Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การ ดาวน์โหลด โหลด และ ติด ตั้ง windows 8.1 (วิธีการลง Windows 8.1…
การ ดาวน์โหลด โหลด และ ติด ตั้ง windows 8.1
วิธีลง Windows 8,8.1 หรือ การติดตั้งวินโดว์ 8, 8.1
ก่อนที่จะเริ่มทำการติดตั้งนั้น ให้ทำการสำรองข้อมูลของคุณทั้งหมดที่อยู่ใน hdd เพื่อลดความเสี่ยงของการสูญเสียข้อมูลใดๆ หรือสำหรับเครื่องใหม่ก็ไม่ต้องสำรอง ในการติดตั้ง Windows และจัดเตรียม Windows 8, 8.1 เป็นแผ่น DVD หรือ USB Flash drive (วิธีทำ boot windows ผ่าน USB Flash drive) และสำหรับคนที่ต้องการแบบ UEFI คลิกที่นี้ เพื่อดูการทำให้รองรับ uefi
และให้ต้องแน่ใจว่าเครื่องของเรานั้นมีสเปคตามที่ระบบต้องการด้วยนะครับ เช่นแรม hdd เป็นต้น ดูได้ตามข้อถัดไป ปัจจุบันการจำหน่ายเครื่องคอมฯ มักจะมี windows มาให้ด้วย แต่มักจะชอบค้างๆบ้างเป็นบางที แนะนำให้ลงใหม่ดีกว่าครับ เพื่อที่จะได้เคลียขยะที่อยู่ใน hdd แม้จะไม่เคยใช้งานมาก็ตาม
ก่อนที่จะเริ่มทำการติดตั้งนั้น ให้ทำการสำรองข้อมูลของคุณทั้งหมดที่อยู่ใน hdd เพื่อลดความเสี่ยงของการสูญเสียข้อมูลใดๆ หรือสำหรับเครื่องใหม่ก็ไม่ต้องสำรอง ในการติดตั้ง Windows และจัดเตรียม Windows 8, 8.1 เป็นแผ่น DVD หรือ USB Flash drive (วิธีทำ boot windows ผ่าน USB Flash drive) และสำหรับคนที่ต้องการแบบ UEFI คลิกที่นี้ เพื่อดูการทำให้รองรับ uefi
และให้ต้องแน่ใจว่าเครื่องของเรานั้นมีสเปคตามที่ระบบต้องการด้วยนะครับ เช่นแรม hdd เป็นต้น ดูได้ตามข้อถัดไป ปัจจุบันการจำหน่ายเครื่องคอมฯ มักจะมี windows มาให้ด้วย แต่มักจะชอบค้างๆบ้างเป็นบางที แนะนำให้ลงใหม่ดีกว่าครับ เพื่อที่จะได้เคลียขยะที่อยู่ใน hdd แม้จะไม่เคยใช้งานมาก็ตาม
ก่อนที่จะเริ่มทำการติดตั้งนั้น ให้ทำการสำรองข้อมูลของคุณทั้งหมดที่อยู่ใน hdd เพื่อลดความเสี่ยงของการสูญเสียข้อมูลใดๆ หรือสำหรับเครื่องใหม่ก็ไม่ต้องสำรอง ในการติดตั้ง Windows และจัดเตรียม Windows 8, 8.1 เป็นแผ่น DVD หรือ USB Flash drive (วิธีทำ boot windows ผ่าน USB Flash drive) และสำหรับคนที่ต้องการแบบ UEFI คลิกที่นี้ เพื่อดูการทำให้รองรับ uefi
และให้ต้องแน่ใจว่าเครื่องของเรานั้นมีสเปคตามที่ระบบต้องการด้วยนะครับ เช่นแรม hdd เป็นต้น ดูได้ตามข้อถัดไป ปัจจุบันการจำหน่ายเครื่องคอมฯ มักจะมี windows มาให้ด้วย แต่มักจะชอบค้างๆบ้างเป็นบางที แนะนำให้ลงใหม่ดีกว่าครับ เพื่อที่จะได้เคลียขยะที่อยู่ใน hdd แม้จะไม่เคยใช้งานมาก็ตาม
วิธีการลง Windows 8.1
1 ใส่แผ่น DVD หรือ USB Windows แล้วทำการ Restart คอมพิวเตอร์
หลังจากคอมพิวเตอรฺเริ่มทำงาน ให้กด F12 หรือ F9 เพื่อ Boot menu ( ปุ่ม boot menu อาจแตกต่างกันตามยี่ห้อนั้นๆ หากไม่ทราบ คลิกดูที่นี้) แล้วทำการเลือก DVD หรือ USB Flash drive (ในที่นี้ Boot DVD)
2. จากนั้นจะแสดงข้อความ Press any key to boot from CD or DVD.. ให้กด Enter
3. จากนั้นจะแสดงให้เห็นสถานะ เริ่มโหลดของ Windows 8
