Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Cecurrent CA Rectum (มะเร็งลำไส้ใหญ่) (ข้อวินิจการพยาบาล…
Cecurrent CA Rectum
(มะเร็งลำไส้ใหญ่)
พยาธิ
ทฤษฎี
มะเร็งลำไส้ใหญ่ เป็นเซลล์มะเร็งของเนื้อเยื่อลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง ชนิดที่พบบ่อย เกิดจากเซลล์เยื่อบุผนังลำไส้มีการเปลี่ยนแปลงเติบโตผิดปกติกลายเป็นติ่งเนื้อเล็กๆ เรียกว่า โพลิพ (Polyp) จากนั้นติ่งเนื้อจะใช้เวลาหนึ่งในการพัฒนากลายเป็นมะเร็ง การตัดติ่งเนื้องอก (Polyp) ออกสามารถป้องกันไม่ให้ติ่งเนื้อพัฒนากลายเป็นมะเร็งได้ มะเร็งลำไส้ใหญ่ที่ไม่ได้รับการรักษาอาจลุกลามทะลุผนังลำไส้ หรือแพร่กระจายต่อไปยังตับ ปอด สมอง หรือกระดูกได้
สาเหตุ
กรณีศึกษา
ผู้ป่วยชายไทย อายุ 84 ปี มีประวัติเคยสูบบุหรี่และดื่มสุรา ปัจจุบันเลิกแล้ว เคยได้รับการตรวจด้วย CT Scan เมื่อ 2 ปีที่แล้ว
ทฤษฎี
พันธุกรรม - ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวป่วยเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ โดยเฉพาะญาติสายตรง เช่น พ่อ แม่ พี่หรือน้อง จะมีความเสี่ยงในการเกิดโรค และความเสี่ยงจะยิ่งเพิ่มมากขึ้นเมื่อญาติที่ป่วย เป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ก่อนอายุ 45 ปี
อายุที่เพิ่มมากขึ้น - มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นตามวัย โดยเฉพาะผู้ที่อายุ 50 ปีขึ้นไป ในรายที่มีอายุน้อยก็สามารถพบได้ แต่มีจำนวนไม่มาก
การอักเสบของในลำไส้ - อาจมาจากโรคเรื้อรังที่เกี่ยวข้องกับลำไส้ใหญ่ เช่น ลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผลเรื้อรัง หรือโรคโครห์น
วิถีชีวิตที่ไม่ค่อยขยับร่างกาย
การสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์
การเข้ารับการฉายแสงในการรักษามะเร็งบริเวณช่วงท้อง
อาการและอาการแสดง
กรีศึกษา
ผู้ป่วยมีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยเล็กน้อย
ทฤษฎี
พฤติกรรมการขับถ่ายเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม และมักเกิดขึ้นนานหลายสัปดาห์ เช่น ท้องเสีย ท้องผูก ลักษณะอุจจาระที่เปลี่ยนไป
ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด รู้สึกถ่ายไม่สุด
ปวดท้อง รู้สึกแน่นอึดอัดบริเวณช่วงท้องเหมือนมีแก๊สในท้อง ท้องอืด
อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย
น้ำหนักลงโดยไม่มีสาเหตุ
การรักษา
ทฤษฎี
การผ่าตัด เป็นการรักษาหลักที่แพทย์มักใช้ในการรักษาผู้ป่วย ซึ่งขึ้นอยู่กับว่ามะเร็งเกิดบริเวณส่วนใด รุนแรงมากน้อยแค่ไหน การรักษาด้วยการผ่าตัดมักต้องรักษาควบคู่กับการทำเคมีบำบัด อาจเป็นก่อนหลังการผ่าตัดก็ได้ โดยขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ เพื่อช่วยให้การรักษามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
การรักษาด้วยเคมีบำบัด (Chemotherapy) หรือที่รู้จักกันในชื่อของ คีโม เพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตหรือทำลายเซลล์มะเร็งในร่างกาย เพื่อให้เซลล์มะเร็งมีขนาดเล็กลง ในผู้ป่วยที่มีการกระจายของเซลล์มะเร็งไปทั่วร่างกายจะช่วยบรรเทาอาการของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
