Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลทารกแรกเกิดที่มีภาวะแทรกซ้อน (กระดูกหัก (Skeletal injuries)…
การพยาบาลทารกแรกเกิดที่มีภาวะแทรกซ้อน
การบาดเจ็บจากการคลอดยาก (Birth injury)
Cranial injury
1.1 Caput succedaneum
คือ ก้อนโนบนกะโหลกศีรษะในชั้นของหนังศีรษะ, ขอบเขตไม่ชัดเจน, อาจข้ามรอยประสานของกระดูกกะโหลกศีรษะได้
สาเหตุ
เกิดการบวมน้ำบริเวณใต้ชั้นผิวหนังของกะโหลกศีรษะ
เกิดการเกิดจากหลอดเลือดบริเวณศีรษะถูกกด
ถูกบีบรัดโดยปากมดลูกเป็นเวลานาน
เกิดจากศีรษะของทารกถูกขณะคลอด
อาการแสดง/ ตรวจพบ
พบได้ทันทีแรกคลอดโดยคลำพบก้อนบวมได้บริเวณ ocipito parietal region
รอยบวมข้ามรอยต่อของกระดูกกะโหลกศีรษะ suture line
ขอบเขตไม่ชัดเจน
ก้อนจะค่อยๆ เล็กลงและหายไปใน 36 ชม./ 2-3วัน
ใช้นิ้วกดจะเป็นรอยบุ๋มภายหลังปล่อยนิ้วออก
การดูแลรักษาพยาบาล
ไม่ต้องการการรักษาก้อนจะหายไปเอง 2-3 วันหรือจนถึง 3-4 สัปดาห์แล้วแต่ขนาดของก้อน
สังเกตลักษณะขนาดการเปลี่ยนแปลงอื่นๆของ caput
สังเกตอาการเปลี่ยนแปลงทางระบบประสาทของทารก
ถ้ามีรอยแดงช้ำ (ecchymosed) มากอาจต้องส่องไฟเพื่อรักษาภาวะตัวเหลืองให้ทารก
อธิบายให้บิดามารดาเข้าใจปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น
2 Cephal hematoma
คือก้อนโนบนกะโหลกศีรษะใต้ชั้นของเยื่อหุ้มกะโหลกศีรษะ, ก้อนเลือดที่ศีรษะ, เป็นเลือดที่สะสมอยู่ใต้เยื่อหุ้มกะโหลกศีรษะ (Subperiosteal hemorrhage)
สาเหตุที่พบบ่อย
ในเด็กแรกเกิดที่บาดเจ็บจากหัวเด็กผ่านทางคลอด
จากการใช้เครื่องช่วยทำคลอด เช่น การช่วยคลอดด้วยคีม และมักเป็นข้างใดข้างหนึ่ง
อาการแสดง / ตรวจพบ
พบก้อนนูนหลัง 24 ชั่วโมงไปแล้วก้อนจะค่อยๆมีขนาดใหญ่ขึ้น และคงอยู่นานหลายสัปดาห์หรือเป็นเดือน (เฉลี่ย 3-6 สัปดาห์)
คลำพบก้อนนูนอยู่บนกะโหลกศีรษะแต่ละชิ้นโดยไม่ข้ามรอยต่อของกระดูก (suture)
ลักษณะก้อนค่อนข้างตึงมีขอบเขตชัดเจน เมื่อใช้นิ้วกดจะไม่เป็นรอยปูมหลังปล่อยนิ้วจะโป่งตึงเช่นเดิม
ทารกอาจซีด เพราะเสียเลือดมาก
การดูแลรักษา
ไม่ต้องการการรักษาห้ามเจาะดูดหรือระบายเพราะอาจเกิดการติดเชื้อได้
อาการบวมจะหายได้เองในหลายสัปดาห์โดยทั่วไปเลือดมักจะหยุดเองและค่อยๆถูกดูดซึมหายไปได้เองในระยะเวลา 2-3 สัปดาห์หรือบางรายภายใน 2 เดือน
การพยาบาล
สังเกตลักษณะขนาดและการเปลี่ยนแปลงอื่นๆ
ให้ทารกนอนตะแคงตรงข้ามกับก้อนโนเพื่อป้องกันการกดทับที่จะกระตุ้นให้เลือดออกมากขึ้น
สังเกตอาการซีดติดตามค่า Hct. และดูแลให้เลือดตามแผนการรักษา
ติดตามค่า microbilirubin ถ้ามีภาวะตัวเหลือง on phototherapy ตามแผนการรักษา
