Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การปฐมพยาบาลเบื้องต้นในภาวะฉุกเฉิน (สัตว์กัดต่อย (การดูแลผู้ที่ถูกงูพิษกัด…
การปฐมพยาบาลเบื้องต้นในภาวะฉุกเฉิน
สัตว์กัดต่อย
พิษต่อระบบประสาท [Neurotoxin]
งูจงอาง งูเห่า งูสามเหลี่ยม งูทับสมิงคลา
ผู้ที่ได้รับพิษจะทำให้เกิดอัมพาตของกล้ามเนื้อ ลืมตาไม่ได้ กลืนลำบาก และที่สำคัญคือทำให้หยุดหายใจเสียชีวิตได้
พิษต่อโลหิต [Hemotoxin ]
งูแมวเซา งูกะปะ งูเขียวหางไหม้
ทำให้มีเลือดออกตามที่ต่างๆ ตามผิวหนัง เหงือก อาเจียนเป็นเลือด ปัสสาวะเป็นเลือด
พิษต่อกล้ามเนื้อ [Myotoxin]
งูทะเล
ทำอันตรายต่อกล้ามเนื้อ ปวดกล้ามเนื้อมาก ปัสสาวะสีดำเนื่องจากกล้ามเนื้อถูกทำลายเกิด myoglobinuria
พิษต่อกล้ามเนื้อหัวใจ [Cardiotoxin]
การดูแลผู้ที่ถูกงูพิษกัด
หยุดการเคลื่อนไหวของร่างกาย ปลอบโยน ให้กำลังใจ
ล้างแผลด้วยน้ำสะอาดหรือน้ำเกลือทันที ปิดแผลด้วยผ้าสะอาด ทำเฝือกชั่วคราว
จัดให้อวัยวะที่ถูกกัดอยู่ต่ำกว่าระดับหัวใจ
นำตัวผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลที่อยู่ใกล้ให้เร็วที่สุด
ผึ้ง ต่อ แตน
อาวุธที่ใช้ทำร้ายศัตรูก็คือ เหล็กใน ซึ่งอยู่ทางปลายสุดของลำตัว และเป็นอวัยวะสำหรับวางไข่ในเพศเมียที่ดัดแปลงไป ฉะนั้นตัวที่ทำร้ายคนได้จึงเป็นตัวเมียเท่านั้น
การดูแลผู้ที่ถูกผึ้ง ต่อ แตนต่อย
ในกรณีที่มีเหล็กในติดอยู่ในแผล ต้องเอาเหล็กในออกก่อน
ล้างบาดแผลด้วยสบู่และน้ำสะอาด
ประคบด้วยน้ำเย็น
ถ้ามีอาการปวดมากให้รับประทานยาแก้ปวดได้ ถ้ามีอาการมากขึ้นให้นำส่งโรงพยาบาล
แมงกะพรุนกล่อง (Box jellyfish)
เป็นหนึ่งในสัตว์มีพิษร้ายแรงที่สุดในโลก พิษของแมงกะพรุนกล่อง มีพิษต่อหลายระบบในร่างกายทั้งเลือด เนื้อหนัง หัวใจ ประสาท ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง กล้ามเนื้อหน้าท้องและหลังเกร็ง เวียนหัว คลื่นไส้ ปวดหัว กระสับกระส่าย แน่นหน้าอก
การดูแล
ให้ผู้บาดเจ็บอยู่นิ่งๆ เพื่อลดการยิงพิษจากแมงกะพรุน
ล้างบริเวณที่ถูกพิษด้วยน้ำส้มสายชูบ้าน ความเข้มข้น 2-10 % นานอย่างน้อย 30 วินาที หากไม่มีให้ใช้น้ำทะเล
ใช้ถุงมือหนา หรือแหนบคีบหนวดที่ยังติดอยู่ ห้ามใช้มือหยิบ
ให้ใช้วัสดุขอบเรียบ เช่น เปลือกหอย บัตร สันมีด ขูดเอาเมือกออก
ในกรณีของ แมงกะพรุนกล่อง ให้ใช้น้ำแข็งประคบลดอาการปวด หลังจากที่ล้างด้วยน้ำส้มสายชูแล้ว หรือใช้ผักบุ้งทะเลตำพอกที่แผล
แมงป่อง ตะขาบ
เมื่อถูกแมงป่องต่อย คือ ปวด บวม และแดง บางรายถ้าแพ้อาจมีไข้ ปวดศีรษะ และปวดแผลมาก
การปฏิบัติเมื่อถูกแมงป่องต่อย
ล้าง และฟอกบริเวณแผลด้วยสบู่ ล้างด้วยน้ำสะอาด
ใช้แอมโมเนียหอมชุบปิดแผลไว้