4. คลิก Next
5. คลิก Install now
6. ทำเครื่องหมายถูกที่ช่อง I accept the license terms จากนั้นคลิก Next
7. คลิกเลือก Custom: Install Windows only (advanced)
8. (กรณีที่เครื่องยังไม่เคยลง windows หากเคยลง windows มาแล้วให้ข้ามไปข้อ 11) คลิก New เพื่อสร้าง พาสดิชัน
9. กำหนดขนาดไดร์ C: เพื่อติดตั้ง Windows โดยมีหน่อยเป็น MB (1024 MB = 1 GB) เสร็จแล้วคลิก Apply
10. คลิก OK
11. ให้คลิกเลือก Drive 0 Pastition 2 ซึ่งเป็น Drive ที่จะทำการติดตั้ง Windows แล้วคลิก Format
12. คลิก OK
13. คลิกเลือก Drive 0 Partition 2 แล้วคลิก Next
14. ถึงขั้นตอนนี้ให้จิบกาแฟรอ ^^ โดยคอมพิวเตอร์จะรีสตาร์ทเอง 1 ครั้ง
15. หลังจากนั้น windows จะให้กำหนดชื่อ PC name (ชื่อคอมพิวเตอร์) ให้เรากำหนดชื่อตามต้องการ และสามารถเลือกสีของพื้นหลังได้ เมื่อเสร็จแล้วให้คลิก Next
16. คลิก User express settings
17. หน้านี้เป็นการตั้งค่าผู้ใช้ โดยสามารถใช้ Microsoft account เข้าใช้งานได้
(@outlook.com
,
hotmail.com)
แล้วคลิก Next โดยคอมพิวเตอร์ต้องเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต (โดยการติดตั้งครั้งนี้จะเลือกแบบสร้าง Account on local โดยไม่เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต ให้คลิกที่ Create a new account)
18. คลิก Sign in without a Microsoft account
19. กำหนดชื่อ User name, Password และ Password hint (คำใบ้กรณีที่ลืมพาสเวิร์ด) เสร็จแล้วคลิก Finish
20. หลังจากนั้นเราก็จะเห็นหน้า Windows 8, 8.1 แล้ว
Bootable
boot หรือการบู๊ตเครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นการโหลดระบบปฏิบัติการเข้าสู่หน่วยความจำหลักของคอมพิวเตอร์ หรือหน่วยความจำชั่วคราว (RAM) เมื่อมีการโหลดระบบปฏิบัติการ (บนเครื่องคอมพิวเตอร์จะเห็นการเริ่ม Windows หรือ Mac บนจอภาพ) แสดงว่าพร้อมให้ผู้ใช้เรียกใช้โปรแกรมประยุกต์ บางครั้งจะพบคำสั่ง “reboot" ในระบบปฏิบัติการ ซึ่งมีความหมายว่ามีการโหลดระบบปฏิบัติการใหม่ (การใช้คำสั่งนี้ที่คุ้นเคยกัน ให้กดปุ่ม (Alt, Ctrl และ Delete พร้อมกัน)
ในคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ (รวมถึงเครื่องเมนเฟรม) มีคำที่เทียบได้กับ “boot" คือ "Initial Program Load (IPL)" และสำหรับ "reboot" คือ "re-IPL" นอกจากที่ boot สามารถใช้เป็นคำนามเหมือนกับ การบู๊ตระบบ (system boot) คำนี้มีที่มาจากคำว่า “bootstrap " ซึ่งหมายถึงหว่งหนังขนาดเล็กด้านหลังของรองเท้าบู๊ตที่ให้ดึง เพื่อดึงรองเท้าขึ้น การบู๊ตระบบปฏิบัติการโดยการโหลดโปรแกรมขนาดเล็กเข้าไปในเครื่องคอมพิวเตอร์ และให้โปรแกรมควบคุมการโหลดระบบปฏิบัติการต่อไป
