Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลมารดาที่มีภาวะแทรกซ้อนในระยะ หลังคลอด (1) การบวมเลือดของแผลฝีเย็…
การพยาบาลมารดาที่มีภาวะแทรกซ้อนในระยะ
หลังคลอด
1) การบวมเลือดของแผลฝีเย็บ (Hematoma)
เป็นภาวะที่มีการฉีกขาดของเส้นเลือดดำบริเวณเนื้อเยื่อเกี่ยวพันของอวัยวะสืบพันธ์ภายนอกฝีเย็บ(Perineum)หรือเยื่อบุภายในอุ้งเชิงกราน (Vaginal Mucosa) ทำให้มีเลือดไหลคั่งรวมที่บริเวณแผลฝีเย็บจนโป่งภายหลัง
สาเหตุ Hematoma
การคลอดที่รวดเร็วจนเส้นเลือดดำฉีกขาด เช่น คลอดเองโดยไม่ได้ตัดแผลฝีเย็บ(Episiotomy)
การตัดแผลฝีเย็บที่ไม่เหมาะสม
เส้นเลือดที่ฉีกขาดไม่ได้ร้ับการผูกซ่อมแซมก่อนที่จะเย็บแผลที่ฝีเย็บ
บีบคลึงมดลูกรุนแรงทำให้เลือดคั่งเนื้อเยื่อเกี่ยวพันใต้เยื่อบุช่องท้อง
การเย็บซ่อมแซมแผลฝีเย็บไม่ถึงก้นแผล ทำให้มีช่องว่างเกิดการคั่งรวมของเลือดได้
อาการและอาการแสดงHematoma
ปวดหน่วงแผลฝีเย็บและช่องคลอดอย่างรุนแรง
ตรวจพบก้อนบวม โป่งแข็งที่แผลฝีเย็บ ส่วนใหญ่ก้อนจะใหญ่ขึ้นเรื่อย และมีสีม่วงคล้ำ
อาจพบปัสสาวะไม่ได ้เพราะบวมปิดถึงท่อปัสสาวะ และปวดจนไม่กล้าปัสสาวะ
ถ้าตำแหน่งที่เลือดคั่งอยู่ต่ำกว่า Urogenital diaphragm ก้อนเลือดที่คั่ง จะดันแผลฝีเย็บนูนโป่งไปที่ทวารหนักและก้นกบ มารดาหลังคลอดจะรู้สึกปวดถ่วงคล้ายกับจะถ่ายอุจจาระตลอด ลักษณะนี้ต้องตรวจภายในถึงพบก้อนเลือด
การรักษาพยาบาลHematoma
พยาบาลหลังคลอดควรประเมินแผลฝีเย็บทันทีเมื่อแรกรับ อาจใช้การประเมินการบวมของแผลฝีเย็บภายหลัง คลอดตามแนวทางREEDA: Evaluating Postpartum Healing
กรณีก้อนเลือดขนาดใหญ่เพิ่มมากขึ้น การรักษาแก้ไขในห้องผ่าตัดโดยจะเปิดแผลที่เย็บ และนำก้อนเลือดที่คั่งค้างออก(Evacuated)
การได้รับสารน้ำ เลือดทดแทนที่สูญเสียไป รวมทั้งสารอาหารที่เพียงพอ
การได้รับยาปฏิชีวนะ
การประเมินสัญญาณชีพทุก 1ชม.และทุก 4ชม.เมื่อคงที่ รวมทั้งอาการ และอาการแสดงเพื่อติดตามอาการผิดปกติ
7 . การประเมินระดับความเจ็บปวดและได้รับ
ยาบรรเทาปวด
การทำแผล อบแผล หรือการแช่ก้น
หากก้อนมีขนาดเล็กเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 5 ซม.ให้ประคบน้ำแข็งเพื่อลดอาการปวดและบวม
3) การติดเชื้อหลังคลอด (Puerperal infection)
เป็นภาวะที่มีการติดเชื้อของระบบอวัยวะสืบพันธ์(Genital tract) หลังคลอดบุตรทางช่องคลอด หรือการผ่าตัดคลอด ส่วนมากเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย
สาเหตุการติดเชื้อหลังคลอด(Puerperal infection)
