Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การปฐมพยาบาลเบื้องต้นในภาวะฉุกเฉิน (สัตว์กัดต่อย (งูพิษ (สิ่งที่ไม่ควรกระท…
การปฐมพยาบาลเบื้องต้นในภาวะฉุกเฉิน
สัตว์กัดต่อย
งูพิษ
พิษต่อระบบประสาท [Neurotoxin]
งูจงอาง งูเห่า งูสามเหลี่ยม งูทับสมิงคลา
เกิดอัมพาตของกล้ามเนื้อ ลืมตาไม่ได้ กลืนลำบาก และที่สำคัญคือทำให้หยุดหายใจเสียชีวิตได้
พิษต่อโลหิต [Hemotoxin ]
งูแมวเซา งูกะปะ งูเขียวหางไหม้
เลือดออกตามที่ต่างๆ ตามผิวหนัง เหงือก อาเจียนเป็นเลือด ปัสสาวะเป็นเลือด
พิษต่อกล้ามเนื้อ [Myotoxin]
งูทะเล
อันตรายต่อกล้ามเนื้อ ปวดกล้ามเนื้อมาก ปัสสาวะสีดำเนื่องจากกล้ามเนื้อถูกทำลายเกิด myoglobinuria
พิษต่อกล้ามเนื้อหัวใจ [Cardiotoxin]
สิ่งที่ไม่ควรกระทำ
ไม่ควรใช้ไฟจี้ หรือมีดกรีดบาดแผล
ไม่ควรใช้การขันชะเนาะ
ไม่ควรใช้ปากดูดบาดแผล
ไม่ควรให้ผู่ป่วยดื่มสุรา
ไม่ควรให้ยากระตุ้นหัวใจ มอร์ฟีน ยาระเหย หรือยาแก้แพ้
การดูแล
หยุดการเคลื่อนไหวของร่างกายปลอบโยน ให้กำลังใจ
ล้างแผลด้วยน้ำสะอาดหรือน้ำเกลือทันที ปิดแผลด้วยผ้าสะอาด ทำเฝือกชั่วคราว
จัดให้อวัยวะที่ถูกกัดอยู่ต่ำกว่าระดับหัวใจ
นำตัวผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลที่อยู่ใกล้ให้เร็วที่สุด
ผึ้ง ต่อ แตน
การดูแล
ในกรณีที่มีเหล็กในติดอยู่ในแผล ต้องเอาเหล็กในออกก่อน
ล้างบาดแผลด้วยสบู่และน้ำสะอาด
ประคบด้วยน้ำเย็น
ถ้ามีอาการปวดมากให้รับประทานยาแก้ปวดได้ ถ้ามีอาการมากขึ้นให้นำส่งโรงพยาบาล
แมงป่อง ตะขาบ
การดูแล
ล้าง และฟอกบริเวณแผลด้วยสบู่ ล้างด้วยน้ำสะอาด
ใช้แอมโมเนียหอมชุบปิดแผลไว้
ถ้าปวดให้กินยาแก้ปวดพาราเซตามอล และประคบบริเวณแผลด้วยความเย็น
แมงกะพรุนกล่อง (Box jellyfish)
การดูแล
ให้ผู้บาดเจ็บอยู่นิ่งๆ เพื่อลดการยิงพิษจากแมงกะพรุน
ล้างบริเวณที่ถูกพิษด้วยน้ำส้มสายชูบ้าน ความเข้มข้น 2-10 % นานอย่างน้อย 30 วินาที หากไม่มีให้ใช้น้ำทะเล
ใช้ถุงมือหนา หรือแหนบคีบหนวดที่ยังติดอยู่ ห้ามใช้มือหยิบ
ให้ใช้วัสดุขอบเรียบ เช่น เปลือกหอย บัตร สันมีด ขูดเอาเมือกออก
ได้รับสารพิษ
การพยาบาลเบื้องต้นผู้ที่ได้รับสารพิษทางปาก
มีสติ, ไม่เป็นกรด ด่าง รีบทำให้อาเจียน
หมดสติ, กรด ด่าง ห้ามทำให้อาเจียน
การพยาบาลเบื้องต้นผู้ที่ได้รับสารพิษทางเดินหายใจ
เคลื่อนย้ายผู้ที่ได้รับสารพิษไปยังสถานที่ที่มีอากาศบริสุทธิ์ ถ่ายเทสะดวกและห้ามคนมุง
คลายเสื้อผ้าให้หลวม เปิดทางเดินหายใจให้โล่ง ถ้าหยุดหายใจให้รีบช่วยเหลือ
รีบนำส่งโรงพยาบาล
การพยาบาลเบื้องต้นผู้ที่ได้รับสารพิษทางผิวหนัง
ล้างด้วยน้ำสะอาดนาน ๆ อย่างน้อย 15 นาที
อย่าใช้ยาแก้พิษทางเคมี เพราะความร้อนที่เกิดจากปฏิกิริยาอาจทำให้เกิดอันตรายมากขึ้น
บรรเทาอาการปวดและรักษาภาวะช็อค
ปิดแผล แล้วนำส่งโรงพยาบาล