ถ้าปวดให้กินยาแก้ปวดพาราเซตามอล และประคบบริเวณแผลด้วยความเย็น
ถ้ามีอาการแพ้ คือ ไข้สูง ปวดแผลมาก ปวดศีรษะ ควรพาไปพบแพทย์
ได้รับสารพิษ
สารพิษ (Poisons) หมายถึง สารใดๆที่มีสภาพเป็นของแข็ง ของเหลว หรือก๊าซ ที่สัมผัสหรือเข้าสู่ร่างกายแล้วสามารถทำให้เกิดอันตรายต่อของร่างกาย
ทางเข้าของสารพิษ
1.ทางปาก
การพยาบาลเบื้องต้นผู้ที่ได้รับสารพิษทางปาก
กรณีผู้ป่วยมีสติดีอยู่ และทราบประวัติแน่ชัดว่าไม่ได้กินกรด ด่าง น้ำมันก๊าด เบนซิน ทินเนอร์ หรือสารพิษที่มีฤทธิ์กัดกร่อน รีบให้ผู้ป่วยดื่มนมหรือน้ำเปล่า เพื่อให้พิษเจือจาง ให้รีบทำให้ผู้ป่วยอาเจียน เพื่อเอาสารพิษออก
ทางเดินหายใจ
การพยาบาลเบื้องต้นผู้ที่ได้รับสารพิษทางเดินหายใจ
เคลื่อนย้ายผู้ที่ได้รับสารพิษไปยังสถานที่ที่มีอากาศบริสุทธิ์ ถ่ายเทสะดวกและห้ามคนมุง
คลายเสื้อผ้าให้หลวม เปิดทางเดินหายใจให้โล่ง ถ้าหยุดหายใจให้รีบช่วยเหลือ
รีบนำส่งโรงพยาบาล
ทางผิวหนัง
การพยาบาลเบื้องต้นผู้ที่ได้รับสารพิษทางผิวหนัง
ล้างด้วยน้ำสะอาดนาน ๆ อย่างน้อย 15 นาที
อย่าใช้ยาแก้พิษทางเคมี เพราะความร้อนที่เกิดจากปฏิกิริยาอาจทำให้เกิดอันตรายมากขึ้น
บรรเทาอาการปวดและรักษาภาวะช็อค
ปิดแผล แล้วนำส่งโรงพยาบาล
การบาดเจ็บที่กระดูกและกล้ามเนื้อ
แนวทางในการรักษาเบื้องต้น ภายใน 24-48 ชม. ใช้หลัก
4 ย. คือ หยุด, เย็น, ยึด และยก หรือ “RICE”
PRICED เพิ่ม Protection และ Diagnosis/Disposal
P=Protection
คือการป้องกันการบาดเจ็บที่จะตามมาอีก
โดยให้หยุดการเล่นกีฬาทันที นำนักกีฬาออกจากสถานที่ที่ได้รับบาดเจ็บ
เพื่อหลีกเลี่ยงการบาดเจ็บที่จะตามมาอีก
R=Rest
คือการพัก
โดยพักส่วนที่ได้รับบาดเจ็บทันที
เพราะการเคลื่อนไหวส่วนที่บาดเจ็บจะทำให้เลือดออกมากขึ้น
I=Ice
การใช้ความเย็น
ประคบเย็นบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บด้วยน้ำแข็ง น้ำเย็น ผ้าเย็น หรือน้ำเย็นจากน้ำก๊อก
เพื่อลดอาการบวม การเจ็บปวด กล้ามเนื้อเกร็งตัวและการอักเสบ
ใช้เวลาในการประคบครั้งละ 15-20 นาที วันละ 3-4 ครั้ง ใช้ภายใน 24-48 ชม.แรก
C=Compression
การพันผ้ายืด (compression bandage)
พันกระชับส่วนที่ได้รับบาดเจ็บด้วยผ้ายืดหรือใช้ผ้าสำลีผืนใหญ่รองไว้หนาๆ โดยรอบก่อน
เพื่อป้องกันไม่ให้เลือดออกมาก ลดบวมและเป็นการประคองส่วนที่ได้รับบาดเจ็บด้วย
E=Elevation
การยก
ยกส่วนที่ได้รับบาดเจ็บนั้นให้สูงกว่าระดับหัวใจ
เพื่อให้เลือดไหลเวียนกลับได้สะดวก ลดเลือดออก ลดบวม และลดอาการเจ็บปวด
D=Diagnosis/Disposal
การวินิจฉัย/การจัดการ
ส่งพบแพทย์หรือสถานพยาบาล เพื่อให้การรักษาพยาบาลที่ถูกต้องต่อไป