ส่วนใหญ่เกิดจากการปนเปื้อนเชื้อโรคจากช่องคลอด หรืออวัยวะสืบ พนัธ์ภายนอกเขา้สู่บาดแผลตั้งแต่แผลฝีเยบ็ลุกลามไปอุง้เชิงกราน หรือใน โพรงมดลกูใ
อาการและอาการแสดงภาวะติดเชื้อหลังคลอด
(Puerperal infection)
ไข้(Fever)เป็นอาการเริ่มแรกและสำคัญที่สุดที่บ่งบอกการติดเชื้อหลังคลอด อุณหภมูิระหว่าง 38-39 องศาเซลเซียส อาจมีหนาวสั่นร่วมด้วย อาจมีปวดศีรษะ หรือปวดหลังร่วมด้วย
ปวดท้องน้อย และกดเจ็บบริเวณ Parametrium เมื่อตรวจหน้าท้องและตรวจภายใน
น้ำคาวปลามีกลิ่นเหม็น(Foul lochia) อาจพบได้ต้ั้งแต่ระยะแรกซ่ึงตรวจพบได้ตั้งแต่ยังไม่มีไข้และไม่มีอาการปวดท้องน้อย
น้ำคาวปลาไหลนานกว่าปกติหรือน้ำคาวปลาหยุดไปแล้วแต่กลับมามีอีกหรือน้ำคาวปลาที่สีแดงจางลงแล้ว แต่กลับมีสีแดงมากขึ้น/มีเลือดออกนานขึ้น
ตรวจพบเม็ดเลือดขาวเพิ่มขึ้น พบได้ถึง 15,000-30,000 เซลล์/มล.
การรักษาพยาบาลภาวะติดเชื้อหลังคลอด
เมื่อมีการติดเชื้อจะได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะทางหลอดเลือดดำ ดูแลใหไ้ด้รับยาปฏิชีวนะ
การพักผ่อนและได้รับสารน้ำและอาหารที่เพียงพอ
การประเมินสัญญาณชีพและบันทึกทุก 4 ชั่วโมง รวมทั้งอาการและอาการแสดงเพื่อติดตามอาการของภาวะติดเชื้อ
ประเมินการหดรัดตัวและระดับของมดลูกรวมทั้งลักษณะ ปริมาณ สี และกลิ่นน้ำคาวปลา
4) เต้านมอักเสบเป็นฝี ( Breast abscess )
เป็นภาวะที่มีหนองเฉพาะที่ภายในเต้านม เป็นผลมาจากการอักเสบที่รุนแรงของเตา้นม
สาเหตุ
เกิดจากการที่มีน้ำนมเก่าคั่งค้างในเต้านม โดยไม่ได้ระบายน้ำนมออก เท่าที่ควร หรือมีท่อน้ำนมอุดตัน และเมื่อมีการติดเชื้อแบคทีเรียผ่านทางแผล หรือรอยแตกที่หัวนม จะทำใหเ้กิดการอักเสบของเต้านมตามมา
อาการและอาการแสดงปัจจัยเสี่ยงเต้านมอักเสบเป็นฝี (Breast abscess)
เจ็บที่เต้าคลำได้ก้อน (lump) ที่เกิดจากน้ำนมขังอยู่ในกลีบถุงสร้างน้ำนมและกดเจ็บ (tenderness)
เต้านมมีสีแดงคล้ำ ปวดถ่วงที่เต้านมกว่าปกติ
ไข ้38-40องศาเซลเซียส
เต้านมข้างที่เป็นฝีน้ำนมไม่ไหล หรืออาจพบว่าน้ำนมมีสีเขียวปนเหลืองคล้ายหนอง
ไม่สบายตัว (malaise) คลื่นไสัอาเจียน
การรักษาพยาบาลเต้านมอักเสบเป็นฝี (Breast abscess )
ดูแลได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะทางหลอดเลือดดำ ตามแผนการ รักษาและเฝ้าระวังสังเกตผลข้างเคียงของยา
ยาบรรเทาความเจ็บปวด
การเจาะหรือใส่หลอดสวน (catheter) เพื่อระบายหนอง โดยปกติลงมีด ตามแนวรัศมีของเต้านม ไม่ลงมีดตามขวางเพราะจะตัดท่อน้ำนมและไม่กรีดที่รอยต่อระหว่างเต้านมกับลานหัวนมเพราะจะตัดท่อน้ำนมจำนวนมาก