อธิบายให้บิดามารดาเข้าใจปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น และไม่ให้ใช้ยาทายานวด ประคบหรือเจาะเอาเลือดออก
ปัญหาแทรกซ้อนอาจพบได้
คือ Calcified cephal hematoma ซึ่งต้องการผ่าตัดรักษาเนื่องจากทำให้ศีรษะผิดรูป
3 Subaponeurotic hemorrhage (Subgaleal hemorrhage; SGH)
คือ ก้อนเลือดที่ศีรษะเป็นภาวะที่มีเลือดสะสมใต้ช่องว่างของเนื้อเยื่อที่อยู่ระหว่างพังพืดของกะโหลกศีรษะ (Galea aponeurotic) กับเยื่อหุ้มกะโหลกศีรษะ (Periosteum)
ก้อนมีขนาดเพิ่มขึ้นช้าๆในหลายชั่วโมงหรือหลายวัน
อาจทำให้ทารกมีอาการช็อกจากการเสียเลือดโดยปรากฏอาการซีด
ความตึงตัวของกล้ามเนื้อลดลง (Hypotonic) เลือดสามารถกระจายไปทั่วช่องว่างจนอาจทำให้เห็นรอบตาและใบหน้าบวมและห้อเลือด (Ecchymosis)
ช่องว่างจุเลือดได้ 260 มล. ก้อนจะยุบช้ามาก
อาการ / ตรวจพบ
รอยบวมข้ามรอยต่อส่วนกลางศีรษะ (Suture line)
มีลักษณะนุ่ม (Fluctuant)
การบวมปรากฏหลังเกิดหลายชั่วโมง
เลือดอาจเซาะทั่วศีรษะถึงหน้าผากขมับด้านข้างและท้ายทอย
การดูแลรักษาพยาบาล
ไม่มีการรักษาเฉพาะ
หากเลือดออกมากอาจทำให้เกิดภาวะช็อกหรือซีดก้อนเลือดข้างใต้อาจติดเชื้อ
Rx. 1) ต้องให้การถ่ายเลือดและการฉายแสงเพื่อรักษาอาการตัวเหลือง
2) ให้ยาต้านจุลชีพ
หากหนังศีรษะมีบาดแผลทำให้เกิดการติดเชื้อ ทารกจะมีอาการ เช่น มีไข้ ซึม ดูดนมไม่ดี เป็นต้น ผลตรวจ CBC พบ WBC สูง
Rx. 1) ต้องให้การรักษาด้วยการระบายออก
2) ให้ยาต้านจุลชีพ
4 Molding
หมายถึงการเกยกันของกระดูกกะโหลกศีรษะ (molding of the skull bones)
สาเหตุ
เกิดจากทารกมีการปรับขนาดของศีรษะเพื่อให้สามารถผ่านช่องคลอดของมารดาได้
อาการ / ตรวจพบ
ทารกที่เกิดท่าศีรษะเป็นส่วนน้ำทำให้ศีรษะมีรูปร่างยาว
การดูแลรักษาพยาบาล
ไม่ต้องการการรักษาพยาบาล
ภาวะนี้จะหายได้เองภายใน 2-7 วันหลังคลอด
5 การบาดเจ็บของเนื้อเยื่อ (Soft tissue injuries)
อาการ / ตรวจพบ
รอยช้ำและเป็นก้อน
การดูแลรักษาพยาบาล
ไม่ต้องการการรักษามักจะหายไปเอง
6 จำเลือดใต้ผิวหนัง (Ecchymosis)
สาเหตุ
จากการคลอดโดย Vacuum
Forceps extraction
อาการ / ตรวจพบ
จำเลือดใต้ผิวหนัง (Ecchymosis) ที่หนังศีรษะ
หากคลอดทางช่องคลอดเรียกว่า Hemorrhagic caput succedaneum
อาจพบร่วมกับตุ่มพอง (Bleb) หรือแผลถลอก (Abrasion)
เลือดออกที่ตาขาวและจอตา
สาเหตุ
เป็นผลจากเส้นเลือดฝอยที่ตาแตก เนื่องจากความดันโลหิตสูง
การดูแลรักษาพยาบาล
อาการมักจะหายเองภายใน 5 วัน
ตาขาวมีเลือดออกใต้เยื่อตา (Subconjunctival hemorrhage)
สาเหตุ
จากมีหลอดเลือดฝอยแตกรอบ ๆ แก้วตา เกิดจากการเพิ่มความดันภายในหลอดเลือดขณะผ่านหนทางคลอด
การดูแลรักษาพยาบาล
หายได้เองภายใน 2-3 สัปดาห์
