Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การปฐมพยาบาลเบื้องต้นในภาวะฉุกเฉิน ปฐมพยาบาล…
การปฐมพยาบาลเบื้องต้นในภาวะฉุกเฉิน
-
ได้รับสารพิษ
การพยาบาลเบื้องต้น
ผู้ป่วยมีสติอยู่ ทราบประวัติแน่ชัดว่าไม่ได้กินกรด ด่าง น้ำมันก๊าด เบนซิน ทินเนอร์ หรือสารพิษที่มีฤทธิ์กัดกร่อน รีบให้ผู้ป่วยดื่มนมหรือน้ำเปล่า เพื่อให้เจือจาง ให้รีบทำใหผู้ป่วยอาเจียน
ผู้ป่วยที่หมดสติ หรือกินกรดด่าง ไม่ทราบชนิด ห้ามทำให้อาเจียนโดยเด็ดขาด
มีสติ, ไม่เป็นกรด ด่าง --> รีบทำให้อาเจียน
หมดสติ, กรด ด่าง --> ห้ามทำให้อาเจียน
สัตว์กัดต่อย
-
-
-
-
การดูแลผู้ที่ถูกงูพิษกัด
- จัดให้อวัยวะที่ถูกกัดอยู่ต่ำกว่าระดับหัวใจ
- หยุดการเคลื่อนไหวของร่างกาย ปลอบโยน ให้กำลังใจ
- นำตัวผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลที่อยู่ใกล้ให้เร็วที่สุด
- ล้างแผลด้วยน้ำสะอาดหรือน้ำเกลือทันที ปิดแผลด้วยผ้าสะอาด ทำเฝือกชั่วคราว
-
ผึ้ง ต่อ แตน
การดูแลผู้ที่ถูกผึ้ง ต่อ แตนต่อย
- ในกรณีที่มีเหล็กในติดอยู่ในแผล ต้องเอาเหล็กในออกก่อน
- ล้างบาดแผลด้วยสบู่และน้ำสะอาด
- ประคบด้วยน้ำเย็น
- ถ้ามีอาการปวดมากให้รับประทานยาแก้ปวดได้ ถ้ามีอาการมากขึ้นให้นำส่งโรงพยาบาล
ได้รับสารพิษ
สารพิษ หมายถึงสารใดๆที่มีสภาพเป็นของเเข็ง ของเหลวหรือก๊าซ ที่สัมผัสหรือเข้าสู่ร่างกายแล้วสามารถทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย
-
การพยาบาลเบื้องต้นผู้ที่ได้รับสารพิษทางเดินหายใจ
- เคลื่อนย้ายผู้ที่ได้รับสารพิษไปยังสถานที่ที่มีอากาศบริสุทธิ์ ถ่ายเทสะดวกและห้ามคนมุง
- คลายเสื้อผ้าให้หลวม เปิดทางเดินหายใจให้โล่ง ถ้าหยุดหายใจให้รีบช่วยเหลือ
- รีบนำส่งโรงพยาบาล
การพยาบาลเบื้องต้นผู้ที่ได้รับสารพิษทางผิวหนัง
- ล้างด้วยน้ำสะอาดนาน ๆ อย่างน้อย 15 นาที
- อย่าใช้ยาแก้พิษทางเคมี เพราะความร้อนที่เกิดจากปฏิกิริยาอาจทำให้เกิดอันตรายมากขึ้น
- บรรเทาอาการปวดและรักษาภาวะช็อค
- ปิดแผล แล้วนำส่งโรงพยาบาล
การบาดเจ็บที่กระดูกและกล้ามเนื้อ
-
ข้อเคล็ด (sprain)
การดูแล
- หยุดการเคลื่อนไหวข้อที่บาดเจ็บ และให้พักในท่าที่สบายที่สุด
- ประคบเย็นภายใน 24 ชม. หลังการบาดเจ็บ
- พันด้วยผ้าม้วนยืด (Elastic bandage)