ในกรณีที่ให้งดดูดเต้านมข้างที่เป็นก่อน ต้องดูแลช่วยเหลือมารดาใน การทำให้เต้านมข้างที่เป็นว่างไม่มีน้ำนมคั่งค้างเพื่อป้องกันไม่ให้มีการอุดตันในท่อน้ำนมเพิ่ม
2) มดลูกเข้าอู่ช้า (Subinvolutionof Uterus)
ภาวะที่มดลูกใช้เวลาคืนสู่ภาวะปกติ ภายหลังคลอดมากกว่า 6 สัปดาห์ขึ้นไป
สาเหตุของมดลูกเข้าอู่ช้า(Subinvolutionof Uterus)
มีเศษรก หรือเยื่อหุ้มรกค้างในมดลูก ทำให้ขัดขวางการหดรัดตัวของมดลูก
มีก้อนเนื้องอกภายในมดลูก
การผ่าคลอดทางหน้าท้อง(CesarianSection) ส่วนใหญ่เป็นผลจากการฟื้นสภาพช้าเพราะรอยแผลผ่าตัดที่มดลูก
การติดเชื้อที่โพรงมดลูก
ภาวะที่ทำให้มดลูกมีการยืดขยายมาก เช่น ครรภ์แฝด แฝดน้ำ ทารกตัวโต
ระยะเวลาการคลอดที่ยาวนาน การได้รับยาคลายความเจ็บปวดก่อนคลอด ซ่ึงทำให้กล้ามเนื้อมดลูกผ่อนคลาย
การตั้งครรภ์มากกว่า 6 ครั้งขึ้นไป
อาการและอาการแสดงมดลูกเข้าอู่ช้า
Subinvolutionof Uterus
ตรวจพบลักษณะของมดลูกหดรัดตัวไม่ดี
-มดลกูมีขนาดใหญ่และอ่อนนุ่ม คลำหามดลูกไม่ชัดเจน
-ระดับยอดมดลูกไม่ลดลงตามปกติ ซ่ึงประเมินได้ภายในระยะเวลา 3 วัน หลังคลอด
-มีอาการปวดมดลูกผิดปกติเกิน 72 ชม.(Afterbirth Pain) เป็นอาการที่บ่งบอกถึงมีสิ่งตกค้างในมดลูก ทำให้บีบตัวมากกว่าปกติ
2.น้ำคาวปลาออกนานหรือปริมาณมากกว่าปกติ หรือน้ำคาวปลาเป็นสีแดงมีกลิ่นเหม็นอาจพบมีไข้ร่วมด้วย
หากเกิดภาวะมดลูกหดรัดตัวไม่ดีอย่างรุนแรงทำให้เกิดภาวะ ตกเลือดหลังคลอด ผู้ป่วยจะมีชีพจรเบา เร็ว เหงื่อออก ตัวเย็น ความดันโลหิตต่ำลงมากและช็อคในที่สุด
การรักษาพยาบาลมดลูกเข้าอู่ช้า Subinvolutionof Uterus
ประเมินการหดรัดตัวของมดลูกใน 2 ชม.แรกหลังคลอด ทุก 15 นาที หลังจากนั้นทุก 2-4 ชม. จนครบระยะ 24 ชม.
2.ดูแลการแก้ไขตามสาเหตุเมื่อพบความผิดปกติ
-การดูแลเพื่อขูดมดลูก
-การได้รับสารน้ำ และยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก
ประเมินระดับมดลูกวันละ 1 ครั้งในเวลาเดียวกัน และด้วยวิธีที่เหมือนเดิม เพื่อเป็นมาตรฐานในการเปรียบเทียบแต่ละวัน
ให้ความรู้มารดาถึงอาการผิดปกติ และสามารถแจ้งพยาบาลได ้ รวมทั้งแนวทางปฏิบัติตัวหลังคลอดที่ถูกต้องเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่างๆ
ดูแล และกระตุ้นให้บุตรดูดนมแม่ทุก 2-3 ชม.
ส่งเสริมให้น้ำคาวปลาไหลได้สะดวก โดยกระตุ้นให้ลุกจากเตียงโดยเร็ว ให้ลุกเดินบ่อย รวมทั้งแนะนำและจัดตารางการออกกำลังกายหลังคลอดที่เหมาะสม