การบู๊ตหรือโหลดระบบปฏิบัติการมีความแตกต่างกันมากกว่าการติดตั้ง ซึ่งการกระทำเพียงครั้งเดียว เมื่อมีการติดตั้งระบบปฏิบัติการ จะมีขึ้นตอนในการเลือกวิธีการคอนฟิก เมื่อสิ้นสุดการติดตั้งระบบปฏิบัติการบนฮาร์ดดิสก์พร้อมที่จะบู๊ต (โหลด) เข้าสู่หน่วยความจำชั่วคราว ซึ่งเป็นที่เก็บที่ใกล้กับไมโครโพรเซสเซอร์ และทำงานเร็วกว่าฮาร์ดดิสก์ โดยปกติ ภายหลักการติดตั้งระบบปฏิบัติการแล้วเปิดเครื่องใหม่ ระบบปฏิบัติการจะบู๊ตอย่างอัตโนมัติ ถ้าการใช้งานมีปัญหาหน่วยความจำไม่พอ หรือระบบปฏิบัติการ หรือโปรแกรมประยุกต์มีความผิดพลาด จะมีข้อความแสดงความผิดพลาดหรือจอภาพอยู่นิ่ง ในกรณีเหล่านี้จำเป็นต้อง “reboot " ระบบปฏิบัติการ
ขั้นตอนการบู๊ต
หมายเหตุ ขึ้นตอนเหล่านี้อาจจะแตกต่างจาก MAC, UNIX, OS/2 หรือ ระบบปฏิบัติการอื่น ๆ เมื่อมีการเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ระบบปฏิบัติจะได้รับการตั้งค่าในการบู๊ต (โหลดไปที่ RAM) โดยอัตโนมัติ ตามขึ้นตอนต่อไปนี้
เมื่อเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ BIOS (Basic Input/Output System) ที่อยู่บนชิป ROM (read-only menoy) จะ”ถูกปลุก” และทำงาน โดย BIOS จะพร้อมในการโหลด เพราะว่าอยู่ชิป ROM ซึ่งต่างจาก RAM เนื่องจากข้อมูลใน ROM ไม่มีการลบเมื่อมีการปิดเครื่อง
BIOS ในขึ้นตอนที่ 1 จะทำการตรวจสอบ แบบ power-on self test (POST) เพื่อทำให้มั่นใจว่าอุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์ทั้งหมดทำงานได้ จากนั้นโปรกแกรมบู๊ตของ BIOS จะมองหาโปรแกรมบู๊ตพิเศษที่ทำหน้าที่โหลดระบบปฏิบัติการไปที่ ฮาร์ดดิสก์
ขึ้นแรก มองหาในไดรฟ์ A เป็นสถานที่ที่ระบุที่เก็บไฟล์บู๊ตของระบบปฏิบัติการ (ถ้าระบบปฏิบัติการเป็น MS-DOS จะหาไฟล์ 2 ไฟล์ ชื่อ IO.SYS แลt MSDOS.SYS) ถ้ามีดิสก์ในไดรฟ์ A แต่ไม่ใช้แผ่น system สำหรับการใช้งาน BIOS จะส่งข้อความบอกว่าไดรฟ์ A ไม่มีแผ่น system ถ้าไดรฟ์ A ไม่มีดิสก์ BIOS จะมองหาไฟล์ system จากตำแหน่งที่ระบุในฮาร์ดดิสก์
เมื่อระบุไดรฟ์ที่เก็บไฟล์บู๊ตแล้ว BIOS จะมองต่อไปที่ sector แรก (พื้นที่ 512-byte) และสำเนาสารสนเทศจากตัว BIOS ไปยังตำแหน่งที่ระบุใน RAM สารสนเทศนี้เรียกว่า boot record หรือ Mastor Boot Record
จากนั้นจะโหลด boot record ไปที่ตำหน่งที่ระบุใน RAM (address 7C00)
boot record เก็บโปรแกรมที่ BIOS ส่งให้เพื่อให้ boot record ควบคุมคอมพิวเตอร์ต่อไป
boot record จะโหลดไฟล์เริ่มต้น (เช่น ระบบ DOS คือ IO.SYS) ไปที่ RAM จากดิสก์หรือฮาร์ดดิสก์
ไฟล์เริ่มต้น (เช่น IO.SYS ซึ่งรวมถึงโปรแกรม SYSINIT) จะโหลดส่วนที่เหลือของระบบปฏิบัติการไปที่ RAM (จากจุดนี้ boot record ไม่มีความจำเป็นแล้ว และสามารถแทนที่ด้วยข้อมูลอื่น)
ไฟล์เริ่มต้น (เช่น SYSINIT) จะโหลดไฟล์ระบบ (เช่น MSDOS.SYS) ซึ่งสามารถทำงานกับ BIOS ได้
ไฟล์ของระบบปฏิบัติการ ไฟล์หนึ่งที่โหลดเข้ามาเป็นชุดแรก คือ ไฟล์คอนฟิกระบบ (สำหรับ DOS เรียกว่า CONFIG.SYS) สารสนเทศในไฟล์คอนฟิกจะบอกให ้โหลดโปรแกรมที่เจาะจงในชุดไฟล์ ของระบบปฏิบัติการที่จำเป็นต้องโหลด (เช่น ไฟล์ driver ของอุปกรณ์)
ไฟล์พิเศษอีกไฟล์ที่ทำหน้าที่บอกถึงโปรแกรมประยุกต ์หรือคำสั่งที่ผู้ใช้ต้องการใช้ ที่รวมอยู่ขั้นตอนการบู๊ตใน DOS เรียกไฟล์ที่ว่า AUTOEXEC.BAT ใน Windows เรียกว่า WIN.INI