กระดูกหัก
การดูแลกระดูกหัก
- ระมัดระวังไม่ให้มีการเคลื่อนไหวบริเวณที่มีข้อเคลื่อน หรือกระดูกหัก
- ถ้าต้องถอดเสื้อผ้า ต้องตัดตามตะเข็บ อย่าพยายามให้ผู้บาดเจ็บถอดเอง
- ถ้าบวมและชามากให้จับชีพจรเปรียบเทียบกับแขนหรือขา ทั้ง 2 ข้างเปรียบกัน
- การตรวจบริเวณที่หัก ต้องทำด้วยความระมัดระวัง เพราะอาจทำให้ปลายกระดูกที่หักเคลื่อนมาเกยกัน
- ถ้าต้องมีการห้ามเลือด หลีกเลี่ยงวิธีการห้ามเลือดแบบขันชะเนาะ เพราะถ้ารัดแน่นเกินไป อาจจะทำให้เลือดแดงไปเลี้ยงส่วนปลายไม่พอ
- ในรายที่กระดูกหักแบบเปิดให้ใช้ผ้าสะอาดคลุมทับ แล้วพันไว้
- เข้าเฝือกชั่วคราว
-
มีภาวะเสียเลือด
- บาดแผลปิด (closed wound)
ประคบเย็นภายใน 24 ชม. แรก ต่อมาให้ประคบความร้อน
- บาดแผลเปิด (open wound)
ทำความสะอาดแผล --> ใช้ผ้าสะอาดกดลงบนแผลจนกว่าเลือดจะหยุดไหล ถ้าผ้าปิดแผลชุ่มเลือด ไม่ควรเอาออก ให้ใช้ผ้าสะอาดผืนใหม่ปิดทับ
- แผลถูกแทงวัตถุปักคา
หากเป็นวัตถุขนาดใหญ่ ห้ามดึงออก, ใช้ผ้าสะอาดกดรอบๆ พันยึดให้แน่นพอควร
- แผลถูกยิง
อวัยวะภายในได้รับบาดเจ็บหรือไม่ สังเกตการหายใจ การเสียเลือด
แผลหน้าท้องไส้ทะลัก, ใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำหมาดๆ วางบนลำไส้ (ห้ามพยายามยัดลำไส้กลับ), ผ้าสะอาดพันรอบแน่นพอควร, ถ้าช็อกยกปลายเท้าให้สูง ให้ห่มผ้า
ไฟฟ้าดูด
การดูแล
- ห้ามจับตัวผู้ป่วยก่อนตัดกระแสไฟ
- กำจัดสาเหตุ โดยใช้วัตถุที่เป็นฉนวนเขี่ยสายไฟออก หรือสับสะพานไฟลง
- ตรวจชีพจรและการหายใจ
- ตรวจดูแผลไหม้
เป็นลม (fainting)
การดูแล
- นอนราบ ยกปลายเท้าสูง
- คลายเสื้อผ้าให้หลวม หายใจเข้า-ออกลึกๆ
- ให้ดื่มน้ำหวาน และหรือน้ำเกลือแร่
- จัดสิ่งแวดล้อมให้มีอากาศถ่ายเทสะดวก
ไฟไหม้ น้ำร้อนลวก (Burn)
ชั้นผิวหนัง
- การดูแล
- ระบายความร้อนออกจากแผล ไม่ควรใช้น้ำแข็งประคบโดยตรง
- ทาด้วยยาทาแผลไหม้
- ห้ามเจาะถุงน้ำหรือตัดส่วนที่พองออก
- ปิดด้วยผ้าสะอาด แล้วพันไว้
ชั้นเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง
- การดูแล
-ไม่ต้องระบายความร้อนออกจากแผล
- ห้ามใส่ยาใดๆ ทั้งสิ้นลงในบาดแผล
- ใช้ผ้าสะอาดปิดบริเวณบาดแผล
- ให้ผู้ป่วยนอนราบ ยกขาสูง และรีบนำส่งโรงพยาบาล
-
-