Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
เลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้น (Upper gastrointestinal bleeding) (สาเหตุ…
เลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้น
(Upper gastrointestinal bleeding)
พยาธิสภาพ
เลือดที่ออกในทางเดินอาหารส่วนต้นอาจเกิดจากแผนที่หลอดอาหารส่วนปลายกระเพาะอาหาร ลำไส้เล็กส่วนดูโอดีนัม หรือที่รูเปิดสู่ลำไส้เล็กส่วนเจจูนัม แผลส่วนใหญ่จะอยู่ทางผนังด้านหลัง ส่วนด้านหน้าของกระเพาะอาหารและดูโอดีนัมมีหลอดเลือกเส้นใหญ่น้อย หลอดเลือดมักมีขนาดเล็กกว่าผนังด้านหลัง แผลเปปติกจะมีเลือดออกจะต้องเป็นแผลลึกถึงชั้นชีโรชา (Serosa) เพราะเป็นชั้นเยื่อบุที่มีหลอดเลือดกระจายตัวมาหล่อเลี้ยงผนังกระเพาะอาหาร ทำให้หลอดเลือดฉีดขาด การมีเลือดออกมากหรือน้อยขึ้นกับความกว้างของแผล
มีถ่ายอุจจาระดำ (Melena) หรืออาเจียนเป็นเลือด (Hematemesis) หรือมีเลือดออกซ้ำอีก ผู้ป่วยจะมีอาการแสดงของการสูญเสียเลือดอย่างรุนแรงและหมดสติ เนื่องจากปริมาตรเลือดในร่างกายน้อยลง ทำให้ปริมาตรเลือดที่ออกจากหัวใจลดน้อยลง
เลือดออกทางเดินอาหารส่วนต้นเป็นภาวะที่มีเลือดออกจากหลอดอาหารส่วนที่มีพยาธิสภาพไปจนถึงทางออกของกระเพาะอาหารทำให้เลือดสะสมคั่งค้างอยู่ในกระเพาะอาหารเลือดที่ออกมาสัมผัสกับกรดและสิ่งขับหลั่งในกระเพาะอาหารและทำปฏิกิริยาต่อกันจึงมีสีดำคล้ำหากเลือดออกมากในเวลาสั้นผู้ป่วยจะอาเจียนออกมาเป็นเลือดสีแดงสดได้
สาเหตุ
ความผิดปกติของเยื่อเมือกที่บุตาตผนังกระเพาะอาหาร
การขับหลั่งกรดและน้ำย่อยในกระเพาะอาหารมากเกินไป
ความเครียด
การรับประทานยาแก้ปวดหรือยาเสดียรอยด์
โรคตับเรื้อรัง
พฤติกรมสุขภาพไม่เหมาะสม
ดื่มสุรา
สูบบุหรี่
รับประทานอาหารไม่ตรงเวลา
ผู้ป่วยชอบรับประทานอาหารรสเปรี้ยวและเผ็ดรับประทานอาหารไม่ตรงเวลาผู้ป่วยดื่มสุราทุกวันวันละ 1 ขวด (600 ml) เป็นระยะเวลา 40 ปีผู้ป่วย เครียด สูบยาเส้นเป็นประจำทุกวันวันละประมาณ 10 มวนเป็นเวลา 30ปี
อาการ
ปวดท้องอาเจียนเป็นเลือดสด
ถ่ายอุจจาระเป็นสีดำ
ซีดอ่อนเพลียอย่างรวดเร็วเหงื่ออกหน้ามืดเหมือนจะเป็นลม
ชีพจรเบาเร็วความดันเลือดต่ำ
หายใจเร็วและหมดสติ
มีอาการอาเจียนเป็นเลือด 300 ml ถ่ายดำ ปวดท้องมาก รู้สึกเหนื่อยอ่อนเพลีย
การวินิจฉัย
การซักประวัติซักประวัติปัจจัยสาเหตุที่ทำให้เกิดเลือดออกและประวัติการเป็นโรคแผลเปปติกเคยดื่มสุราสูบบุหรี่รับประทานอาการไม่เป็น 1 เวลาชอบรับประทานอาหารรสจัดรับประทานยาแก้ปวดเป็นประจำหรือยาลูกกลอนยาชุดซึ่งมีส่วนผสมของสเตอรอยด์ดื่มน้ำชากาแฟ
การตรวจร่างกายตรวจร่างกายทุกระบบพบอาการซีดและมีอาการเจ็บบริเวณลิ้นปี่
การตรวจทางห้องปฏิบัติการและอื่น ๆ ผลการตรวจนับเม็ดเลือดแดงน้อยกว่าปกติตรวจพบเม็ดเลือดปนในอุจจาระ
ส่องกล้องดูกระเพาะอาหารและลำไส้ส่วนดูโอดินัมพบรอยแผลหรือจุดเลือดออก
A Esophagogastroduodenoscopy (EGD) กรณีสงสัยเลือดออกจากทางเดินอาหารส่วนต้น
Colonoscopy กรณีสงสัยเลือดออกจากทางเดินอาหารส่วนปลาย