หลังจากไฟล์ทั้งหมดระบบปฏิบัติการได้รับการโหลดแล้ว ระบบปฏิบัติการจะทำหน้าที่ควบคุมคอมพิวเตอร์ และทำงานตามการขอเริ่มต้น จากนั้นจะรอคำสั่งจากผู้ใช้
Partition
หมายถึง ส่วนหนึ่งของฮาร์ดดิสก์ (hard disk) ที่กันเอาไว้เพื่อใช้เก็บระบบปฏิบัติการ (operating system) โดยเฉพาะ
Primary Partition
partition คือ การแบ่งพื้นที่ของฮาร์ดดิสก์เป็นส่วน ๆ หรือแบ่งเป็นหลาย ๆไดร์ฟ เพื่อความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูลและโปรแกรม และยังทำให้การเจัดเก็บข้อมูลมีความเป็นระเบียบ นอกจากนี้ก็เพื่อแยกข้อมูลสำคัญต่างๆออกจากระบบปฏิบัติการ เพื่อความปลอดภัยจาก virus ได้ในระดับหนึ่งเพื่อให้ง่ายต่อการกู้ข้อมูล และกู้ระบบปฏิบัติการด้วย โดยปกติเราควรแบ่งพาร์ติชั่นอย่างน้อยเป็น 2 ไดร์ฟ คือ C และ D (ไดร์ฟ C สำหรับติดตั้งโปรแกรมต่าง ๆ ส่วน ไดร์ฟ D สำหรับเก็บข้อมูล หรือเพื่อสำรองข้อมูล) ประโยชน์ของการแบ่งฮาร์ดดิสก์เป็นส่วนๆ หรือเป็น partition ก็อย่างเช่น เมื่อมีการใช้งาน Windows ไปสักพักหนึ่ง แล้วระบบ windows เกิดมีมีปัญหาแบบแก้ไม่ได้ ทางแก้ไขที่ดีที่สุดคือการ format ฮาร์ดดิสก์ แล้วลง windows ใหม่และติดตั้งโปรแกรมใหม่ ดังนั้นถ้ามีไดร์ฟเดียว จะทำให้มีปัญหาของข้อมูลที่เราต้องการสำรอง แต่หากเราได้ทำการแบ่งฮาร์ดดิสก์แล้ว เราก็สามารถเลือก format เฉพาะไดร์ฟ C ซึ่งเป็นไดร์ฟที่เราลง windows (หรือระบบปฏิบัติการ) และโปรแกรมต่างๆไว้ได้ โดยที่ข้อมูลในไดร์ฟ D ที่เราสำรองเก็บไว้ไม่หายไปกับการ format
ประเภทของพาร์ติชั่น แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท
1.Primary Partition เป็นพาร์ติชั่นหลักของระบบคอมพิวเตอร์ ใช้สำหรับในการบูตเข้าระบบคอมพิวเตอร์ พาร์ติชั่นหลักจะหมายถึง drive C:
2.Extended Partition พาร์ติชั่นเสริม เพื่อใช้สำหรับเก็บข้อมูลและโปรแกรม เมื่อมีการสร้าง extened partition จะเกิด Logical Partition อัตโนมัติ โดยเราสามารถแบ่งเป็นพาร์ติชั่นย่อย ๆ ได้ และสามารถกำหนด drive ได้ตั้งแต่ D จนถึง Z การสร้าง extended partition จะสร้างได้ ต้องสร้างหลัง primary partition แล้วเท่านั้น
3.Logical Partition เป็นพาร์ติชั่นที่อยู่ภายใต้ extened partition จะเกิด logical partition ได้ต่อเมื่อมีการสร้าง extened partition ก่อนเท่านั้น
วิธีการแบ่ง Partition นั้นสามารถทำได้โดยใช้โปรแกรมสำหรับแบ่ง Partition เช่น
1.Norton Partition Magic Pro Server 8.05
2.Paragon Partition Manager
3.Acronis Disk Director Suite
4.Smart Fdisk 2.05
ข้อมูลอ้างอิง
https://sites.google.com
http://www.kaweeclub.com
http://samuicom.blogspot.com
ISO file
คือไฟล์ที่มีการติดตั้งข้อมูลทั้งหมดจาก cd/dvd
Image file
ไฟล์ชนิดหนึ่งอ้างอิงจากการเขียนข้อมูลจากสื้อ cd/dvd
Format
รูปเเบบโครงสร้างหรือลักษณะของหน่วยหนึ่งๆของข้อมูล
ผู้จัดทำ
เจนจิรา ศรีสังวร
รสมาลิน อรรคมุุต
ชั้นม. 3/4