่ผลิตน้ำนม ไม่มีน้ำนมเลี้ยงดูบุตรหลังคลอด
มีอาการฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำ
การทำงานต่อมหมวกไตผิดปกติ ทำให้การรักษาสมดุลของเกลือแร่ในร่างกายสูญเสียไป
การรักษาพยาบาล
ในกรณีที่ไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำต้องรักษาโดยการเสริมไทรอยด์ฮอร์โมน เช่น eltroxin, hydrocortisone
การป้องกันระยะ 24 ชม หลังคลอดต้องเฝ้าระวังภาวะตกเลือดหลังคลอดอย่างใกล้ชิด
ผลกระทบ
อาจไม่สามารถมีบุตรได้อีกถ้าขาดฮอร์โมนเพศ
อาจทำให้ไม่มีน้ำนมเลี้ยงดูบุตร
ต้องกินฮอร์โมนทดแทนตลอดชีวิต