การฉายรังสี (Radiation Therapy) เป็นวิธีการรักษาที่ใช้กับผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ในระยะต้น ๆ โดยการฉายรังสีพลังงานสูงเข้าไปบริเวณที่มีก้อนมะเร็ง เพื่อช่วยลดขนาดของก้อนเนื้องอกให้เล็กลงก่อนการรักษาด้วยการผ่าตัด
การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง (Supportive/Palliative Care) เป็นวิธีการดูแลผู้ป่วยที่มุ่งเน้นในการบรรเทาความเจ็บปวดและอาการร้ายแรงอื่น ๆ ที่ทำให้ทุกข์ทรมาน
กรีศึกษา
ผู้ป่วยทำการผ่าตัด Hartmann's procedure ป็นกํารผ่ําตัดก้อนล ําไส้ที่ไม่มีกํารต่อล ําไส้ ถือว่ําเป็นวิธีที่ปลอดภัยและลดอัตรํากํารเกิดรอยต่อล ําไส้รั่วได้โดยตัดล ําไส้ส่วนที่มีเนื้องอกออกแล้วน ํา ปลํายของลำไส้ใหญ่ส่วน proximal มําเปิดเป็น end colostomy , ล ําไส้ใหญ่ส่วนปลํายอําจจะเปิดเป็น end mucous fistula หรือเย็บปิดเป็น blind end ทิ้งไว้ในช่องท้องหลังจํากนั้นจึงมําผ่ําตัดต่อล ําไส้อีกครั้งเมื่อสภําพของผู้ ป่วยพร้อมเช่นหลังจํากได้รับเคมีบ ําบัดครบแล้ว
การวินิจฉัยโรค
กรีศึกษา
ผู้ป่วยทำการการตรวจลำไส้ใหญ่ด้วยเทคนิคภาพเสมือน (CT Colonoscopy)
ทฤษฎี
การตรวจสวนแป้งลำไส้ใหญ่ (Barium Enema) หรือที่รู้จักกันทั่วไปว่า การสวนแป้ง โดยสวนแป้งแบเรียมที่เป็นสารทึบรังสีให้ผู้ป่วย ก่อนมีการถ่ายภาพเอกซ์เรย์การเคลื่อนตัวของแป้งแบเรียมผ่านระบบทางเดินอาหารในส่วนของลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง เพื่อตรวจหาเนื้องอกหรือความผิดปกติที่เกิดขึ้น
การตรวจลำไส้ใหญ่ด้วยเทคนิคภาพเสมือน (CT Colonoscopy) เป็นถ่ายภาพรังสีผ่านช่องท้องของผู้ป่วยด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) ก่อนใช้ซอฟแวร์คอมพิวเตอร์ในการสร้างภาพเสมือนจากภาพตัดขวาง เพื่อให้เห็นรายละเอียดภายในลำไส้ใหญ่ได้ดียิ่งขึ้น โดยไม่ต้องใช้กล้องสอดผ่านทวารหนักเข้าไปยังลำไส้ใหญ่
การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ เป็นการตรวจดูการทำงานของลำไส้ใหญ่ทั้งหมดผ่านกล้องส่องตรวจหลายประเภท เช่น Colonoscopy หรือ Sigmoidoscopy หากพบสิ่งผิดปกติที่น่าสงสัย แพทย์จะใช้เครื่องมือเพื่อเก็บชิ้นเนื้อบางส่วนของบริเวณที่พบสิ่งผิดปกติไปตรวจวิเคราะห์ (Biopsy)
ข้อวินิจการพยาบาล
นอนไม่หลับเนื่องจากมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับโรคที่เป็น
เสี่ยงต่อการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะเนื่องจากคาสายสวนปัสสาวะเป็นเวลานาน
เสี่ยงต่อการได้รับสารอาหารไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายเนื่องจากรับประทานอาหารได้น้อย
อาจเกิดเซลล์ได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอเนื่องจากจำนวนเม็ดเลือดแดงต่ำ
สูญเสียภาพลักษณ์เนื่องจากได้รับการผ่าตัดทำทวารเทียมแบบถาวร
อาจเกิดอันตรายเนื่องจากมีระดับโซเดียมในเลือดต่ำกว่าปกติ