Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน่วยที่ 9 มาตรการทางเศรษฐศาสตร์ในการจัดการทรัพยากรเพื่อการส่งเสริมการเกษตร
หน่วยที่ 9 มาตรการทางเศรษฐศาสตร์ในการจัดการทรัพยากรเพื่อการส่งเสริมการเกษตร
หลักการทางเศรษฐศาสตร์ ในการจัดการทรัพยากร
1.การจัดการด้านอุปทาน คือการสร้างอุปทานให้มากขึ้น เพื่อให้ใช้ประโยชน์ได้อย่างเพียงพอที่จะตอบสนองความต้องการของมนุษย์
2.การจัดการด้านอุปสงค์ คือการจัดการควบคุมความต้องการใช้ทรัพยากรการเกษตรให้อยู่ในระดับที่สมควร ไม่มากหรือน้อยเกินไป
3.การจัดการด้านนโยบายเศรษฐกิจ คือการใช้เครื่องมือทางเศรษฐกิจด้านการเงิน หรือด้านการคลัง ควบคุมกลไกตลาดทรัพยากรให้เกิดความเหมาะสม
4.การจัดการด้านสถาบัน คือการเปลี่ยนแปลงกรอบแนวคิดและแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรทางการเกษตร
การประยุกต์ใช้มาตรการทางเศรษฐศาสตร์
ประเภทเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์
1.เครื่องมือระดับมหภาค คือเครื่องมือที่เป็นกรอบปฏิบัติใช้กับสังคมทั่วไป ไม่จำกัดขอบเขต ส่วนมากเป็นกฎที่มนุษย์สร้างขึ้น
2.เครื่องมือระดับจุลภาพ คือกรอบที่นำไปปฏิบัติกับการผลิตหรือกิจกรรมในไร่นา เพื่อให้เกิดประโยชน์สุงสุดเป็นผลผลิตสินค้าหรือบริการที่ดี
ปัญหาการใช้เครื่องมือ
1.ด้านความเข้าใจทางเศรษฐศาสตร์ของการจัดการทรัพยากร
2.ด้านระบบฐานข้อมูลการผลิตระดับจุลภาค
3.ด้านความพร้อมทางวิชาการระดับมหภาค
4.ด้านโครงสร้างภาษีของประเทศไทย
5.ด้านผลกระทบของการบังคับใช้ต่อภาคการผลิต
ความสัมพันธ์ทางเศรษฐศาสตร์ระหว่างมนุษย์และทรัพยากร
ระบบนิเวศน์ ใช้ประโยชน์ทรัพยากรดิน น้ำ โดยผสมผสานกับเทคโนโลยี ปุ๋ย สารเคมี ให้เกิดความสมดุลในการผลิตพืชและสัตว์ โดยที่จะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยสุด
ระบบเศรษฐกิจ การเอาปัจจัยในการผลิตต่างๆมาผลิตสินค้าการเกษตรที่ต้องการ โดยต้องมีความคุ้มค่าในทางเศรษฐศาสตร์ทั้งในระดับการผลิตรายย่อย หรือการวางแผนของภาพรวมของประเทศ
ระบบสังคม การที่ทำให้สอดคล้องกับการเกษตรกับกลุ่ม ศาสนา ความเชื่อ เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรเกิดความสำเร็จ โดยจะทำให้เกิดสังคมเข้มแข็ง พึ่งพาตนเองได้