อาการชอกช้ำเส้นเลือดฝอยแตกและผิวหนังมีอาการบวมและชำเลือด (Ecchymosis & petechai & edema)
สาเหตุ
มาจากการใช้คีมช่วยคลอด
คีมกดกะโหลกศีรษะทำให้เกิดรอยช้ำที่ขอบตาการดูแลรักษาพยาบาลมักจะหายไปเองภายใน 2-3 วัน
กระดูกหัก (Skeletal injuries)
ที่พบได้บ่อย คือ
กระดูกไหปลาร้าหัก (fracture clavicle)
กระดูกต้นแขนหัก (fracture humerus)
กระดูกต้นขาหัก (fracture femur)
กระดูกกะโหลกศีรษะแตก (fracture skull)
หลักการดูแล
คือ พยายามไม่เคลื่อนไหวบริเวณที่พักกระดูกไหปลาร้าหัก (fracture clavicle)
อาการและอาการแสดง
ทารกไม่ขยับแขนข้างที่กระดูกไหปลาร้าหัก
รู้สึกกรอบแกรบเมื่อคลำบริเวณที่กระดูกหัก
แขน 2 ข้างเคลื่อนไหวไม่เท่ากัน-เมื่อทดสอบ Moto reflex ทารกยกแขนข้างที่ดีเท่านั้น
ทารกจะร้องไห้เมื่อถูกบริเวณที่กระดูกหัก
พบอาการบวมห้อเลือด (ecchymosis) ตรงที่ได้รับบาดเจ็บ
กล้ามเนื้อ sternomastoid จะตึงเมื่อยกตัวทารกขึ้นกระดูกไหปลาร้าหัก (fracture clavicle)
การดูแลรักษาพยาบาล
จัดให้แขนและไหล่ด้านที่กระดูกหักอยู่นิ่งไม่เคลื่อนไหว (Immobilized) โดยกลัดแขนเสื้อติดกับตัวเสื้อให้ข้อศอกงอ 90 องศาชิดลำตัว
ให้ทารกนอนเฉยๆ
สังเกตอาการเปลี่ยนแปลงเช่น V/S
เส้นประสาทบาดเจ็บ (Nerve injury)
1 Brachial palsy
เกิดได้ 2 ลักษณะ คือ
1) ต้นแขนเป็นอัมพาต (Brachial paralysis of upper arm: Erb-Duchenne palsy)
2) แขนส่วนล่างเป็นอัมพาต (Brachial paralysis of lower arm: Klumpke palsy)
สาเหตุ
เกิดจากข่ายประสาท Brachial ถูกดึงหรือกดจะพบในนาทารกที่คลอดโดยมีส่วนนำเป็นก้น หรือคลอดยาก
อาการและอาการแสดง
ขยับเขยื้อนแขนส่วนบนข้างที่ได้รับอันตรายไม่ได้
กล้ามเนื้อแขนข้างที่เป็นจะอ่อนแรง
แขนข้างที่เป็นจะวางแนบชิดลำตัวข้อศอกเหยียดแขนช่วงล่างหมุนเข้าด้านในมือคว่ำ
ไม่สามารถหมุนแขนออกด้านนอกและหงายแขนส่วนล่างได้
Moto Reflex เสียไป
ขยับมือไม่ได้ข้อมือตกนิ้วคลายกำไม่ได้ แต่มี Moto Reflex ไหล่และแขนส่วนบนเหยียดกางเป็นปกติ พบในอันตรายต่อส่วนล่าง
การดูแลรักษาพยาบาล
จำกัดความเคลื่อนไหว (Immobilized) แขนข้างที่เป็นด้วย Brace หรือ Splint
ดูแลความยืดหยุ่นของผิวหนัง
แนะนำการเคลื่อนไหวแขนอย่างนุ่มนวลหลังบาดเจ็บ
สาเหตุ
เป็นผลมาจากเส้นประสาทแขนและนิ้วส่วนล่างชอกช้ำ
การดูแลรักษาพยาบาล
จำกัดความเคลื่อนไหวของนิ้วมือ และข้อต่อข้างที่เป็น
อาจต้องได้รับการผ่าตัดแก้ไข
หลังการผ่าตัด : พยาบาลต้องแนะนำการบริหารข้อต่อและการนวดที่มือและแขนต่อไป
2 ใบหน้าเป็นอัมพาต (Facial palsy
สาเหตุ
