Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การปฐมพยาบาลเบื้องต้นในภาวะฉุกเฉิน (มีภาวะเสียเลือด (บาดแผลเปิด (open…
การปฐมพยาบาลเบื้องต้นในภาวะฉุกเฉิน
การบาดเจ็บที่กระดูกและกล้ามเนื้อ
แนวทางในการรักษาเบื้องต้น
ภายใน 24-48 ชม.
RICE
R=Rest
การพัก
พักส่วนที่ได้รับบาดเจ็บทันที
การเคลื่อนไหวส่วนที่บาดเจ็บจะทำให้เลือดออกมากขึ้น
I=Ice
การใช้ความเย็น
ประคบเย็นบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บด้วยน้ำแข็ง น้ำเย็น ผ้าเย็น หรือน้ำเย็นจากน้ำก๊อก
เพื่อลดอาการบวม การเจ็บปวด กล้ามเนื้อเกร็งตัวและการอักเสบ
ใช้เวลาในการประคบครั้งละ 15-20 นาที วันละ 3-4 ครั้ง ใช้ภายใน 24-48 ชม.แรก
C=Compression
การพันผ้ายืด (compression bandage)
พันกระชับส่วนที่ได้รับบาดเจ็บด้วยผ้ายืดหรือใช้ผ้าสำลีผืนใหญ่รองไว้หนาๆ โดยรอบก่อน
เพื่อป้องกันไม่ให้เลือดออกมาก ลดบวมและเป็นการประคองส่วนที่ได้รับบาดเจ็บด้วย
E=Elevation
การยก
ยกส่วนที่ได้รับบาดเจ็บนั้นให้สูงกว่าระดับหัวใจ
เพื่อให้เลือดไหลเวียนกลับได้สะดวก ลดเลือดออก ลดบวม และลดอาการเจ็บปวด
PRICED
P=Protection
คือการป้องกันการบาดเจ็บที่จะตามมาอีก
โดยให้หยุดการเล่นกีฬาทันที นำนักกีฬาออกจากสถานที่ที่ได้รับบาดเจ็บ
เพื่อหลีกเลี่ยงการบาดเจ็บที่จะตามมาอีก
D=Diagnosis/Disposal
การวินิจฉัย/การจัดการ
ส่งพบแพทย์หรือสถานพยาบาล เพื่อให้การรักษาพยาบาลที่ถูกต้องต่อไป
ข้อระวัง
No HARM Factor
H (heat) การใช้ความร้อนประคบ ทำให้บวมและปวดมากขึ้น
A (alcohol) การทายาที่มีฤทธิ์ร้อน
R (running/exercise) การวิ่งหรือทำกิจกรรม จะทำให้บาดเจ็บมากขึ้น
M (massage) การนวดจะยิ่งทำให้เลือดออกและบวมมากขึ้น
ข้อเคล็ด (sprain)
การดูแล
หยุดการเคลื่อนไหวข้อที่บาดเจ็บ และให้พักในท่าที่สบายที่สุด
ประคบเย็นภายใน 24 ชม. หลังการบาดเจ็บ
พันด้วยผ้าม้วนยืด (Elastic bandage)
ยกอวัยวะที่ได้รับบาดเจ็บให้สูง เพื่อลดอาการ
กระดูกหัก (Fracture)
การดูแล
ระมัดระวังไม่ให้มีการเคลื่อนไหวบริเวณที่มีข้อเคลื่อน หรือกระดูกหัก
ถ้าต้องถอดเสื้อผ้า ต้องตัดตามตะเข็บ อย่าพยายามให้ผู้บาดเจ็บถอดเอง
ถ้าบวมและชามากให้จับชีพจรเปรียบเทียบกับแขนหรือขา ทั้ง 2 ข้างเปรียบกัน
การตรวจบริเวณที่หัก ต้องทำด้วยความระมัดระวัง เพราะอาจทำให้ปลายกระดูกที่หักเคลื่อนมาเกยกัน
ถ้าต้องมีการห้ามเลือด หลีกเลี่ยงวิธีการห้ามเลือด
แบ่งออก 2 ชนิด
กระดูกหักชนิดไม่มีบาดแผลหรือชนิดปิด (Closed fracture)
กระดูกหักชนิดมีบาดแผลหรือชนิดเปิด (Open fracture)
หลักการเข้าเฝือกชั่วคราว
1.วัสดุที่ใช้ดามต้องยาวกว่าอวัยวะส่วนที่หัก
2.ไม่วางเฝือกลงบนบริเวณที่กระดูกหักโดยตรง ควรมีวัสดุอ่อนนุ่มรอง
3.มัดเฝือกกับอวัยวะที่หักให้แน่นพอควร ระวังปมเชือกกดแผล คอยตรวจบริเวณที่หักเป็นระยะ
4.บริเวณที่เข้าเฝือกจะต้องจัดให้อยู่ในท่าที่สุขสบายที่สุด อย่าจัดกระดูกให้เข้ารูปเดิม ควรเข้าเฝือกในท่าที่เป็นอยู่
มีภาวะเสียเลือด
บาดแผลปิด (closed wound)
ประคบเย็นภายใน 24 ชม. แรก ต่อมาให้ประคบความร้อน
บาดแผลเปิด (open wound)
ทำความสะอาดแผล
ใช้ผ้าสะอาดกดลงบนแผลจนกว่าเลือด
แผลถูกแทงวัตถุปักคา
หากเป็นวัตถุขนาดใหญ่ ห้ามดึงออก
ใช้ผ้าสะอาดกดรอบๆ พันยึดให้แน่นพอควร
แผลถูกยิง
อวัยวะภายในได้รับบาดเจ็บหรือไม่ สังเกตการหายใจ การเสียเลือดแผลหน้าท้องไส้ทะลัก
ใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำหมาดๆ วางบนลำไส้ (ห้ามพยายามยัดลำไส้กลับ)
ไฟฟ้าดูด
การดูแล
ห้ามจับตัวผู้ป่วยก่อนตัดกระแสไฟ
กำจัดสาเหตุ โดยใช้วัตถุที่เป็นฉนวนเขี่ยสายไฟออก หรือสับสะพานไฟลง
ตรวจชีพจรและการหายใจ
ตรวจดูแผลไหม้
เป็นลม (fainting)
การดูแล
นอนราบ ยกปลายเท้าสูง
คลายเสื้อผ้าให้หลวม หายใจเข้า-ออกลึกๆ
ให้ดื่มน้ำหวาน และหรือน้ำเกลือแร่
จัดสิ่งแวดล้อมให้มีอากาศถ่ายเทสะดวก
ไฟไหม้ น้ำร้อนลวก (Burn)
ชั้นผิวหนัง
ระบายความร้อนออกจากแผล ไม่ควรใช้น้ำแข็งประคบโดยตรง
ทาด้วยยาทาแผลไหม้
ห้ามเจาะถุงน้ำหรือตัดส่วนที่พองออก
ปิดด้วยผ้าสะอาด แล้วพันไว้
ชั้นเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง
ไม่ต้องระบายความร้อนออกจากแผล
ห้ามใส่ยาใดๆ ทั้งสิ้นลงในบาดแผล
ใช้ผ้าสะอาดปิดบริเวณบาดแผล
ให้ผู้ป่วยนอนราบ ยกขาสูง และรีบนำส่งโรงพยาบาล
ตะคริว (muscle cramp)
การรักษา
หยุดพักทันที ยืดเหยียดกล้ามเนื้อ 5-10 นาที นวดด้วยน้ำมันร้อนเบาๆ ห้ามบีบหรือขยำ