Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาล กรณีผู้ป่วยเกิดความขัดเเย้งกันในหอผู้ป่วย (ด้านจิตใจ…
การพยาบาล
กรณีผู้ป่วยเกิดความขัดเเย้งกันในหอผู้ป่วย
ด้านจิตวิญญาณ
1.สร้างสัมพันธภาพกับผู้ป่วยให้ผู้ป่วยเกิดความเชื่อถือและไว้วางใจ เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการให้การพยาบาล
2.ให้การพยาบาลแก่ผู้ป่วยทุกคนโดยเท่าเทียมกัน โดยไม่เลือกเชื้อชาติ ศาสนา ฐานะ และยึดถือคุณธรรมจริยธรรมวิชาชีพในการให้การพยาบาล
3.ปฏิบัติต่อผู้ป่วยทุกคนโดยคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ปฏิบัติต่อผู้ป่วยด้วยความสุภาพ อ่อนโยนและเข้าใจ ปราศจากการบังคับ ขู่เข็ญ หรือล่วงเกิน พร้อมทั้งอธิบายและแจ้งแก่ผู้ป่วยทุกครั้งก่อนให้การพยาบาล
4.สอบถามหรือให้ผู้ป่วยทุกคนพูดถึงความเชื่อของศาสนา ทัศนคติต่างๆ รวมถึงพิธีกรรมต่างๆที่ผู้ป่วยแต่ละคนยึดถือ ซึ่งก็จะแตกต่างกันออกไป เพื่อให้ทราบถึงแนวปฏิบัติของแต่ละคน ให้มีความเข้าใจตรงกันป้องกันการละเมิดความเชื่อทัศนะคติในส่วนนั้น
5.ในกรณีที่เกิดความขัดแย้งขึ้นภายในหอผู้ป่วย ให้ผู้ป่วยที่มีความขัดแย้งกันได้มาพูดคุยกัน โดยที่ยังไม่มีการกล่าวหาว่าฝ่ายใดถูก ฝ่ายใดผิด เราต้องทำหน้าที่เป็นผู้รับฟัง และให้ความเป็นธรรมแก่ผู้ป่วยทุกฝ่ายเท่าเทียมกัน และให้ผู้ป่วยตกลงและเข้าใจกันได้ ไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้งกันในภายหลัง
ด้านจิตใจ
สร้างสัมพันธภาพให้ผู้ป่วยเกิดความเชื่อถือและไว้วางใจ เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการให้การพยาบาล
3.ประเมินพฤติกรรมการมีปฏิสัมพันธ์กับ บุคคลอื่น อารมณ์ ความคิด และการรับรู้ พฤติกรรมเสี่ยงต่อการทําร้ายตนเองและผู้อื่น
เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้พูดระบายความรู้สึก เพื่อช่วยลดความขัดแย้งในใจของผู้ป่วย
5.ขณะเข้ากลุ่มพยาบาลควรเป็นกลาง เเสดงความเข้าในเห็นอกเห็นใจ มองว่าปัญหาของผู้ป่วยทุกคนสำคัญ เพื่อผผู้ป่วยมีความสำคัญเเละมีค่ากับผู้อื่น
7.ส่งเสริมให้ผู้ป่วยเข้าร่วมการบําบัดรักษาอย่างสม่ำเสมอ เมื่อผู้ป่วยสามารถสร้างสัมพันธภาพกับคนอื่นได้ดี เสริมแรงด้วยการชื่นชมผู้ป่วยให้เกิดการแสดงพฤติกรรมที่ต่อเนื่อง
ุ8.ให้ความรู้แก่ผู้ป่วยและครอบครัวในการดูแลสุขภาพและการปรับตัวต่อการอยู่ร่วมกัน
1.จัดทำกลุ่มบำบัด อธิบายให้เหตุผลเกี่ยวกับการจัดทำกลุ่มพูดคุยถึงประเด็นความขัดเเย้ง เเละเเจ้งให้ผู้ป่วยทราบว่าจะไม่นำความลับไปเปิดเผยที่อื่น เพื่อให้ผู้ป่วยสบายใจเเละสามารถพูดคุยเเสดงความรู้สึกออกมาได้อย่างเปิดเผย
6.ไม่ตำหนิหรือต่อว่าผู้ป่วยเมื่อมีความคิดเห็นที่แตกต่างจากผู้อื่น เพราะจะทำให้ผู้ป่วยกลัวไม่กล้าพูดระบายความรู้สึกออกมา
ด้านร่างกาย
2.ให้ความรู้ผู้ป่วยเเละญาติเกี่ยวกับยาที่ผู้ป่วยได้รับ โดยสังเกตอาการข้างเคียงที่เกิดขึ้น เพื่อที่จะได้จัดการลดหรือแก้ไขปัญหานั้นๆได้ทันท่วงที
3.จัดกิจกรรมการออกกำลังกาย เเละดูเเลให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เพื่อให้มีสุขภาพร่างกายดี เมื่อภาวะสุขภาพทางกายดีแล้วนั้น บุคคลจะสามารถปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมทางสังคมได้อย่างผาสุกต่อไป
1.การดูแลให้ผู้ป่วยได้รับยารักษาอาการทางจิต ตามแผนการรักษา เพราะยารักษาอาการทางจิต จะช่วยลดระดับอาการ เจ็บป่วยทางจิตลดลงได้
4.จำกัดพฤติกรรมโดยการผูกยึกหรือใช้ห้องเเยก เมื่อผู้ป่วยมีความขัดเเย้งกันอย่างรุนเเรงซึ่งอาจก่อให้เกิดการทะเลาะวิวาทได้
ด้านสังคมและสิ่งเเวดล้อม
1.อธิบายให้ผู้รับบริการและญาติเข้าใจถึงการรักษาและอธิบายให้ผู้รับบริการและญาติเข้าใจว่าถ้าได้รับการรักษาแล้วก็จะสามารถกลับไปใช้ชีวิตการอยู่ร่วมกันในสังคมได้
2.สร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างพยาบาลเเละผู้ป่วยแบบ Adult-Adult interaction เเละร่วมกันว่าพฤติกรรมอะไรที่เป็นปัญหาอยู้ขณะนี้ เเละทำความเข้าใจให้ตรงกัน จะช่วยส่งเสริมความร่วมมือความเข้าใจที่ชัดเจน เเละความรับผิดชอบร่วมกัน
4.จัดให้มีห้องโถงเเละห้องนั่งเล่น มีเกมส์ หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ เพื่อให้ผู้ป่วยได้พูดคุยพบปะสังสรรค์ ไม่แยกตัวอยู่คนเดียว
5.จัดห้องอาหารให้กว้างเเละเพียงพอ เพราะเป็นที่ที่ผู้ป่วยพบปะสมาคมโดยพร้อมเพรียง เเละเป็นการเรียนรู้ทักษะทางสังคม การใช้ชีวิตของเเต่ละคน
3.ร่วมกันปรึกษาหารือการออกกฎระเบียบการอยู่ร่วมกันในหอผู้ป่วย เพื่อให้เกิดเเนวปฏิบัติในทิสทางเดียวกันเดียวกัน