Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การปฐมพยาบาลเบื้องต้นในภาวะฉุกเฉิน (การบาดเจ็บที่กระดูกและกล้ามเนื้อ…
การปฐมพยาบาลเบื้องต้นในภาวะฉุกเฉิน
สัตว์กัดต่อย
ผึ้ง ต่อ แตน
การดูแลผู้ที่ถูกผึ้ง ต่อ แตนต่อย
1.ในกรณีที่มีเหล็กในติดอยู่ในแผล ต้องเอาเหล็กในออกก่อน
2.ล้างบาดแผลด้วยสบู่และน้ำสะอาด
ประคบด้วยน้ำเย็น
ถ้ามีอาการปวดมากให้รับประทานยาแก้ปวด
แมงกะพรุนกล่อง
มีพิษต่อหลายระบบในร่างกายทั้งเลือด เนื้อหนัง หัวใจ ประสาท ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง กล้ามเนื้อหน้าท้องและหลังเกร็ง เวียนหัว คลื่นไส้ ปวดหัว กระสับกระส่าย แน่นหน้าอก
การดูแลผู้ที่ถูกพิษแมงกะพรุน
1.ให้ผู้บาดเจ็บอยู่นิ่งๆ
ล้างบริเวณที่ถูกพิษด้วยน้ำส้มสายชูบ้าน ความเข้มข้น 2-10 % นานอย่างน้อย 30 วินาที หากไม่มีให้ใช้น้ำทะเล
ใช้ถุงมือหนา หรือแหนบคีบหนวดที่ยังติดอยู่ ห้ามใช้มือหยิบ
4.ให้ใช้วัสดุขอบเรียบ ขูดเอาเมือกออก
ในกรณีของ แมงกะพรุนกล่อง ให้ใช้น้ำแข็งประคบลดอาการปวด หลังจากที่ล้างด้วยน้ำส้มสายชูแล้ว หรือใช้ผักบุ้งทะเลตำพอกที่แผล
(ห้ามใช้น้ำจืดล้างและ ห้ามถูหรือขยี้ )
งูพิษ
พิษต่อโลหิต ได้แก่ งูแมวเซา งูกะปะ งูเขียวหางไหม้
ทำให้มีเลือดออกตามที่ต่างๆ ตามผิวหนัง เหงือก อาเจียนเป็นเลือด ปัสสาวะเป็นเลือด
พิษต่อกล้ามเนื้อได้แก่ งูทะเล
ทำอันตรายต่อกล้ามเนื้อ ปวดกล้ามเนื้อมาก ปัสสาวะสีดำเนื่องจากกล้ามเนื้อถูกทำลายเกิด myoglobinuria
พิษต่อระบบประสาท ได้แก่ งูจงอาง งูเห่า งูสามเหลี่ยม งูทับสมิงคลา
ผู้ที่ได้รับพิษจะทำให้เกิดอัมพาตของกล้ามเนื้อ ลืมตาไม่ได้ กลืนลำบาก และที่สำคัญคือทำให้หยุดหายใจเสียชีวิตได้
พิษต่อกล้ามเนื้อหัวใจ ได้แก่พิษงูเห่า งูจงอาง
การดูแลผู้ที่ถูกงูกัด
หยุดการเคลื่อนไหวของร่างกาย ปลอบโยน ให้กำลังใจ
ล้างแผลด้วยน้ำสะอาดหรือน้ำเกลือทันที ปิดแผลด้วยผ้าสะอาด ทำเฝือกชั่วคราว
จัดให้อวัยวะที่ถูกกัดอยู่ต่ำกว่าระดับหัวใจ
นำตัวผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลที่อยู่ใกล้ให้เร็วที่สุด
สิ่งที่ไม่ควรทำกับแผลงูกัด
1.ไม่ควรใช้ไฟจี้หรือกรีดแผล
2.ไม่ควรใช้การขันชะเนาะ
3.ไม่ใช้ปาดดูดแผล
4.ไม่ควรดื่มสุรา
5.ไม่ใช้ยากระตุ้นหัวใจ เช่น มอร์ฟิน ยาแก้แพ้ต่างๆ
แมงป่อง ตะขาบ
การดูแล
1.ล้าง และฟอกบริเวณแผลด้วยสบู่ ล้างด้วยน้ำสะอาด
ใช้แอมโมเนียหอมชุบปิดแผลไว้
ถ้าปวดให้กินยาแก้ปวดพาราเซตามอล
การได้รับสารพิษ
ทางปาก
มีสติ, ไม่เป็นกรด ด่าง=รีบทำให้อาเจียน
หมดสติ, กรด ด่าง=ห้ามทำให้อาเจียน
(แต่ต้องซักประวัติให้ชัดเจนว่ารับประทานสารชนิดใด)
ทางเดินหายใจ
1.เคลื่อนย้ายผู้ไปยังสถานที่ที่มีอากาศบริสุทธิ์ ถ่ายเทสะดวกและห้ามคนมุง
คลายเสื้อผ้าให้หลวม เปิดทางเดินหายใจให้โล่ง