ส่วนใหญ่เกิดมาจากเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 ถูกกดเนื่องจากการคลอดโดยการใช้คีมดึงหรือในรายที่คลอดยากทารกอาจเกิดอัมพาตที่ใบหน้าชั่วคราว
อาการและอาการแสดง
กล้ามเนื้อของใบหน้าซีกที่เส้นประสาทถูกกดจะไม่ขยับเคลื่อนที่เมื่อทารกร้องไห้ ทำให้มีการดึงรั้งกล้ามเนื้อใบหน้าขณะร้องไห้
ใบหน้าเบี้ยวไปทางซีกดี ใบหน้า 2 ด้านจะไม่เท่ากันร่องระหว่างปากและจมูกจะหายไป
ตาซีกที่เสียจะปิดไม่สนิทหรือลืมตาอยู่ตลอดเวลา
ปากเบี้ยวไปทางซีกดีปากด้านที่เป็นจะถูกดึงลงมาทำให้มุมปากล่างตก
ไม่มีรอยย่นที่หน้าผาก
การดูแลรักษาพยาบาล
รบกวนทารกให้น้อยที่สุดและให้การพยาบาลด้วยความนุ่มนวล
ล้างตาให้สะอาดด้วย 0. 99% N. S. S. และหยอดตาด้วย kemicitine หรือ eye ointment ตามแผนการรักษาแล้วปิดด้วย sterile eye pad วันละ 2 ครั้ง
ดูแลการได้รับนมและน้ำให้เพียงพอให้มารดาสอดหัวนมเข้าทางมุมปากข้างที่ปกติสังเกตการดูดกลืนและระวังการสำลัก
ให้กำลังใจมารดาและส่งเสริมสัมพันธภาพระหว่างมารดากับทารก
รายงานแพทย์ถ้ามีอาการเปลี่ยนแปลง
การบาดเจ็บที่สมอง (CNS injuries)
สาเหตุ
การตกเลือดที่สมองโดยตรงหรือมีก้อนเลือดกดเส้นประสาทที่สมองส่งผลให้ความดันในสมองสูงขึ้น
มักมีสาเหตุจากคลอดก่อนกำหนด
ทารกขนาดใหญ่มาก
การคลอดล่าช้า
ขาดออกซิเจนและหรือขาดเลือดมาเลี้ยงสมองในระหว่างคลอด
อาการและอาการแสดง
พบรอยแยกขนาดกว้างที่รอยต่อกะโหลกส่วนกลาง
กระหม่อมหน้าโป่งและดึง
ร้องเสียงแหลม
หายใจลำบาก
กระวนกระวายหรือซึม
กล้ามเนื้อกระตุกหรือชัก
การบาดเจ็บที่สมอง (CNS injuries)
การดูแลรักษาพยาบาล
ยกศีรษะสูง 30-45 องศา
วัดรอบศีรษะทุกวัน
เก็บทารกไว้ในตู้อบ หรือห่มผ้าให้ความอบอุ่น
ให้ออกซิเจน 8-10 ลิตรต่อนาที ทางหน้ากาก
ให้สารน้ำในประมาณที่เหมาะสม
สัมผัสและอุ้มด้วยความนุ่มนวล
การดูดกลืนระวังการสุดสำลัก
ระวังการชัก ถ้ามีอาการชักต้องระวังอุบัติเหตุ และการสูดสำลักความพิการแต่กำเนิด (Congenital anomalies)
ความพิการแต่กำเนิด (Congenital anomalies)
ปากแหว่งเพดานโหว่ (Cleft Lip and Cleft Palate)
ปากแหว่ง (Cleft Lip)
สาเหตุ
พันธุกรรม
สิ่งแวดล้อม เช่น พ่อแม่มีอายุมาก, แม่ขาดอาหาร, ได้รับยาบางชนิดหรือถูกรังสีขณะตั้งครรภ์
การรักษา
จะทำการผ่าตัดเร็วที่สุดที่จะทำได้ เพื่อให้เด็กดูดนมได้ และช่วยด้านจิตสังคมให้บิดามารดายอมรับทารก โดยคำนึงถึงความพร้อมของทารกที่จะเข้ารับการผ่าตัด เช่น อายุ น้ำหนัก และระดับของฮีโมโกลบินในเลือด ซึ่งปกติมักจะทำเมื่อเด็กอายุ 6-12 สัปดาห์
ส่งเสริมสัมพันธภาพมารดา-ทารก
การพยาบาลหลังผ่าตัดตกแต่งปากแหว่ง
ป้องกันแผลผ่าตัดแยก
1 ดูแลไม่ให้ทารกร้องไห้และไม่ให้ทารกออกแรงดูดนมเองยังคงใช้ medicine dropper ป้อนนมต่อ 1-2 wk.