Push enteroscopy หรือ balloon-assisted enteroscopy หรือ capsule endoscopy หากสงสัยเลือดออกจากทางเดินอาหารส่วนกลางtext
ผู้ป่วยกินยารักษาอาการปวดข้อเข่า (ยาชุด) ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ BUN=53.8 mg/dL Hb=9.3 g/dL Hct=26.7 mg% WBC=7950 cell/uL RBC= 3.22*10^6cell/uL ผู้ป่วยทำการผ่าตัด ส่องกล้อง Gastroscope with Adenaline with Hemoclips วันที่ 9/07/62
ภาวะแทรกซ้อน
เสียเลือดมากจนเกิดภาวะช็อกจนนำไปสู่อาการโคม่าและเสียชีวิตซึ่งผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกจะสามารถสังเกตอาการได้จากอาการวิงเวียนศีรษะเมื่อลุกขึ้นยืนหายใจตื้นและเร็วปัสสาวะออกมามีปริมาณน้อยตัวเย็นผิวซีดอาการซึมลงเรียกไม่รู้สึกตัว
การป้องกัน
หลีกเลี่ยงอาหารประเภทที่ทำให้กระเพาะเกิดการระคายเคืองได้ง่ายเช่นอาหารไขมันสูงอาหารรสจัด * ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
รับประทานอาหารที่มีประโยชน์เน้นอาหารประเภทผักผลไม้เนื้อสัตว์ไม่ติดมันธัญพืช
หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์เพราะไปเพิ่มความเป็นกรดในกระเพาะอาหารจนอาจทำให้เกิดการกัดเยื่อบุกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็กส่วนต้นเป็นแผลได้และแอลกอฮอล์ยังทำให้เกิดตับแข็งทำให้มีหลอดเลือดในหลอดอาหารโป่งพองและเลือดออกง่ายขึ้น
หลีกเลี่ยงการรับประทานยาในกลุ่มแก้ปวดหรือยาเอ็นเสด (เช่นยาแอสไพรินยาไอบูโพรเฟน) ขณะท้องว่างเพราะจะสร้างความระคายเคืองกับเยื่อบุภายในช่องท้อง“ พยายามไม่เครียดหรือควบคุมความเครียดด้วยการทำกิจกรรมที่ช่วยผ่อนคลาย
ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
การรักษา
การให้เลือด (Blood Transfusion) ทดแทนเลือดที่เสียไปหรือให้ส่วนประกอบของเลือดเพื่อช่วยในการแข็งตัวของเลือดให้ดีขึ้น
การผ่าตัดโดยการส่องกล้องเป็นการผ่าตัดผ่านกล้องขนาดเล็กที่เรียกว่าเอ็นโดสโคป Endoscopy) ในผู้ป่วยที่เกิดการฉีดขาดของอวัยวะภายในจนทำให้เกิดเลือดออก
การรักษาด้วยยาแพทย์จะให้ยาช่วยลดการผลิตกรดในกระเพาะอาหารหรือยาที่ช่วยในการแข็งตัวของเลือด
การผ่าตัดเป็นวิธีที่ใช้รักษาผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงอาเจียนเป็นเลือดออกมามากหรือในกรณีที่การรักษาด้วยวิธีอื่นไม่ประสบความสำเร็จส่วนใหญ่มักจะใช้เมื่อเยื่อบุในกระเพาะอาหารหรือลำไส้เกิดการฉีดขาดมีสิ่งกีดขวางหรือเกิดก้อนเนื้องอกขึ้น
ผู้ป่วยทำการผ่าตัด ส่องกล้อง Gastroscope with Adenaline with Hemoclips วันที่ 9/07/62
ข้อวินิจฉัยการพยาบาล
1.วิตกกังวลเกี่ยวกับอาการเจ็บป่วย
2.อาจเกิดภาวะแทรกซ้อน Compratment Syndrom เนื่องจากได้รับการบาดเจ็บของกระดูกและกล้ามเนื้อ
3.อาจเกิดการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะเนื่องจากคาสายสวนปัสสาวะ
4.พักผ่อนไม่เพียงพอเนื่องจากปวดท้อง
5.อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนในระดับนํ้าตาลในเลือดสูง (Hyperglycemia)
6.พร่องสุขวิทยาส่วนบุคคลเนื่องจากถูกจำกัดการเคลื่อนไหว
7.ไม่สุขสบายเนื่องจากท้องอืด