รีบนำส่งโรงพยาบาล
ทางผิวหนัง
1.ล้างด้วยน้ำสะอาดอย่างน้อย 15 นาที
อย่าใช้ยาแก้พิษทางเคมี เพราะความร้อนที่เกิดจากปฏิกิริยาอาจทำให้เกิดอันตรายมากขึ้น
บรรเทาอาการปวดและรักษาภาวะช็อค
ปิดแผล แล้วนำส่งโรงพยาบาล
การบาดเจ็บที่กระดูกและกล้ามเนื้อ
4 ย. คือ หยุด, เย็น, ยึด และยก หรือ “RICE"( RestIce
Compression,Elevation)
"PRICED" เพิ่ม Protection และ Diagnosis/Disposal
หลักการ No HARM Factor ใช้การบาดเจ็บ (24-48 ชม.แรก)
H (heat) การใช้ความร้อนประคบ ทำให้บวมและปวดมากขึ้น
A (alcohol) การทายาที่มีฤทธิ์ร้อน
R (running/exercise) การวิ่งหรือทำกิจกรรม จะทำให้บาดเจ็บมากขึ้น
M (massage) การนวดจะยิ่งทำให้เลือดออกและบวมมากขึ้น
ข้อเคล็ด ดูแล โดยห้ามเคลื่อนไหวข้อที่เจ็บประคบเย็น 24 hr. พันด้วยผ้าม้วนยืดแล้วยกเท้าสูง
กระดูกหัก
1.กระดูกหักชนิดไม่มีบาดแผลหรือชนิดปิด (Closed fracture)
2.กระดูกหักชนิดมีบาดแผลหรือชนิดเปิด (Open fracture)
ดูแลโดย ไม่เคลื่อนไหวบริเวณที่หัก ถอดเลื้อผ้าต้องระวัง ถ้ามีอาการชาให้จับชีพจรเปรียบเทียบกับบริเวณที่หัก ถ้ามีเลือดให้ห้ามเลือดหลีกเลี่ยงการขันชะเนาะ ถ้าหักแบบแผลเปิดให้ใช้ผ้สะอาดคลุมทับ แล้วพันหรือเข้าเฝือกไว้
ภาวะฉุกเฉินแบบอื่นๆ
ภาวะเสียเลือด
-บาดแผลปิด (closed wound)=ประคบเย็นภายใน 24 ชม. แรก ต่อมาให้ประคบความร้อน
-บาดแผลเปิด (open wound) = ทำความสะอาดแผลใช้ผ้าสะอาดกดลงบนแผลจนกว่าเลือดจะหยุดไหล ถ้าผ้าปิดแผลชุ่มเลือด ไม่ควรเอาออก ให้ใช้ผ้าสะอาดผืนใหม่ปิดทับ
แผลถูกแทงวัตถุปักคา=วัตถุขนาดใหญ่ห้ามดึงออก ใช้ผ้ากดรอบๆยึดให้แน่น
แผลถูกยิง =สังเกตการหายใจ การเสียเลือด
แผลหน้าท้องไส้ทะลัก=ใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำหมาดๆ วางบนลำไส้ แล้วนำผ้าสะอาดพันรอบแน่นพอควรและถ้าช็อกยกปลายเท้าให้สูง ให้ห่มผ้า
ไฟดูด การดูแล
1.ห้ามจับตัวผู้ป่วยก่อนตัดกระแสไฟ
2.กำจัดสาเหตุของกระเเสไฟ
3.ตรวจชีพจรและการหายใจ
4.ตรวจดูแผลไหม้
เป็นลม การดูแล
1.นอนราบ ยกปลายเท้าสูง
คลายเสื้อผ้าให้หลวม หายใจเข้า-ออกลึกๆ
ให้ดื่มน้ำหวาน และหรือน้ำเกลือแร่
จัดสิ่งแวดล้อมให้มีอากาศถ่ายเทสะดวก
ไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
ชั้นผิวหนัง การดูแล
1.ระบายความร้อนออกจากแผล ไม่ควรใช้น้ำแข็งประคบโดยตรง
ทาด้วยยาทาแผลไหม้
ห้ามเจาะถุงน้ำหรือตัดส่วนที่พองออก
ปิดด้วยผ้าสะอาด แล้วพันไว้
ชั้นเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง การดูแล
1.ไม่ต้องระบายความร้อนออกจากแผล
ห้ามใส่ยาใดๆทั้งสิ้นลงในบาดแผล
ใช้ผ้าสะอาดปิดบริเวณบาดแผล
ให้ผู้ป่วยนอนราบ ยกขาสูง และรีบนำส่งโรงพยาบาล
นางสาวสุดารัตน์ นีระพันธ์ เลขที่ 59B