2 ดูแลไม่ให้ทารกเอามือมาแกะหรือเกาแผล
ป้องกันแผลติดเชื้อโดยรักษาความสะอาดหลังมื้อนม
เพดานโหว่ (Cleft Palate)
อาจเกิดเฉพาะบริเวณเพดานอ่อนหรือรวมไปถึงเพดานแข็ง
จะพบปากแหว่งและเพดานโหว่ร่วมกันบ่อยกว่าปากแหว่งหรือเพดานโหว่อย่างเดียวเกือบ 2 เท่า
ปากแหว่งเพดานโหว่ (Cleft Lip and Cleft Palate)
การรักษา
มักจะทำการผ่าตัดปิดรอยโหว่ในภายหลัง ส่วนใหญ่มักจะรอทำเมื่อเด็กอายุประมาณ 1-1 1/2 ปี1
ถ้าผ่าตัดเร็วเกินไปจะเป็นอันตรายต่อรากฟัน แต่ถ้าทำช้าเกินไปจะทำให้พูดไม่ชัด
ในกรณีที่ต้องรอทำการผ่าตัดเป็นเวลานาน ๆ มักจะใช้เพดานเทียม (Obturator) ปิดรอยโหว่ไว้ก่อนปากแหว่งเพดานโหว่ (Cleft Lip and Cleft Palate)
หลังผ่าตัดตบแต่งเพดานโหว่
ป้องกันแผลแยก
ป้องกันแผลติดเชื้อ: ให้น้ำตามหลังการให้นม
ป้องกันทางเดินหายใจอุดตัน: ให้นอนคว่ำตะแคงหน้าหรือนอนตะแคง
แนะนำบิดามารดานำเด็กมาตรวจตามแพทย์นัด เพื่อประเมินผลและแก้ไขการพูดที่ผิดปกติของเด็ก เช่น การทำอรรถบำบัด (Speech therapy)
การพยาบาลในระยะก่อนผ่าตัด
ดูแลให้ได้รับนมและน้ำอย่างเพียงพอโดยใช้ medicine dropper ค่อยๆป้อน เพื่อป้องกันการสำลักนมและน้ำ
อุ้มเรอบ่อยๆ หลังป้อนนมจัดให้ทารกนอนท่าตะแคงขวา
ป้องกันและสังเกตการติดเชื้อในช่องปากและหูชั้นกลาง
ลดความวิตกกังวลของบิดามารดาปากแหว่งเพดานโหว่ (Cleft Lip and Cleft Palate)
Ankyloglossia (Tongue-Tie)
เป็นภาวะลิ้นติดเกิดจากมีภาวะผิดปกติของ Frenulum
อาการและอาการแสดง
มีอาการหายใจเร็วมีเสียงครืดคราดในลำคอ มีน้ำลายออกมาตลอดเวลา
หายใจลำบากขณะให้นม
มีการอุดกั้นของทางเดินอาหารหลอดอาหารตีบตันโดยกำเนิด (Esophageal atresia)
การรักษา
การผ่าตัดปิด Fistula พร้อมทั้งต่อหลอดอาหารให้
การพยาบาล
ดูแลป้องกันการสูดสำลัก
จัดให้ทารกนอนในท่าศีรษะสูงตะแคงหน้าความพิการแต่กำเนิดของระบบทางเดินอาหาร
Omphalocele and Gastroschisis
การรักษา
ต้องรีบผ่าตัด
การพยาบาลเบื้องต้น
รีบใช้ผ้าก๊อสไร้เชื้อชุบ NSS. ชุ่มๆคลุมไว้เพื่อป้องกันเนื้อเยื่อแห้งแตกหรือติดเชื้อ
รีบนำทารกใส่ตู้อบทารกแรกเกิด (a warmed incubator) ไม่วางทารกไว้ใต้ radiant heat
ไส้เลื่อนกระบังลม (Congenital diaphragmatic hernia)
อาการและอาการแสดง
มีอาการเขียว (Cyanosis) หายใจลำบากเสียงหายใจลดลง
สังเกตพบทรวงอกหนาขึ้น (Bulgy chest)
ส่วนบริเวณท้องแฟบ (Scaphoid abdomen)
X-ray พบไส้เลื่อนกระบังลม
การพยาบาล
ดูแลป้องกันภาวะขาดออกซิเจนสำคัญที่สุด
ดูแลให้ระบบไหลเวียนโลหิตทำงานปกติ
ดูแลให้ได้รับการผ่าตัดทางช่องท้องทันทีโดยแพทย์ทำการเย็บปิดช่องโหว่บนกระบังลม
ดูแลป้องกันการติดเชื้อ Neural Tube Defects / anencephaly